ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "ธรรมและธรรม" มีผลไม่เสมอกัน อย่างไร.?  (อ่าน 745 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




"ธรรมและธรรม" มีผลไม่เสมอกัน อย่างไร.?

น หิ ธมฺโม อธมฺโม จ อุโภ สมวิปากิโน อธมฺโม นิรยํ เนติ ธมฺโม ปาเปติ สุคตึ.
(คำแปล) สภาพธรรม ทั้ง ๒ คือ กุศลธรรม และอกุศลธรรม หามีผลเสมอกันไม่ อกุศลธรรม ย่อมนำสัตว์ไปสู่นิรยะ, ส่วนกุศลธรรม ย่อมยังสัตว์ให้ถึงสุคติ ฯ

    ศัพท์ ว่า “ธมฺโม, อธมฺโม” ประกอบศัพท์เป็นเอกวจนะ เพราะเพ่งถึงชาติของธรรม ในที่นี้ ก็คือ กุศลชาติ และอกุศลชาติ
    สมวิปากี – มีผลเสมอกัน (ธรรมที่มีผลเสมอกัน) (สโม วิปาโก อสฺส อตฺถีติ สมวิปากี (ธมฺโม) (ตทสฺสตฺถิตทฺธิตํ อีปจฺจโย)

    ที่มีรูปเป็น “สมวิปากิโน” ก็เพราะประกอบเป็นพหุวจนะ เนื่องจากว่า ประธานในประโยค เป็นพหุวจนะ มีบทว่า “อุโภ” ที่แปลว่า “ทั้งสอง” ประกอบอยู่ด้วย ต้องขึ้นคำว่า “ธมฺมา” ที่เป็นพหุวจนะ ขึ้นมาเป็นประธาน และแปลควบ คำว่า “ธมฺโม และ อธมฺโม” ซึ่งควบด้วย จ ศัพท์

หากจะแปลว่า “ธรรมและอธรรม ทั้งสอง” ก็จะทำให้ประธานในประโยคนี้กลายเป็น พหุวจนะทันที เช่นเดียวกัน เพราะมี จ ศัพท์ควบบทประธานอยู่, บทว่า “อุโภ” เป็นบทพิเศษที่คงรูปเป็นพหุวจนะอย่างเดียว ฯ  เวลาแปลโดยพยัญชนะ เมื่อแปลคำว่า “สมวิปากิโน” เป็นธรรมที่มีผลเสมอกัน (แปลออกสำเนียงว่า “เป็น” ลักษณะวิกติกัตตา  ต้องใส่ กริยาว่า “มี-เป็น” คือ “โหนฺติ” ขึ้นมารับและมาคุมพากย์




เมื่อกล่าวถึงธรรมที่มีผล หรือธรรมที่ให้ผลเกิดขึ้นได้ หรือธรรมที่เป็นเหตุให้ผลธรรมเกิดขึ้น ธรรมนั้นก็ต้องหมายเอา กุศลธรรม และ อกุศลธรรม จึงหมายถึงชื่อธรรมหลายๆอย่าง คือ

    ๑) กุศลธรรม ก็เป็นธรรมที่ให้ผลเกิดขึ้น (กุสลา ธมฺมา)
    ๒) อกุศลธรรม ก็เป็นธรรมที่ให้ผลเกิดขึ้น (อกุสลา ธมฺมา)
    ๓) วิปากธมฺมธมฺมา ก็เป็นธรรมที่ให้ผลเกิดขึ้น เช่นเดียวกัน
    ๔) หรือ หมายถึง “อาจยคามิธรรม” ก็ได้ เพราะเป็นธรรมที่ให้สัตว์เข้าถึงจุติและปฏิสนธิ ก็คือให้ผลคือ ปฏิสนธิวิบาก และปวัตติวิบากเกิดนั่นเอง (อาจยคามิโน ธมฺมา)

     - สำหรับ อกุศลธรรม ๑๒ และเจตสิกที่ประกอบ นั้น ก่อวิบากที่เป็นทุกข์ นำสัตว์ไปสู่ทุคคติแน่นอน (อธมฺโม นิรยํ เนติ)
     - ส่วนในฝ่ายที่เป็นกุศลธรรม ต้องแยกออกเป็น ๒ อย่าง คือ กุศลธรรมที่เป็นโลกียะ ๑, กุศลธรรมที่เป็นโลกุตตระ ๑


@@@@@@@

แต่ในที่นี้ เมื่อกล่าวว่า “กุศลธรรมนั้น เป็นเหตุให้สัตว์ถึงสุคติภูมิ” (ธมฺโม ปาเปติ สุคตึ) ก็ต้องหมายเอา กุศลที่เป็นโลกียะ ซึ่งก็คือ โลกียกุศลธรรม (โลกียกุศล ๑๗ เจตสิกที่ประกอบ ๓๘) ก็จะไปตรงกับพระบาลีในติกบทที่ว่า “อาจยคามิโน ธมฺมา” (สภาวธรรมทั้งหลาย ที่ยังสัตว์ให้เข้าถึงจุติ และปฏิสนธิ)

ส่วนมรรคจิต ๔ แม้จะเป็นกุศลธรรมก็จริง แต่ไม่ได้เป็นเหตุให้สัตว์เข้าถึงสุคติภูมิ เพราะไม่ก่อวิบากที่เป็นปฏิสนธิวิบากที่เป็นตัวภพ-ชาติ ในทางตรงกันข้าม มรรคจิต กลับเป็นตัวทำลายภพ-ชาติ

มรรคจิต ๔ เจตสิกที่ประกอบ ๓๖ จึงจัดเข้าในส่วนของ “กุสลา ธมฺมา” คือ เป็นธรรมที่ไม่มีโทษ ก่อให้เกิดวิบากที่เป็นสุข, หรือจัดเข้าในส่วนของติกบทว่า “วิปากธมฺมธมฺมา” คือเป็นธรรมที่เป็นเหตุให้ผลธรรมเกิดขึ้น เท่านั้น  ไม่จัดอยู่ในติกบทที่ว่า “อาจยคามิโน ธมฺมา” หากจะจัดเข้าได้ ก็จะอยู่ในบทที่ว่า “อปจยคามิโน ธมฺมา” (ทุติยบท ในอาจยคามิติกะ)

     ดังนั้น เมื่อว่า โดยสรูปแล้ว คำว่า
     - “ธมฺโม” ในที่นี้ จึงได้แก่ โลกียกุศลจิต ๑๗ เจตสิก ๓๘ ที่ประกอบ
     - “อธมฺโม” ในที่นี้ได้แก่  อกุศลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗ ที่ประกอบธรรมทั้ง ๒ อย่างนี้ เรียกในติกบทว่า “อาจยคามิโน ธมฺมา” นั่นเอง เป็นเหตุให้สัตว์เข้าถึง จุติ และปฏิสนธิ ในทุคคติภูมิ และสุคติภูมิ




 
ขอบ่คุณ : dhamma.serichon.us/2020/03/01/ธรร-และ-ธรรม-มีผลไม่เสมอ/
By VeeZa, ๑ มีนาคม. ๒๕๖๓
1 มีนาคม 2020 , By admin.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ