ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มีวิธีวัดอย่างไร ในการสำเร็จ กรรมฐาน หรือ สมาธิ  (อ่าน 8254 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มีวิธีวัดอย่างไร ในการสำเร็จ กรรมฐาน หรือ สมาธิ
 ในกรรมฐาน วัดกันอย่างไร ว่าปฏิบัติได้สำเร็จแล้ว เป้าหมายแท้จริงที่ใช้วัดความสำเร็จใช้
อะไรเป็นเครื่องชี้วัดองค์ความสำเร็จ ครับ

 :25:
บันทึกการเข้า

pamai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 139
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
วิธี วัดความสำเร็จ ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

  ก็คือจิตของเราที่เห็น สภาวะธรรม ที่แจ้งต่อพระอาจารย์ผู้สอนกรรมฐาน

  การผ่านไปปฏิบัติขั้นต่อไป ก็เท่ากับ เป็นการวัด ว่าเราเข้าใจ และ เห็นแจ้งในสภาวะ กรรมฐาน

 เนื่องด้วยศิษย์กรรมฐาน หากพระอาจารย์ ผู้สอนกรรมฐาน ไม่สั่งให้ปฏิบัติต่อไปในขั้นต่อไป

ก็จะไม่ละเมิด การปฏิบัติ เพราะยังไม่ได้เรียน และไม่รู้ขั้นตอน และไม่เข้าใจด้วย เนื่องด้วย

ไม่สามารถเห็นสภาวะกรรมฐาน ได้

 :25:
บันทึกการเข้า

prachabeodee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 135
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
โดยปกติแล้ว ปฎิบัติ วิปัสสนากรรมฐาน และสมถกรรมฐาน ก็มุงเพื่อละ กิเลสทั้งสิ้น....
ในพระไตรปิฎกก็บอกไว้ว่าการวัดการละกิเลสได้ก็วัดกันที่การละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อได้มากน้อยเท่าใด (ไปหาอ่านได้ในพระไตรปิฎก เด๊อค้า)ซึ่งในระดับเราๆ(พื้นๆ)ก็คงต้องดูแต่ละสายปฎิบัติด้วย...อย่างสายมัชฌิมาแบบลำดับป้าก็ว่าเป็นแบบ คุณ pamai พูดมานั่นแหละ...แต่ถ้าเป็นแบบอื่นๆก้ไม่เหมือนกันนักเพราะแต่ล่ะสายปฎิบัติเน้นจุดใหญ่ๆไม่เหมือนกัน(เนื่องจากจริตไม่เหมือนกัน,ติดข้องในกิเลสที่ไม่เหมือนกันแลก็ไม่เท่ากันด้วย)....แต่โดยสรุปคร่าวๆ ป้าเห็นว่า........การละกิเลสได้ มากเท่าใดก็ให้ดูว่าใจเราเป็นอิสระได้มากน้อยเพียงใดความสุขทางใจเกิดมีขึ้นบ้างหรือไม่เพียงไร....การยึดติดในตัวตนมีมากน้อยเพียงใด,การยึดติดในมานะฐิฎทิมีมากน้อยเพียงใด  สิ่งเหล่านี้ใครก็วัดไม่ได้นอกจากเราผู้ปฎิบัติเองจะเห็นเองรู้เองดังนั้นจึงควรประเมิณตนเองด้วยใจเป็นกลางที่สุด..เราจะรู้ว่าอะไรที่เราก้าวข้ามได้แล้ว,อะไรที่เรายังติดอยู่,อะไรที่ต้องหาความรู้หรือปัญญาเพิ่มเติมเพื่อปลดพันทนาการของใจเราออกได้......
...................การค้นหาที่แท้จริง คือการค้นพบตัวเอง และอยู่กับสภาวะตื่นรู้ที่เป็นปัจจุบันที่สุด........
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ขอคุยด้วยคนครับ อย่าซีเรียส แค่คุยเป็นเพื่อนเท่านั้น

เรื่องสมาธิ ผมคิดว่า ต้องวัดด้วย ๒ ปัจจัย คือ

 ๑. องค์ของฌาณ คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัตคตา และอุเบกขา
 ๒. วสี ความชำนาญ




ฌาน การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ, ภาวะจิตสงบประณีต
ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก; ฌาน ๔ คือ

๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๓ (ปีติ สุข เอกัคคตา)
๓. ตติยฌาน มีองค์ ๒ (สุข เอกัคคตา)
๔. จตุตถฌาน มีองค์ ๒ (อุเบกขา เอกัคคตา);


ฌาน ๕ ก็เหมือนอย่าง ฌาน ๔ นั่นเอง แต่ตามแบบอภิธรรม ท่านซอยละเอียดออกไป โดยเพิ่มข้อ ๒ แทรกเข้ามา คือ

๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
๒. ทติยฌาน มีองค์ ๔ (วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)

ข้อ ๓. ๔. ๕. ตรงกับข้อ ๒. ๓. ๔. ในฌาน ๔ ตามลำดับ



วิจาร
ความตรอง, การพิจารณาอารมณ์, การตามฟั้นอารมณ์ (ข้อ ๒ ในองค์ฌาน ๕)

วิตก
ความตรึก, ตริ, การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือปักจิตลงสู่อารมณ์ (ข้อ ๑ ในองค์ฌาน ๕), การคิด, ความดำริ; ไทยใช้ว่าเป็นห่วงกังวล

ปีติ
ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำในใจ มี ๕ คือ
๑.ขุททกปีติ ปีติเล็กน้อยพอขนชันน้ำตาไหล
๒.ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะรู้สึกแปลกๆ ดุจฟ้าแลบ
๓.โอกกันติกาปีติปีติเป็นระลอกรู้สึกซู่ลงมาๆ ดุจคลื่นซัดฝั่ง
๔.อุพเพคาปีติ ปีติโลดลอย ให้ใจฟูตัวเบาหรืออุทานออกมา
๕.ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์เป็นของประกอบกับสมาธิ


สุข
ความสบาย, ความสำราญ, มี ๒
๑.กายิกสุข สุขทางกาย
๒.เจตสิกสุข สุขทางใจ,

อีกหมวดหนึ่ง มี ๒ คือ
๑.สามิสสุข สุขอิงอามิส คืออาศัยกามคุณ
๒.นิรามิสสุข สุขไม่อิงอามิส คืออิงเนกขัมมะ

(ท่านแบ่งเป็นคู่ ๆ อย่างนี้อีกหลายหมวด)

เอกัคคตา
ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่สมาธิ

อุเบกขา
1) ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยชอบหรือชัง, ความวางใจเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุ และรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามธรรม หรือตามควรแก่เหตุนั้น, ความรู้จักวางใจเฉยดู

เมื่อเห็นเขารับผิดชอบตนเองได้ หรือในเมื่อเขาควรต้องได้รับผลอันสมควรแก่ความรับผิดชอบของเขาเอง, ความวางทีเฉยคอยดูอยู่ในเมื่อคนนั้นๆ สิ่งนั้นๆ ดำรงอยู่หรือดำเนินไปตามควรของเขาตามควรของมัน ไม่เข้าข้างไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ไม่สอดแส่ ไม่จู้จี้สาระแน ไม่ก้าวก่ายแทรกแซง
(ข้อ ๔ ในพรหมวิหาร ๔, ข้อ ๗ ในโพชฌงค์ ๗, ข้อ ๑๐ ในบารมี ๑๐, ข้อ ๙ ในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐)

2) ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกเต็มว่าอุเบกขาเวทนา (= อทุกขมสุข)



วสี
ความชำนาญ มี ๕ อย่าง คือ
๑.อาวัชชนวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการนึก ตรวจองค์ฌานที่ตนได้ออกมาแล้ว
๒.สมาปัชชนวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการที่เข้าฌานได้รวดเร็วทันที
๓.อธิฏฐานวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการที่จะรักษาไว้มิให้ฌานจิตต์นั้นตกภวังค์
๔.วุฏฐานวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการจะออกจากฌานเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ
๕.ปัจจเวกขณวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการพิจารณาทบทวนองค์ฌาน


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ป.อ.ปยุตโต)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ขอคุยต่อนะครับ กรณีของวิปัสสนากรรมฐาน การวัดความสำเร็จ คือ

การเป็นอริยบุคคลขั้นต่างๆ ซึ่งต้องพิจารณาถึงการตัดสังโยชน์


สังโยชน์ ๑๐ (กิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล)

๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น)
๒. วิจิกิจฉา (ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ )
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร)


๔. กามราคะ (ความกำหนัดในกาม, ความติดใจในกามคุณ)
๕. ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ, ความหงุดหงิดขัดเคือง)


๖. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ)
๗. อรูปราคะ (ความติใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนาในอรูปภพ)
๘. มานะ (ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่)
๙. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๑๐. อวิชชา (ความไม่รู้จริง, ความหลง)


ที่มา พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม(ป.อ.ปยุตโต)

โสดาบันและสกทาคามี ตัดสามข้อแรกได้

อนาคามีตัดห้าข้อแรกได้

อรหันต์ตัดได้ทั้งหมด

แต่ถ้ายังเป็นปุถุชนอยู่ เราจะวัดกันอย่างไรว่า กิเลสเบาบาง

ผมคิดเอาเองว่า น่าจะดูอุปกิเลส ว่ามีอยู่มากน้อยเท่าไร

ส่วนคนที่ขึ้นวิปัสสนาได้แล้ว ก็ควรต้องพิจารณา วิปัสสนูกิเลส


อุปกิเลส หรือ จิตตอุปกิเลส ๑๖ (ธรรมเครื่องเศร้าหมอง, สิ่งทีทำให้จิตขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก ดุจผ้าเปรอะเปื้อนสกปรก ย้อมไม่ได้ดี)

๑. อภิชฌาวิสมโลภะ (คิดเพ่งเล็งอยากได้ โลภไม่สมควร, โลภกล้า จ้องจะเอาไม่เลือกควรไม่ควร)
๒. พยาบาท (คิดร้ายเขา)
๓. โกธะ (ความโกรธ)
๔. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ)


๕. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน, ความหลู่ความดีของผู้อื่น, การลบล้างปิดซ่อนคุณค่าความดีของผู้อื่น)
๖. ปลาสะ (ความตีเสมอ, ยกตัวเทียมท่าน, เอาตัวขึ้นตั้งขวางไว้ ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน)
๗. อิสสา (ความริษยา)
๘. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)


๙. มายา (มารยา)
๑๐. สาเถยยะ (ความโอ้อวดหลอกเขา, หลอกด้วยคำโอ้อวด)
๑๑. ถัมภะ (ความหัวดื้อ, กระด้าง)
๑๒. สารัมภะ (ความแข่งดี, ไม่ยอมลดละ มุ่งแต่จะเอาชนะกัน)


๑๓. มานะ (ความถือตัว, ทะนงตน)
๑๔. อติมานะ (ความถือตัวว่ายิ่งกว่าเขา, ดูหมิ่นเขา)
๑๕. มทะ (ความมัวเมา)
๑๖. ปมาทะ (ความประมาท, ละเลย, เลินเล่อ)

ข้อ ๒ มีต่างออกไป คือ ในธัมมทายาทสูตร เป็น โทสะ (ความคิดประทุษร้ายเขา)

วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ (อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, ธรรมารมณ์ที่เกิดแก่ผู้ได้ตรุณวิปัสสนา หรือวิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว เป็นเหตุขัดขวางให้ไม่ก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ )

๑. โอภาส (แสงสว่าง)
๒. ญาณ (ความหยั่งรู้)
๓. ปีติ (ความอิ่มใจ)
๔. ปัสสัทธิ (ความสงบเย็น)
๕. สุข (ความสุขสบายใจ)


๖. อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ, ศรัทธาแก่กล้า, ความปลงใจ)
๗. ปัคคาหะ (ความเพียรที่พอดี)
๘. อุปัฏฐาน (สติแก่กล้า, สติชัด)
๙. อุเบกขา (ความมีจิตเป็นกลาง)
๑๐. นิกันติ (ความพอใจ, ติดใจ)


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นาตยา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 136
  • ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา คะ อ่านแล้วเข้าใจมากขึ้นคะ

 :25:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
วิธี วัดความสำเร็จในกรรม แบ่งเป็น 3 ส่วนนะจ๊ะ

คือ 1 กรรมฐาน อันเนื่องด้วย ศีล .... มีกุศลกรรมบถ เป็นนิสัย ยิ่งมีมากเท่าใด นั่นคือความสำเร็จนะจ๊ะ

    2 กรรมฐาน อันเนื่องด้วย สมาธิ....มี รูปกรรมฐาน และ อรูปกรรมฐาน เป็นนิสัย ยิ่งมีมากเท่าใด

                                         เอกััคคตา และ อุเบกขา ก็บริบูรณ์ มากเท่านั้น จ๊ะ
 
    3 กรรมฐาน อันเนื่องด้วย ปัญญา...มี การพิจารณา ด้วยสมาธิ เป็นปัจจัย เป็นนิสัย ยิ่งมีมากเท่าใด
         
                                         สังโยชน์ 10 ประการก็ย่อมน้อยลง ๆ ๆๆ จนหมด และ ไม่มี


  เจริญธรรม

  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ