ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สัจจังอภินิเวสายะ มีความหมายว่าอย่างไร ครับ  (อ่าน 7627 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

chatchay

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 244
  • เกิดเป็นคนต้องมีดี บวชทั้งทีต้องสร้างดีให้กับตน
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สัจจังอภินิเวสายะ มีความหมายว่าอย่างไร ครับ

   กับ ศัพท์ คำนี้มีความหมายอย่างไร ครับ

   ช่วยหน่อยครับ
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
โทษอันใดที่ข้าพเจ้าล่วงเกินแล้วต่อพระรัตนตรัย ด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ขอพระรัตนตรัย โปรดจงงดซึ่งโทษล่วงเกินนั้นแก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ด้วยเทอญ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
สัจจาภินิเวส คือ รักษาด้วยอุปาทาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2010, 11:38:35 am »
0
ต่อไปผมจะขอพูดเรื่อง ฆราวาสธรรม คือธรรมสำหรับฆราวาส

ฆราวาสก็คือผู้ครองเรือน บางทีเรียกว่า คฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ก็จะต้องมีธรรมของผู้ครองเรือน และเป็นธรรมะสำหรับครอบครัวที่ทุกคนจะต้องมี คนที่อยู่ในครอบครัวทุกคนจะต้องมีหลักธรรมเหล่านี้
 
ธรรมสำหรับฆราวาสที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้นั้น จุดประสงค์ก็เพื่อยกระดับฆราวาสให้เป็นฆราวาสที่ดี ไม่ใช่ฆราวาสที่เป็นปุถุชนร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ต้องการให้เป็นฆราวาสจนถึงขั้นที่เรียกว่า อริยฆราวาส เป็นฆราวาสที่เป็นอริยะ แล้วก็สามารถจะเป็นได้อยู่ได้ถึงอนาคามี

เป็นอริยะถึงขั้นอนาคามี หรือพระอริยบุคคลในระดับที่ 3 เกือบจะเป็นพระอรหันต์อยู่แล้วสามารถจะอยู่ครองฆราวาสได้ตลอดชีวิต แล้วก็ครองฆราวาสได้อย่างดี  มีชีวิตฆราวาสได้อย่าง ดี มีตัวอย่างในสมัยพุทธกาลมากมาย ที่ท่านเหล่านั้นใช้ชีวิตแบบฆราวาส และก็สามารถจะบรรลุธรรมได้จนถึงพระอนาคามี เช่น จิตตคหบดี  เป็น พระอนาคามี ที่อยู่ครองเรือน

 
ฆราวาสธรรมมี 4 หัวข้อ ต่อไปนี้
 
ข้อที่ 1 คือ สัจจะ
 
หมายถึงความจริง จริงทางกายบ้าง จริงทางวาจาบ้าง จริงทางใจบ้างที่ไม่เป็นโทษ ดำรงมั่นอยู่ในความจริงที่รู้จักด้วยปัญญา
 
สัจจะ มี 2 อย่าง ดังนี้
 
1.  สัจจานุรักษ์ คือการรักษาสัจจะ อะไรที่เป็นสัจจะก็รักษาสิ่งนั้นเอาไว้
 
2. สัจจาภินิเวส คือ รักษาด้วยอุปาทาน ยึดถือด้วยอุปาทานว่าสิ่งนี้จริง สิ่งอื่นไม่จริง รักษาสัจจะอย่างงมงาย เคยถือกันมาอย่างไร ก็ถือกันไปอย่างนั้น โดยไม่คำนึงถึงเหตุการณ์ เหตุผลความเป็นจริงที่เป็นปัจจุบัน นั่นเรียกว่า สัจจาภินิเวส เป็น doctrine magicism ไม่ใช่ protection of the truth ไม่ใช่การรักษาสัจจะแต่เป็น doctrine magicism เป็นการถือกันตามปรัมปราประเพณี คือสัจจะแบบนั้นมันไม่ได้ทดสอบไม่ได้พิสูจน์ความจริง อย่างนี้เรียกว่า สัจจาภินิเวส

แต่ว่าสัจจานุรักษ์ นั้นต้องได้เห็นเหตุผล เป็นความจริงที่มีเหตุผลทดสอบได้ และท่านผู้ที่จะรักษาสัจจะ ต้องเป็นสัจจะตามพระวังคีสะ พุทธสาวกรูปหนึ่งของพระพุทธเจ้าที่ได้กล่าวไว้ต่อหน้าพระพักตร์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า สจฺเจ อตฺเถ จ ธมฺเม จ อหุ สนฺโต ปติฏฺฐิตา  สัตบุรุษทั้งหลายดำรงมั่นอยู่ในสัจจะที่เป็นประโยชน์และ เป็นธรรม อตฺเถ จ ธมฺเม จ อหุ สนฺโต ปติฏฺฐิตา แปลว่าเป็นประโยชน์ธรรมะ นั่นคือเป็นธรรม ดำรงอยู่ในสัจจะที่เป็นประโยชน์ และเป็นธรรมคือยุติธรรม

 
แต่ถ้าเป็นสัจจะที่ไม่เป็นประโยชน์และก็ไม่ยุติธรรมก็ไม่เอา ต้องเป็นประโยชน์และเป็นธรรมหรือยุติธรรม ความจริงบางอย่างมันไม่เป็นประโยชน์กับใคร พูดไปก็เท่านั้น และไม่ยุติธรรม ก็ไม่เอา ไม่พูด มันตั้งอยู่ในสัจจะอย่างนั้น ไม่เป็นประโยชน์แล้วก็ไม่เป็นธรรม ขอให้จำเอาไว้ว่า ขอให้เราประพฤติอยู่ในสัจจะ และต้องเป็นสัจจะที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม

คัดลอกจาก
หนังสือ ชีวิตกับครอบครัว (วศิน อินทสระ )
http://www.ruendham.com/book_detail.php?id=41&content=445&name_content=%A6%C3%D2%C7%D2%CA%B8%C3%C3%C1%20%CA%D1%A8%A8%D0

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
"อย่างนี้เท่านั้นถูก อย่างอื่นผิด"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2010, 11:54:20 am »
0
อิทังสัจ จาภินิเวสกายคันถะ [ธรรมสังคณี]
     
       พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 436

        [๗๔๐]   อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ  เป็นไฉน  ?

            ความเห็นว่า  โลกเที่ยง  นี้แหละจริงอย่างอื่นเปล่า   ดังนี้ก็ดี   ว่าโลก

ไม่เที่ยง  นี้แหละจริง    อย่างอื่นเปล่า    ดังนี้ก็ดี   ว่าโลกมีที่สุด   นี้แหละจริง

อย่างอื่นเปล่า   ดังนี้ก็ดี  ว่าโลกไม่มีที่สุด  นี้แหละจริง  อย่างอื่นเปล่า   ดังนี้ก็ดี

ว่า ชีพอันนั้นสรีระก็อันนั้น    นี้แหละจริง  อย่างอื่นเปล่า   ดังนี้ก็ดี  ว่าชีพเป็นอื่น

สรีระก็เป็นอื่น  นี้แหละจริง  อย่างอื่นเปล่า  ดังนี้ก็ดี  ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่เบื้องหน้า

แต่มรณะนี้แหละจริง  อย่างอื่นเปล่า  ดังนี้ก็ดี    ว่าสัตว์ไม่เป็นอยู่เบื้องหน้าแต่

มรณะ   นี้แหละจริง   อย่างอื่นเปล่า  ดังนี้ก็ดี  ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็มี  ไม่เป็นอยู่

ก็มีเบื้องหน้าแต่มรณะ  นี้แหละจริง  อย่างอื่นเปล่า  ดังนี้ก็ดี  ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่

ก็ไม่ใช่    ไม่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่เบื้องหน้าแต่มรณะ   นี้แหละจริง    อย่างอื่นเปล่า



ดังนี้ก็ดี  ทิฏฐิ  ความเห็นไปข้างทิฏฐิ  ป่าชัฏคือทิฏฐิ  กันดารคือทิฏฐิ   ความเห็น

เป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ  ความยึดถือ

ความยึดมั่น   ความตั้งมั่น   ความถือผิด   ทางชั่ว   ทางผิด  ภาวะที่ผิด   ลัทธิ

เป็นบ่อเกิดแห่ง ความพินาศ    การถือโดยวิปลาส    มีลักษณะเช่นว่านี้     อันใด

นี้ เรียกว่า  อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ.


มิจฉาทิฏฐิแม้ทุกอย่าง   เว้นสีลัพพตปรามาสกายคันถะ  จัดเป็นอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ


ที่มา http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=12276



“อิทเมวสัจจัง โมฆมัญญัง อย่างนี้เท่านั้นถูก อย่างอื่นผิด”

“สัพเพธัมมา นาลัง อภินิเวสาย ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรเข้าไป ยึดมั่น ถือมั่น”


ที่มา  http://phd.mbu.ac.th/home/data/ภาษาพุทธนัยสัมพันธ์.pdf


ผมหามาได้แค่นี้ครับ น่าจะพอไขข้อข้องใจได้บ้าง

ขอให้ธรรมคุ้มครอง
 :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 04, 2010, 11:58:36 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สัจจังอภินิเวสายะ มีความหมายว่าอย่างไร ครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 05, 2010, 04:54:20 am »
0
 :58: :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง