ธรรมะสาระ > ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด

รวมคาถาโบราณจากศรีลังก ครหะสันติคาถา,คาถาปะโชตา (กำลังจักรพรรดิ).สัมพุทธะคาถา.ที่มาชินบัญ

<< < (4/5) > >>

ธรรมะ ปุจฉา:
ที่ว่ามาทั้งหมดนี้เป็นแต่เพียงยืมคำเขามาพูดมิได้มีเจตนาหวังจะตำหนิหรือกระทบกระเทียบครูบาอาจารย์รูปใดรูปหนึ่งโดยเฉพาะก็หาไม่ เพราะครูบาอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบก็มีอยู่มาก แต่ที่นำมาเกริ่นไว้ในที่นี้ก็เพื่อจะกระตุ้นเตือนครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่กำลังปฏิบัติตามแนวทางสายครูบา เพื่อก้าวสู่ความเป็นครูบา                 ในอนาคต  ควรจะดำเนินตามแบบอย่างปฏิปทาของโบราณเถราจารย์รุ่นก่อนๆ ซึ่งได้สืบเถรวังสปรัมปรามาโดยลำดับ อย่าได้เห็นแก่โลกามิสและสรรเสริญจนเกินไป   ความจริงการชักชวนศรัทธาญาติโยมทำบุญสร้างวัดใช่ว่าจะผิดหลักพุทธประสงค์         เสียทีเดียว เพราะพระพุทธองค์ตรัสว่า บูชามี ๒ อย่าง คือ อามิสบูชา (บูชาด้วยสิ่งของหรือวัตถุ) และ ปฏิบัติบูชา (บูชาด้วยการทำตามคำสอน) แต่พระองค์ทรงสรรเสริญบูชาอย่างหลังมากกว่า เพราะสามารถธำรงรักษาพระศาสนาไว้ได้นานกว่าบูชา            อย่างแรก บูชาอย่างแรกเปรียบเสมือนเปลือกนอก หรือกระพี้หุ้มแก่น ส่วนอย่างหลังเปรียบได้ดังแก่นในหรือเนื้อแท้ของต้นไม้ ข้าพเจ้าชอบใจวาทะของท่านพระครู         วิจิตรนวการโกศล (ครูบาสมจิต จิตฺตคุตฺโต) แห่งวัดสะแล่ง ต.ห้วยอ้อ อ.ลอง จ.แพร่  ได้กล่าวไว้ในหนังสือประวัติวัดสะแล่งของท่านตอนหนึ่งว่า

“ข้าพเจ้าอยากจะให้มีพระทองคำไว้เป็นสมบัติของวัดมานานแล้ว คิดว่าถ้ามีพระทองไว้จะเป็นสิ่งจูงใจให้คนเข้าวัดมากขึ้น ให้คนเข้าวัดไว้มากๆ จะเป็นการดี อย่างไรๆ ก็ให้เข้าวัดไว้ก่อน จะด้วยศรัทธาจริตหรืออะไรก็ช่าง คนหลงวัดหลงวา      หลงบุญนั้นดีกว่าหลงบาป หลงไปในทางอบายมุขเป็นไหนๆ”
   คำว่า ครูบา นี้เป็นเหมือนคำศักดิ์สิทธิ์ที่ยังคงแสดงถึงพลังของความเข้มขลังเสริมบารมีให้กับผู้ที่ถูกเรียกว่าครูบามาทุกยุคทุกสมัย หมายความว่าพระภิกษุรูปใดจะเป็นครูบาได้นั้นจะต้องมีบุญญาบารมี และอำนาจวาสนาที่สูงส่ง ประกอบด้วย                  รูปสมบัติมีบุคลิกที่โดดเด่นและวิชาสมบัติทรงภูมิความรู้ด้านต่างๆ เป็นต้น จึงมิใช่เรื่องง่ายๆ ที่ใครๆ ก็เป็นครูบาได้ เว้นเสียแต่อุปโลกน์ตนเองขึ้นมาเท่านั้น  ซึ่งต่างจากที่กล่าวกันโดยทั่วไปว่า “ครูบาอาจารย์” โดยสิ้นเชิง จึงปรากฏว่าปัจจุบันนี้ทางล้านนาในแต่ละปีมีครูบาหนุ่มน้อยผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด ซึ่งสมัยก่อนนั้นตำแหน่งครูบาของทางล้านนาใช้เรียกพระมหาเถระที่มีอายุพรรษามาก  คงแก่เรียน มีปฏิปทาน่ายกย่องเลื่อมใส จึงได้รับการยอมรับนับถือจากศรัทธาสาธุชนยอยกขึ้นเป็นครูบา คงไม่ได้ผ่านพิธีเถราภิเษกทุกองค์ไป ตำแหน่งครูบาในสมัยก่อน ถ้าเทียบกับสมัยนี้เห็นจะได้แก่สมภารวัดนั่นเอง เนื่องจากวัดในสมัยก่อนเป็นสถานศึกษาที่รวมแหล่งสรรพวิชาการต่างๆ เอาไว้ในที่แห่งเดียวกัน เพราะสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียน ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นครูสอนหนังสือก็คือ พระสงฆ์  ดังนั้นสมภารหรือครูบาเจ้าวัดจะต้องมีภูมิความรู้ในวิชาการแขนงต่างๆ ดังที่กล่าวมาในระดับดีพอสมควร เพื่อที่จะได้ถ่ายทอดหลักสรรพวิทยาให้กับลูกศิษย์ลูกหาสามารถนำไปใช้ประกอบสัมมาอาชีพหาเลี้ยงตนได้ และการที่ได้รับยกย่องให้เป็นครูบานั้น ก็เพราะมีความรู้ความสามารถ คือ จะต้องมีทั้งคุณวุฒิ และวัยวุฒิด้วย ครูบาตามลักษณะดังกล่าวจึงหมายเอาสมภารเจ้าวัด
   พูดถึงพิธีเถราภิเษกในดินแดนล้านนาสมัยก่อนคงนิยมปฏิบัติกันเฉพาะบางแห่งหรือบางท้องที่เท่านั้นในกรณีที่มีการยอยกภิกษุเจ้าวัดขึ้นเป็นครูบา และธรรมเนียมนี้น่าจะได้รูปแบบมาจากทางเชียงตุง เพราะปัจจุบันนี้ยังนิยมปฏิบัติกันอยู่ ลักษณะพิธีก็คงจะคล้ายๆ หรือไม่แตกต่างไปจากพิธีสรงน้ำพระเณรของทางล้านนาซึ่งยังนิยมปฏิบัติกันอยู่ในบางท้องที่มากนัก นอกจากนี้แล้วก็มีการเจริญพุทธมนต์ อ่านตราตั้ง


ประกาศเป็นต้น เหมือนกับพิธีแสดงมุทิตาสักการะทั่วไปนั่นเอง เนื่องจากทางล้านนาไม่ได้ให้ความสำคัญกับพิธีดังกล่าวเท่าไหร่นัก คงจะมองว่าเป็นพิธีเล็กๆ จึงไม่นิยมปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย (ผู้เขียน) ซึ่งต่างกับเชียงตุงที่จัดกันใหญ่โตและถือว่าเป็นพิธีสำคัญของรัฐด้วย ยกตัวอย่างในเมืองน่านหาเค้ามูลพิธีที่ว่านี้ไม่ได้แล้ว๑ เห็นแต่หลักฐานที่ปรากฏทางวรรณกรรมเท่านั้น ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเคยมีพิธีนี้ในสมัยโบราณ ซึ่งนิยมปฏิบัติกันในพิธีใหญ่ๆ เช่น สถาปนาสมเด็จพระสังฆราชา หรือสมเด็จราชครู เป็นต้น ดังปรากฏในคำเบิกภาสีหลวง (เบิกพาขวัญศรี) ในพิธีสู่ขวัญของล้านนาว่า  “ท่านจักหดสรงสมเด็จพระสังฆราชาขึ้นกินหัววัดใหม่ก็ว่าดีในวันนี้ยามนี้” ซึ่งหมายถึงรัฐพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชา และให้ย้ายไปสถิตยังพระอารามที่ใกล้           ราชฐาน (คุ้มหลวง) หรือที่เรียกกันว่า วัดหลวงประจำเมือง ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่มีมาแต่โบราณทั้งสยามและล้านนา ภายหลังประเพณีนี้ได้ถูกยกเลิกไปสมเด็จพระสังฆราชายังคงสถิต ณ พระอารามเดิม โดยในการนี้ทางฝ่ายสงฆ์และบ้านเมืองจะพิจารณาคัดเลือกพระมหาเถระที่มีอาวุโสทางพรรษา ทรงภูมิโลก ภูมิธรรม ขึ้นดำรงตำแหน่ง ดังนั้นตำแหน่งของพระเถระในสมัยก่อนจึงพิจารณาจากวัยวุฒิและคุณวุฒิเป็นหลัก ทั้งนี้ลำดับชั้นของพระสงฆ์ล้านนาโบราณเท่าที่สืบค้นมามีดังนี้ 
   ๑. ครูบา
   ๒. มหาเถร
   ๓. สามี
   ๔. สังฆราชา
   ๕. ราชครู
   ๖. มูฬี
   ส่วนสาธุ หรือสาธุเจ้านั้น คงเป็นลำดับชั้นธรรมดาที่ใช้กันทั่วไป ในที่นี้จึงไม่ได้จัดเข้าไว้ในลำดับ เฉพาะครูบาใช้สำหรับนำหน้าชื่อ ส่วนที่เหลือใช้เป็นคำตามหลัง

๑   สมัยข้าพเจ้ายังเป็นสามเณรได้ยินว่ามีการจัดพิธีดังกล่าวนี้ครั้งล่าสุดขึ้นที่วัดนาคำ ต.ศิลาเพชร อ.ปัว ด้วยเหมือนกัน ซึ่งผู้ที่ได้รับการยอยกครั้งนั้นก็คือ ครูบาสิงห์คำ (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) แต่ยังไม่ได้สืบถามข้อมูลจากคนในท้องที่ว่าเป็นพิธีที่ปฏิบัติกันมาช้านานหรือไม่ และมีพิธีปฏิบัติอย่างไรบ้าง



ครูบาและมหาเถรนั้นอาจมีตำแหน่งเทียบเท่ากัน หรือไม่ก็อย่างเดียวกัน เพียงแต่ใช้เรียกควบคู่กันเท่านั้น๑ ส่วนสามี (บางทีเรียก สวามี, มหาสามี หรือ มหาสวามี) สังฆราชา, ราชครู, มูฬี (หรือโมฬี) น่าจะมีตำแหน่งเทียบเท่ากัน เพียงแต่เรียกต่างกันตามคณะนิกายเท่านั้น และต้องได้รับการสถาปนา ดังนั้นอาจจะมีคำนำหน้าว่า สมเด็จด้วยก็ได้ เช่น สมเด็จราชครู เป็นต้น ได้ยินว่า ตำแหน่งสามีเป็นตำแหน่งที่มีมาจากทางลังกาและรามัญซึ่งก็คงสืบทอดมาจากลังกาอีกต่อหนึ่ง ได้แพร่หลายเข้ามาทางสุโขทัยก่อนแล้ว   จึงเข้าสู่ดินแดนล้านนาในเวลาต่อมา ดังเช่น พระอุทุมพรมหาสามีที่มาจากเมืองพัน (เมาะตะมะ) พำนักอยู่วัดป่ามะม่วงเมืองสุโขทัย และเป็นครูของพระมหาธรรมราชาลิไท ก็เป็นชาวรามัญ ตำแหน่งสามี (หรือสวามี) จึงเป็นของทางลังกา และถือเป็นตำแหน่งเฉพาะของภิกษุนิกายสิงหลหรือลังกาวงศ์ในล้านนาเท่านั้น ส่วนตำแหน่งสังฆราชาก็ดี ราชครูก็ดี มูฬีก็ดี คงเป็นตำแหน่งดั้งเดิมของภิกษุในนิกายพื้นเมือง นี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐาน  ดังปรากฏในคำเรียกขวัญสามเณรว่า “หื้อได้เป็น ครูบาตนองอาจ หื้อได้เป็นสมเด็จราชครูเล่าแด่เทิอะ” อนึ่งคำว่าครูบานี้โดยมากนิยมเรียกควบคู่กับคำว่า มหาเถร เป็น ครูบามหาเถร ก็มี ใช้เรียกพระภิกษุผู้บวชเรียนต่อเนื่องมาตั้งแต่เป็นสามเณร จนถึงชรากาลแก่เฒ่าเป็นรัตตัญญู โดยไม่ผ่านการสึกในระหว่างมาก่อน ดังนั้นทางล้านนาจึงถือเอาอายุพรรษา ความเป็นพหูสูตในด้านต่างๆ เป็นเกณฑ์หลักในการกำหนดคุณสมบัติของครูบา

พิธีเถราภิเษกในดินแดนล้านช้างและภาคอีสานของไทย

ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานของไทยบางจังหวัดปัจจุบันนี้ยังนิยมจัดพิธีเถราภิเษกแบบชาวบ้านหรือที่เรียกว่า “บุญกองฮด” อยู่บ้าง เป็นบางพื้นที่ หลังจากที่ถูกยกเลิกไปเสียคราวหนึ่ง พิธีบุญกองฮดก็คือ พิธีการแต่งตั้งหรือเลื่อน      สมณศักดิ์พระภิกษุสงฆ์ของชาวอีสาน แต่เดิมการจัดตำแหน่งสมณศักดิ์พระภิกษุสงฆ์ทางภาคอีสานในสมัยอิทธิพลราชธานีไทยนั้น ไม่ได้จัดทำเนียบตำแหน่งสมณศักดิ์ตาม

๑    แต่ในที่อื่นท่านกล่าวว่าเป็นครูบา, เป็นเถร, เป็นสังฆ์ ดูเหมือนจะเรียงลำดับไว้ชัดเจน คำว่า เถร ก็คือ
   มหาเถร จะต้องสูงกว่า ครูบา ส่วนคำว่า สังฆ์ ก็คือ สังฆราชา สูงกว่า ๒ ชั้นข้างต้น

แบบคณะสงฆ์ส่วนกลาง แต่ยังคงใช้สมณศักดิ์ตามแบบของอาณาจักรล้านช้างอยู่              ซึ่งจัดลำดับไว้ดังนี้
๑)  สำเร็จ  คือภิกษุหรือสามเณรที่ได้รับเถราภิเษกฮดสรงครั้งที่ ๑
๒)  ซา  คือภิกษุหรือสามเณรที่ได้รับเถราภิเษกฮดสรงครั้งที่ ๒
๓)  คู (ครู) คือภิกษุหรือสามเณรที่ได้รับเถราภิเษกฮดสรงครั้งที่ ๓
   ๔)  คูหลักคำ หรือ หัวคูหลักคำ คือภิกษุหรือสามเณรที่ได้รับเถราภิเษกฮดสรง 
      ครั้งที่ ๔
๕)  คูลูกแก้ว หรือ หัวคูลูกแก้ว คือภิกษุหรือสามเณรที่ได้รับเถราภิเษกฮดสรง
   ครั้งที่ ๕
๖)  คูยอดแก้ว หรือ หัวคูยอดแก้ว คือภิกษุหรือสามเณรที่ได้รับเถราภิเษกฮดสรง
   ครั้งที่ ๖
จะเห็นได้ว่า ท่านไม่ได้จัดตำแหน่งครูบา เข้าไว้ในพิธีเถราภิเษกเหมือนกับทางล้านนา  เพราะครูบาของทางอีสานหมายถึง ภิกษุผู้บวชใหม่ ยังไม่ถึง ๕ พรรษา หรือที่เรียกว่า พระนวกะ นั่นเอง อันมีลักษณะของการกลายความหมายทางรูปศัพท์
เมื่อพระภิกษุสามเณรภาคอีสานบวชเรียนไปได้ระยะหนึ่งจนสามารถท่องมนต์เจ็ดตำนาน สวดพระปาติโมกข์ เรียนภาษาบาลีถึงขั้นตอนหนึ่งๆ ชาวบ้าน มัคนายกวัด เจ้าบ้านผ่านเมือง ก็จะจัดพิธีฮดสรงให้พระภิกษุสามเณรรูปนั้น เพื่อที่จะเลื่อน               สมณศักดิ์ขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง แต่กระนั้นก็ตามพระสงฆ์สามเณรที่จะได้รับพิธี                  เถราภิเษกฮดสรงนั้น ต้องมีจริยวัตรอันดีงาม ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธา และต้องขยันหมั่นเพียรศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ศึกษาคัมภีร์ต่างๆ ได้ตามลำดับที่กำหนดไว้ จึงจะได้รับเลื่อนสมณศักดิ์
ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่าสังคมจะคอยควบคุมจริยวัตรของพระภิกษุสงฆ์ไปในตัวด้วย เพราะชาวบ้านมีความใกล้ชิดกับวัดวาพระศาสนาจึงรู้ว่า พระภิกษุสามเณรรูปใดมี        จริยวัตรงดงาม และขยันหมั่นเพียรในการศึกษาพระธรรมวินัย สมควรได้รับเถราภิเษก
ธรรมเนียมการเลื่อนสมณศักดิ์ของพระสงฆ์แบบชาวบ้าน โดยญาติโยมมีส่วนรู้เห็นในการเถราภิเษกฮดสรงนี้ ได้กระทำกันมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่สมัยอิทธิพล

อาณาจักรล้านช้างและราชธานีไทย จนถึงสมัยปฏิรูปการปกครองหัวเมืองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล และได้ส่งข้าหลวงประจำมณฑลจากส่วนกลางไปกำกับราชการตาม            หัวเมืองต่างๆ ในภาคอีสาน ประกอบกับคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายได้แพร่หลายเข้าไปยังมณฑลอุบลราชธานี และได้สถาปนาวัดสุปัฏนารามเป็นอารามของพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายขึ้นที่จังหวัดอุบลราชธานีในครั้งนั้น จนถึง พ.ศ.๒๔๕๖ พระราชมุนี (อ้วน ติสฺโส ภายหลังได้รับโปรดเกล้าสถาปนาเป็น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์) ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี เห็นว่าการเลื่อนสมณศักดิ์แบบธรรมเนียม              ของภาคอีสานเริ่มฟั่นเฝือกันใหญ่ ชาวบ้านก็สามารถเลื่อนสมณศักดิ์พระภิกษุได้โดยไม่มีขอบเขตจำกัด
เมื่อครั้งพระยาวิเศษสิงหนาท (ปิ๋ว บุนนาค) เป็นผู้รั้งสมุหเทศาภิบาลมณฑลอุบลราชธานี ทางฝ่ายคณะสงฆ์และฝ่ายกรรมการมณฑลได้ประชุมปรึกษาหารือกันเรื่องการบริหารและทำนุบำรุงกิจการพระศาสนาในมณฑลอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๖ ณ ศาลากลางมณฑล สรุปว่า
 “ตามข้อประกาศนี้ (ประกาศเถราภิเษกฮดสรง) ได้ความว่าเป็นของครั้ง              เจ้าผู้ครองเวียงจันทน์ทำขึ้นไว้ สำหรับเป็นประเพณีแต่งตั้งสมณศักดิ์ และพร้อมด้วยเจ้าครองเวียงจันทน์รู้เห็นด้วย แต่ชาวเราไปเก็บเอามาใช้จนฟั่นเฝือ ถึงราษฎรโดยมากก็แต่งตั้งสมณศักดิ์ได้โดยความเข้าใจผิด ที่คิดห้ามเสียคราวนี้ ก็เป็นการสมควรมาก”
นับแต่นั้นมาธรรมเนียมเถราภิเษกเลื่อนสมณศักดิ์แบบล้านช้างก็ถูกยกเลิกไป และมณฑลอื่นๆ ในภาคอีสานก็ได้ปฏิบัติตามประกาศของมณฑลอุบลราชธานี ยกเลิกตำแหน่งสมณศักดิ์แบบจารีต และการแต่งตั้งสมณศักดิ์จากส่วนกลางได้เข้าไปบทบาทแทนที่สืบต่อมา
จากบันทึกเส้นทางการจาริกธรรมของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต มีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับพิธีเถราภิเษกอยู่ตอนหนึ่งดังนี้
สิบห้าวันที่ท่านพระอาจารย์มั่นพักอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส (ระหว่างที่ท่านเดินทาง ย้ายจากจังหวัดอุดรธานีมาอยู่ที่จังหวัดสกลนคร ในปี พ.ศ.๒๔๘๕) มีเหตุการณ์ที่ควรนำมาเล่า คือ  “เรื่องเถราภิเษก” ภาษาอีสานเรียกว่า กองฮด (ฮด หมายถึง รด หรือเทราด


ลงไป) คือนำผ้าไตรมา แล้วมีการสรงน้ำพระสงฆ์ที่เคารพนับถือ ถวายบริขารใหม่ สมมติเป็นสมเด็จพระอุปัชฌาย์ (ซา) เป็นราชครู (คู) ลาภหนึ่ง ลาภสอง๑ ไปเรื่อยๆ              ชาวสกลนครได้นำไตรจีวรจะมาฮดสรง ท่านพระอาจารย์ไม่ยอมรับ ท่านอธิบายว่า       
“เป็นประเพณีที่มีมาจากเวียงจันทน์ ที่อื่นไม่มี ครั้งพุทธกาลไม่มี แล้วพวก        ญาติโยมจะมาแต่งอาตมาให้เป็นอะไรอีก เป็นพระอาตมาก็เป็นแล้ว พระสงฆ์ อุปัชฌาย์อาจารย์แต่งให้แล้ว เป็นพระโดยสมบูรณ์ คณะสงฆ์รับรองแล้ว”
 “พระพุทธเจ้ามีใครไปฮดไปสรงให้เป็นพระพุทธเจ้าบ้าง ไม่มี พระองค์               ตรัสรู้เอง พระสาวก พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ฮดไม่ได้สรง ทั้งพระพุทธเจ้าแสดงธรรมแล้วได้บรรลุธรรมที่พระพุทธเจ้าสอน นี่มีอำนาจกว่า แล้วจะมาฮดสรงแต่งอาตมาให้วิเศษกว่าพระพุทธเจ้าหรือ”
 “อันเรื่องเถราภิเษกหรือฮดสรงนี้ เป็นขัตติยประเพณีสำหรับอภิเษกแต่งตั้งพระมหาสังฆนายก สมเด็จพระสังฆราชต่างหาก มีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ไม่ใช่ของราษฎรบุคคลสามัญจะทำกัน ทางเวียงจันทน์ก็ทำเหมือนกัน ครั้นราษฎรสามัญเห็นเข้า                  ขออนุญาตให้ราษฎรทำบ้าง ก็เลยเป็นประเพณี”
 “ส่วนพระผู้ถูกฮดสรง ก็ไม่เห็นว่าวิเศษ ได้สำเร็จอะไร สึกหาลาเพศไปมีครอบครัว  มีกิเลสถมเถไป  ไม่เห็นวิเศษวิโสอะไร  แล้วพวกท่านเป็นฆราวาส อาตมา
เป็นพระ ตักน้ำมาฮดหัวอาตมาๆ เป็น สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ของพวกท่าน แทนที่จะได้บุญกลับเป็นบาปเสียอีก”
   เป็นที่รู้กันว่าครูบาในสมัยก่อนมักจะถ่อมตนเสมอ สังเกตได้จาการใช้คำนำหน้าชื่อจะไม่ใช้คำว่าครูบานำหน้าชื่อของตนหรือเรียกขานตนเองว่าครูบาโดยเด็ดขาด              คำว่า ครูบา จะเป็นคำสำหรับผู้อื่นซึ่งเคารพนับถือหรือลูกศิษย์ลูกหาใช้เรียกเท่านั้น            แต่จะใช้คำว่า ภิกขุ ต่อท้ายฉายานามของตนแทน ถึงแม้จะมีอายุพรรษามากก็ตามเช่น ครูบาอุปปละ, ครูบานารทะ, ครูบาป่าชวนะ ก็จะเรียก อุปปละภิกขุ, นารทะภิกขุ,                  ชวนะภิกขุ เป็นต้น ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้คำว่า ครูบา นำหน้าด้วยตนเองมักจะเลี่ยงไป

๑   ทั้งสองชื่อนี้ไม่ปรากฏในลำดับชั้นข้างต้น คงจะเพิ่มเข้ามาทีหลัง หรือเป็นตำแหน่งเฉพาะท้องที่ (ผู้เขียน)



ใช้ชื่อสำนักหรือวัดแทนเช่น “พับลูกนี้ครูบาหลวงหนองเทาแต้มไว้หื้อหนานหลวงปัญญา..” เป็นต้น ซึ่งท่านบอกเพียงว่าเป็นครูบาหลวงหรือสมภารใหญ่วัดหนองเทาเท่านั้น ไม่ได้ออกชื่อตนเองไว้ ธรรมเนียมการใช้ชื่อสถานที่แทนชื่อตนเองนี้ทางพม่าก็นิยมเช่นกัน ปัจจุบันยังมีใช้อยู่ เช่น อูโสภณมหาเถระ ชาวพม่านิยมเรียกชื่อท่านตาม ชื่อวัดด้วยความเคารพว่า “มหาสีสยาด่อ”  ซึ่งหมายถึง พระอาจารย์ใหญ่หรือเจ้าอาวาสวัดมหาสี (วัดกลองใหญ่) แต่จะไม่ออกชื่อจริงของท่าน หรืออย่างชาวล้านช้างนิยมเรียกพระมหาเถรโพนสะเม็ด (โพนสะเม็ก ก็เรียก) ว่า “ญาครูขี้หอม” แทนชื่อจริง             ของท่าน เป็นต้น ซึ่งชื่อเหล่านี้เรียกว่า เนมิตตกนาม (ชื่อที่ตั้งขึ้นโดยอาศัยนิมิตเหตุ)
   การไม่เอ่ยนามหรือชื่อจริงของผู้ใหญ่เวลาอยู่ต่อหน้าท่านนี้ เป็นธรรมเนียมเดิมที่มีมาจากอินเดีย ซึ่งผู้น้อยจะต้องปฏิบัติต่อผู้ใหญ่ เป็นการให้ความเคารพผู้ที่อยู่สูงกว่าหรือมีฐานะมากกว่าตน ยกตัวอย่างเช่น พวกคณาจารย์ หรือเจ้าลัทธิต่างๆ ในสมัยพุทธกาลนิยมเรียกพระพุทธเจ้าของเราว่า พระสมณโคดม โดยใช้ชื่อโคตรหรือสกุลแทน  (ฝรั่งก็มีธรรมเนียมนี้ คือจะเอาชื่อสกุลขึ้นก่อน ตามด้วยชื่อตัวเป็นชื่อรอง) ทั้งนี้ถือเป็นการให้เกียรติหรือยกย่อง  เพราะพระพุทธองค์ประสูติในวรรณะกษัตริย์แห่งชาวศากยะ พระโคตรของพระองค์คือ โคตมโคตร
   ทางพระวินัยมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระกรรมวาจาจารย์สวดกรรมวาจาในอุปสมบทกรรมโดยใช้ชื่อสมมติหรือชื่อโคตรแทนชื่ออุปัชฌาย์และอุปสัมปทาเปกข์ในกรณีที่ไม่อาจสวดด้วยชื่อจริงได้ (มาในพระวินัยปิฎกเล่ม ๓ หน้า ๑๒๙)
   ในสารัตถทีปนีฎีกาเล่ม ๓ หน้า ๒๖ กล่าวว่า

   เยน เกนจิ นาเมน อนุสฺสาวนา กาตพฺพาติ วทนฺติ.
   “อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ควรทำการสวดกรรมวาจาด้วยชื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง”
   
   ในวิมติวิโนทนีฎีกาเล่ม ๒ หน้า ๑๓๐ กล่าวว่า

   โคตฺตาทินาเมน ตํขณิกนาเมน จ อนุสฺสวนํ กาตุ วฏฺฏติ. ตสฺมึปิ ขเณ อยํ ติสฺโส วา นาโค วา นามํ กโรนฺเตหิ อนุสฺสาสกสมฺมุติโต ปมเมว กาตพฺพํ.

“พระกรรมวาจาจารย์ควรสวดกรรมวาจาด้วยชื่อโคตรเป็นต้น หรือชื่อชั่วคราว          แม้ในขณะนั้นพระกรรมวาจาจารย์ก็ควรตั้งชื่อว่า องค์นี้ชื่อติสสะ หรือองค์นี้ชื่อนาคะ ก่อนที่จะมีการสวดสมมติตน”
   ถ้าถือตามสาธกหลักฐานดังกล่าวข้างต้น ก็เป็นอันแก้ความสงสัยในข้อที่เคยยึดถือกันมานาน กล่าวคือ ปัจจุบันนี้มีพระภิกษุบางรูปเข้าใจว่า ชื่อฉายาไม่สามารถเปลี่ยนได้ ถ้าต้องการเปลี่ยนก็จะต้องสวดกรรมวาจาใหม่ และเริ่มนับพรรษาหนึ่งใหม่ ความเห็นดังกล่าวนี้คลาดเคลื่อนจากบาลี อรรถกถาและฎีกา เพราะที่จริงในพระวินัยอนุญาตให้สวดกรรมวาจาด้วยชื่อสมมติได้อยู่แล้ว ทั้งนี้เพื่อทำความสะดวกแก่                พระกรรมวาจาจารย์จะได้ไม่ต้องลำบากในการสวด  เวลาประกอบวิภัตติคำบาลีที่ยาวๆ หรือยากๆ มักจะมีปัญหาในเรื่องของการเปลี่ยนวิภัตติ ก็ให้ใช้ชื่อสมมติแทนได้
   ส่วนที่อนุญาตให้ใช้ชื่อโคตรแทนได้นั้น เท่ากับเป็นการแสดงความเคารพ              นับถือผู้ใหญ่ไปในตัวด้วย เพราะโดยมากพระอุปัชฌาย์จะมีอายุพรรษามากกว่า           พระกรรมวาจาจารย์  ถ้าไม่ประสงค์จะออกชื่อจริงของพระอุปัชฌาย์ ก็ให้เปลี่ยนไปใช้ชื่อสมมติหรือชื่อโคตรแทนได้
   ชื่อมคธหรือที่เรียกกันว่า ฉายา นั้น มีความสำคัญมากในเวลาสวดกรรมวาจา เพราะไม่สามารถสวดด้วยภาษาเดิมของตนได้ ดังนั้นเวลาทำสังฆกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอุปสมบทกรรม จึงจำเป็นต้องตั้งชื่อสมมติที่เป็นภาษามคธขึ้นมาแทนชื่อเดิม เพื่อไม่ให้ขัดต่อกรรมวาจาในเวลาสวด เนื่องจากเป็นคนละภาษานั่นเอง ปัจจุบันพระสงฆ์ในเมืองไทยเรานิยมใช้ชื่อฉายาต่อท้ายชื่อจริง ส่วนประเทศเถรวาทอื่นๆ เช่น พม่า ลังกา เป็นต้น นิยมใช้ชื่อฉายา (ชื่อตอนเป็นพระ) แทนชื่อจริง (ชื่อตอนเป็นคฤหัสถ์) และชื่อนี้ก็เป็นชื่อที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้มาตั้งแต่ตอนเป็นสามเณรแล้ว (สมัยก่อนทางล้านนาก็มีเหมือนกัน) คนส่วนมากจึงเข้าใจผิดว่า สามเณรก็มีฉายาเหมือนกับพระ ส่วนพระสงฆ์ทางประเทศลาวจะไม่ใช้ชื่อฉายาต่อท้ายชื่อจริงอย่างพระสงฆ์ไทย แต่จะใช้ชื่อสกุลแทนเหมือนสามเณรและฆราวาสทั่วไป เพียงแต่มีคำว่า พระ นำหน้าชื่อจริงเพื่อบอกตำแหน่งฐานะเป็นต้นเท่านั้น

ธรรมะ ปุจฉา:
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวข้างต้น มีหลักฐานปรากฏในคัมภีร์สมันตปาสาทิกา                อรรถกถาวินัยอยู่แห่งหนึ่ง คือ เมื่อคราวที่พระสิคควเถระปรารภที่จะส่งติสสสามเณร (พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ) ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของตน ไปยังสำนักพระจัณฑวัชชี-เถระ เพื่อเรียนพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา ก่อนที่จะส่งไปได้อบรมสามเณรถึงมารยาทอันดีว่า  เมื่อไปถึงแล้วฝากถามสาระทุกข์สุกดิบแทนตัวท่านด้วย และให้เรียนพระเถระว่า  พระอุปัชฌาย์ส่งกระผมมาหาใต้เท้าขอรับ ถ้าพระเถระถามว่า  อุปัชฌาย์เธอชื่อไร?  ก็ให้ตอบว่า พระสิคควเถระขอรับ ถ้าท่านถามว่า เราชื่ออะไร? (หมายถึงรู้จักเราไหม?) ต้องตอบอย่างนี้ว่า พระอุปัชฌาย์ของกระผมรู้จักใต้เท้าดีขอรับ  ดังนี้แล้วจึงส่งสามเณรไป
   ฝ่ายสามเณรก็กราบลาพระอุปัชฌาย์ แล้วออกเดินทางไปพบพระจัณฑวัชชีเถระ เมื่อไปถึงสำนักพระเถระ ทำสามีจิกรรมเรียบร้อยแล้วถูกท่านถามว่า
   เถ.    สามเณรมาจากไหน?
   สา.   พระอุปัชฌาย์ส่งกระผมมาหาใต้เท้าขอรับ
   เถ.    อุปัชฌาย์เธอชื่อไร?
   สา.    พระสิคควเถระ ขอรับ
   เถ.    เรา๑ ชื่อไร?
   สา.    พระอุปัชฌาย์ของกระผมรู้จักใต้เท้าดี ขอรับ
   พระเถระเห็นแววฉลาดของสามเณรจึงรับเข้าไว้ในสำนักเพื่อให้ศึกษาพระ         พุทธพจน์ต่อไป
   มีบาลีสาธกจากคัมภีร์ดังกล่าวดังนี้
   เถโร  สามเณร กุโต อาคโตสีติ อาห. อุปชฺฌาโย มํ ภนฺเต ตุมฺหากํ สนฺติกํ ปหิณีติ.
โก นาม เต อุปชฺฌาโยติ. สิคฺควตฺเถโร นาม ภนฺเตติ. อหํ โก นามาติ. มม อุปชฺฌาโย            ภนฺเต ตุมฺหากํ นามํ ชานาตีติ. ปตฺตจีวรํทานิ ปฏิสาเมหีติ. (สมนฺต. ๑/๔๐)
   พระเถระถามว่า สามเณรมาจากไหน?

๑   คือพระจัณฑวัชชีเถระผู้ถาม


สา.  พระอุปัชฌาย์ส่งกระผมมาหาใต้เท้า ขอรับ   
   เถ.  อุปัชฌาย์เธอชื่อไร?
   สา.  พระสิคควเถระ ขอรับ
   เถ.  เราล่ะชื่อไร?
   สา.  พระอุปัชฌาย์ของกระผมรู้จักใต้เท้าดี ขอรับ
   เถ.  จงรีบเก็บบาตรจีวรเข้าที่เสียเดี๋ยวนี้
   จากหลักฐานบาลีข้างต้นชี้ให้เห็นว่า ธรรมเนียมของชาวอินเดียแต่โบราณนั้น เวลาอยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ จะไม่ระบุชื่อของท่านตรงๆ อันเป็นการแสดงออกถึงการมีสัมมาคารวะ ซึ่งผู้มีอาวุโสน้อยกว่าจะต้องปฏิบัติต่อผู้มีอาวุโสมากกว่า ที่ว่า “พระอุปัชฌาย์ของกระผมรู้จักใต้เท้าดีขอรับ” เป็นคำตอบที่ไม่จำเป็นต้องตอบตรงๆ ซึ่งอาจจะฟังดู                   อ้อมค้อมคดเคี้ยวสักหน่อย แต่ก็เป็นที่เข้าใจกันว่า หมายถึงพระจัณฑวัชชีเถระนั่นเอง เพราะถ้าอุปัชฌาย์ของสามเณรรู้จักพระเถระเป็นอย่างดีแล้ว ไฉนเลยสามเณรจะไม่รู้จักพระเถระเล่า? อย่างน้อยก็คงจะเคยได้ยินชื่อของท่านบ้าง เพราะพระเถระทั้งสองเป็นสหายกัน ในประโยคนี้จึงไม่ควรถือว่า  ผู้พูด (คือสามเณร) ไม่รู้จักกาละเทศะหรือที่สูง           ที่ต่ำ อย่างที่เรียกกันสมัยนี้ว่า “พูดยียวนกวนประสาท” แต่เป็นความฉลาดของผู้พูด ซึ่งได้รับการฝึกหัดมาดี อันแสดงออกถึงการมีปฏิภาณไหวพริบ วิธีเช่นนี้ในบาลีเรียกว่า  “อวุตตสิทธินัย” คือ วิธีที่สำเร็จโดยไม่ต้องกล่าว หมายความว่า ถึงแม้จะไม่กล่าวตรงๆ แต่ก็เข้าใจได้โดยโลกโวหารเหมือนที่พูดกันว่า  “รู้โดยนัย”  “รู้โดยอุปมา”  ฉะนั้น
   จะเห็นได้ว่าครูบาอาจารย์แต่ก่อนมาท่านดำเนินรอยตามพุทธจริยาวัตรเหมือนครั้งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่  เวลาออกพระนามพระองค์จะทรงใช้คำว่า “เรา” หรือ “ตถาคต” คำใดคำหนึ่งแทนคำว่า “พระพุทธเจ้า” ในลักษณะถ่อมพระองค์  ในกรณีที่ต้องใช้คำว่า “พระพุทธเจ้า” ก็จะทรงเลี่ยงไปใช้ในลักษณะอื่น                    ที่มีความหมายรวม ด้วยความที่ทรงเป็นผู้ฉลาดในโวหาร (โวหารกุสลตา) เช่นตรัสว่า “ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย” ซึ่งคำว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายในที่นี้มิได้หมายเอาเพียงพระองค์เองเท่านั้น  แต่หมายรวมถึงพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ ด้วย โดยทรงประกอบรูปศัพท์เป็นพหูพจน์ (พุทฺธา จ นาม) เห็นมีอยู่ที่หนึ่งทรงใช้คำว่า พุทฺโธ แทนพระองค์


ทั้งนี้เป็นการตรัสกับคนลัทธิอื่น ซึ่งยังไม่เคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เพื่อจะ          ย่ำยีปรัปปวาทะของพวกอัญญเดียรถีย์ คือ เมื่อคราวเสด็จโปรดมิคารเศรษฐีพ่อผัวของนางวิสาขา โดยทรงประกาศพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าว่า  อหํ พุทฺโธ นาม, สกฺโกมิ ตํ มม สทฺทํ สาเวตุ. (ขุ.ธมฺมปทฏฺ. ๓/๖๔)  “เราได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า สามารถยังท่านให้ได้ยินเสียงเราได้”  ทั้งนี้เพราะเศรษฐีถูกพวกอาชีวกคอยกีดกันไม่ให้ฟังธรรม            ด้วยกลัวว่าเมื่อเศรษฐีเลื่อมใสในพระรัตนตรัยแล้วพวกตนจะเสื่อมจากลาภสักการะ        จึงกั้นม่านเสียแน่นหนา แล้วให้เศรษฐีทำทีอย่างนั่งฟังอยู่ข้างนอกม่านแทน  พระองค์จึงตรัสพุทธฎีกานี้เพื่อประกาศพุทธานุภาพ พวกพาหิรลัทธิคณาจารย์ถึงแม้จะไม่เคารพนับถือในพระรัตนตรัย แต่ก็กริ่งเกรงในพุทธานุภาพอยู่บ้าง ด้วยเชื่อว่า พระพุทธองค์ทรงมีมนต์บทหนึ่งที่เรียกว่า “อาวัฏฏนมนต์” (มนต์กลับใจ) จึงกลัวว่า พวกตระกูลอุปัฏฐากของตนจะแปรพักตร์หันไปเคารพเลื่อมใสพระพุทธศาสนาหมด  หลังจากที่ได้ฟังธรรมแล้ว จึงพยายามกีดกันทุกวิถีทาง
    ดังนั้นการที่จะใช้คำว่า ครูบา นำหน้าชื่อได้ก็โดยอาการที่ผู้อื่นซึ่งมีความเคารพเลื่อมใสใช้เรียกเท่านั้น แต่จะใช้นำหน้าชื่อด้วยตนเอง หรือเรียกตนเองว่า “ครูบา”            หาควรไม่
   ลำดับชั้นของพระสงฆ์ล้านนาโบราณเท่าที่ทราบมา ดังแสดงไว้ข้างต้นนั้น           แต่ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่า ลำดับตามที่เรียงไว้นั้นจะถูกต้องทั้งหมดหรือไม่ เพราะไม่รู้ว่าตำแหน่งไหนสูงต่ำกว่ากัน ระหว่าง สามี, สังฆราชา, ราชครู, และมูฬี แต่ถ้าสืบตามเค้ามูลเดิมคงกำหนดได้เพียง ๓ ชั้นเท่านั้นคือ ครูบา, มหาเถร, และสังฆราชา                  ส่วนราชครู เป็นตำแหน่งพิเศษ หมายเอาภิกษุผู้เป็นราชอุปัธยาจารย์เท่านั้น ทั้งนี้ภิกษุ
ผู้เป็นราชครู (อัครราชครู) อาจจะมีตำแหน่งควบเป็นสังฆราชา (มหาสังฆราชา) สามี (มหาสามี) หรือมูฬี (อัครราชมูฬี) ด้วยก็ได้ (ผู้เขียน) ส่วนของทางเชียงตุงนั้นท่านกำหนดไว้ดังนี้
   ๑.   สามเณร
๒.   ภิกขุ (ต่ำกว่า ๑๐ พรรษาลงมา)
   ๓.   สิทธิ (๑๐ พรรษาขึ้น)
๔.   สามี (๒๐ พรรษาขึ้น)
      ๕.   ครูบา (แล้วแต่เห็นสมควรบางองค์เป็นสามีจนชราภาพไม่ได้เป็น               ครูบา ก็มี)
   ๖.   อาชญาธรรม (ตำแหน่งสูงสุดเทียบสังฆราชาหรือสังฆนายก)
   ซึ่งที่จริงถ้าว่าตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งแล้วควรยก ๒ ข้อแรกเสีย และนับตั้งแต่ข้อ ๓ เป็นต้นไป เพราะ ๒ ข้อแรก เป็นเพียงลำดับชั้นธรรมดาเท่านั้น จะเห็นได้ว่าตำแหน่งครูบาของทางเชียงตุงนั้นสำคัญมาก ภิกษุที่จะดำรงตำแหน่งครูบาได้อย่างน้อยจะต้องมีอายุพรรษา ๓๐ ขึ้นไป และจะต้องมีความรู้ความสามารถประกอบคุณงามความดีในหลายๆ ด้าน จึงจะได้รับเลื่อนขึ้นเป็นครูบา ซึ่งจารีตธรรมเนียมนี้ได้สืบทอดกันมายาวนาน ส่วนการที่มีพระสงฆ์จากทางล้านนาไปเข้าพิธีเถราภิเษก ณ ประเทศนั้นได้รับการยอยกขึ้นเป็นครูบาถือว่า ต้องตามธรรมเนียมของเขา ไม่ต้องตามธรรมเนียมของเรา จะมาตู่เอาว่าเป็นครูบาที่ถูกต้องตามธรรมเนียมดูไม่ชอบเหตุ แต่ก็นับว่าเป็นเกียรติคุณที่ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนในประเทศนั้นสำหรับ         ท่านไป เพราะธรรมเนียมในบ้านเมืองเรานี้ไม่มีมาแต่เดิม หรือถ้าเคยมีก็เลิกปฏิบัติไปตั้งช้านาน บัดนี้ไม่มีพิธีนั้นเสียแล้วจึงไม่ควรที่จะยกขึ้นเป็นอัพภาจิกขนวาทะค่อนแคะให้หมางใจกัน เพราะการที่จะเป็นครูบาหรือไม่นั้น ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ต้องผ่านพิธียอยกหรือเถราภิเษกเพียงอย่างเดียว มิเช่นนั้นใครๆ ก็เป็นครูบาได้ เพียงเพราะผ่านพิธียอยกมาเท่านั้น แต่อยู่ที่ข้อวัตรปฏิบัติเป็นรัตตัญญูรอบรู้สรรพวิชาการ ซึ่งต้องตามองค์คุณของครูบาดังกล่าวแล้ว แม้ถ้าหากจะให้มีการรื้อฟื้นหรือจัดพิธีนี้ขึ้นมาใหม่ในบ้านเมืองเรา จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของพิธีกรรมตายตัวเป็นแบบเดียวกัน โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้ถูกต้องเสียก่อน และได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่ายด้วย มิใช่จะทำอย่างลวกๆ ไร้ระเบียบแบบแผน
   แต่ถ้าเน้นหนักในหลักการจนเกินไปก็จะกลายเป็นยึดติดมัวเมา ถ้ามิเช่นนั้น พระเถระทั้งหลายตั้งแต่ก่อนมาก็คงเรียกครูบาได้อย่างไม่สนิทปากหรือเป็นครูบาที่ไม่ถูกต้องตามธรรมเนียมไป อย่างเช่น ครูบาศรีวิชัย เป็นต้น เพราะตามชีวประวัติของท่านไม่เคยมีบันทึกเอาไว้ว่า ได้ผ่านพิธีเถราภิเษกมาก่อน แต่การที่ท่านได้รับยกย่องให้
เป็นนักบุญแห่งล้านนาและครูบาองค์หนึ่ง ก็ด้วยข้อวัตรปฏิบัติที่เพียบพร้อมและศีลธรรมกัมมัฏฐานของท่าน ตลอดถึงผลงานในด้านบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม           ต่างๆ ที่เป็นสาธารณประโยชน์ต่างหาก  ประชุมชนจึงเคารพนับถือยกย่องให้เป็นครูบา ซึ่งอันที่จริงการที่ได้รับยกย่องให้เป็นครูบาโดยไม่ต้องผ่านพิธียอยกนี้ควรถือเป็นการยอยกได้เช่นกัน โดยความเป็นอุสสทโวหาร ที่ชนหมู่มากพากันเรียกขานอาศัย           วจีภาชนะ (การรับรองด้วยคำพูด) จึงเป็นการยอยกโดยทางอ้อม ส่วนเถราภิเษกนั้นอาศัยสังวิธานภาชนะ (การรับรองด้วยพิธีกรรม) การยอยกทั้ง ๒ รูปแบบนี้จึงนับว่าสำเร็จตามนัยแห่งตน จะมีใครบ้างกล้าโจทก์ได้ว่า มิใช่ครูบา  ลำพังตัวท่านเองมักใช้คำนำหน้าชื่อว่า พระศรีวิชัยภิกขุบ้าง พระชัยยาชนะภิกขุบ้าง แต่จะไม่ใช้คำว่า ครูบา
   ถ้าจะเทียบเท่าตำแหน่งครูบากับสมณศักดิ์สมัยนี้ ก็จัดเป็นสมณศักดิ์ของชาวบ้านหรือที่ประชุมชนตั้งให้ ไม่ใช่สมณศักดิ์ที่เป็นทางการ ถ้าเทียบกับสมภารหรือเจ้าอาวาส ก็เป็นเพียงระดับสังฆาธิการ แต่ในความรู้สึกของคนทั่วไปนั้น คำว่าครูบา ออกจะดูโดดเด่นสูงส่งมากกว่าคำว่า สมภารหรือเจ้าอาวาสเป็นไหนๆ  และความเป็นครูบานี้สำเร็จได้โดยภาวะแห่งตน ไม่จำเป็นต้องให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมาแต่งตั้งยอยกก็ได้ (จะได้กล่าวต่อไปในตอนที่ว่าด้วยที่มาของคำว่าครูบาข้างหน้า)
   ดังนั้นการที่จะจัดให้มีพิธียอยกหรือไม่นั้น จึงไม่ถือว่าสลักสำคัญอะไร เพราะการยอยกมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือโดยอ้อม และโดยตรงดังกล่าวแล้ว จึงไม่ควรโต้เถียงกันโดยหวังจะเอาชนะ ความจริงพิธียอยกแบบเถราภิเษกนั้นเป็นเพียงการประกาศให้ประจักษ์แก่สาธุชนทั่วไปเท่านั้น เรียกว่าเป็นการ “เสกส้อมย้อมยศ” เช่นเดียวกับการทำพิธีมังคลาภิเษกอย่างอื่นๆ โดยเหตุที่คุณปรากฏได้ ๒ ทางคือ กิตติศัพท์ชื่อเสียงอย่างหนึ่ง และการประกาศต่อหน้าประชุมชนอย่างหนึ่ง เพราะถึงแม้ว่าจะได้ผ่านพิธีกรรม    เถราภิเษกมาแล้วก็ตาม แต่ถ้าขาดคุณสมบัติของครูบาตามที่กล่าวมา ก็ยังเป็นครูบาไม่ได้อยู่ก่อน ต่อเมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนต้องตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้จึงจะเรียกว่า               ครูบาได้อย่างแท้จริง ส่วนการที่มีศรัทธาญาติโยมบางท่านเรียกพระสงฆ์ที่ตนเองเคารพนับถือ หรือ พระสงฆ์ด้วยกันใช้เรียกกันด้วยความเป็นสภาคชอบพอว่า “ครูบา” นั้นเป็นอันพ้นโทษตำหนิ


การสืบทอดตำแหน่งครูบาในสมัยโบราณนั้นคงสืบทอดกันตามลำดับ
เจ้าอาวาส (เถรักกมะ) และถือว่าเป็นครูบาโดยตำแหน่ง เมื่อถึงกาลสมควรและมีคุณสมบัติเหมาะสมก็เป็นครูบาได้ ส่วนการเรียก “ครูบาเจ้า” นั้น ควรใช้เรียกพระสงฆ์ที่เป็นราชนิกูลสืบเชื้อสายมาแต่เจ้านายทางฝ่ายเหนือโดยตรงเท่านั้น ถือเป็นการให้เกียรติโดยฐานะทั้งยังเป็นการกำหนดคำจำกัดความลำดับชั้นและฐานันดรให้ชัดเจนยิ่งขึ้นอีกด้วย เช่น ครูบาเจ้าเกษม เขมโก (นามเดิม เจ้าเกษม ณ ลำปาง) เป็นต้น เหมือนอย่างที่เรียกสมเด็จพระมหาสมณเจ้า และสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ในภาคกลางนั่นเองส่วนที่มาจากสกุลสามัญควรเรียก “ครูบา” อย่างเดียวก็พอ แต่การที่จะปฏิบัติตามหรือไม่นั้นไม่มีผลบังคับใช้ เป็นเพียงข้อเสนอแนะเท่านั้น ด้วยสมัยนี้กุลบุตร                     ผู้บวชเรียนซึ่งมาจากชั้นเจ้านาย หรือมีฐานันดรศักดิ์สูง หาได้ยากเสียแล้ว มีแต่ชั้นสามัญชน ดังนั้นจะอนุโลมให้ใช้คำว่า “ครูบาเจ้า” ก็ควร เพราะโดยปกติก็เรียกกันโดยยกย่องอยู่แล้วว่า “พระสงฆ์องคเจ้า” ก็ไม่น่าจะเสียหายอะไร ส่วนคำว่า “พระครูบา”  นั้นเป็นคำที่ใช้เรียกกันในชั้นหลังๆ แต่เดิมไม่มี ดังนั้นพระภิกษุรูปไหนจะเป็นครูบาจริงหรือไม่จริงนั้น ก็ขอให้ตรวจสอบดูคุณสมบัติที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น ก็จะทราบได้ว่ามีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ หรือขาดข้อไหนไปบ้าง ถ้าเด่นทางด้านคันถธุระและ              โยธาธุระ ก็เป็นครูบาฝ่ายคามวาสีหรือครูบาสามัญ แต่ถ้าเด่นทางด้านวิปัสสนาธุระและถืออรัญญิกังคะก็เป็น ครูบาฝ่ายอรัญญวาสี หรือ วนวาสี เป็นครูบาพิเศษเรียกว่า     ครูบามหาป่า, ครูบาป่า, มหาป่า หรือ มหาอรัญญวาสี ก็ได้ ซึ่งเป็นภาพรวมของครูบาโดยสรุป แต่นี้ไปจะกล่าวถึงที่มาของคำว่า “ครูบา”

ที่มาของคำว่า “ครูบา”

   คำว่า ครูบา นี้ ชั้นเดิมเป็นคำที่ใช้เรียกกันในหมู่พระสงฆ์เท่านั้น ภายหลังนำมาใช้เรียกในหมู่คฤหัสถ์ด้วย อย่างที่เรียกกันว่า “ครูบาอาจารย์” ดังนี้บ้าง แต่อัน             ที่จริงคำว่า ครูบา นี้ ควรเป็นคำสำหรับใช้เรียกเฉพาะพระสงฆ์อย่างเดียว ซึ่งทางล้านนาหมายเอาภิกษุผู้เป็นสมภารหรือเจ้าวัด แต่ภิกษุผู้จะเป็นครูบาได้นั้นจะต้อง

ประกอบด้วยคุณสมบัติพิเศษหลายอย่างดังที่กล่าวแล้ว ในที่นี้ต้องการให้ทราบเพียงความหมายและที่มาของคำว่า ครูบา เท่านั้น รายละเอียดต่างๆ จะไม่กล่าวถึงอีก
   คำว่า ครูบา นี้ สันนิษฐานว่ามาจากคำเดิมว่า ครูปัธยาย หรือ ครูปาธยาย โดยการแผลงศัพท์แล้วแผลงต่อเป็น ครูปาธิยาย และ ครูบาธิยาย อีกต่อหนึ่ง  ดังปรากฏข้อความในตอนลงท้ายของมนต์กุมารภิไชยหลวงล้านนา (ภาคกลางเรียกโองการ        มารวิชัย) อยู่บทหนึ่งว่า   “....ครูบาธิยายให้กัมมะสิทธิแก่กู อมสวาหะ”   (เหมือนอย่างคำว่า สาธยาย แผลงเป็น สวาธยาย หรือ สังวัธยาย ซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกัน ทางล้านนาแผลงเป็น สวาทธิยาย [อ่านกล้ำไม่อ่านสะหวาด] โดยแทรกเสียงสระอิ              เข้ามาเช่นเดียวกับ ครูบาธิยาย) 
   คำว่า ครูบา จึงเป็นคำที่ตัดย่อเอามาจากคำเต็มว่า ครูปัธยาย หรือ ครูปาธยาย  ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การออกเสียงไม่ให้ขัดกับลิ้นจึงกร่อนศัพท์ให้สั้นลง พร้อมกันนั้นยังได้เปลี่ยนตัว ป เป็น บ ตามแบบฉบับที่นิยมกันทั่วไปอีกด้วย เหมือนอย่างคำว่า ปตฺต หรือ ปตฺร แผลงเป็น บัตร,บาตร, ปาป แผลงเป็น บาป เป็นต้น (คือแทนที่จะพูดว่า                ครูปา ก็พูด ครูบา เสียดังนี้) รากศัพท์เดิมของคำว่า ครูบา นี้จึงมาจากคำว่า ครูปัธยาย หรือ ครูปาธยาย แล้วกลายมาเป็น ครูบา ในที่สุด ซึ่งคำๆ นี้เป็นบาลีผสมสันสกฤตกล่าวคือ ครุ + อุปธฺยาย (หรือ ครุ+ อุปาธฺยาย) คำว่า ครุ เป็นบาลี แปลว่า ครู (สันสกฤตใช้ คุรุ) ส่วนคำว่า อุปธฺยาย เป็นสันสกฤต  แปลว่า  ผู้เข้าไปเพ่งโทษน้อยใหญ่ คือชี้แนะ
ว่า สิ่งไหนควรไม่ควร ตรงกับคำบาลีว่า อุปชฺฌาย๑ หรือคำไทยว่า อุปัชฌาย์ นั่นเอง บางครั้งก็เรียกอย่างสันสกฤตว่า อุปัธยาย์ แต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก เมื่อนำคำทั้งสองมาทำสมาสสนธิกันจึงเป็น ครูปธฺยาย และใช้เรียกอย่างไทยว่า ครูปัธยาย, ครูปาธยาย,          ครูบาธยาย และครูบาธิยาย ตามลำดับ ภายหลังจึงตัดย่อให้สั้นเข้าอีก เพื่อให้เรียกง่าย เป็น ครูบา
   คำว่า ครูบา จึงมีความหมายตามรากศัพท์เดิมว่า “ครูและอุปัชฌาย์” (ตรงกับบาลีว่า ครูปชฺฌาย) เป็นคำที่ใช้กันในวงการพระสงฆ์เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับคฤหัสถ์แต่อย่างใด

๑      เทียบอักขรวิธีระหว่างสันสกฤตกับบาลีดังนี้ ธฺย = ชฺฌ เช่น  สํ.อธฺยาศย (อัธยาศัย)
      ป. อชฺฌาสย (อัชฌาสัย) เป็นต้น


ดังนั้นจึงมีทางที่พอจะสันนิษฐานได้อีกประการหนึ่งว่า ผู้ที่จะเป็นครูบาได้นั้น จะต้องเป็นทั้งครูและอุปัชฌาย์ของคณะไปพร้อมๆ กันด้วย ข้อนี้เห็นจะเป็นความจริง              สมัยโบราณเมื่อยังไม่มีการสอบและแต่งตั้งพระอุปัชฌาย์ ในยุคที่การปกครอง           คณะสงฆ์ล้านนายังเป็นระบบหัวหมวดอยู่นั้น สมภารวัดก็ทำหน้าที่เป็นทั้งอุปัชฌาย์ให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยถือว่าถ้ามีคุณสมบัติครบตามที่ธรรมวินัยกำหนดก็เป็นอุปัชฌาย์ได้ พร้อมกันนั้นก็ทำหน้าที่เป็นครูหรืออาจารย์สั่งสอนสัทธิวิหาริกไปในตัว จึงได้รับการเรียกขานว่า “ครูบา” ต่อมาคำๆ นี้ ได้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายกว้างขวางมากขึ้น ภิกษุผู้ไม่ได้เป็นอุปัชฌาย์ หรือมีพรรษายังไม่ถึงเกณฑ์ก็พลอยเรียกตนเองและชอบที่จะให้คนอื่นเรียกเจ้าตัวว่า                 “ครูบา” ด้วย  หนักเข้ามักจะล้อกันเป็นที่สนุกปากว่า “ครูบาอุ๊กแก๊ส” ดังนี้ก็มี ซึ่งหมายถึง ครูบาที่มีคุณสมบัติยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเรียกครูบาได้ แต่อุปโลกน์ตนเองขึ้นมาเป็นครูบาก่อนเวลาอันควร เปรียบเหมือนผลไม้ที่ไม่ได้สุกตามระยะกาลหรือเป็นไปตามธรรมชาติแต่ทำให้สุกเร็วขึ้นโดยวิธีใช้แก๊สบ่มเอาฉะนั้น  และพวกที่ถูกเรียก               ครูบาอุ๊กแก๊สนี้เมื่อถูกล้อบ่อยๆ ก็มักจะออกอาการหนาวร้อนไปตามๆ กัน ในเมื่อภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็สามารถอุปโลกน์ตนเองให้เป็นครูบาได้เช่นนี้ พอนานๆ ไป ความหมายของคำว่า ครูบา ก็ถูกลืมเลือน หรือตีความเป็นอย่างอื่น ซึ่งผิดไปจากชั้นเดิม
แต่สิ่งที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของครูบาอยู่ก็คือ ผู้ที่จะเป็นครูบาได้นั้นจะต้องเป็น “เจ้าอาวาสหรือสมภารวัด” เท่านั้น
   อีกอย่างหนึ่งคำว่า ครูบา นี้เป็นศัพท์เรียกรวม ถึงแม้จะมีความหมายว่า “ครูและอุปัชฌาย์”  แต่เมื่อว่าโดยเนื้อความก็เป็นอันเดียวกัน เพราะครูได้ชื่อว่า อุปัชฌาย์ ดังนั้นในมหาขันธกวัณณนาท่านจึงกล่าวว่า  อนุปชฺฌายกาติ วชฺชาวชฺชํ อุปนิชฺฌายเกน ครุนา วิรหิตา. (สมนฺต ๓/๓๔)  “บทว่า อนุปชฺฌายกา ความว่า ผู้เว้นจากครูผู้คอยเพ่งโทษน้อยใหญ่”  คำว่า อุปัชฌาย์ ในที่นี้จึงหมายถึงครูผู้คอยสอดส่องโทษน้อยใหญ่นั่นเอง ดังนั้นในสมัยโบราณผู้ที่จะเป็นครูบาได้นั้นจะต้องเป็นอุปัชฌาย์ด้วย และคำว่า ครูบา นี้ใช้สำหรับเรียกพระภิกษุเถระอย่างเดียว อย่างน้อยต้องมีพรรษาครบเกณฑ์เป็นอุปัชฌาย์ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นอุปัชฌาย์ก็ได้ (เฉพาะในยุคปัจจุบันต้องได้รับการแต่งตั้งก่อน)
เพราะอนุปสัมบัน ได้แก่ สามเณรหรือคฤหัสถ์ไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นอุปัชฌาย์ได้  แต่เมื่อว่าโดยรุฬหินัย๑  จะเรียก  “ครูบา”  ก็ได้ เพราะเป็นเรื่องของพลังศรัทธาห้ามกันยาก สุดแท้แต่ใครจะเรียก ในลักษณะเช่นนี้คำว่า ครูบา กลายเป็นรุฬหิศัพท์ไป
   ส่วนการที่มีผู้รู้บางท่านกล่าวอ้างว่า คำว่า ครูบา มาจากคำบาลีว่า ครุปิ อาจริโย แปลว่า “เป็นทั้งครูเป็นทั้งอาจารย์” นั้น ข้าพเจ้ายังหาหลักฐานที่มาไม่พบ แต่พอจะสรุปตามแนวทางความเห็นของผู้นำเสนอได้ดังนี้
   เมื่อนำศัพท์ทั้งสองมาสนธิกันก็จะได้รูปใหม่ว่า ครุปาจริโย โดยตัดบทว่า            ครุ+อปิ+อาจริโย และเมื่อกร่อนศัพท์ลงก็จะเหลือเพียง ครุปา เมื่อนำมาแผลงอีกต่อหนึ่งจึงเป็น ครูบา การอธิบายตามลักษณะนี้ไม่ตรงตามหลักศัพทศาสตร์เป็นเพียง    อัตโนมติของผู้อธิบายเท่านั้น ในเชิงความหมายนั้นพอฟังได้อยู่ คือ “เป็นทั้งครูเป็นทั้งอาจารย์”  หรือ  “แม้ครูก็เรียกว่าอาจารย์”  แต่ในเชิงรูปศัพท์เห็นว่า ไม่มีเหตุผลเพียงพอ
ในการนำศัพท์ทั้งสองมาสนธิกัน โดยให้ อา อักษร มาติดอยู่ท้าย อปิ ศัพท์ เพื่อให้ได้      คำว่า ครุปา แล้วนำไปแผลงเป็น ครูบา อีกต่อหนึ่ง การทำสนธิในฐานะเช่นนี้ถือว่า                ไม่เหมาะสม และไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด  เพราะเมื่อนำศัพท์ทั้งสองมารวมกันเป็น   
ครุปาจริโย แล้ว ทำให้สับสนคลุมเครือในการตีความทางรูปศัพท์ ผู้ไม่รู้อาจจะตัดบทสนธิว่า  ครุ+อุปาจริโย ดังนี้ก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ความหมายก็จะเปลี่ยนไปตาม คือแปลว่า  “อาจารย์รองจากครู”  หรือ  “อาจารย์เป็นรองครู” จะเกิดการตีความหมายผิดทันที นอกจากนี้คำนี้ยังสามารถแยกเป็นบทสมาสได้อีกว่า  ครุ/ปาจริโย (ครูและอาจารย์ใหญ่ หรือ อาจารย์ใหญ่ของครู) ดังนั้นคำที่กล่าวว่า ครูบา มาจาก ครุปิ อาจริโย จึงไม่ควรเชื่อถือโดยสาระ รวมไปถึงคำที่กล่าวว่า ครูบา มาจาก ครู+บา ก็เช่นกัน เพราะถ้าถือเอาตามนัยนี้ก็เป็นบาลีแบบไทยๆ ไม่มีความหมายพิเศษอะไร
   คำว่า อุปชฺฌาย ในภาษาบาลี ทางสกสมยลัทธิถือว่า สำเร็จมาจาก อุป+เฌ ธาตุ+ณ ปัจจัย หลังจากเอการันตธาตุ อาเทศ เอ เป็น อาย และซ้อน ชฺ (อุป+ฌาย = อุปชฺฌาย)               
   
๑  คือชั้นเดิมถือเอาเนื้อความตามความหมาย (อันวัตถนัย) ต่อมาความหมายเปลี่ยนไปจากเดิมจึงไม่ได้
   ถือเอาตามความหมาย (รุฬหินัย) แต่ยังคงเรียกตามคำเดิมอยู่ กลายเป็นรุฬหินามคือชื่อที่ไม่ตรงตาม
   ความหมายไป


ตรงกับรูปสันสกฤตว่า อุปธฺยาย (อุป+ไธฺย ธาตุ)  ส่วนทางปรสมยลัทธิถือว่า สำเร็จมา
จาก อุป+อธิ+อิ ธาตุ+ ณ ปัจจัย แปลงอธิ เป็น อชฺฌ (สํ.  อธฺย ) พฤทธิ์ อิเออย และทำทีฆะ (อยอาย) ด้วยอำนาจ ณ ปัจจัย (อุป+อชฺฌ+อาย = อุปชฺฌาย)  ในสันสกฤตทีฆะ อ ที่ อุป เป็น อา อีกทีหนึ่ง จึงมีรูปว่า อุปาธฺยาย (อุป+อธฺย+อาย = อุปาธฺยาย) ตามนัยแรก  อุปธฺยาย หมายถึง ผู้คอยสอดส่อง ตามนัยหลัง อุปาธฺยาย หมายถึง ผู้สอนอย่างใกล้ชิด ในบาลีทั้งสองคำนี้มีรูปอย่างเดียวกันเป็น อุปชฺฌาย เหมือนคำว่า ทนฺต                  ที่แปลว่า ฟัน และ ทรมานแล้ว ในบาลีมีรูปอย่างเดียวกัน แม้จะสำเร็จมาจากธาตุคน          ละตัว แต่ในสันสกฤตจะมีรูปต่างกันชัดเจน คือ ทนฺต (ฟัน) ทานฺต (ทรมานแล้ว) ที่ลง                  อ ปัจจัยมา มีรูปเป็นอาการันต์ว่า  อุปชฺฌา  (สํ. อุปธฺยา)  ดังบาลีว่า  ปมํ อุปชฺฌํ                  คาหาเปตพฺโพ, อุปชฺฌํ คาหาเปตฺวา ปตฺตจีวรํ อาจิกฺขิตพฺพํ. (ก่อนอื่นต้องให้สามเณรถืออุปัชฌา ครั้นให้ถืออุปัชฌาแล้ว พึงบอกบาตรและจีวร)  ดังนั้นคำว่า ครูบา จึงมีที่มาจากรูปศัพท์เดิมว่า ครูปธฺยาย (ครูปัธยาย) และ ครูปาธฺยาย (ครูปาธยาย) ตามนัยหลังนี้                 ครูปาธยาย  หมายถึง ครูผู้สอนอย่างใกล้ชิด
      อันบทสวดที่จัดเป็นองค์คุณของครูบาทั้งหลายนี้ได้แก่สูตรมนต์ตั๋นที่กล่าวถึงข้างต้นนั่นเอง ซึ่งพระภิกษุสามเณรสมัยก่อนจะต้องทรงจำเล่าเรียน พร้อมกับการการศึกษาศาสตร์แขนงอื่นๆ ควบคู่กันไป ตามที่โบราณาจารย์ได้กำหนดไว้ ดังปรากฏในคาถาอ้อธรรมล้านนาว่า

   “…ขอหื้อผู้ข้ามีผะหยาปัญญาไหลเปลวเปล่ง  รัดเร่งปัญจละนิกาย  ยายยัง              มานารอด  เกี้ยวกอดเถิงนะโม  ปัจจะโยทั้ง ๔  อิติปิโสคลี่เป็นตรา  เยสันตาเป็นเอก  เอวัมเมเบกลงบด  ยานีจดแถวถี่  การะณีคลี่เป็นคำ  สัพพาจำแจ้งจอด  ยัสสาขอดเป็นอิ 
วิปัสสิเถิงยอด  ธชัคคะขอดในมะโน  ยะโตหังเป็นเขต  ยันทุนเทสเสียภัย  ทุกขัปปัตตาไหลเร็วรอด  ชะยันโตบ่เถิงผล  สักกัตวาลงเป็นยิ่ง เอกะนามะกิงจิ่งเป็นเกณฑ์  อุเทนผันเร็วรอด  วิรูปักเขสอดเถิงโว  พะหุตัพภักโขลงติดต่อ ทะสะหิเมก่อเป็นตรา ทั้งเมตตาเป็นยอด  จันทิมาสุริยะรอดจุนโท  กัสสปะพุทโธ  นะโมเมกลิ้งเกลื่อน  ปราภวะ   


เลื่อนลงหา ทัสสะปา๑ ยาวยอด  ไชยะปกะ๒ขอดธัมมจักร  มหาสมัยหักลงต่อ สัททา ๘ คัมภีร์ม่อสังคหะ คิริ, อิสี, ยะเป็นสาร  มหาภาณ๓บริโยค  ปาติโมกข์ลงบด  วินัยทั้ง ๕ ขดลงไส้ อภิธัมมาใหญ่ ๗ คัมภีร์ ปิฏกะทั้ง ๓ ดีแจ้งจอด จุ่งหื้อเขาะขอดเข้ามาอยู่ใน         มะโนทวาระวิถีจิตแห่งผู้ข้า…”  ดังนี้
   จะเห็นได้ว่าครูบาสังฆะแต่ก่อนมา ท่านจะทรงจำบทสวดต่างๆ ได้มากกว่าสมัยปัจจุบันนี้ และให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเรียนสูตรเรียนธรรมเป็นอย่างมาก ตกยามเย็นย่ำจะได้เห็นภาพของพระเณรตามวัดวาอารามต่างๆ นั่งเรียงรายล้อมวงกันท่องบ่นตำรา  สาธยายพระพุทธมนต์อย่างเอาใจจดจ่อ สะท้อนให้เห็นภาพวิถีชีวิตเก่าๆ ของพระเณรในชนบทได้เป็นอย่างดี ดังที่นักกวีล้านนาได้พรรณนาถึงบรรยากาศดังกล่าวไว้ในคร่าวฮ่ำคำเมืองตอนหนึ่งว่า

   “....สูตรนะโมเม สะเทล่วงล้ำ บ่เหมือนสูตรหน้อยยานี ตายใคร่ออกวัด                     สะพัดลาหนี  สูตรการะณี  วรรคยาวบ่อสั้น วิรูปะคา  สัพพาเข้าขั้น๔ เป็นสูตรมนต์เย็น   
แพ้๕เคราะห์ ยามตาวันแลง แสวงเลียบเลาะ เอาพับสูตรหน้อยมาแยง๖ สิกโยมพระน้อย
เรียงยายเป็นแผง รอดตาวันแลง๗ เรียงยายเป็นเส้น....”  ดังนี้   


๑   ได้แก่บทสวดปาระมี ต่าง ๆ อันขึ้นต้นด้วยบท ทานะปาระมี  เป็นต้น คำว่า ทัสสะปา ในที่นี้มา
   จากคำว่า ทะสะปาระมี นั่นเอง
๒   ได้แก่บทสวดไชยทั้ง ๗ หรือ ไชยะปกรณะ
๓   หมายถึง บทภาณยักษ์ บางฉบับเป็น มหาปัฏฐาน แต่เห็นว่าไม่ถูกต้องเพราะมหาปัฏฐานท่านจัดเข้า
   ในอภิธัมมา ๗ คัมภีร์แล้ว
๔   คือ คั่น ในที่นี้ต้องการเสียงโท และออกเสียงต่างจากไทยกลาง หมายความว่า ก่อนสวดวิรูปักเขต้องสวด
   สัพพาสีคั่นก่อน
๕   หมายถึง ชนะ เป็นภาษาเก่าทางล้านนายังใช้อยู่ ภาคกลางไม่ใช้แล้ว มีอยู่ในศิลาจารึกของพ่อขุนราม   
คำแหงด้วย
๖   แยง – จ้อง, มอง, พิจารณา, ส่อง – แยงแว่น (ส่องกระจก) โดยปริยายหมายถึงเอาหนังสือมาท่อง
   มิใช่จ้องดูเฉยๆ
๗   แลง – เย็น , ค่ำ ยามตาวันแลง – ยามตะวันพลบค่ำ
พระสูตรบางบท เช่น มหาสมัย, คิริมานนท์, อิสิคิลิ เป็นต้น หาผู้ทรงจำได้ยาก       เสียแล้วในบัดนี้ ฉะนั้นในหนังสือสูตรมนต์ตั๋นเล่มนี้จึงได้เพิ่มบทมหาสมัย เป็นต้น  เข้าไว้ด้วย เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูบทสวดโบราณเหล่านี้ให้พระเณรหันมาใส่ใจเล่าเรียน      ทรงจำกันอีกครั้งหนึ่ง  ซึ่งบทสวดบางบทมีอยู่แต่ในใบลานและเป็นอักษรธรรม ล้านนาเท่านั้น ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์เป็นอักษรไทยกลางอย่างแพร่หลาย ที่ตีพิมพ์แล้วยังมีคลาดเคลื่อนตกหล่นอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากไม่ได้ตรวจสอบชำระกันอย่างจริงๆ จังๆ จึงใช้กันมาตามนั้น โดยไม่มีผู้ใดคิดจะสังคายนา ส่วนหนึ่งรู้แล้วเพิกเฉย    หรือนิ่งนอนใจเสีย ครั้นจะแก้ไขให้ถูกต้องก็เกรงถูกตำหนิจากผู้ใหญ่ทางฝ่ายสงฆ์           และไม่ได้รับการยอมรับจึงไม่เอาเป็นธุระ
   ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้เรียบเรียงสูตรมนต์ตั๋นล้านนาฉบับนี้ขึ้นมา และใช้ชื่อฉบับว่า “ฉบับคุลีการ-น่านประยุกต์” อันหมายถึง ฉบับที่รวบรวมเอาสูตรมนต์ตั๋นจากหนังสือหลายเล่มเข้าไว้ด้วยกัน โดยได้ตรวจสอบชำระบทสวดโบราณต่างๆ ที่มีอยู่ในใบลานของเมืองน่านเป็นหลัก ร่วมกับสวดมนต์ฉบับอื่นๆ  ปริวรรตออกมาเป็นอักษรไทยกลางและนำมาลงไว้ในสูตรมนต์ตั๋นเล่มนี้  เท่าที่จะสามารถสืบค้นหาได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดของเรื่องเวลาในการจัดทำหนังสือ (ถ้าพอมีเวลาจะได้เรียบเรียง     สูตรมนต์หลวงล้านนาฉบับสมบูรณ์ในโอกาสต่อไป)   
    แต่ก็นับว่ามากและเพียงพอที่จะให้ครูบาอาจารย์ทั้งหลายได้ใช้เล่าเรียน              ท่องบ่น และยึดถือเป็นแบบฉบับได้ ทั้งนี้ได้อาศัยลำดับสูตรมนต์ตั๋นของเมืองน่านในปัจจุบันเป็นแบบฉบับในการเรียบเรียง  และได้เรียงลำดับเพิ่มเติมใหม่เป็นบางบท อาจจะแตกต่างไปจากฉบับของจังหวัดอื่นๆ บ้างเล็กน้อย  แต่ก็ถือเป็นแบบฉบับที่                           ครูบาอาจารย์แต่ก่อนใช้สวดสืบต่อกันมา ซึ่งมนต์ตั๋นเมืองน่านเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียง
ปรากฏว่าเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘  ได้มีทีมงานสำรวจวิจัยคณะหนึ่งเดินทางมาจังหวัดน่าน
เพื่อบันทึกเสียงสูตรมนต์ตั๋นต้นตำรับของเมืองน่านโดยเฉพาะ ที่วัดพระธาตุแช่แห้งด้วย  (ตรงกับวันพฤหัสบดี ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘)
   ดังนั้นเพื่อความเป็นเอกลักษณ์จึงได้คงปาฐะเดิมไว้บ้าง เช่น อะจะลา ไม่เป็น         อะจะลัง,  ทะเสนะ ไม่เป็น ทะสะหิ เป็นต้น และได้ขัดเกลาแก้ไขตกเติมไวยากรณ์เป็นบางที่เพื่อให้ถูกต้องยิ่งขึ้น โดยลงเชิงอรรถกำกับไว้ทุกๆ แห่ง ในการลงเชิงอรรถนั้นขอชี้แจงว่าได้จัดทำเป็น ๒ ส่วนคือ
๑)   เชิงอรรถที่ไม่ยาวมากหรือเชิงอรรถยาวแต่ต้องการเน้นความสัมพันธ์กับเนื้อหาจะอธิบายหน้าต่อหน้าโดยใช้สัญลักษณ์เป็นเลขไทย
   ๒)   เชิงอรรถที่ยาวมาก หรือเชิงอรรถสั้นแต่ต้องการอธิบายไว้ในที่เดียวกัน              จะทำดรรชนีอธิบายไว้ตอนท้ายบทสวด  ลักษณะการอธิบายจะเป็นแบบต่อเนื่องเฉพาะหัวข้อเรื่องนั้นๆ

ธรรมะ ปุจฉา:
ดาว์นโหลดหนังสือได้แล้วนะครับ ที่นี้เลย :http://depositfiles.com/files/rtkjf1diq

ธรรมะ ปุจฉา:
ในหน้าหนึ่งๆ อาจจะมีตัวเลขที่ซ้ำกัน ดังนั้นเพื่อป้องกันการสับสน  จึงได้ใส่หัวข้อเรื่องกำกับไว้ในดรรชนีด้วย  โดยใช้สัญลักษณ์เป็นเลขอารบิค ทั้งนี้ต้องการเน้นในส่วนที่เป็นเนื้อหาหลัก คือ บทสวด และไม่ให้หนังสือรุงรังไปด้วยเชิงอรรถมากนั่นเอง
   อนึ่งพึงทราบว่าบทสวดที่ไม่เป็นสากลทั่วไปแต่มีใช้ในบางสำนักข้าพเจ้าไม่ได้นำมาลงไว้ในเล่มนี้ เพราะได้ตรวจตราดูไวยากรณ์ทุกแห่งแล้วพบว่ายังมีฐานะพิรุธผิดพลาดอยู่เป็นอันมาก ไม่อาจนำมาใช้เป็นฉบับมาตรฐานได้ ยกเว้นเฉพาะบางบท เช่น พุทโธติโลกะ, พุทธาอะนูนา เป็นต้น เพราะจุดประสงค์ในการรวบรวมของข้าพเจ้านั้นมีนัยสำคัญรวมไปถึงเป็นการสังคายนาบทสวดด้วย ดังนั้นข้าพเจ้าจะละบทที่เป็นวิรุทธปาฐะทั้งหลายเสีย เลือกเอาแต่บทที่เป็นสุทธปาฐะเท่านั้น เพราะที่ผ่านมาต่างก็ใช้กันตามอาจริยปรัมปราจึงมีผิดบ้างถูกบ้างเป็นธรรมดา ส่วนบทที่เป็นอิติปิปาฐะนั้นได้ลงเชิงอรรถกำกับไว้ทุกแห่ง ตามแต่ถนัดของผู้จะใช้เถิดไม่ถือว่าผิดแต่อย่างใด เช่น   ปุสโส จะสวด ผุสโส ก็ได้
   ในการตั้งชื่อบทสวดแต่ละบทนั้น ตั้งตามชื่อโดยตรงก็มี เช่น ธะชัคคะปริตร เป็นต้น เอาบทต้นของแต่ละบทมาตั้งก็มี เช่น เยสันตา, ราชะโต เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้เพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับพระสูตรบางบท และอักขระย่อของบทสวดต่างๆ ที่               โบราณาจารย์ได้ถอดออกไว้เป็นหัวใจคาถาหรือตับต๊องคาถา พร้อมทั้งวิธีนำเอาไปใช้เท่าที่พอจะรวบรวมได้ ไว้ในตอนท้ายเล่มอีกด้วย พร้อมกันนี้ได้ขออนุญาตนำรูป                 ครูบาสังฆะแห่งล้านนาผู้แตกฉานในคัมภีร์สัททาวิเสส และผู้ชำนาญด้านมนต์ตั๋นแห่งเมืองน่านและจังหวัดใกล้เคียงทั้งในอดีตและปัจจุบันมาลงไว้ เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงให้ปรากฏแพร่หลายสืบไป 
   หนังสือสูตรมนต์ตั๋นล้านนาฉบับนี้จัดพิมพ์ครั้งแรกในงานครบรอบทำบุญ                อายุวัฒนมงคล ๗๖ ปี ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระธรรมนันทโสภณ เจ้าคณะ       จังหวัดน่าน เจ้าอาวาสวัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร พระอารามหลวง โดยใช้ชื่อว่า             สูตรมนต์ตั๋นเมืองน่าน ฉบับวัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร บัดนี้ฉบับพิมพ์ครั้งก่อนได้              จ่ายแจกหมดลง จึงดำริจัดพิมพ์ขึ้นมาใหม่ ในการพิมพ์ครั้งที่สองนี้๑ ได้ปรับปรุงแก้ไข        คำนำโดยเปลี่ยนเป็นความนำ๒ และเพิ่มบทสวดบางบทเพื่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น นอกจาก
นี้ยังได้เปลี่ยนชื่อและฉบับเดิมของหนังสือเป็นชื่อและฉบับใหม่ด้วย  เพื่อที่จะได้ใช้เป็นแบบฉบับสากลทั่วไปได้ โดยได้คงส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระเดิมไว้ทั้งหมด                 มีแก้ไขปรับปรุงบ้างเล็กน้อยเท่านั้น
   อนึ่งขอชี้แจงว่า สาระหลักของหนังสือเล่มนี้เน้นเนื้อหาของบทสวดเป็นสำคัญ   โดยมุ่งให้ผู้ใช้ได้รู้ถึงที่มาที่ไปของมนต์ตั๋นและบทสวดที่ใช้ในพิธีสูตรมนต์ตั๋นว่ามีความเป็นมาและสำคัญอย่างไร ส่วนรายละเอียดด้านพิธีกรรมต่างๆ ไม่ได้นำมาลงไว้ เนื่องจากมีครูบาอาจารย์หลายท่านพิมพ์ออกมาเผยแพร่ก่อนหน้านี้บ้างแล้ว สามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับหนังสือเล่มนี้ได้ เพราะการที่จะกำหนดรูปแบบตายตัวขึ้นมา แล้วให้หลายๆ สำนักยึดถือปฏิบัติเป็นแบบฉบับเดียวกันนั้นดูเป็นเรื่องยากอยู่                     เหตุเพราะแต่ละสำนักต่างก็ได้ยึดถือปฏิบัติตามรูปแบบครูบาอาจารย์ของตน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถือเป็นแบบฉบับเฉพาะของแต่ละสำนักไป ดังมีคำกล่าวว่า
   “ศิษย์ต่างครู  อาจารย์ต่างวัด  ปั๊บต่างหน่วย  หนังสือก้อมต่างคนต่างมี”
   รูปแบบพิธีกรรมก็คงจะคล้ายคลึงกัน ไม่ต่างกันมากนัก อาจจะมียักเยื้องกันไปบ้างเป็นส่วนน้อย ไม่ถึงกับทำให้เสียสาระที่สำคัญแต่อย่างใด ครั้นจะยกเลิกเสียทีเดียวก็จะกลายเป็นว่าไม่เคารพมติของครูบาอาจารย์ไป  แต่ถ้าหากจะประยุกต์รูปแบบของ

๑   ฉบับพิมพ์ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๖
๒   ฉบับพิมพ์ครั้งล่าสุดตั้งแต่ครั้งที่ ๕ เป็นต้นมา เปลี่ยนเป็น นิทานพจน์ และได้เพิ่มบทสวดภาคอักษรล้านนาเข้าไว้ด้วย
หลายๆ สำนักเข้าด้วยกัน ก็คงจะเป็นการดีมิใช่น้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับยุคสมัย จะดัดแปลงแก้ไขก็เอาให้พอเหมาะพอดี อย่านิยมรูปแบบใหม่จนลืมพิธีกรรมดั้งเดิมไป พิธีกรรมนั้นคนคิดขึ้นทีหลังจึงต่างกันได้ ส่วนบทสวดมีอยู่ก่อนแล้วคงถือเป็นอันเดียวกัน เพียงแต่ต้องชำระให้ถูกต้องเป็นฉบับมาตรฐานเดียวกัน อนึ่งการที่ข้าพเจ้าละส่วนที่เป็นภาคพิธีกรรมเสีย ก็ด้วยเกรงจะเป็นคันถคุรุไป จึงใส่ภาคผนวกเข้าไว้แทนเพราะเห็นว่าน่าจะได้สาระประโยชน์มากกว่า ส่วนพิธีกรรมนั้นสามารถเรียนรู้จากภาคปฏิบัติได้โดยไม่ยากนัก
   ดังได้ชี้แจงแล้วว่า การพิมพ์หนังสือสูตรมนต์ตั๋นเล่มนี้ขึ้นมา จุดประสงค์หลักเป็นการรวบรวมบทสวดที่นำไปใช้ในพิธีสูตรมนต์ตั๋น ซึ่งได้นำมาจากหนังสือสูตรต่างๆ ที่ครูบาอาจารย์แต่ก่อนใช้สวดสืบต่อกันมา โดยบันทึกไว้ในสมุดพับสาหรือคัมภีร์ใบลานเป็นอักษรล้านนา นำมาชำระสอบทานใหม่ให้ถูกต้องยิ่งขึ้น ทั้งนี้มุ่งให้ความสำคัญกับบทสวดมากกว่าพิธีกรรม บทสวดบางบทในหนังสือเล่มนี้อาจจะไม่มีอยู่ในหนังสือเล่มอื่นๆ ก็สามารถนำเอาไปใช้ควบคู่กันได้ ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นแล้วว่า “มนต์ตั๋นมีลักษณะที่ไม่ตายตัว จะลดหรือเพิ่มบทสวดขึ้นอยู่กับประธานสงฆ์ผู้นำสวด”  แต่จะต้องสวดให้ครบเต็มสูตร และถือเอาเวลามากน้อยเป็นสำคัญ
   หนังสือสูตรมนต์ตั๋นเล่มนี้จะสำเร็จเป็นรูปเล่มไม่ได้เลย ถ้าหากไม่ได้รับกำลังใจและคำชี้แนะปรึกษาที่ดีจากครูบาอาจารย์ทั้งหลายผู้เป็นกัลยาณมิตรไม่ว่าจะเป็นพระมหาเถระและพระเถระทุกรูปที่คอยช่วยเหลือสนับสนุนให้จัดทำจนสำเร็จเป็นรูปเล่มขึ้นมา จึงกราบขอบพระคุณครูบาอาจารย์ทุกรูปผู้มีส่วนร่วมไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย
   กุศลสมภารใดอันเกิดจากการเรียบเรียงหนังสือสวดมนต์ตั๋นล้านนาฉบับนี้                จะพึงมี ข้าพเจ้าขอน้อมบูชาคุณพระศรีรัตนตรัย คุณบิดามารดาและครูอุปัชฌาย์อาจารย์ทุกท่าน ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาการทางด้านภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต           ซึ่งถือว่ามีส่วนช่วยให้หนังสือนี้อุบัติขึ้นมาในบรรณโลก และบรรดาท่านผู้สืบทอดพระพุทธศาสนามาโดยลำดับ กับทั้งอุทิศเป็นบุพพเปตพลีแก่สรรพสัตว์ทุกหมู่เหล่า ขอให้ได้รับอานิสงส์แห่งคุณความดีในครั้งนี้ทุกถ้วนหน้า
   หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือสูตรมนต์ตั๋นล้านนาฉบับนี้คงจะอำนวยประโยชน์  กับท่านผู้ใช้พอสมควร ขออำนวยพรให้ท่านผู้ใช้หนังสือสูตรมนต์ตั๋นฉบับนี้ จงได้รับผลานิสงส์แห่งกุศลสาธยายอันเกิดจากทรงจำเล่าเรียนท่องบ่นบทสูตรมนต์ตั๋น สมดังเจตนาปณิธานของข้าพเจ้า และถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในศาสนธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยทั่วกัน

      ทุกฺขปฺปตฺตา จ นิทฺทุกฺขา      ภยปฺปตฺตา จ นิพฺภยา
      โสกปฺปตฺตา จ นิสฺโสกา      โหนฺตุ สพฺเพปิ ปาณิโน.

   “ขอสัตว์ทั้งหลายผู้ประสพทุกข์จงไร้ทุกข์  ผู้ประสพภัยจงปลอดภัย                 ผู้ประสพโศกจงหายโศก ทุกถ้วนทั่วสัตวนิกรเทอญ”

   สิริปวร “าณทฺธชา’ภิเธยฺยวิสฺสุตมุนิสีหคณุตฺตโมทิตภิกฺขุ สาสนปฺปภูต,                   สทฺธมฺมปริยตฺติธร,วิสิฏฺปริตฺตภาณก,ปาติโมกฺขุทฺเทสโกปาธิธารี,รตนโกสินฺท-                  เทวนครสฺส เวมชฺฌภาเค ชยมณฺฑปารามนิวาสี.  (๘๙-๖ ชื่อว่า สิทธิ ได้ไชยะเศษแล)

ขออำนวยพร
พระมหาญาณธวัช  ญาณทฺธโช
๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
(ผู้เขียน;ผู้ชำระ)

ธรรมะ ปุจฉา:
เหตุที่ทำให้มนต์เสื่อมเป็นต้น

      อสชฺฌายมลา มนฺตา    อนุฏฺานมลา ฆรา
      มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ    ปมาโท รกฺขโต มลํ.
               (ธมฺมปท)
         มนตราเว้นบ่นพร่ำ    เกิดมละ นา
      คร้านเกียจแผ้วฆรา    ไป่เกลี้ยง
      สกนธ์บ่ชำระ    เหม็นสาบ ท่านเนอ
      ประมาทเลินเล่อเพี้ยง    ทรัพย์ท่านเสียหายฯ
               (ญ.ญ.ม.)

   มนต์ไม่หมั่นสาธยายก็ลืมเลือน บ้านเรือนไม่หมั่นปัดกวาดเช็ดถูก็สกปรก
ร่างกายไม่หมั่นขัดสีฉวีวรรณก็เศร้าหมอง มีหน้าที่เฝ้าดูแลแต่เผลอเรอ ข้าวของก็เสียหาย



คำชี้แจงวิธีออกเสียงอักขระแบบล้านนาในการสวด

   ๑.   พยัญชนะเหล่านี้คือ ก จ ฏ ต ป เป็นอักษรสูงออกเสียงเหมือนมีวรรณยุกต์จัตวากำกับเวลาเป็นเสียงทีฆะหรือ ครุ เช่น
      อาโลโก      อ่านว่า   อา – โล– โก๋
      กัมมัง      อ่านว่า   ก๋ำ – มัง
      วาจา      อ่านว่า   วา-จ๋า
      สัจจัง      อ่านว่า   สัด – จั๋ง
      กูฏัง      อ่านว่า   กู๋ –ฏั๋ง
      อะระหะโต      อ่านว่า   อะ –ละ – หะ – โต๋
      ยะถาภูตัง      อ่านว่า   ญะ – ถา – ภู– ตั๋ง (ย นาสิกเหมือน ñ - ญ)
      สัมปันโน      อ่านว่า   สำ – ปั๋น – โน
      ปาระมี      อ่านว่า   ป๋า – ละ – มี
   ๒.   พยัญชนะเหล่านี้คือ ค ช ท พ ออกเสียงเหมือน ก จ ต ป (แต่อักษรต่ำ) เช่น
      คัจฉามิ      อ่านว่า   กั๊ด – ฉา – มิ
      โรคา      อ่านว่า   โล– กา
      วิราคัง      อ่านว่า   วิ – ลา – กัง
      ชิเน      อ่านว่า   จิ๊ – เน
      วิชชา      อ่านว่า   วิด – จา
      อุชุ      อ่านว่า   อุ – จุ๊
      ทุกขัง      อ่านว่า   ตุ๊ก – ขัง
      ทานัง      อ่านว่า   ตา – นัง
      ทิฏฐิ      อ่านว่า   ติ๊ด – ถิ
      พุทโธ      อ่านว่า             ปุ๊ด – โท
      นิพพานัง      อ่านว่า      นิบ – ปา – นัง
      โพธิยา      อ่านว่า      โป– ทิ – ยา
   ๓.   ในที่มีเครื่องหมาย ยมักการ (  ๎  ) กำกับมีวิธีใช้ดังนี้

      ถ้ามีพยัญชนะ ย, ว อยู่ด้วยให้ออกเสียงควบกล้ำ เช่น
      พ๎ยาธิ      อ่านว่า      เปีย – ทิ  (คล้ายสระเอีย แต่ลากเสียงยาว)
      พ๎ยัญชะนา      อ่านว่า      เปียน – จ๊ะ – นา
      อาโรค๎ยะ      อ่านว่า      อา – โล– เกี๊ยะ
      สัก๎ยะ      อ่านว่า      สัก – เกี๊ยะ
      ภาค๎ยัง      อ่านว่า      ภา – เกียง
      ส๎วากขาโต       อ่านว่า      สวาก – ขา – โต๋  (อ่านกล้ำ/ไม่อ่าน                     สะหวาก  ส๎วาขาโต ก็เช่นกัน)
      สักกัต๎วา      อ่านว่า      สัก – กัด – ตว๋า (คล้ายสระอัวแต่ลาก                     เสียงยาว)   
      ต๎วัง      อ่านว่า      ตวั๋ง  (อ่านกล้ำ/ไม่อ่าน ตะ-วัง)
   ภะวัต๎วันตะราโย   อ่านว่า      ภะ–วัด–ตวั๋น–ตะ–ลา –โย  (อ่านกล้ำ/
               ไม่อ่าน ภะ–วัด–วัน)
      ทิส๎วา      อ่านว่า      ติ๊ด – สว๋า
      ปูเรต๎วา      อ่านว่า      ปู๋ – เล็ด – ตว๋า
      ท๎วัตติงสะ      อ่านว่า      ตวั๊ด – ติ๋ง – สะ เป็นต้น
   ถ้ามีพยัญชนะ ร กล้ำอยู่ด้วยให้ออกเสียงเป็นพยัญชนะตัวถัดไป จากตัวที่ตนเองกล้ำ เช่น
      ค๎รีเมขะลัง      อ่านว่า      ฆี – เม – ขะ – ลัง  ( คฆ)
      สัต๎รู      อ่านว่า      สัด – ถู ( ตถ)
      อินท๎ริยานิ      อ่านว่า      อิน – ธิ -  ยา – นิ  (ทธ)
      พ๎รัห๎มัง      อ่านว่า      ภำ – มัง  (พภ) เป็นต้น
   
   ๔.   พยัญชนะ ฑ. ออกเสียง ด. เช่น

      กัณฑะกะ      อ่านว่า      กั๋น – ดะ – กะ  (ไม่อ่าน กัน – ทะ)
      โกณฑัญโญ      อ่านว่า      โก๋น – ดัน – โย  (ไม่อ่าน โกน – ทัน)                     เป็นต้น
   ๕.   พยัญชนะ ย ซ้อนกัน (ยย) และทำหน้าที่เป็นตัวสะกดคำที่ประสมกับสระเอ นิยมออกเสียงเป็น ไอย เช่น
      เวยยากัปโป      อ่านว่า      ไวย – ยา – กับ – โป๋
      เสยยะถาปิ      อ่านว่า      ไสย – ยะ – ถา – ปิ
      อุปะวะเทยยุง      อ่านว่า      อุ – ปะ – วะ – ไตย – ยุง
      อุลโลเกยยาถะ      อ่านว่า      อุน – โล – ไก๋ย – ยา – ถะ   เป็นต้น
   ๖.    คำควบกล้ำที่สะกดคำอ่านได้สองแบบจะเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่ง เช่น
      เท๎ว      ไม่ใช้      ท๎เว
      เต๎ววะ      ไม่ใช้      ต๎เววะ
      อาโรเค๎ยนะ      ไม่ใช้      อาโรค๎เยนะ   เป็นต้น
   ๗.   ในกรณีที่ทำหน้าที่สะกดคำหน้าด้วยจะใช้อักขรวิธีแบบทั่วไป เช่น
      วิรุฬ๎โห      ไม่ใช้      วิรุโฬ๎ห  (อ่านว่า วิ–ลุน–ลฺโห)
      มิฬ๎เห      ไม่ใช้      มิเฬ๎ห     (อ่านว่า มิน–ลฺเห)   เป็นต้น
   ๘.   พยัญชนะอัฑฒสระที่มีเสียงสูญเสียไปในสำเนียงภาษาของเรา คงใช้ตามสำเนียงปัจจุบัน เช่น
      ตัณหา       อ่านว่า      ตั๋น-หา  (ไม่ใช้ ตัณ๎หา)   
      อุณหัสสะ      อ่านว่า      อุน-หัด-สะ (ไม่ใช้ อุณ๎หัสสะ)
      ตุมหากัง      อ่านว่า      ตุ๋ม-หา-กั๋ง  (ไม่ใช้ ตุม๎หากัง)  เป็นต้น
   ๙.   พยัญชนะ ฐ - ถ ใช้แทนกันได้ ดังที่คัมภีร์สัททนีติตั้งสูตรไว้ว่า ตฺถานํ ฏฺยุคํ.แต่ในเล่มนี้จะใช้รูปที่เป็น ถ โดยมาก เช่น
      ปะถะวี       ไม่ใช้       ปะฐะวี
      ปะถะโม      ไม่ใช้       ปะฐะโม    เป็นต้น
      นอกจากนี้พยัญชนะ ต - ฏ ก็อาจใช้แทนกันได้ เช่น นะลาเต - นะลาเฏ           
    ปะติ - ปะฏิ  เป็นต้น
   ๑๐.   พยัญชนะ ร, ล, ฬ ในสำเนียงล้านนาออกเสียงไม่ต่างกัน
   ๑๑.   พยัญชนะ ญ, ย  ออกเสียงนาสิก (ขึ้นจมูก) ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษรให้ตรงกับเสียงภาษาไทยมาตรฐานได้ เนื่องจากภาษาไทยปัจจุบันไม่มีเสียงนี้ นอกจากใช้สัทอักษรในถ่ายทอดเท่านั้น ดังนั้นจะต้องอาศัยการฟังและหัดออกเสียงให้ได้ด้วยตนเอง
   ๑๒. ในการชำระศัพท์บาลีบางศัพท์จำต้องเทียบเคียงกับสันสกฤต โดยอิงอาศัยกฎเกณฑ์ทางภาษาศาสตร์ และอนุวรรตตามสันสกฤต เพื่อให้ถูกต้องแม่นยำตรงกัน ทั้งสองภาษา เช่น
   น๎หาตะกัสสะ, น๎หารู   บางฉบับใช้  นะหาตะกัสสะ, นะหารู  ทั้งสองรูปนี้ถือว่าไม่เหมาะสม เพราะในสันสกฤตมีรูปที่เป็นสังยุกตพยัญชนะว่า สฺนาตก, สฺนายุ เมื่อปริวรรตมาเป็นบาลีจะมีการสลับที่ตำแหน่งพยัญชนะ และพยัญชนะ ศ,ษ,ส ในสันสกฤตจะกลายมาเป็น ห ในบาลี ดังนั้น สฺนาตก จึงเป็น นฺหาตก, สฺนายุ เป็น นฺหารุ (ยร) ขอให้เทียบกับคำอื่นๆ ดังนี้
   ปฺรศฺน ปญฺห (ศ↷ห, นฺ↷ญฺ)      ปัญหา,คำถาม ไทยแทรกเสียง อิ เป็น ปริศนา
   ตฺฤษฺณาตณฺหา (ษ↷ห, ฤ↷อ)    ตัณหา,ดำฤษณา
   สฺนานนฺหาน (ส↷ห)         สรง,สนาน,อาบน้ำ   เป็นต้น
   จะสังเกตเห็นได้ว่า  ถึงแม้จะมีการสลับที่อักษรและเปลี่ยนเสียงพยัญชนะ แต่สังโยคยังคงอยู่ในตำแหน่งเดิม ในกรณีที่ไม่ต้องการสังโยคและสลับตำแหน่งอักษร ภาษาบาลีจะใช้วิธีแทรกเสียงสระ และไม่มีการเปลี่ยน ศ,ษ, ส เป็น ห แต่จะใช้ ส ตัวเดียวเท่านั้น เช่น
   ตฺฤษฺณาตสิณา   สฺนานสินาน   เสฺนหสิเนห  เป็นต้น
   ดังนั้นรูปว่า นะหาตะกัสสะ (นหาตกสฺส) ก็ดี นะหารู (นหารู) ก็ดี จึงถือว่า                  ไม่ตรงตามกฎเกณฑ์ทางภาษาศาสตร์
   อนึ่งขอชี้แจงว่า ปาฐะบางบทในหนังสือเล่มนี้ที่เป็นคำเดียวกัน แต่เขียนต่างกันก็มี เช่น สฺวากฺขาต - สฺวาขาต ในเล่มนี้มีใช้ทั้ง ๒ รูป (ต้องการทราบรายละเอียดโปรดดูคำอธิบายในภาคผนวก)



ที่ได้นำมาลงไวนี้เป็นแค่เพียงบางส่วน สามารถดาว์นโหลดฉบับเต็มไปศึกษาได้ ที่นี้เลย :http://depositfiles.com/files/rtkjf1diq

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว