ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อาทิกัมมิกะ : เสพเมถุน แต่ไม่ปาราชิก  (อ่าน 7012 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


"อาทิกัมมิกะ" พระต้นบัญญัติ

ผมอ่านพระไตรปิฎก ฉบับสำหรับผู้เริ่มศึกษา (อุทัย บุญเย็น เจริญวิทย์การพิมพ์ 2548) เล่ม 1 พระวินัยปิฎก ปาราชิก ข้อที่ 1 ถึงหัวข้อ (ภิกษุ) เสพเมถุนอย่างไร ไม่ต้องอาบัติ

    ภิกษุถูกลักหลับและไม่รู้ตัว หรือถูกบังคับขืนใจ แต่ไม่ยินดีด้วย ไม่เป็นอาบัติ
    ภิกษุ 4 ประเภท ไม่เป็นอาบัติ คือ
      1 เป็นบ้าคลั่ง จนไม่มีสติ สัมปชัญญะ
      2 เพ้อละเมอไม่รู้สึกตัว
      3 ป่วยไข้ทุรนทุรายจนไม่มีสติ และ
      4 ภิกษุต้นบัญญัติ คือผู้ทำผิดรายแรก จนเป็นเหตุให้ พระพุทธองค์ทรงบัญญัติสิกขาบท


       :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

สุทินลูกชายคนเดียวของเศรษฐีมหาศาล ฟังธรรมแล้วเลื่อมใสขอบวช พ่อแม่ไม่อนุญาต ขู่จะอดข้าวตาย ได้บวชสมใจ ทิ้งปัญหาให้ที่บ้านขาดทายาทสืบสกุล

    โยมแม่วางอุบายให้พระลาสึกหลายวิธี แต่ก็ไม่ได้ผล พระสุทินทนเห็นความทุรนทุราย จึงขอโอกาสสอน
    “โยม ถ้าสมบัติมันมากมายนัก ก็ให้เอาใส่กระสอบ ขึ้นเกวียนไปทิ้งแม่น้ำคงคา ถ้าทำได้ การเฝ้าดูแลรักษาก็ไม่ต้องมีให้เหนื่อยยาก โยมก็จะอยู่สบาย ไม่หวาดระแวงหวั่นกลัวอะไรอีก”

     หมดมุก หมดอุบายเจรจา โยมแม่หันไปใช้ลูกไม้ใหม่...ให้เมียพระสุทินเข้าไปหว่านล้อม พระสุทินก็ไม่มีเยื่อใย สุดท้ายโยมแม่จูงมือลูกสะใภ้ไปหาพระลูกชาย ยื่นไม้ตาย ขอพืชพันธุ์ (ลูก) ไว้สืบสกุล  ตอนนั้นยังไม่มีการบัญญัติสิกขาบท พระสุทินจำใจสงเคราะห์จูงมือเมียไปเสพเมถุนในป่า

      :49: :49: :49: :49:

     เรื่องรู้ถึงพระพุทธเจ้า ทรงประชุมสงฆ์สะสาง
     “โมฆบุรุษ” ทรงประณามพระสุทินแล้ว ก็ทรงบัญญัติสิกขาบท ภิกษุเสพเมถุน ต้องปาราชิก
     คำปาราชิก มีความหมายว่า ผู้ละเมิดเข้าแล้วเป็นผู้พ่าย ขาดจากความเป็นพระภิกษุ อยู่ร่วมกับภิกษุอื่นไม่ได้ ร่วมสังฆกรรมใดๆกับสงฆ์ไม่ได้
     แต่สำหรับพระสุทิน ซึ่งถือเป็นอาทิกัมมิกะ ต้นบัญญัติ ทำให้เกิดสิกขาบท จึงไม่ถือว่าเป็นปาราชิก
     อุทัย บุญเย็น บอกไว้ว่า ทั้งเมียพระสุทิน ทั้งลูกชายที่เกิดจากพระสุทิน ขอบวชในพุทธศาสนา บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ทั้งสองคน



     ปาราชิกข้อที่ 2 ภิกษุลักทรัพย์มีค่าตั้งแต่ 5 มาสก (1 บาท) ขึ้นไป ความหมายโดยสรุป ภิกษุประพฤติเข้าข่ายโจร หรือคนลักขโมย ซึ่งถูกฝ่ายบ้านเมืองลงโทษได้ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก

     ตัวอย่างที่เข้าข่ายโจร...โจรกรรม มีหลายข้อ ยกตัวอย่างสัก 2 ข้อ
     1.ภิกษุรับของฝาก เจตนายึดไว้เป็นของตน เจ้าของขอคืนปฏิเสธว่าไม่ได้รับไว้ หรือให้คืนไปแล้ว ทันทีที่เจ้าของปล่อยกรรมสิทธิ์ เป็นปาราชิก
     2.ภิกษุมีหน้าที่รักษาของสงฆ์ เจตนาเอาของสงฆ์เป็นของตน ทันทีที่ของนั้นพ้นจากเขตเก็บรักษา เป็นปาราชิก

      :25: :25: :25: :25:

     แต่ลักษณะที่เข้าข่ายโจร...ที่ว่านี้ ก็มีข้อยกเว้นไม่เป็นปาราชิก...
     หากคิดว่าเป็นของตน คิดว่าเขาทิ้งแล้ว ถือเอาด้วยวิสาสะ ไม่ได้คิดว่าลัก ถือเอาเป็นของยืม
     เดินทางด่านเก็บภาษี มีคนเอาของมีค่ามาซุกย่ามไว้โดยไม่รู้ตัว เขาแย่งของไป ไปเอาคืนได้

     อาบัติปาราชิก...ทั้งหมดมี 4 ข้อ ทุกข้อต้องแล้วขาดจากความเป็นพระ บวชใหม่ก็ไม่ได้ ตายไปแล้ว ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน...ชาววัดเรียกคนพวกนี้ว่า ตาลยอดด้วน ไม่คบหา


      ask1 ask1 ask1 ask1

      ปาราชิกข้อ 3 ฆ่ามนุษย์ ข้อ 4 อวดอุตริมนุสธรรม...ผมจะค้นมาเล่าในวันต่อไป
      เฉพาะปาราชิกข้อ 4 น่าชิงชัง น่ารังเกียจกว่าข้อใด...ก็แค่พูดจาจ๊ะจ๋า...ไม่กี่คำ ก็หลอกเอาเงินทองชาวบ้านได้เป็นร้อยเป็นพันล้าน...พระพุทธองค์เปรียบพวกนี้ว่า เป็นยิ่งกว่ายอดมหาโจร.


คอลัมน์ชักธงรบ : พระต้นบัญญัติ โดย กิเลน ประลองเชิง
http://www.thairath.co.th/content/482773
ขอบคุณภาพจาก www.siamintelligence.com  และ pantip.com





อาทิกัมมิกะ    

อาทิกัมมิกะ แปลว่า ผู้ทำคนแรก ผู้ประกอบกรรมครั้งแรก

อาทิกัมมิกะ หมายถึงภิกษุผู้ก่อความเสียหายจนเป็นเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามไว้ ผู้เป็นต้นบัญญัติแห่งสิกขาบทนั้นๆ กล่าวคือเมื่อภิกษุรูปใดกระทำหรือประพฤติอย่างใดอย่างหนึ่งชาวบ้านหรือภิกษุรูปนั้นมาสอบถาม ได้ความจริงแล้วหากทรงวินิจฉัยแล้วเห็นว่าการกระทำหรือความประพฤตินั้นไม่ดี ไม่ถูกต้อง นำตำหนิ ไม่ควรทำ ไม่ควรประพฤติก็ทรงบัญญัติเป็นสิกขาบทห้ามไว้ภิกษุรูปนั้นถือว่าเป็น อาทิกัมมิกะ ในเรื่องนั้น

อาทิกัมมิกะ ได้รับการยกเว้นไม่เป็นอาบัติ คือไม่ถือว่าเป็นผิด เพราะกระทำการนั้นเมื่อยังไม่มีสิกขาบทบัญญัติห้ามไว้


ที่มา http://www.kalyanamitra.org/daily/dhamma/index.php?option=com_content&task=view&id=1095&Itemid=99999999
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อาทิกัมมิกะ : เสพเมถุน แต่ไม่ปาราชิก
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 09, 2015, 10:34:23 am »
0
เห็นข้อแรก นั่นแหละ คะ ที่ทางวัดป่าสามแยก พยายามอ้างสิทธิ์ ว่า ไม่มีสติ เป็นบ้า ไม่ต้องอาบัติ

  ใครเห็นด้วย  :88:
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อาทิกัมมิกะ : เสพเมถุน แต่ไม่ปาราชิก
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 09, 2015, 09:01:12 pm »
0
สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา