ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มาปฏิบัติธรรมในงาน กันดีกว่า อย่ามัวนั่งหลับหู หลับตากันเลย  (อ่าน 7270 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

modtanoy

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-5
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 213
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ใครเห็นด้วยว่า การปฏิบัติธรรม ไม่จำเ้ป็นต้องมานั่งหลับหู หลับตา กันเลย

แท้ที่จริงการปฏิบัติธรรม อยู่ที่การเจริญสติ กับการงาน ในชีวิตประจำวัน โดยที่

ใจเราไม่ต้องทุกข์ เมื่อวานได้ดูรายการประวัติหลวงพ่อพุทธทาส ท่านถือได้ว่า

เป็นแบบฉบับ ปฏิวัติการปฏิบัติธรรมในชีิวิตประจำวัน เราควรมีศิลปะ ดำเนินชีวิต

โดยที่จิตเรามีนิพพาน อยู่ทุกเวลา

  ดังนั้น ส่วนตัวเห็นว่า การปฏิบัติธรรม แท้จริง ไมจำเป็นต้องมาันั่งหลับหู หลับตา

ตั้งท่านั่งกรรมฐาน เิดินจงกรม แต่เราควรใส่ใจการเจริญสติ ดับกิเลสที่เกิดเฉพาะหน้ากันดีกว่า

 เข่นทำงานไป ก็ให้ใจอย่าตกเป็นทาสกิเลส เป็นต้น

 ใครเห็นด้วย .... บ้าง



  :25: :49:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
   ถ้าหมายถึง "การเจริญสติปัฏฐาน" ในพระไตรปิฎก... ก็เห็นด้วยครับ

   แต่ถ้าพิจารณาให้ลึกๆในกายานุปัสสนา จะเห็น"อิริยาบถบรรพ"

   นั่นหมายถึง การเจริญสติสามารถทำได้ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน และอื่นๆ

   พระอานนท์บรรลุอรหันต์ในอิริยาบถ ไม่ใช่นั่ง ไม่ใช่นอน กำลังเอนตัวนอน

   ขอยกมรรค ๔ ของพระอานนท์มาแสดง




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา

             [๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
             สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพีณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลายภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า
 
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ

            ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

            อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

             อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

             อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อ
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป


    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง ฯ

อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  บรรทัดที่ ๗๕๖๔ - ๗๘๖๑.  หน้าที่  ๓๑๓ - ๓๒๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=7564&Z=7861&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=534


    การปฏิบัติธรรม สามารถทำได้ทุกขณะ แต่ต้องเดินอยู่ในสายกลาง คือ มรรคมีองค์ ๘
    พระอานนท์ได้ แยกทางที่จะสำเร็จอรหันต์เป็น ๔ ทาง คือ

    ๑. เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น(เจริญปัญญาโดยเจริญสมาธิก่อน )
    ๒. เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ( เจริญสมาธิโดยเจริญปัญญาก่อน )
    ๓. เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน
    ๔. มีจิตแยกจากความฟุ้งซ่านในธรรม ( โปรดดูพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ )


    ใครจะชอบทางไหนอย่างไร ก็เป็นไปตามจริตวาสนาบารมี ไม่สามารถชี้ได้ว่า ทางไหนดีกว่ากัน

     :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 03, 2011, 01:12:09 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

because

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 71
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าจะเอาแบบพระอานนท์ ก็คงต้องสั่งสม บุญอย่างพหูสูตรแล้ว ครับ
ในตำนาน พระไตรปิฏก ผู้บรรลุอย่างพระอานนท์ ก็มีเพียงองค์เดียว

 อย่าไปคิดว่า จะทำได้อย่างพระอรหันต์อานนท์มหาเถระ เลยครับเพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำอย่างนั้น
ถึงแม้ ท่านจะเป็นต้นฉบับบของการปฏิบัติธรรมแบบมหายาน แล้ว ในฝ่ายมหายาน ก็พิจารณาดูให้ดีสิครับ

การเจริญ สติ อยู่ในการงาน

ควรย้อนกลับมาดูที่พระพุทธเจ้า และบรรดาสาวก กลุ่มใหญ่ ดีกว่าหรือไม่ครับ ว่าดำเนินวิถีการปฏิบัติภาวนา
กันอย่างไร

  อย่าประมาท หมิ่น ว่าการปฏิบัติธรรมคือการทำงาน นะครับ
 
  ที่ตั้งของสติ คือ อะไรครับ ????

  หาคำตอบกับเป้าหมาย และวิธีการ

  ดำเินินตามมรรค ดีกว่านะครับ

 :25:
บันทึกการเข้า

indy

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 101
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เห็นด้วยกับการเจริญสติ แต่วิธีการก็สุดแท้แต่จะทำกัน มีมากมาย ดีทั้งนั้น
ท่าพุทธทาสสอนอนาปานสติเหมือนกัน โดยใช้ลมแทนกายทั้งมวล
วิธรการมีมากมายอย่าไปยึดติดมากนัก ดีๆกันทั้งนั้น
บันทึกการเข้า

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เพราะปัจจุบัน เราไม่นึกถึง ว่า พระพุทธเจ้า สอนอย่างไร เราจึงเข้าใจกันว่า
หลักธรรม ต้องสอดคล้องกับการดำรงชีวิต

  การดำรงชีวิต เป็น เรื่องของวัฏจักร สงสาร หรือ สังสารวัฏ อันประกอบด้วย กิเลส กรรม และ วิบาก
 ซึ่งยิ่งเราทำตัวสอดคล้องมากเท่าไหร่ ก็ต้องไหลไปตามกระแสของ ทุกข์ และ วนเวียน ด้วย การ ตาย เกิด
อยู่อย่างนั้น ไม่สิ้นสุด

  ขอยกข้อความจากเมล ของพระอาจารย์ ที่เคยยกให้ผมไว้ เนิ่นนานแล้ว

  พระพุทธเจ้า ในค่ำคืน ที่ตรัสรู้ ทำอย่างไร ?  ควรศึกษา นำมาเป็นแบบอย่าง
  พระพุทธเจ้า ในระหว่าง ที่จะตรัสรู้ ทำอย่างไร ? ควรศึกษา นำมาเป็นแบบอย่าง
  พระพุทธเจ้า หลังตรัสรู้ แล้ว ทำอย่างไร ?  ควรศึกษา นำมาเป็นแบบอย่าง


ดังนั้น คำตอบอยู่ตรงนี้ครับ วิธีการ ที่ว่ามีหลากหลาย นั้นถูกครอบคลุมแล้ว ด้วย
ขั้นตอน ที่มีอยู่ เป็น บทใหญ่ ...... โปรดศึกษา ให้ดี

  โดยหลักการใหญ่ ก็คือ ศีล สมาธิ และ ปัญญา หรือ พระอริยมรรค มีองค์ 8

  วันนี้เรามาดู วิธีการ กันแบบไหน ส่วนหนึ่ง ของ สิกขา หรือ ส่วนหนึ่ง ของอริยมรรค

 ดังนั้นการภาวนา ที่มี จิตมุ่งสู่พระนิพพาน มิได้ไปได้ด้วยเพียงการเจริญสติ เท่านั้น
 สติ เป็นส่วนหนึ่งในมรรค

 การเจริญภาวนา เพื่อความสิ้นสุนแห่งกิเลส ต้องดำเนินให้ครบ องค์ 8 ประการ ครับ
 
 ดังนั้น อย่าแยกแต่จะเอา สติ หรือ ทำแต่งองค์ใด องค์หนึ่ง เพราะอริยมรรค ต้องหนุนเนื่องซึ่งกันและกัน

 
บันทึกการเข้า

hope

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 55
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

  ขอยกข้อความจากเมล ของพระอาจารย์ ที่เคยยกให้ผมไว้ เนิ่นนานแล้ว

  พระพุทธเจ้า ในค่ำคืน ที่ตรัสรู้ ทำอย่างไร ?  ควรศึกษา นำมาเป็นแบบอย่าง
  พระพุทธเจ้า ในระหว่าง ที่จะตรัสรู้ ทำอย่างไร ? ควรศึกษา นำมาเป็นแบบอย่าง
  พระพุทธเจ้า หลังตรัสรู้ แล้ว ทำอย่างไร ?  ควรศึกษา นำมาเป็นแบบอย่าง



  เมื่อเห็น แล้ว จึงได้เข้าไปอ่านศึกษา พระไตรปิฏก ส่วนนี้ครับ

  ก็ได้พบเหตุดังนี้ ครับ

    ก่อนค่ำคืน ที่ตรัสรู้ ก็คือ วันเพ็ญ เดือนหก

    พระโพธิสัตว์ ได้ทำการเสวย ข้าวมธุปายาส และ ทรงกระทำอธิษฐาน ลอยถาดทองคำและ ตัดสินใจ
สละชีวิต ว่า "แม้เลือด และ เนื้อ ของเราจะเหือดแห้งไปก็ตามที หากเรายังไม่บรรลุโพธิ แล้วจะไม่ลุกจากที่นั่ง"

    พระองค์ทรง เข้า ฌาน ออกฌาน  ด้วย โอภาส 10 กว่าครั้ง ด้วย อานาปานสติ

    ในยามที่ 1 ทรงบรรลุ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ

    ในยามที่ 2 ทรงบรรลุ จตูปปาตญาณ

    ในยามที่ 3 ทรงบรรลุ อาสวักขยญาณ

    นี่เป็นเหตุในคืนตรัสรู้

   ซึ่งเป็นส่วนข้อที่ 1  ขอวิเคราะห์ เป็นข้อ ๆ คือ

  จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้า มิได้ใช้ สติ อิริยาปถ แต่ ใช้อานาปานสติ และ มิได้ทำงานแบบชาวบ้าน เพื่อการบรรลุหากแต่ว่าพระองค์ ทำงานคือ เจริญสติกับ ลมหายใจเข้า และ ออก มีการเข้า ฌาน ออก ฌาน และ มีสติสัมปชัญญะ คำอธิษฐาน สละชีวิตเพื่อการบรรลุธรรม ซึ่งจัดเป็น เป้าหมายในการภาวนาของพระองค์

   เท่านี้ก่อนนะครับ ต้องทำงานแล้วครับ

    :s_hi:
บันทึกการเข้า

modtanoy

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-5
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 213
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การภาวนา ธรรม แท้ที่จริง ในปัจจุบัน ติดอยู่ที่วิธีการคะ

  อันที่จริง อยู่ที่การเจริญสติ รู้ทัน และไม่เป็นทุกข์

  เราสามารถ ทำให้ธรรมะ ของพระพุทธเจ้า เป็นการปฏิบัติภาวนาโดยไม่จำกัดกาลเวลาได้คะ

  วันหนึ่ง 24 ชั่วโมง เราต้องใช้ชีวิตกับการทำงาน อยู่กับงาน ตลอดคะ แต่จะทำงานนั้นอย่างไร ให้เป็นการภาวนาก็ต้องเจริญ สติ และ สนุกกับการทำงานนั้น มิใช่ มานั่งเบื่อ รองานหมดเวลา หรือ ทำอย่างซํงกะตาย การทำงานกับการภาวนา นั้น น่าจะต้องเป็นสิ่งที่ต้องคู่กันไป นะคะ

   ดังนั้น เราควรจะภาวนาในระหว่างทำงาน

   ถ้าหัวใจของการภาวนา คือ การลดละ กิเลส ทีี่เรียกว่า ความเห็นแก่ตัว

   เราต้องเปลี่ยน ตัวเรา ให้เป็น คนไม่เห็นแก่ตัว คะ

   คนไม่เห็นแก่ตัว ก็คือ คนที่ละ สักกายทิฏฐิ ได้คะ

   ดังนั้นการปฏิบัติภาวนา อย่ามัวแต่ยึดรูปแบบ ที่จะมานั่งหลับหู หลับตา หรือไปสวรรค์คะ

   เพราะเราควร หันเข้ามาดูใจของเรา ที่มี สวรรค์ นรก นิพพาน ที่กลางใจของเรานั้น จะภาวนาอย่างไร
ให้นิพพานได้คงอยู่ ในใจเราได้ตลอด

    ดังนั้นการทำงาน คือ การปฏิบัติธรรม ทำงานให้สนุก เป็นสุข เมื่อทำงาน ทำนิพพานให้ปรากฏในบ้าน ในที่ทำงาน ไม่ใช่ให้นิพพาน มีอยู่แต่ในวัดคะ

    :25: :58:
บันทึกการเข้า

เด็กวัด

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 150
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คุณ modtanoy มีวิธีการปฏิบัติ และฝึกอย่างไรครับ ที่ไม่ติดวิธีการ ครับ

อยากทราบครับ

   :88:
บันทึกการเข้า

NP2706

  • เราต้องสร้างสะพานระหว่างสมองกับหัวใจ ให้ความรู้ที่เป็นสัญญานี้ทราบซึ้งเข้าไปถึงหัวใจ
  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 96
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
          อยากทราบด้วยคน... กับวิธีการที่แนะนำและเขียนบรรยายการปฏิบัติธรรมในรูปแบบนามธรรม  ซึ่งบางคนอาจจะมองไม่เห็น ไม่เข้าใจ.. ช่วยแนะนำให้ทราบบ้าง กับคำที่ว่า " อยู่ที่การเจริญสติ รู้ทัน และไม่เป็นทุกข์ เราสามารถ ทำให้ธรรมะ ของพระพุทธเจ้า เป็นการปฏิบัติภาวนาโดยไม่จำกัดกาลเวลาได้คะ  "
           :a102: ดูแล้วการที่อธิบายมานี้เป็นการแปลพุทธวจน....หรือเปล่านะเพราะ สิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และแจ้งให้กับพุทธบริษัท สำหรับพวกเราแล้วแค่นำมาปฏิบัติตามเท่านั้น   
บันทึกการเข้า
"Only two things are infinite, the universe and human stupidity,
and I'm not sure about the former."

Sitti

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 97
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมว่า ศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นอย่าสนใจวิธีการนี้เลยครับ
เพราะชื่อหัวข้อก็บอกอยู่แล้วว่า ผู้โพสต์ บอกว่าการหลับหู หลับตา นั่งกรรมฐานนั้น ไม่ใช่การภาวนา
การภาวนา ที่ถูกคือ ต้องทำงาน กับชีิวิตประจำวัน

  ในความคิดส่วนตัวผมเห็นว่า การใช้ชีิวิตประจำวัน ก็คือการอยู่ในโลก เรียกว่า โลกียะธรรม
การมีความสุขกับการทำงาน ก็ใช่ว่า จะเป็นโลกุตตรธรรมได้ นะครับ

  ดังนั้นการหลับหู หลับตา ( ใช้คำผิด ) เพราะต้องกล่าวว่้า การปิดหู ปิดตา ไม่รับอายตนะในขณะภาวนานั้น
เป็นเรื่องมีความจำเป็น สำหรับผู้ภาวนา นะครับ

  เช่น มีภาพโป๊ เกิดอยู่ตรงหน้า สติไม่เข้มแข็งพอ ก็จะ จ้องเอา จ้องเอา วิธีการเจริญสติผิดเลย เพราะจิต
ยังไม่เข้มแข็ง ก็จะไม่สามารถ ชนะกิเลสเบื้องหน้านั้นได้ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุด ก็คือ ปิดตา ไม่รับอายตนะ
 
  เช่นกัน เวลารับเสียงที่ไม่่พึงปรารถนา เช่นภาวนาอยู่ พวกทะเลาะกันอยู่ข้างบ้าน หรือ กินเหล้าเฮฮาปาร์ตี้ กัน
ดังลั่น ถ้าจะให้เจริญสติ ก็ต้องนั่งแผ่เมตตา เผลอ ๆ สติหลุดกลายเป็นพยาบาทไปได้

   ดังนั้น ในกรรมฐาน จึงต้องเข้าสะกดกรรมฐาน เข้าวัด ออกวัด เข้าคืบ เข้าสับ เดินอนุโลม ปฏิโลม เพื่อสะกด
สรรพเสียง อันเป็นเสี้ยนหนามของสมาธิ จึงจะชนะเสียงนั้นได้

   ดังนั้น ศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ขึ้นกรรมฐานแล้ว ก็อย่ามาเปลี่ยนใจลอง ผิด ลองถูก ในกรรมฐาน
กันอยู่เลยครับ มันจะบานปลายเสียเวลา กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีขึ้นตอนที่ชัดเจนแล้วครับ เทียบเคียง
กับพระไตรปิฏก ได้ มีตำรา มีครูอาจารย์ ที่น่าเชือถือ ซึ่งแม้แต่พระมหากษัตริย์ ก็เชื่อถือ มีพระสังฆราชสืบ
กรรมฐาน ก็ตั้งหลายพระองค์ ครูอาจารย์ที่ปฏิบัติภาวนาได้ดี ( สำเร็จหรือ ไม่ อันนี้ไม่ทราบ ) แต่ก็เป็นที่นับถือ
ของชาวเรากรรมฐาน เช่น หลวงพ่อโต หลวงปู่สุข เป็นต้น

    :34: :34: :bedtime2: :bedtime2:
บันทึกการเข้า
สิทธิ มาแว๊ว มาตามคำเชิญ แก๊งค์  อ๊บ

indy

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 101
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เคยสนทนากับพระท่านนึง ที่อุบล ท่านสอนว่า สมถะเหมือนกับที่พักของจิต เพื่อที่จะเป็นกำลังของวิปัสสนา
ดังนั้นมันอยู่คู่กัน ผมว่าควรให้ความสำคัญทั้งสองอย่าง ถึงจะง่ายต่อการบำเพ็ญธรรม
ส่วนใครชอบแบบไหนก็สุดแท้แต่ครับ
บันทึกการเข้า

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เป็นวิสัยของ ผู้ที่ขี้เกียจภาวนา มักจะกล่าวอย่างนี้ เมื่อให้ภาวนาจริง ๆ ก็มักจะไม่ชอบรูปแบบ ๆ นี้เรียกว่า ไร้รูปแบบ

  พระพุทธเจ้า พระองค์ท่านตรัสสอนให้ภิกษุสาวก กระทำการภาวนา มีรูปแบบหลัก ๆ 2 แบบ

   คือ 1. ให้ไปนั่งภาวนา
       2. ให้ไปเดินจงกรม

  เมื่อจิตได้ฝึก ดีแล้ว จะลืมตา หรือ หลับตาก็จะรู้ได้ว่า ควรทำอย่างไหน

  ปัญหา เอาโลก ผสมธรรม และ เอา ธรรม ไป ผสม โลก

  ปฏิบัติภาวนา เพื่อพ้นจากสังสารวัฏ นั้น เป็นธรรมเหนือโลก ไม่ใช่เป็นธรรมคล้อยตามโลก หรือปรับตัวเข้ากับโลก นะจ๊ะ

   ดังนั้น เมื่อจะเลือกภาวนา ก็ดูศักยภาพ ความสามารถที่ควรจะทำได้

   ถ้าลืมตาแล้ว ใจสงบ เป็นสมาธิ ก็ลืมตา นะจ๊ ( แต่อย่าลืมตัว )

   ถ้าหลับตา แล้ว ใจสงบ เป็นสมาธิ ก็หลับตานะจ๊ะ ( แต่อย่าลืมขั้นตอนภาวนา )

   นักปราชญ ท่านจึงพูดเป็นกลาง ๆ ว่า ลืมตามองเห็นโลก หลับตามองเห็นตน นะจ๊ะ

   เจริญธรรม
    ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา