ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 05:23:11 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
เลื่อนกระทู้

 2 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 02:42:29 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
เลื่อนกระทู้

 3 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 12:32:42 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 4 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 11:30:26 am 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
เลื่อนกระทู้

 5 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 09:12:46 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 6 
 เมื่อ: มีนาคม 27, 2024, 08:57:40 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
เลื่อนกระทู้

 7 
 เมื่อ: มีนาคม 27, 2024, 05:50:30 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
เลื่อนกระทู้

 8 
 เมื่อ: มีนาคม 27, 2024, 01:30:41 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
เลื่อนกระทู้

 9 
 เมื่อ: มีนาคม 27, 2024, 01:11:44 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 10 
 เมื่อ: มีนาคม 27, 2024, 11:05:17 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



๒. ผัคคุณสูตร ว่าด้วยพระผัคคุณะอาพาธ

[๕๖] สมัยนั้นแล ท่านพระผัคคุณะ อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้นท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระผัคคุณะอาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปเยี่ยมท่านพระผัคคุณะถึงที่อยู่เถิด”
     พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยพระอาการดุษณี
             
ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น(๑-) เสด็จเข้าไปหาท่านพระผัคคุณะถึงที่อยู่ ท่านพระผัคคุณะได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกล จึงลุกขึ้นจากเตียง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระผัคคุณะว่า
    “อย่าเลยผัคคุณะ เธออย่าลุกจากเตียงเลย อาสนะที่ภิกษุอื่นปูลาดไว้ยังมีอยู่ เราจักนั่งบนอาสนะนั้น”

     พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้ตรัสถามท่านพระผัคคุณะดังนี้ว่า
    “ผัคคุณะ เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลา ไม่กำเริบหรืออาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ(๒-)”

         
     @@@@@@@
                                         
ท่านพระผัคคุณะกราบทูลว่า
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สบายจะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์มีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ

     เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงใช้เหล็กแหลมที่คมแทงศีรษะ ฉันใด ลมอันแรงกล้าก็เสียดแทงศีรษะของข้าพระองค์ ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์มีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ

     เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรง พึงใช้เชือกหนังที่เหนียวรัดที่ศีรษะ ฉันใด ความเจ็บปวดในศีรษะของข้าพระองค์ก็มีประมาณยิ่งฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ไม่สบายจะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์มีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ

    เปรียบเหมือนคนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ชำนาญพึงใช้มีดแล่เนื้อที่คมกรีดท้อง ฉันใด ลมอันแรงกล้าก็เสียดแทงท้องของข้าพระองค์ ฉันนั้นเหมือนกันข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์มีแต่กำเริบหนักขึ้นไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ

    เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรง ๒ คนพึงจับแขนคนที่อ่อนแอกว่าคนละข้าง ย่างให้ร้อนบนหลุมถ่านเพลิง ฉันใด ความเร่าร้อนในกายของข้าพระองค์ก็มีมากยิ่งฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์มีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ(๓-)”
             
    @@@@@@@

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ทรงชี้แจงให้ท่านพระผัคคุณะเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากพุทธอาสน์จากไป

ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ท่านพระผัคคุณะได้มรณภาพแล้ว ในเวลามรณภาพ อินทรีย์(๔-)ของท่านผ่องใสยิ่งนัก

ต่อมาท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
     “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ท่านพระผัคคุณะได้มรณภาพแล้ว และในเวลามรณภาพอินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก”





อานิสงส์การฟังธรรม

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ อินทรีย์ ของผัคคุณภิกษุจักไม่ผ่องใสได้อย่างไร แรกทีเดียวจิตของผัคคุณภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์(สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการ แต่เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของผัคคุณภิกษุจึงหลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ

     อานนท์ การฟังธรรมตามกาล การพิจารณาเนื้อความตามกาลมีอานิสงส์ ๖ ประการนี้


     @@@@@@@

     อานิสงส์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ

     ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอได้เห็นตถาคต ตถาคตแสดงธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เธอ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของเธอจึงหลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ ในการฟังธรรมตามกาล
             
     ๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย แต่ได้เห็นสาวกของตถาคต สาวกของตถาคตแสดงธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่านกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เธอ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของเธอจึงหลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ ในการฟังธรรมตามกาล

     ๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอไม่ได้เห็นตถาคต ทั้งไม่ได้เห็นสาวกของตถาคต แต่ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรม ตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตามตรองตามเพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ได้เรียนมา จิตของเธอจึงหลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ ในการพิจารณาเนื้อความตามกาล

     @@@@@@@

     ๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม(๕-) ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอได้เห็นตถาคตตถาคตย่อมแสดงธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เธอ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของเธอจึงน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ ในการฟังธรรมตามกาล

     ๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ แต่จิตของเธอไม่น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอไม่ได้เห็นตถาคตแต่เธอได้เห็นสาวกของตถาคต สาวกของตถาคตแสดงธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เธอ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของเธอจึงน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๕ ในการฟังธรรมตามกาล

     ๖. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ แต่จิตของเธอไม่น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอไม่ได้เห็นทั้งตถาคตทั้งไม่ได้เห็นสาวกของตถาคต แต่เธอตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา จิตของเธอจึงน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๖ ในการพิจารณาเนื้อความตามกาล”
             
    อานนท์ การพิจารณาเนื้อความตามกาลมีอานิสงส์ ๖ ประการนี้แล

                                   ผัคคุณสูตรที่ ๒ จบ


เชิงอรรถ :-
(๑-) ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๗ (โสปปสูตร) หน้า ๔๓๙ ในเล่มนี้
(๒-) ดู สํ.สฬา. ๑๘/๗๔/๖๖
(๓-) ดู ม.มู. ๑๒/๓๗๘/๓๓๙-๓๔๐, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๘๗/๘๑
(๔-) อินทรีย์ ในที่นี้หมายถึงอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๖/๑๓๘)
(๕-) ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึง นิพพาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๖/๑๓๘)




ขอขอบคุณ :-
ภาพ : https://www.pinterest.ca/pin/536350636891090161/
ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๓๙ - ๕๔๒ ,
, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ , พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต , ๒. ผัคคุณสูตร ว่าด้วยพระผัคคุณะอาพาธ
URL : https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=22&siri=307


 :25: :25: :25:

อรรถกถาผัคคุณสูตรที่ ๒   
           
พึงทราบวินิจฉัยในผัคคุณสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมญฺโจปิ ได้แก่ แสดงอาการลุกขึ้น.
บทว่า ปฏิกฺกมนฺติ ได้แก่ ทุเลาลง.

บทว่า โน อภิกฺกมนฺติ ได้แก่ ไม่กำเริบ.
บทว่า สีสเวฐนํ ทเทยฺย ได้แก่ พันศีรษะแล้วเอาไม้ขันเวียนรอบ (ศีรษะ).
บทว่า อินฺทฺริยานิ วิปฺปสีทึสุ ความว่า ในเวลาใกล้ตายนั้น อินทรีย์ ๖ ผ่องใส.

บทว่า อตฺถุปปริกฺขาย ได้แก่ ด้วยการใคร่ครวญถึงประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ คือเหตุและมิใช่เหตุ.
บทว่า อนุตฺตเร อุปธิสงฺขเย ได้แก่ ในนิพพาน.
บทว่า อธิมุตฺตํ โหติ ได้แก่ น้อมไปด้วยอรหัตผล.

               จบ อรรถกถาผัคคุณสูตรที่ ๒             



ขอบคุณที่มา : อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ มหาวรรคที่ ๑ | ๒. ผัคคุณสูตร
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=327

หน้า: [1] 2 3 ... 10