ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ชายผ้าเหลือง "บวชเณรให้แม่ บวชพระให้พ่อ"  (อ่าน 1205 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0





ชายผ้าเหลือง

งานสวดศพสมัยเมื่อสัก 60 ปีที่แล้ว พระสวดอภิธรรมจบถือตาลปัตรล่ำลาญาติโยม ก็ยังมีการ “สวดคฤหัสถ์” ผู้ชาย 4 คนสวด...เป็นเพื่อนศพ เป็นเพื่อนญาติต่อไป จนใกล้สว่าง

ผมเป็นเด็กเกินไป จำไม่ได้ว่าเนื้อหาที่สวดเป็นเรื่องอะไร เดาว่าเป็นสวดพระมาลัย เพราะกระบวนการสวดค่อนไปทางสนุกโลดโผน โยกตาลปัตรเอียงไปมา ทำท่าเหมือนไอ้หนุ่มหมัดเมา เคาะด้ามตาลปัตรให้จังหวะบางครั้ง

กาญจนาคพันธุ์ อธิบายสำนวน “ชายผ้าเหลือง” ว่า...หมายถึงผ้าเหลืองที่พระสงฆ์ใช้นุ่งห่ม ที่มาจากหนังสือสุบินกลอนสวดของโบราณ ซึ่งผมเข้าใจเอาว่าคงเป็นอีกเรื่องที่ใช้ในการสวดคฤหัสถ์


 ans1 ans1 ans1 ans1

เนื้อหาสุบินกลอนสวดมีว่า นางสุภาวดีเป็นเมียนายพราน ตลอดชีวิตช่วยสามีฆ่าสัตว์ตัดชีวิตไว้มาก นางสุภาวดีมีลูกชายคนเดียวชื่อสุบินเอาลูกชายไปบวชเป็นสามเณรได้ไม่นาน นางสุภาวดีกับผัวก็ตาย เพราะทำบาปกรรมไว้ พระยมเจ้าแห่งนรก จึงเอาตัวไปลงหม้อไฟกัลป์

กลอนตอนนี้พรรณนาว่า

นางเจ็บร้องไห้ร่ำไร แลเห็นชุติ์ไฟ ตกใจเพียงจักม้วยมรณ์ นางว่าแสงเพลิงเหลืองอ่อน เหมือนชายจีวร ลูกผู้บวชเป็นเณร ปฏิบัติ รักษาพระเถร เรียนธรรมะจะเจน ขอบุญมาช่วยมารดา พอยมบาลจับนางสุภาวดีทิ้งลงในกองไฟ ทันทีนั้นดอกบัวทองก็ผุดขึ้นมารองรับ ยมบาลซักไซ้จนแน่ใจ เป็นผลบุญที่เกิดจากการบวชลูกชายก็ยอมปล่อยให้นางกลับขึ้นมาเป็นมนุษย์


 :25: :25: :25: :25:

เนื้อเรื่องพระสุบินตอนนี้คงเป็นที่นิยมกันมาก ในบทละครเรื่องสังข์ทอง มีกลอนบทหนึ่ง “เจ้าเงาะถอนหนวดสวดสุบิน” ยืนยันว่าบทสวดสุบิน นิยมแพร่หลายกันมาแต่สมัยอยุธยา

สวดสุบินเป็นที่มาของค่านิยมเกาะชายผ้าเหลือง อานิสงส์การบวชเณรของสุบิน ไม่เพียงช่วยแม่ ยังแผ่ไปช่วยพ่อที่ตายไปเป็นเปรต อยู่ในนรกอีกขุม เปรตพ่อสุบินทุกขเวทนาเพราะความหิวโหย อยู่ในนรกได้ไม่นาน พอลูกชายได้บวชก็เกาะชายผ้าเหลืองลูกชาย พ้นจากนรก ขึ้นสวรรค์

แค่บวชลูกชายเป็นเณร อานิสงส์ยังมากขนาดนี้ หากบวชลูกชายเป็นพระ อานิสงส์จะมากขึ้นไปอีก จนเป็นที่เชื่อถือว่า บวชเณรให้แม่ บวชพระให้พ่อ ในหนังสือเก่าชื่อ “ปัญหาพยากรณ์” มีความตอนหนึ่ง

“ข้าพเจ้าได้ยินอยู่เนืองๆตามชาวบ้าน บางคนมีแต่บุตรหญิง ไม่มีบุตรชาย เห็นบุตรคนอื่นบวชเป็นสามเณรก็พากันบ่นว่าบุญของเขา เขาได้เห็นผ้าเหลืองลูกชาย น่าปลื้มอกปลื้มใจ ถ้าปะเป็นลูกของเราเป็นชาย ได้บวชเช่นนี้บ้าง เราชื่นใจหาน้อยไม่”


 st12 st12 st12 st12

เป็นอันว่า สำนวนเกาะชายผ้าเหลือง เราได้มาจากสุบินกลอนสวด ของคนสมัยเก่า สมัยนี้ไม่มีสวดกันแล้ว...ทั้งความหมายแบบเกาะชายผ้าเหลืองก็เปลี่ยนไป กลายเป็นเกาะกระแส

นักการเมืองไม่ว่ารุ่นเก่ารุ่นใหม่ ถ้าสร้างกระแสไม่ได้ก็ต้องพยายาม เกาะกระแส เล่นตามข่าวใหญ่...เรียกร้องความสนใจ กักตุนคะแนนกันไว้ก่อน อย่างเรื่องรัฐธรรมนูญ ถ้าฝ่ายที่มีท่าทีเป็นใจให้ “ทหาร” ปล่อยให้ฝ่ายที่ต่อต้านทหาร เป็นกระแสฝ่ายเดียวคงไม่ได้ รักทหารมากน้อยแค่ไหน

อยากได้ตั๋วเลือกตั้งจากทหารเร็วแค่ไหน ก็ต้องฝืนใจค้านรัฐธรรมนูญ...ไว้บ้าง ก่อนเลือกตั้ง เป้าหมายใหญ่ของนักการเมืองก็คือชาวบ้าน ถ้าชาวบ้านลืมชื่อ ถือเป็นเคราะห์ร้าย จึงเป็นที่มาของนักการเมืองที่ต้องเกาะกระแส สร้างความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีเรื่องร้าย หรือเรื่องกึ่งดีกึ่งร้าย

ตัวอย่างล่า ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ พูดเรื่องจริง มีการซื้อขายตำแหน่งนายตำรวจ แต่เรื่องจริงที่น่าจะถูกใจชาวบ้าน ไม่ถูกใจทหาร โดยเฉพาะตำรวจ จึงถูกถามหาใบเสร็จ ดร.อาทิตย์เจอ “งานเข้า” ทางคดีความ แต่ชื่อ “อาทิตย์” ก็เข้าตาประชาชน ผมว่านะ ในยุคสมัยที่หาคนดีศรีอยุธยาเป็นนายกฯ ได้ยาก ชื่ออาทิตย์น่าจะเป็นตัวเลือกหนึ่ง.


กิเลน ประลองเชิง



คอลัมน์ ชักธงรบ โดย กิเลน ประลองเชิง 28 พ.ค. 2559 05:01
http://www.thairath.co.th/content/626602
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ