ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คำว่า “ให้อภัย” ความหมายในทางพุทธศาสนา  (อ่าน 670 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




คำว่า “ให้อภัย” ความหมายในทางพุทธศาสนา

รูปศัพท์ “ภย” ภัย, ความน่ากลัว, ความเป็นอันตรายต่อ ร่างกาย, ชีวิต, ทรัพย์สิน, เป็นอันตรายต่อกุศลธรรม ความดีงาม

น + ภย = อภย (อภัย) คือความ ไม่มีภัย, ไม่เป็นภัย, ไม่มีความน่ากลัว, ไม่เป็นอันตรายต่อ ร่างกาย, ชีวิต, ทรัพย์สิน ไม่เป็นอันตรายต่อกุศลธรรม ความดีทั้งมวล.

คำว่า “ให้อภัย” ให้ความไม่มีภัย, ให้ความไม่น่ากลัว แก่ผู้อื่น สัตว์อื่น ก็คือให้การเป็นมิตร, เป็นกัลยาณมิตที่ดี แก่ผู้อื่น นั่นเอง

@@@@@@@

อะไร คือความ “ให้อภัย” อย่างแท้จริง

ในทางโลก บางครั้งเกิดความสับสน คือมักใช้คำว่า “ให้อภัย” ต่อผู้ที่ทำความผิดพลาดอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ตนแล้ว เมื่อผู้นั้นมาขอโทษ หรือขอขมา…ก็อดโทษให้ ไม่ถือโทษ ไม่ทำโทษ… โดยมากมักเข้าใจคำว่า “ให้อภัย” ในลักษณะนี้… จึงเกิดพิธีกรรมที่เรียกว่า “การขอขมา” ขึ้น โดยกล่าวเป็นภาษาบาลี เช่น

     – ทฺวารตเยน กตํ สพฺพํ อปราธํ ขมถุ โน ภนฺเต.
     – ขมาหิ ขอให้ท่านจงอดโทษ
     – ขมถ ขอให้ท่านทั้งหลายจงอดโทษ

ผู้ที่ถูกล่วงเกิน ไม่ถือโทษ ก็จะกล่าวว่า….
     – ขมามิ เราอดโทษ, ไม่ทำโทษ, ไม่ถือโทษ
     – ขมาม เราทั้งหลาย อดโทษ, ไม่ทำโทษ, ไม่ถือโทษ ฯลฯ

จึงมีประเพณีที่เรียกว่า “ขออภัย” และ  “ให้อภัย”


@@@@@@@

คำว่า “ให้อภัย” คนส่วนมากทราบโดยนัยเดียวว่า “เมื่อมีผู้กระทำผิดพลาดต่อเราโดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว บุคคลผู้ถูกกระทำโดยทุจริตกรรมต่าง ๆ จากผู้อื่นนั้น จะต้องให้อภัยแก่ผู้กระทำ ไม่ถือโทษ ไม่โกรธเคือง ไม่แก้แค้น…เป็นต้น” เหล่านี้…เป็นความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ …ข้อนี้ ก็เป็นเรื่องดีในส่วนหนึ่ง

แต่นอกเหนือจากสิ่งดีในเรื่องนี้แล้ว….เรื่องที่เป็นความมุ่งหมายสำคัญกว่าในทางพุทธศาสนา นั้นก็คือ “การให้อภัย” ที่นิยามความหมายไว้ข้างต้นนั้น จะต้องเป็นไปแก่คนทุกคน คือแก่บุคคลผู้กระทำเวร-ภัยแก่ผู้อื่นด้วย หมายความว่า

     – บุคคลผู้ก่อเวร-และภัยนั้น สมมติว่า “เป็นบุรุษที่ ๑” (ผู้กระทำ)
     – ตัวเรา หรือผู้ถูกกระทำ คือผู้ได้รับภัยจากบุรุษที่หนึ่งนั้น สมมติว่า “เป็นบุรุษที่ ๒” (ผูู้ถูกกระทำ)

ความมุ่งหมายของคำว่า “ให้อภัย” นั้น ในทางพุทธศาสนานั้น มุ่งหมายเอาบุรุษที่หนึ่ง (ผู้กระทำ) เป็นหลักสำคัญ, บุรุษที่ ๒ (ผู้ถูกกระทำ) นั้น เป็นหลักรอง คือ ท่านมุ่งหมายว่า “ให้อภัย” คือ การไห้ความไม่มีเวร-ไม่มีภัยแก่ผู้อื่น โดยนับจากบุรุษที่ ๑ เป็นต้นไป

เมื่อบุรุษที่ ๑ คือผู้กระทำ ไม่มีเสียแล้ว บุรุษที่ ๒ ผู้ถูกกระทำ ก็ไม่มี (ในขณะเดียวกัน ยกผู้ถูกกระทำเป็นประธานแล้ว ผู้ถูกกระทำก็จะกลายเป็นบุรุษที่ ๑ คือ ตนเองก็จะกระทำตอบ หรือกระทำเวร-ภัย หรือทุจริตกรรมแก่บุคคลอื่นๆ ต่อ ๆ ไปก็ไม่ได้)

“ให้อภัย” ในที่นี้ จึงหมายความว่า “ตนเอง อย่าสร้างเวร หรือ อย่าสร้างภัย คือความน่ากลัวให้แก่ผู้อื่น” นี่เป็นความมุ่งหมายหลักสำคัญของคำว่า “ให้อภัย” ตามหลักพุทธศาสนา

@@@@@@@

ถามว่า “การก่อเวร- ก่อภัย” ให้แก่ผู้อื่น คืออะไร.?
ตอบ “คือ การละเมิดศีล” ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานต้นๆเลย ไม่มีอะไรซับซ้อน มีเพียงศีล ๕ ก็ไม่มีเวร ไม่มีภัยแล้ว การผิดศีล ๕ หรือละเมิดศีลห้า ก็คือการสร้างเวร-และภัย สิ่งที่น่ากลัว ทั้งร่างกาย ชีวิต ทรัพย์สิน ให้แก่ผู้อื่น

อาชญากรรมในโลกทั้งปวง มี ๓ ลักษณะ คือ
    – อาชญากรรม คือความผิดในทางร่างกาย (ทำร้ายร่างกาย, การทรมาณ, กักขัง, หน่วงเหนี่ยว, ฆ่า)
    – อาชญากรรม คือความผิดในทางเพศ คือ “การข่มขื่น, กระทำชำเรา, บังคับค้ากาม…”
    – อาชญากรรม คือความผิดในทางด้านทรัพย์สิน ได้แก่ การลักขโมย, ทำลาย, ทำให้เกิดความเสียหายด้วยวิธีการต่าง ๆ (ย่อสั้น ๆ ว่า “ต่อร่างกายชีวิต, เพศ, ทรัพย์สิน)

ข้อสำคัญ “อาชญากรรม” ทั้ง ๓ ลักษณะนั้น มีผลต่อจิตใจของผู้ถูกกระทำโดยตรง เพราะกายและใจ สืบเนื่องกัน. จึงมีคำพูดว่า “ทำร้ายร่างกาย- ทำร้ายจิตใจ”

ศีล ๕ ในทางพุทธศาสนา ก็มีแนวคิด โดยตรงกับอาชญากรรม ๓ อย่าง นี้ คือว่า ศีลห้าทั้งหมด เป็นตัวป้องกันอาชญากรรมทั้ง ๓ ลักษณะนั้น และป้องกันได้ดีที่สุดด้วย และการป้องกันของศีลห้านั้น ป้องกันตั้งแต่บุรุษที่ ๑ เลย คือ เมื่อมีศีลห้า ผู้ก่อเวร-ภัย ผู้กระทำอาชญากรรมนั้น ก็ไม่มีแล้ว, บุรุษที่ ๒ คือผู้ถูกกระทำก็ไม่มี ไม่ต้องมาตามหาการ “ให้อภัย, ยกโทษ” แก่บุรุษที่ ๒

นอกจากนั้น สิ่งที่เหนือความคาดหมายของศีล นั้นก็คือ “ธรรม” ไม่คิดก่ออาชญากรรมทางร่างกาย,ชีวิต,ทรัพย์สินแก่ผู้อื่น


@@@@@@@

“ศีล” มีลักษณะ “ไม่กล้ากระทำเพราะ กลัวผิดสัญญา เพราะสมาทานศีลมาแล้ว, และข้อที่ผิดศีลนั้น มีความพาดเกี่ยวกับกฏหมายทางโลก ซึ่งมีบทกำหนดโทษไว้อยู่ จึงไม่กล้ากระทำ กลัวกฏหมาย กลัวการลงโทษ

ส่วน “ธรรม” คือ มี เมตตา, กรุณา, มุทิตา เป็นต้น

จะทำให้ศีล มั่นคง คือ ไม่ต้องคำนึงถึงโทษ แต่คำนึงถึงความถูกต้อง ดีงาม ความสงบสุข เป็นต้น

ดังนั้น เวร-ภัย ทั้งปวง จึงไม่มีเพราะ “ธรรม” คือ
     – เมตตา, กรุณา—-> ศีลข้อ “ปาณาติบาต” ก็สมบูรณ์
     – สัมมาชีพ, ปัจจเวกขณะ—-> ศีลข้อ “อทินนาทาน” ก็สมบูรณ์
     – สทารสันโดษ, อาชวะ—-> ศีลข้อ “กาเมสุมิจฉาจาร” ก็สมบูรณ์
     – กุศลจิตตุปบาทที่มี อนภิชฌา, อวิหึสา, อัพยาปาท เป็นประธาน—->ศีลข้อ “มุสาวาท” ก็สมบูรณ์
     – มีสติ, สังวร, สำรวม—->ศีลข้อ “สุราเมรยปมาทัฏฐาน” ก็สมบูรณ์

โลกจะสงบสุขโดยแท้ แต่ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยศีลแท้จริง “สีลสมฺปนฺโน” ได้แก่ พระโสดาบันบุคคลเป็นต้นไปเท่านั้น




ขอบคุณ : dhamma.serichon.us/2020/09/24/คำว่า-ให้อภัย-ความหมายใ/
VeeZa : ๒๔ กันยายน ๒๕๖๓ ,24 กันยายน 2020 By admin.   
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ