ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สัตว์เดรัจฉาน ฟังธรรม รู้เรื่องหรือไม่ครับ  (อ่าน 9162 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

chatchay

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 244
  • เกิดเป็นคนต้องมีดี บวชทั้งทีต้องสร้างดีให้กับตน
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คือ บางครั้งก็สับสนเหมือนกัน นะครับ ว่า บางท่านก็กล่าวว่า สัตว์เดรัจฉาน ปิดประตูธรรมไปเลยเพราะไม่รู้จัก บุญบาป กุศล อกุศล

  แต่พอผมมานั่งนึกดู ก็คือ ปลาโลมา ช่วยเหลือชีวิตคน  ลิง ที่สามารถฝึกหัดอ่านเขียน หมาที่กตัญญูต่อเจ้าของ

  หรือแม้ในครั้งพุทธกาล ม้ากัณฑกะ ก็ยอมตายเพราะ เจ้าชายสิทธัตถะออกบวช
  ช้าง และ ลิง อยู่ในป่า อุปัฏฐาก พระพุทธเจ้า อย่างนี้ ผมก็เลยสงสัยว่า

   แท้ที่จริง สัตว์ดิรัจฉาน นี่ก็รับธรรม ได้ ใช่หรือไม่ครับ

  :smiley_confused1: :smiley_confused1: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
โทษอันใดที่ข้าพเจ้าล่วงเกินแล้วต่อพระรัตนตรัย ด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ขอพระรัตนตรัย โปรดจงงดซึ่งโทษล่วงเกินนั้นแก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ด้วยเทอญ

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สัตว์เดรัจฉาน ฟังธรรม รู้เรื่องหรือไม่ครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 27, 2013, 08:29:46 am »
0
คิดว่า สัตว์เดรัจฉาน ไม่น่าเข้าใจในอรรถ ในธรรม คะ ฟังคงฟังได้ เหมือนเราฟัง เขาร้อง เขาส่งเสียงนั่นแหละคะ แต่ก็คงสื่อ กันไม่ได้ คือไม่เข้าใจความหมายใด ๆ เพมือนนั่่งฟัง คนต่างชาติพูดนั่นแหละคะ ไม่ใช่ภาษาเรา เราก็ฟังไม่รู้ไม่เข้าใจ ใช่หรือไม่คะ

  :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สัตว์เดรัจฉาน ฟังธรรม รู้เรื่องหรือไม่ครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 31, 2013, 10:50:44 am »
0


พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
มหารถวรรคที่ ๕
มัณฑุกเทวปุตตวิมาน
ว่าด้วยบุญกรรมของมัณฑุกเทพบุตร
     
      พระผู้มีพระภาคตรัสถามมัณฑุกเทพบุตรว่า
      [๕๑] ใครมีวรรณะงามยิ่งนัก รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์และยศ ยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว ไหว้เท้าทั้งสองของเราอยู่?


      มัณฑุกเทพบุตรกราบทูลว่า
      เมื่อชาติก่อน ข้าพระองค์เป็นกบ เที่ยวหาอาหารอยู่ในน้ำ เมื่อข้าพระองค์กำลังฟังธรรมของพระองค์อยู่ คนเลี้ยงโคได้ฆ่าข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงดูฤทธิ์ ยศ อานุภาพ ผิวพรรณและความรุ่งเรืองของข้าพระองค์ผู้มีจิตเลื่อมใสครู่หนึ่งเท่านั้น ข้าแต่พระโคดม ก็ผู้ใดได้ฟังธรรมของพระองค์สิ้นกาลนาน ผู้นั้นพึงได้บรรลุนิพพานอันเป็นฐานะไม่หวั่นไหว เป็นสถานที่ที่ไปแล้วไม่เศร้าโศกเป็นแน่.


      จบมัณฑุกเทวปุตตวิมานที่ ๑.


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๑๘๐๓ - ๑๘๑๖. หน้าที่ ๗๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=1803&Z=1816&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=51
ขอบคุณภาพจาก http://www.dmc.tv/





อรรถกถา ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ มหารถวรรคที่ ๕
๑. มัณฑุกเทวปุตตวิมาน
ปุริสวิมานวัตถ
มหารถวรรคที่ ๕
อรรถกถามัณฑูกเทวปุตตวิมาน

      มัณฑูกเทวปุตตวิมานเกิดขึ้นอย่างไร.?
      พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ริมฝั่งสระโบกขรณี ชื่อคัคครา นครจัมปา.
      เวลาใกล้รุ่ง พระองค์ทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติอันเป็นพุทธาจิณวัตร ทรงออกจากสมาบัตินั้น แล้วทรงตรวจดูเหล่าสัตว์พวกที่เป็นเวไนยพอจะแนะนำได้ ทรงเห็นว่า เวลาเย็นวันนี้ เมื่อเรากำลังแสดงธรรม
      กบตัวหนึ่งถือนิมิตในเสียงของเรา จักตายด้วยความพยายามของผู้อื่นแล้วบังเกิดในเทวโลก มาให้มหาชนเห็นพร้อมด้วยเทพบริวารเป็นอันมาก คนเป็นจำนวนมากจักได้ตรัสรู้ธรรมในที่นั้น.


      ครั้นทรงเห็นแล้ว เวลาเช้าทรงนุ่งแล้วทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังจัมปานครพร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ ทรงทำให้ภิกษุทั้งหลายหาบิณฑบาตได้ง่าย เสวยภัตกิจ เสร็จแล้วเสด็จเข้าพระวิหาร.
      เมื่อภิกษุทั้งหลายทำวัตรปฏิบัติแล้วไปที่พักกลางวันของตนๆ ก็เสด็จเข้าพระคันธกุฎี ทรงใช้เวลาครึ่งวันให้หมดไปด้วยสุขในผลสมาบัติ

      เวลาเย็นเมื่อบริษัททั้ง ๔ ประชุมกัน เสด็จออกจากพระคันธกุฎีอันหอมตลบ เสด็จเข้ามณฑปศาลาประชุมธรรม ริมฝั่งสระโบกขรณี ด้วยพระปาฏิหาริย์ซึ่งเหมาะแก่ขณะนั้น ประทับนั่งเหนือพระบวรพุทธอาสน์ที่ประดับไว้ ทรงเปล่งพระสุรเสียงเพียงดังเสียงพรหม ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘ #- ราวกะว่าพญาไกรสรสีหราชมิหวาดหวั่น บันลือสีหนาทเหนือพื้นมโนศิลาฉะนั้น ทรงเริ่มแสดงธรรมด้วยพระพุทธสีลาอันหาอุปมามิได้ ด้วยพระพุทธานุภาพอันเป็นอจินไตย.

____________________________
#- ๑. วิสฺสฏฐ สละสลวย ๒. มญฺชุ ไพเราะ ๓. วิญฺเญยฺย ชัดเจน ๔. สวนีย เสนาะโสต ๕. อวิสารี ไม่เครือพร่า ๖. พินฺทุ กลมกล่อม ๗. คมฺภีร ลึก ๘. นินฺนาที มีกังวาน.



   
     ในขณะนั้น กบตัวหนึ่ง มาแต่สระโบกขรณี จึงนอนถือนิมิตในพระสุรเสียง
     ด้วยธรรมสัญญาว่านี้ เรียกว่าธรรม อยู่ท้ายบริษัท.
     ขณะนั้น คนเลี้ยงลูกโคคนหนึ่งมายังที่นั้น เห็นพระศาสดากำลังทรงแสดงธรรม และบริษัทกำลังฟังธรรมอย่างสงบเงียบส่งใจไปในเรื่องนั้น ยืนถือไม้ [สำหรับต้อนโค] ไม่ทันเห็นกบจึงได้ยืนปักไม้บนหัวกบเข้า.


     กบมีจิตเลื่อมใสด้วยธรรมสัญญา ทำกาละตายในขณะนั้นเอง ไปบังเกิดในวิมานทอง ๑๒ โยชน์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเหมือนหลับแล้วตื่นขึ้น เห็นตนถูกหมู่อัปสรแวดล้อม
     นึกดูว่า เรามาแต่ไหนจึงบังเกิดในที่นี้ เห็นชาติก่อน นึกทบทวนดูว่า เราเกิดในที่นี้และได้รับสมบัติเช่นนี้
     เราทำกรรมอะไรหนอ ไม่เห็นกรรมอื่น นอกจากถือนิมิตในพระสุรเสียงของพระผู้มีพระภาคเจ้า
     เทพบุตรนั้นมาพร้อมด้วยวิมานในขณะนั้นเอง ลงจากวิมานทั้งที่มหาชนเห็นอยู่นั่นแล เข้าไปถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า แล้วยืนประคองอัญชลีนมัสการอยู่ ด้วยอานุภาพทิพย์ยิ่งใหญ่ ด้วยบริวารหมู่ใหญ่.

     ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเทพบุตรนั้น เพื่อจะทรงทำผลแห่งกรรมและพุทธานุภาพให้ประจักษ์แก่มหาชน จึงตรัสถามว่า
     ใครรุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ ด้วยยศ มีวรรณะงามทำทิศทุกทิศให้สว่างไสว กำลังไหว้เท้าของเรา.




 
     ครั้งนั้น เทพบุตรเมื่อกระทำให้แจ้งซึ่งชาติก่อนเป็นต้นของตน ได้ทูลพยากรณ์ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
     เมื่อชาติก่อน ข้าพระองค์เป็นกบอยู่ในน้ำ มีน้ำเป็นถิ่นที่หากิน กำลังฟังธรรมของพระองค์อยู่ คนเลี้ยงโคก็ฆ่าเสีย ขอพระองค์โปรดดูฤทธิ์และยศ. ดูอานุภาพวรรณะและความรุ่งเรืองของความเลื่อมใสแห่งจิตเพียงครู่เดียวของข้าพระองค์.


     ข้าแต่ท่านพระโคดม ชนเหล่าใดได้ฟังธรรมของพระองค์ตลอดกาลยาวนาน ชนเหล่านั้นก็ถึงฐานะที่ไม่หวั่นไหว ซึ่งคนไปแล้วไม่เศร้าโศกเลย.
     ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้โคดม สัตว์เหล่าใดทำบุญไว้แล้ว มิได้ฟังธรรมสิ้นเวลานิดหน่อย เหมือนข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว คือได้โอกาสที่จะฟังพระธรรมของพระองค์ตลอดเวลานาน สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าทำลายสังสารวัฏเด่นชัดตลอดกาลนาน สัตว์เหล่านี้ไปในที่ใดไม่พึงเศร้าโศก สัตว์เหล่านั้นถึงที่นั้นที่ไม่เศร้าโศก อันชื่อว่าไม่หวั่นไหว เพราะความเป็นของเที่ยง คือสันติบท(พระนิพพาน) เพราะถึงสันติบทนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงไม่มีอันตราย.


     ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอุปนิสัยสมบัติของเทพบุตรนั้น และของบริษัทที่ประชุมกันอยู่
     แล้วทรงแสดงธรรมโดยพิสดาร.
     จบเทศนา เทพบุตรนั้นตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สัตว์แปดหมื่นสี่พันได้ตรัสรู้ธรรม.
     เทพบุตรนั้นถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณ ทำอัญชลีแด่ภิกษุสงฆ์ พร้อมด้วยบริวารกลับเทวโลก.


     จบอรรถกถามัณฑูกเทวปุตตวิมาน


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=51
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=26&A=1803&Z=1816
ขอบคุณภาพจาก http://buddha.dmc.tv/,https://encrypted-tbn3.gstatic.com/,http://xn--m3cif1apm3a5c5h6ab0d.dmc.tv/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สัตว์เดรัจฉาน ฟังธรรม รู้เรื่องหรือไม่ครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 31, 2013, 12:27:44 pm »
0


อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท อัปปมาทวรรคที่ ๒
๒. อัปปมาทวรรควรรณนา

สองผัวเมียเดินทางไปหาอาชีพ
             
      ก็เมื่อทุพภิกขภัยเกิดแล้วในแคว้นอัลลกัปปะ ชายผู้หนึ่งชื่อว่าโกตุหลิก ไม่อาจจะเป็นอยู่ได้ จึงพาภรรยาผู้มีบุตรอ่อนนามว่ากาลี จัดแจงเสบียงออกไปแล้ว ด้วยมุ่งหมายว่า “จะไปหากินที่เมืองโกสัมพี.”
      อาจารย์บางท่านกล่าวว่า “เขาออกไปแล้ว ในเมื่อมหาชนกำลังตายกันด้วยโรคอหิวาต์” บ้าง.
      สองสามีภรรยานั้นเดินไปอยู่ เมื่อเสบียงทางหมดสิ้นแล้ว ถูกความหิวครอบงำแล้ว ไม่สามารถจะนำเด็กไปได้.


      ครั้งนั้น สามีจึงกล่าวกะภรรยาว่า “หล่อนเรามีชีวิตอยู่ ก็จักได้ลูกอีก, ทิ้งเขาเสียแล้วไปเถิด.”
      ธรรมดาว่า ดวงใจของมารดาอ่อนโยน เพราะฉะนั้น นางจึงพูดว่า “ดิฉันไม่อาจทิ้งลูกที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ดอก.”
      สามี. เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะทำอย่างไรกัน?
      ภรรยา. เราเปลี่ยนกันนำเขาไป.
      มารดายกลูกขึ้นประหนึ่งพวงดอกไม้ ในวาระของตน กกไว้ที่อก อุ้มไปแล้ว ก็เอาให้แก่บิดา.
      เวทนามีกำลังแม้กว่าความหิว บังเกิดแก่ชายผู้เป็นสามีนั้น ในที่ซึ่งเขารับเด็กผู้เป็นลูกนั้นแล้ววางลง
      เขาก็พูดกะภรรยานั้นแล้วๆ เล่าๆ ว่า “หล่อน เรามีชีวิตอยู่ จักได้ลูก (อีก) ทิ้งมันเสียเถิด.”
      แม้ภรรยาก็ห้ามเขาไว้ตั้งหลายครั้ง แล้วก็เฉยเสีย.


      เด็กถูกเปลี่ยนกันตามวาระ เหนื่อยอ่อนเลยนอนหลับอยู่ในมือของบิดา.
      ชายผู้เป็นสามี รู้ว่าลูกชายนั้นหลับ จึงปล่อยให้มารดาเดินไปข้างหน้าก่อน แล้วเอาเด็กนอนไว้บนใบไม้ลาด ใต้พุ่มไม้แห่งหนึ่งแล้วก็เดิน (ตามไป), มารดาเหลียวกลับแลดู ไม่เห็นลูก จึงถามว่า “นาย ลูกของเราไปไหน?”
      สามี. ฉันให้เขานอนอยู่ภายใต้พุ่มไม้แห่งหนึ่ง.
      ภรรยา. นาย อย่ายังฉันให้ฉิบหายเลย, ฉันเว้นลูกเสียแล้ว ไม่อาจเป็นอยู่ได้, นายนำลูกฉันมาเถิด ประหารอกคร่ำครวญแล้ว.
      ครั้งนั้น ชายผู้สามีจึงกลับไปเอาเด็กนั้นมาแล้ว. แม้ลูกก็ตายเสียแล้วในระหว่างทาง.

      นายโกตุหลิกทิ้งบุตรในฐานะมีประมาณเท่านี้ จึงถูกเขาทอดทิ้ง ๗ วาระในระหว่างภพ ด้วยผลแห่งกรรมนั้นด้วยประการฉะนี้.
      ชื่อว่าบาปกรรมนี้ อันบุคคลไม่ควรดูหมิ่นว่า “น้อย”, สองสามีภรรยานั้นเดินทางไปถึงตระกูลของคนเลี้ยงโคแห่งหนึ่งแล้ว.



นายโกตุหลิกตายไปเกิดเป็นสุนัข
             
      ก็ในวันนั้น มีการทำขวัญแม่โคนมของนายโคบาล. ในเรือนของนายโคบาล พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่งฉันเป็นนิตย์. นายโคบาลนั้นนิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าฉันเสร็จแล้ว จึงได้ทำการมงคล. ข้าวปายาสเขาจัดแจงไว้เป็นอันมาก.
      นายโคบาลเห็นสองสามีภรรยานั้นมา จึงถามว่า “ท่านมาจากไหน?”
      ทราบเรื่องนั้นแล้ว เป็นกุลบุตรมีใจอ่อนโยน จึงกระทำความสงเคราะห์ในสองสามีภรรยานั้น ให้ๆ ข้าวปายาสกับเนยใสเป็นอันมาก.


      ภรรยาจึงกล่าวกะสามีว่า “นาย เมื่อท่านมีชีวิตอยู่ ฉันก็ชื่อว่ามีชีวิตอยู่, ท่านท้องพร่องมานาน, จงบริโภคตามความต้องการ” ดังนี้แล้ว จึงวางข้าวปายาสไว้เบื้องหน้าเขาพร้อมกับสัปปิ ตนเองบริโภคสัปปิเหลวแต่น้อยหนึ่งเท่านั้น.
      ส่วนนายโกตุหลิกบริโภคมากไป ไม่อาจตัดความอยากในอาหารได้ เพราะตัวหิวมาตั้ง ๗-๘ วัน.

      นายโคบาล ครั้นให้ๆ ข้าวปายาสแก่ ๒ ผัวเมียแล้ว ตนเองจึงเริ่มจะบริโภค.
      นายโกตุหลิกนั่งแลดูเขาแล้ว เห็นก้อนข้าวปายาสที่นายโคบาลปั้นให้แก่นางสุนัข ซึ่งนอนอยู่แล้วใต้ตั่ง
      จึงคิดว่า “นายสุนัขตัวนี้มีบุญ จึงได้โภชนะเห็นปานนี้เนืองนิตย์.”
      ตกกลางคืน นายโกตุหลิกนั้นไม่สามารถจะยังข้าวปายาสนั้นให้ย่อยได้ จึงทำกาละ ไปเกิดในท้องแห่งนางสุนัขนั้น.


      ครั้งนั้น ภรรยาของเขาทำสรีรกิจ(เผา)แล้ว ก็ทำการรับจ้างอยู่ในเรือนนั่นเอง ได้ข้าวสารทะนานหนึ่ง หุงแล้วเอาใส่บาตรพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว กล่าวว่า
      “ท่านเจ้าข้า ขอกุศลนี้จงถึงแก่ทาสของท่านเถิด” ดังนี้แล้ว
     จึงคิดว่า “ควรเราจะอยู่ในที่นี้แล, พระผู้เป็นเจ้าย่อมมาในที่นี้เนืองนิตย์, ไทยธรรมจักมีหรือไม่ก็ช่างเถิด, เราไหว้อยู่ ทำความขวนขวายอยู่ ยังใจให้เลื่อมใสอยู่ทุกวัน จักประสพบุญมาก”
     (คิดดังนี้แล้ว) นางจึงทำการรับจ้างอยู่ในบ้านนั้นนั่นเอง.



สุนัขตายเพราะอาลัยในพระปัจเจกพุทธเจ้า
               
    ในเดือนที่ ๖ หรือที่ ๗ นางสุนัขแม้นั้นแล ก็คลอดลูกออกมาตัวหนึ่ง.
    นายโคบาลจึงให้ๆ น้ำนมของแม่โคนมตัวหนึ่งแก่ลูกสุนัขนั้น. ไม่นานเท่าไรนัก ลูกสุนัขนั้นก็เติบใหญ่.
    ครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อฉัน ย่อมให้ก้อนข้าวแก่ลูกสุนัขนั้นก้อนหนึ่งเป็นนิตย์.
    เพราะอาศัยก้อนข้าว สุนัขนั้นจึงได้มีความรักใคร่ในพระปัจเจกพุทธเจ้า.
    นายโคบาลย่อมไปสู่ที่บำรุงของพระปัจเจกพุทธเจ้า (วันหนึ่ง) ๒ ครั้งเนืองนิตย์.
    นายโคบาลนั้นแม้เดินไป ก็เอาไม้ตีที่พุ่มไม้และพื้นที่ดินในที่ซึ่งมีเนื้อร้าย
    ระหว่างทาง ส่งเสียงว่า “สุ สุ” ๓ ครั้ง ยังเนื้อร้ายให้หนีไปแล้ว.
    แม้สุนัขก็ไปด้วยกับนายโคบาลนั้น.


    ในวันหนึ่ง นายโคบาลนั้นกล่าวกะพระปัจเจกพุทธเจ้า
    “ท่านผู้เจริญ กาลใด ผมไม่มีโอกาสว่าง กาลนั้น ผมจักส่งสุนัขตัวนี้มา ขอพระผู้เป็นเจ้าพึงมาด้วยเครื่องหมายแห่งสุนัขนี้ที่กระผมส่งมาแล้ว.”
    ตั้งแต่นั้นมา ในวันที่ไม่มีโอกาส นายโคบาลนั้นก็ส่งสุนัขไปว่า “พ่อ จงไป จงนำพระผู้เป็นเจ้ามา” ด้วยคำเดียวเท่านั้น สุนัขนั้นก็วิ่งไป ถึงที่ซึ่งนายตีพุ่มไม้และพื้นดินก็เห่าขึ้น ๓ ครั้ง รู้ว่าเนื้อร้ายหนีไปแล้วด้วยเสียงนั้น ไปถึงที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้กระทำสรีปฏิบัติแต่เช้าตรู่ เข้าไปยังบรรณศาลา นั่งอยู่แล้ว ถึงประตบรรณศาลา จึงเห่าขึ้น ๓ ครั้ง ให้ท่านรู้ว่าตนมาแล้ว ก็นอนหมอบอยู่ที่ส่วนข้างหนึ่ง.



    เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้ากำหนดเวลาออกไปแล้ว สุนัขนั้นก็เดินเห่าไปข้างหน้าๆ เทียว พระปัจเจกพุทธเจ้าเมื่อจะทดลองสุนัข จึง(ทำเป็น)เดินไปทางอื่นในระหว่างๆ ทีนั้น สุนัขจึงไปยืนเห่าขวางหน้าของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นไว้ แล้วนำท่านลงทางนอกนี้.
     ต่อมาในกาลวันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าเมื่อจะทดลองสุนัขนั้น จึงเดินไปสู่ทางอื่นแล้ว แม้สุนัขนั้นจะยืนขวางห้ามอยู่ข้างหน้าก็ไม่กลับ เอาเท้ากระตุ้นสุนัขแล้วเดินไป สุนัขรู้ว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่กลับ จึงกลับไปคาบชายผ้านุ่งฉุดมา นำท่านลงสู่ทางนอกนี้.
     สุนัขนั้นได้ยังความรักอันมีกำลัง ให้เกิดขึ้นแล้วในพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ด้วยประการอย่างนี้.


     ต่อมาในกาลอื่น จีวรของพระปัจเจกพุทธเจ้าเก่าแล้ว.
     ครั้งนั้น นายโคบาลจึงได้ถวายผ้าสำหรับทำจีวรแก่ท่าน.
     พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงกล่าวกับนายโคบาลนั้นว่า “ผู้มีอายุ ชื่อว่าการทำจีวร อันบุคคลผู้เดียวทำได้ยาก, อาตมาไปสู่สถานที่สบายแล้วจักกระทำ.”
     นายโคบาล. ท่านผู้เจริญ นิมนต์ทำที่นี่เถิด.
     พระปัจเจกพุทธเจ้า. ผู้มีอายุ อาตมาไม่อาจ.
     นายโคบาล. ท่านผู้เจริญ ถ้ากระนั้น ท่านอย่าไปอยู่ภายนอกให้นานนัก.
     สุนัขได้ยืนฟังคำของคนทั้งสองนั้นอยู่เหมือนกัน.


     พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวกะนายโคบาลนั้นว่า “จงหยุดเถิด อุบาสก” ให้นายโคบาลกลับแล้ว เหาะขึ้นสู่เวหาส บ่ายหน้าต่อเขาคันธมาทน์ หลีกไปแล้ว.
     สุนัขแลดูพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เหาะไปทางอากาศ ยืนเห่าอยู่แล้ว
     เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นลับคลองจักษุไป หทัยก็แตกทำลายลง.



สุนัขไปเกิดเป็นโฆสกเทพบุตร
   
     ชื่อว่า สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายนั้น เป็นสัตว์มีชาติซื่อตรง ไม่คดโกง;
     ส่วนมนุษย์ใจคิดไปอย่าง ปากพูดไปอย่าง (ไม่ตรงกัน)
     เพราะเหตุนั้นแล นายเปสสะผู้เป็นบุตรของนายควาญช้าง จึงกล่าวว่า
        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แท้จริง ขันธบัญจกคือมนุษย์นี้รกชัฏ
        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แท้จริง ขันธบัญจกคือสัตว์ของเลี้ยงนี้ตื้น.

     สุนัขนั้นทำกาละแล้ว ไปเกิดในดาวดึงสภพ มีนางอัปสร ๑ พันแวดล้อม ได้เสวยสมบัติใหญ่
     ก็เพราะเป็นสัตว์มีความเห็นอันตรง (และ) ไม่คดโกงนั้น ด้วยประการฉะนี้.


     เมื่อเทพบุตรนั้นกระซิบที่ใกล้หูของใครๆ เสียงย่อมดังไปไกลได้ ๑๖ โยชน์ ส่วนเสียงพูดโดยปกติ ย่อมกลบเทพนครทั้งสิ้น ซึ่งมีประมาณหมื่นโยชน์.
     เพราะเหตุนั้นแล เทพบุตรนั้นจึงได้มีนามว่า “โฆสกเทพบุตร”
     ก็นี้เป็นผลของอะไร ? เป็นผลของการเห่าด้วยความรักในพระปัจเจกพุทธเจ้า.
     โฆสกเทพบุตรนั้นดำรงอยู่ในเทพนครนั้นไม่นานก็เคลื่อนแล้ว...ฯลฯ....



ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=12&p=1
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=330&Z=365
ขอบคุณภาพจาก http://iam.hunsa.com/,http://image.dogilike.com/,http://www.thaisaeree.com/,http://webboard.yenta4.com/,http://www.phitsanulokhotnews.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

รีบอร์น

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 81
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สัตว์เดรัจฉาน ฟังธรรม รู้เรื่องหรือไม่ครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มกราคม 31, 2013, 03:45:55 pm »
0
 st12 thk56 st12
น่าจะฟังได้ระดับหนึ่งนะครับ แต่คงไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์เหมือนมนุษย์ แต่ คนบางครั้งยังฟังยากกว่าสัตว์อีกครับ

 :13: :13: :13:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สัตว์เดรัจฉาน ฟังธรรม รู้เรื่องหรือไม่ครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มกราคม 31, 2013, 05:00:55 pm »
0

อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑
๕. เรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี

พระศาสดาทรงระอาจึงเสด็จหนีไปจำพรรษาอยู่ป่ารักขิตวัน 
      พระองค์ทรงระอาพระทัย เพราะความอยู่อาเกียรณ์นั้น ทรงพระดำริว่า
      “เดี๋ยวนี้ เราอยู่อาเกียรณ์เป็นทุกข์ และภิกษุเหล่านี้ไม่ทำ(ตาม)คำของเรา ถ้าอย่างไรเราพึงหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว” ดังนี้
      เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในเมืองโกสัมพี ไม่ตรัสบอกพระภิกษุสงฆ์ ทรงถือบาตรจีวรของพระองค์ เสด็จไปพาลกโลณการาม แต่พระองค์เดียว ตรัสเอกจาริกวัตร แก่พระภคุเถระที่พาลกโลณการามนั้นแล้ว ตรัสอานิสงส์แห่งสามัคคีรสแก่กุลบุตร ๓ คน ในมิคทายวัน ชื่อปาจีนวังสะ แล้วเสด็จไปทางบ้านปาริเลยยกะ.


      ดังได้สดับมา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยบ้านปาริเลยยกะ เสด็จจำพรรษาอยู่ที่ควงไม้สาละใหญ่ในราวป่ารักขิตวัน อันช้างปาริเลยยกะอุปัฏฐากอยู่เป็นผาสุก

____________________________
อาเกียรณ์ [-เกียน] ว. เกลื่อนกล่น, เกลื่อนกลาด. (ส. อากีรฺณ; ป. อากิณฺณ).

พวกอุบาสกทรมานภิกษุ
          ฝ่ายพวกอุบาสกผู้อยู่ในเมืองโกสัมพีแล ไปสู่วิหาร ไม่เห็นพระศาสดา
      จึงถามว่า “พระศาสดาเสด็จอยู่ที่ไหน? ขอรับ.”
      ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า “พระองค์เสด็จไปสู่ราวป่าปาริเลยยกะเสียแล้ว.”
      อุ. เพราะเหตุอะไร? ขอรับ.
      ภ. พระองค์ทรงพยายามจะทำพวกเราให้พร้อมเพรียงกัน. แต่พวกเราหาได้เป็นผู้พร้อมเพรียงกันไม่.
      อุ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายบวชในสำนักของพระศาสดาแล้ว, ถึงเมื่อพระองค์ทรงทำสามัคคี, ไม่ได้เป็นผู้สามัคคีกันแล้วหรือ?
      ภ. อย่างนั้นแล ผู้มีอายุ.


      พวกมนุษย์คิดกันว่า
      “ภิกษุพวกนี้ บวชในสำนักของพระศาสดาแล้ว, ถึงเมื่อพระองค์ทรงทำสามัคคีอยู่, ก็ไม่สามัคคีกันแล้ว; พวกเราไม่ได้เห็นพระศาสดา เพราะอาศัยภิกษุพวกนี้; พวกเราจักไม่ถวายอาสนะ จักไม่ทำสามีจิกรรมมีการไหว้เป็นต้นแก่ภิกษุพวกนี้;”
      จำเดิมแต่นั้นมา ก็ไม่ทำแม้สักว่าสามีจิกรรมแก่ภิกษุพวกนั้น. เธอทั้งหลายซูบซีดเพราะมีอาหารน้อย, โดยสองสามวันเท่านั้นก็เป็นคนตรง แสดงโทษที่ล่วงเกินแก่กันและกัน ต่างรูปต่างขอขมากันแล้ว กล่าวว่า “อุบาสกทั้งหลาย พวกเราพร้อมเพรียงกันแล้ว, ฝ่ายพวกท่าน ขอให้เป็นพวกเราเหมือนอย่างก่อน”

      อุ. พวกท่านทูลขอขมาพระศาสดาแล้วหรือ? ขอรับ.
       ภ. ยังไม่ได้ทูลขอขมา ผู้มีอายุ.
       อุ. ถ้าอย่างนั้น ขอพวกท่านทูลขอขมาพระศาสดาเสีย, ฝ่ายพวกข้าพเจ้าจักเป็นพวกท่านเหมือนอย่างก่อน ในกาลเมื่อพวกท่านทูลขอขมาพระศาสดาแล้ว.
       เธอทั้งหลายไม่สามารถจะไปสู่สำนักของพระศาสดา เพราะเป็นภายในพรรษา ยังภายในพรรษานั้น ให้ล่วงไปด้วยความลำบาก.



ช้างปาริเลยยกะอุปัฏฐากพระศาสดา
       ฝ่ายพระศาสดา อันช้างนั้นอุปัฏฐากอยู่ ประทับอยู่สำราญแล้ว.
       ฝ่ายช้างนั้นละฝูงเข้าไปสู่ราวป่านั้น เพื่อต้องการความอยู่ผาสุก.
       พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวอย่างไร.? พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า
       (ครั้งนั้น ความตริได้มีแก่พระยาช้างนั้นว่า) “เราอยู่อาเกียรณด้วยพวกช้างพลาย ช้างพัง ช้างสะเทิ้นและลูกช้าง เคี้ยวกินหญ้าที่เขาเด็ดปลายเสียแล้ว, และเขาคอยเคี้ยวกินกิ่งไม้ที่เราหักลงๆ และเราดื่มน้ำที่ขุ่น, เมื่อเราลงและขึ้นสู่ท่าแล้ว พวกช้างพังก็เดินเสียดสีกายไป; ถ้าอย่างไร เราจะหลีกออกจากหมู่อยู่ตัวเดียว”


       ครั้งนั้นแล พระยาช้างนั้นหลีกออกจากโขลง เข้าไป ณ บ้านปาริเลยยกะ ราวป่ารักขิตวัน ควงไม้สาละใหญ่ (และ) ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่แล้ว; ก็แลครั้นเข้าไปแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แลดูอยู่ไม่เห็นวัตถุอะไรๆ อื่น จึงกระทืบควงไม้สาละใหญ่ด้วยเท้า ถาก (ให้เรียบ) ถือกิ่งไม้ด้วยงวงกวาด. ตั้งแต่นั้นมา พระยาช้างนั้นจับหม้อด้วยงวง ตักน้ำฉันน้ำใช้มาตั้งไว้, เมื่อทรงพระประสงค์ด้วยน้ำร้อน, ก็จัดน้ำร้อนถวาย.

       พระยาช้างนั้นจัดน้ำร้อนได้อย่างไร?
       พระยาช้างนั้นสีไม้แห้งด้วยงวงให้ไฟเกิด, ใส่ฟืนให้ไฟลุกขึ้น เผาศิลาในกองไฟนั้นแล้ว กลิ้งก้อนศิลาเหล่านั้นไปด้วยท่อนไม้ ทิ้งลงในสะพังน้อยที่ตัวกำหนดหมายไว้, ลำดับนั้น หย่อนงวงลงไป รู้ว่าน้ำร้อนแล้ว, จึงไปถวายบังคมพระศาสดา.


       พระศาสดาตรัสว่า “ปาริเลยยกะ น้ำเจ้าต้มแล้วหรือ?” ดังนี้แล้ว เสด็จไปสรงในที่นั้น.
       ในกาลนั้น พระยาช้างนั้นนำผลไม้ต่างอย่างมาถวายแด่พระศาสดา. ก็เมื่อพระศาสดาจะเสด็จเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต พระยาช้างนั้นถือบาตรจีวรวางไว้บนตระพอง ตามเสด็จพระศาสดาไป.
       พระศาสดาเสด็จถึงแดนบ้านแล้วรับสั่งว่า “ปาริเลยยกะ ตั้งแต่ที่นี้ เจ้าไม่อาจไปได้, เจ้าจงเอาบาตรจีวรของเรามา” ดังนี้แล้ว ให้พระยาช้างนั้นเอาบาตรจีวรมาถวายแล้ว เสด็จเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต.

       ส่วนพระยาช้างนั้นยืนอยู่ที่นั้นเอง จนกว่าพระศาสดาจะเสด็จออกมา ในเวลาพระศาสดาเสด็จมา ทำการต้อนรับแล้ว ถือบาตรจีวรโดยนัยก่อน (นำไป) ปลงลง ณ ที่ประทับอยู่แล้ว ถวายงานพัดด้วยกิ่งไม้ แสดงวัตรอยู่. ในราตรี พระยาช้างนั้นถือท่อนไม้ใหญ่ด้วยงวง เที่ยวไปในระหว่างๆ แห่งราวป่ากว่าอรุณจะขึ้น เพื่อกันอันตรายอันจะมีแต่เนื้อร้ายด้วยตั้งใจว่า “จักรักษาพระศาสดา”

      ได้ยินว่า ราวป่านั้นชื่อว่ารักขิตวันสัณฑะ จำเดิมแต่กาลนั้นมา.
      ครั้นอรุณขึ้นแล้ว, พระยาช้างนั้นทำวัตรทั้งปวงโดยอุบายนั้นนั่นแล ตั้งต้นแต่การถวายน้ำสรงพระพักตร์.



วานรถวายรวงน้ำผึ้ง
     ในกาลนั้น วานรตัวหนึ่งเห็นช้างนั้นลุกขึ้นแล้วๆ ทำอภิสมาจาริกวัตร (คือการปฏิบัติ) แด่พระตถาคตเจ้าแล้ว คิดว่า “เราก็จักทำอะไรๆ ถวายบ้าง” เที่ยวไปอยู่,
      วันหนึ่ง เห็นรวงผึ้งที่กิ่งไม้หาตัวมิได้ หักกิ่งไม้แล้ว นำรวงผึ้งพร้อมทั้งกิ่งไม้ไปสู่สำนักพระศาสดา ได้เด็ดใบตองรองถวาย พระศาสดาทรงรับแล้ว.


      วานรแลดูอยู่ ด้วยคิดว่า “พระศาสดาจักทรงทำบริโภคหรือไม่?” เห็นพระศาสดาทรงรับแล้วนั่งเฉยอยู่ คิดว่า “อะไรหนอแล” จึงจับปลายกิ่งไม้พลิกพิจารณาดู เห็นตัวอ่อนแล้ว จึงค่อยๆ นำตัวอ่อนเหล่านั้นออกเสียแล้ว จึงได้ถวายใหม่.
      พระศาสดาทรงบริโภคแล้ว. วานรนั้นมีใจยินดี ได้จับกิ่งไม้นั้นๆ ยืนฟ้อนอยู่.
      ในกาลนั้น กิ่งไม้ที่วานรนั้นจับแล้วก็ดี กิ่งไม้ที่วานรนั้นเหยียบแล้วก็ดี หักแล้ว.
      วานรนั้นตกลงที่ปลายตออันหนึ่ง มีตัวอันปลายตอแทงแล้ว มีจิตเลื่อมใส ทำกาลกิริยาแล้ว เกิดในวิมานทองสูง ๓๐ โยชน์ ในภพดาวดึงส์ มีนางอัปสรพันหนึ่งเป็นบริวาร.


พระยาช้างสังเกตดูวัตรพระอานนท์
       การที่พระตถาคตเจ้า อันพระยาช้างอุปัฏฐาก ประทับอยู่ในราวป่ารักขิตวันนั้น ได้ปรากฏในชมพูทวีปทั้งสิ้น. ตระกูลใหญ่ๆ คือ ท่านเศรษฐีอนาถบิณฑิกะ และนางวิสาขามหาอุบาสิกา อย่างนี้เป็นต้น ได้ส่งสาสน์จากนครสาวัตถี ไปถึงพระอานนทเถระว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงแสดงพระศาสดาแก่พวกข้าพเจ้า.”

      ฝ่ายภิกษุ ๕๐๐ รูปผู้อยู่ในทิศ จำพรรษาแล้ว เข้าไปหาพระอานนทเถระ วอนขอว่า “อานนท์ผู้มีอายุ ธรรมีกถาในที่เฉพาะพระพักตร์แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพเจ้าทั้งหลายได้ฟังนานมาแล้ว; อานนท์ผู้มีอายุ ดีละ ข้าพเจ้าทั้งหลายพึงได้ฟังธรรมีกถาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด”

      พระเถระพาภิกษุเหล่านั้นไป ณ ที่นั้นแล้ว คิดว่า “การเข้าไปสู่สำนักพระตถาคตเจ้า ผู้เสด็จอยู่พระองค์เดียว ตลอดไตรมาส พร้อมกับภิกษุมีประมาณถึงเท่านี้ หาควรไม่”
      ดังนี้แล้ว จึงพักภิกษุเหล่านั้นไว้ข้างนอกแล้ว เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแต่รูปเดียวเท่านั้น.


     พระยาช้างปาริเลยยกะเห็นพระอานนทเถระนั้นแล้ว ถือท่อนไม้วิ่งไป.
     พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นแล้ว ตรัสว่า “หลีกไปเสียปาริเลยยกะ อย่าห้ามเลย, ภิกษุนั่นเป็นพุทธอุปัฏฐาก”
     พระยาช้างปาริเลยยกะนั้น ทิ้งท่อนไม้เสียในที่นั้นเองแล้ว ได้เอื้อเฟื้อถึงการรับบาตรจีวร. พระเถระมิได้ให้แล้ว.
     พระยาช้างได้คิดว่า “ถ้าภิกษุรูปนี้จักมีวัตรอันได้เรียนแล้ว, ท่านคงจักไม่วางบริขารของตนไว้บนแผ่นศิลาที่ประทับของพระศาสดา.” พระเถระได้วางบาตรจีวรไว้ที่พื้นแล้ว.



ไม่ได้สหายที่มีปัญญาเที่ยวไปผู้เดียวประเสริฐกว่า
      จริงอยู่ ชนผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยวัตร ย่อมไม่วางบริขารของตนไว้บนที่นั่งหรือบนที่นอนของครู.
      พระยาช้างนั้นเห็นอาการนั้น ได้เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสแล้ว.
      พระเถระอภิวาทพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง. 
      พระศาสดาตรัสถามว่า “อานนท์ เธอมาผู้เดียวเท่านั้นหรือ?” ทรงสดับความที่พระเถระเป็นผู้มาพร้อมกับภิกษุ ๕๐๐ แล้วตรัสว่า “ก็ภิกษุเหล่านั้น อยู่ที่ไหน?”
      เมื่อพระเถระทูลว่า “ข้าพระองค์ไม่ทราบน้ำพระทัยของพระองค์ จึงพักเธอทั้งหลายไว้ข้างนอกมาแล้ว (แต่รูปเดียว)”
      ตรัสว่า “เรียกเธอทั้งหลายมาเถิด” พระเถระได้ทำตามรับสั่งแล้ว.
      ภิกษุเหล่านั้นมาถวายบังคมพระศาสดาแล้วนั่ง ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง.


      พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับเธอทั้งหลายแล้ว.
      เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระพุทธเจ้าอันสุขุม และเป็นกษัตริย์อันสุขุม พระองค์เสด็จยืนและประทับนั่งพระองค์เดียวตลอดไตรมาส ทำกิจที่ทำได้ด้วยยาก, ผู้ทำวัตรและปฏิวัตรก็ดี ผู้ถวายน้ำสรงพระพักตร์ก็ดี ชะรอยจะมิได้มีแล้ว”,
      ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กิจทั้งปวงของเรา อันพระยาช้างปาริเลยยกะทำแล้ว ก็อันบุคคลผู้ได้สหายเห็นปานนี้ อยู่ด้วยกันควรแล้ว, เมื่อไม่ได้สหาย(เห็นปานนี้) ความเป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียวเท่านั้นประเสริฐกว่า” ดังนี้แล้ว ได้ภาษิต ๓ คาถาใน นาควรรค เหล่านี้ว่า :-


      ถ้าบุคคลได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน มีปัญญาทรงจำ มีคุณธรรมเป็นเครื่องอยู่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ไว้เป็นผู้เที่ยวไปด้วยกันไซร้, (บุคคลผู้ได้สหายเห็นปานนั้น) ควรมีใจยินดีมีสติ ครอบงำอันตรายซึ่งคอยเบียดเบียนรอบข้างทั้งปวงเสียแล้ว เที่ยวไปกับสหายนั้น, ถ้าบุคคลไม่ได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน มีปัญญาทรงจำ มีคุณธรรมเป็นเครื่องอยู่ยังประโยชน์ให้สำเร็จไว้ เป็นผู้เที่ยวไปด้วยกันไซร้, บุคคลนั้นควรเที่ยวไปคนเดียว เหมือนพระราชาผู้ละแว่นแคว้นที่พระองค์ทรงชำนะแล้ว เสด็จอยู่แต่องค์เดียว,
      (และ) เหมือนพระยาช้างอันชื่อว่ามาตังคะเที่ยวอยู่ในป่าแต่เชือกเดียว, การเที่ยวไปผู้เดียวประเสริฐกว่า ความเป็นสหายไม่มีในเพราะชนพาล, บุคคลผู้ไม่ได้สหายเห็นปานนั้น ควรมีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปผู้เดียว และไม่ควรทำบาปทั้งหลาย, เหมือนพระยาช้างชื่อมาตังคะผู้มีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปในป่าแต่เชือกเดียวและหาได้ทำบาปไม่.”
     ในกาลจบคาถา ภิกษุเหล่านั้นทั้ง ๕๐๐ รูป ตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว.

     พระอานนทเถระกราบทูลสาสน์ที่ตระกูลใหญ่ๆ มีท่านเศรษฐีอนาถบิณฑิกะเป็นต้นส่งมาแล้ว กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวก ๕ โกฏิ มีท่านเศรษฐีอนาถบิณฑิกะเป็นหัวหน้า หวังความเสด็จมาของพระองค์อยู่.”
    พระศาสดาตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น เธอจงรับบาตรจีวร”
    ดังนี้แล้ว ให้พระเถระรับบาตรจีวรแล้ว เสด็จออกไป.     
    พระยาช้างได้ไปยืนขวางทางไว้. ภิกษุทั้งหลายเห็นดังนั้น
    ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระยาช้างทำอะไร?”

     พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ช้างหวังจะถวายภิกขาแก่เธอทั้งหลาย, ก็แลช้างนี้ได้ทำอุปการะแก่เราตลอดราตรีนาน, การยังจิตของช้างนี้ให้ขัดเคืองไม่ควร, ภิกษุทั้งหลาย ขอเธอทั้งหลายกลับเถิด.”
     พระศาสดาทรงพาภิกษุทั้งหลายเสด็จกลับแล้ว.

     ฝ่ายช้างเข้าไปสู่ราวป่าแล้ว รวบรวมผลไม้ต่างๆ มีผลขนุนและกล้วยเป็นต้นมาทำให้เป็นกองไว้, ในวันรุ่งขึ้น ได้ถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุ ๕๐๐ รูปไม่อาจฉันผลไม้ทั้งหลายให้หมดสิ้น.
     ในกาลเสร็จภัตกิจ พระศาสดาทรงถือบาตรจีวรเสด็จออกไปแล้ว.
     พระยาช้างไปตามระหว่างๆ แห่งภิกษุทั้งหลาย ยืนขวางพระพักตร์พระศาสดาไว้.


     ภิกษุทั้งหลายเห็นดังนั้น ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ช้างนี้ทำอะไร? ”
     ศ. ภิกษุทั้งหลาย ช้างนี้จะส่งพวกเธอไปแล้ว ชวนให้เรากลับ.
     ภ. อย่างนั้นหรือ? พระองค์ผู้เจริญ.
     ศ. อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย.



ช้างทำกาละไปเกิดเป็นเทพบุตร
     ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะช้างนั้นว่า “ปาริเลยยกะ นี้ความไปไม่กลับของเรา, ฌานก็ดี วิปัสสนาก็ดี มรรคและผลก็ดี ย่อมไม่มีแก่เจ้าด้วยอัตภาพนี้, เจ้าหยุดอยู่เถิด.”
    พระยาช้างได้ฟังรับสั่งดังนั้นแล้ว ได้สอดงวงเข้าปากร้องไห้ เดินตามไปข้างหลังๆ.
    ก็พระยาช้างนั้น เมื่อเชิญพระศาสดาให้กลับได้ พึงปฏิบัติโดยอาการนั้นแลจนตลอดชีวิต.


    ฝ่ายพระศาสดาเสด็จถึงแดนบ้านนั้นแล้ว ตรัสว่า “ปาริเลยยกะ จำเดิมแต่นี้ไป มิใช่ที่ของเจ้า, เป็นที่อยู่ของหมู่มนุษย์. มีอันตรายเบียดเบียนอยู่รอบข้าง, เจ้าจงหยุดอยู่เถิด”
    ช้างนั้นยืนร้องไห้อยู่ในที่นั้น, ครั้นเมื่อพระศาสดาทรงละคลองจักษุไป, มีหัวใจแตก, ทำกาละแล้ว เกิดในท่ามกลางนางเทพอัปสรพันหนึ่ง ในวิมานทองสูง ๓๐ โยชน์ ในภพดาวดึงส์ เพราะความเลื่อมใสในพระศาสดา ชื่อของเทพบุตรนั้นว่า “ปาริเลยยกเทพบุตร”
    ฝ่ายพระศาสดาได้เสด็จถึงพระเชตวันแล้วโดยลำดับ.


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11&p=5
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=268&Z=329
ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammajak.net/,http://upload.wikimedia.org/,http://www.bloggang.com/,http://www.watdhammapateep.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 31, 2013, 07:12:49 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

vichai

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 207
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สัตว์เดรัจฉาน ฟังธรรม รู้เรื่องหรือไม่ครับ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มกราคม 31, 2013, 06:02:31 pm »
0
 st11 st12 st11 st12
ข้อความตอบแจ่ม มากครับ สรุปเท่าที่ได้อ่าน คือสัตว์เดรัจฉานนั้นก็นึกถึงบุญกุศลด้วยเหมือนกัน นะครับ

บันทึกการเข้า
มาศึกษาธรรมะ ครับ ยินดีรู้จักทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร ครับ
เครดิต คุณกบแย้มกะลา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สัตว์เดรัจฉาน ฟังธรรม รู้เรื่องหรือไม่ครับ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มกราคม 31, 2013, 07:16:47 pm »
0

ค้างคาวฟังธรรม
โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
       
     (ยกมาแสดงบางส่วน)
     เรามาฟังเรื่องราวขององค์สมเด็จพระจอมไตร  ฟังกันไปจะเห็นว่าองค์สมเด็จพระบรมครูสอนแบบง่ายๆ ตอนนี้ก็จะนำเอาสัตว์เดรัจฉานเข้านิพพานมาให้ฟังอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งความจริงก็เป็นพวกเดียวกับงูเหลือม ฟังธรรมพร้อมกัน


      สำหรับการฟังธรรมของสัตว์เดรัจฉานกลุ่มนี้ ก็ฟังเช่นเดียวกับงูเหลือม ชอบใจเฉพาะในเสียงธรรม
      เขาไม่ได้รู้เรื่องว่าผู้ที่ไปกล่าวนั้นเป็นพระ เขาไม่รู้จักคำว่าพระ และเขาเองก็ไม่รู้จักภาษามนุษย์ 
      เสียงที่กล่าวไปจะหาว่าเขารู้จักว่าเป็นธรรมก็เปล่า เพียงแค่พอใจในเสียงเท่านั้น

      เมื่อตายจากความเป็นสัตว์ไปเกิดเป็นเทวดา พ้นจากเทวดาเป็นลูกของชาวประมงเป็นคน จากลูกชาวประมง บวชเป็นพระในสำนักของพระสารีบุตร ฟังธรรมนั้นซ้ำอีกครั้งเดียวเป็นพระอรหัตผล เรียกว่าเร็วกว่างูเหลือม

      งูเหลือมต้องมาเกิดเป็นคน มาบวชเป็นอเจลก แล้วก็ได้ทิพจักขุญาณ  กว่าจะเข้าถึงพระศาสนาขององค์สมเด็จพระพิชิตมารต้องใช้เวลาตั้งหลายสิบปี คือตอนบวชเป็นพระได้ทิพจักขุญาณ แล้วพระเจ้าอโศกมหาราชยังเป็นเด็ก ต่อมาเมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชครองราชสมบัติแทนพระราชบิดา ก็แสดงว่าอย่างน้อยพระองค์ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี  หลวงตาองค์นี้ก็คงจะปาเข้าไปถึง 60–70 ปี เข้าไปแล้ว เสียเวลามาก สำหรับกลุ่มหลังนี้ไม่เสียเวลามาก

      เรื่องนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายเคยฟังพระเทศน์มามาก แต่อาจจะไม่ได้สนใจ ท่านพวกนี้คือใคร  ท่านพวกนี้คือ ค้างคาว 500 ตัว ที่ไปนอนห้อยหัวอยู่ในถ้ำเดียวกับงูเหลือม ขณะนั้นพระสงฆ์ทั้งหลายพากันไปซ้อมพระอภิธรรม



      การซ้อมแบบนั้นเป็นการซ้อมให้คล่อง ไม่ใช่ว่าจะซ้อมอภิธรรมให้เกิดความชำนาญแล้วนำไปสวดศพเพื่อหวังจะได้ปัจจัยมาหล่อเลี้ยงชีวิต 
      พระสมัยนั้นท่านไม่ได้คิดแบบนั้น ท่านคิดอย่างเดียวว่า 
      ทำอย่างไรหนอเราจะเป็นอรหันต์เข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้ 
      นี่เป็นอารมณ์ใจส่วนใหญ่ และมีปริมาณสูงสุด ในขณะที่พระพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์อยู่
      เมื่อพระทั้งหลายเหล่านั้นเรียนอภิธรรม จากสำนักของสมเด็จพระบรมครูแล้ว จึงได้นำเอาพระอภิธรรมที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วสอน ไปสาธยายให้ขึ้นใจ เพื่อจะได้จำข้อธรรมไว้ประพฤติปฏิบัติ


      ฉะนั้น ในขณะที่ท่านทั้งหลายเข้าไปซ้อมอภิธรรมในถ้ำหลังนั้น คือ ในถ้ำเดียวกันกับที่งูเหลือมนอนอยู่
      แต่ว่าค้างคาวพวกนี้ไม่ได้ชอบธรรมะขององค์สมเด็จพระบรมครู หรือชอบเสียงอภิธรรม
      แต่เฉพาะบทอายตนะ ท่านชอบฟังเสียงทั้งหมด แต่ไม่รู้ว่าเสียงนั้นว่าอย่างไร
 
      พระทั้งหลายไปซ้อมกันก็ซ้อมแบบเสียงพร้อมๆกัน ทำเสียงให้สม่ำเสมอกันเพื่อความคล่องและความมีระเบียบ 
      ค้างคาวทั้งหมดชอบใจเสียงทั้งหมด เพราะว่าฟังเรียบๆเสนาะดี จะรู้ว่าเสียงนี้เป็นเสียงธรรมก็หาไม่ 
      ฟังมาฟังไป ฟังไปฟังมา เผลอหลับ เท้าก็หลุดหล่นลงมา ศีรษะกระทบหินตายหมดทั้ง 500 ตัว


      เมื่อตายแล้วเพราะฟังเสียงในธรรม พอใจในธรรม ก็ไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลกทั้งหมด มีวิมานทองคำเป็นที่อยู่ มีนางฟ้า 500 เป็นบริวาร



      นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ฟังพระสูตรคือบุคคลตัวอย่าง ก็ดูตัวอย่างค้างคาว 
      บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายที่มีเครื่องบันทึกเสียง เมื่อฟังธรรมจากเสียง ถ้าบังเอิญเสียงในธรรมบทใดบทหนึ่งก็ตาม อันเป็นที่พอใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท พยายามฟังบทนั้นไว้ให้ขึ้นใจ เราจะจำได้หรือไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าทำจิตใจให้รัดรึงผูกติดเข้าไว้กับธรรมบทนั้น หมายความว่าขณะจะตาย ถ้าเปิดธรรมบทนั้นฟังก็ดี  หรือไม่เปิดฟังธรรมบทนั้น แต่ทว่าจิตใจจับอยู่ในธรรมบทนั้น

      เป็นอันว่าจิตใจของท่านจับอยู่ในธรรม ที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า จิตฺเต ปาริสุทฺเธ สุคติ ปาฏิกงฺขา
      เพราะว่าในขณะใดที่จิตใจเราพอใจในธรรม ขณะนั้นจิตก็ว่างจากกิเลส
      ถ้าเป็นอย่างนั้น ท่านเองก็จะได้ผลดีเช่นเดียวกับค้างคาวทั้ง 500 ตัว หรือว่าเช่นเดียวกับงูเหลือม


      ตอนนี้มาคุยกันถึงเรื่องค้างคาวต่อไป เป็นอันว่าท่านทั้งหลายทราบแล้วว่า วิธีไปสวรรค์แบบง่ายๆ ด้วยการพอใจในการฟังธรรม พอใจบทไหนมาก ฟังซ้ำอยู่แค่นั้น เราไปสวรรค์ได้เอาไว้ตอนหนึ่งก่อน อันดับแรกเรายึดสวรรค์ไว้เป็นทุนก่อน

      ต่อมา ค้างคาวพวกนั้นที่ฟังธรรมในศาสนาขององค์สมเด็จพระชินวรไม่รู้เรื่อง แต่ว่าพอใจในเสียง 
      เมื่อศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้น คือพระพุทธเจ้าทรงมาอุบัติในโลก เป็นพระพุทธเจ้าประกาศพระศาสนา 
      ปรากฎว่าเทวดาค้างคาวทั้ง 500 ก็จุติจากเทวดา (คำว่าจุติ แปลว่า เคลื่อน ไม่ได้หมายความว่า ตาย) มาเกิดเป็นลูกชาวประมงในเขตของพระพุทธศาสนา ชาวประมงพวกนี้มีความเลื่อมใสในพระสารีบุตรมาก


      ต่อมาค้างคาวทั้ง 500 ที่มาเกิดเป็นลูกชาวประมง ขอได้โปรดทราบไม่ได้เกิดพ่อเดียวแม่เดียวกัน ถ้าเกิดพ่อเดียวแม่เดียวกันทั้ง 500 อย่างนี้ เขาเรียกว่าครอก ไม่ใช่ เหล่าคนมาเกิดในคณะนั้นร่วมกัน ร่วมคณะ ไม่ใช่ร่วมพ่อร่วมแม่คนเดียวกัน พ่อแม่คนหนึ่งอาจจะมีลูกห้าคน สามคน สี่คน แบ่งกันเกิด ไม่ใช่ไปรวมไปเกิดท้องเดียวคราวละ 500 คน เห็นจะแย่
     เมื่อเกิดมาแล้ว ต่อมาโตขึ้นก็มีความพอใจในพระสารีบุตร
     ซึ่งเป็นอัครสาวกเบื้องขวาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอบวชในสำนักของพระสารีบุตร
     เมื่อบวชแล้วก็อยู่ในสำนักของพระสารีบุตร



       ในกาลนั้น ปรากฎว่าเป็นเวลาที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า กำลังไปแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดา คือ นำเอาอภิธรรมทั้ง 7 คัมภีร์นี้ไปสอนพระพุทธมารดา พร้อมไปด้วยเทวดาและพรหมทั้งหมด

      ในวันหนึ่ง องค์สมเด็จพระบรมสุคต เวลาเช้าลงมาบินฑบาต ความจริงเมื่อถึงเวลาเช้าทุกวันร่างกายต้องการอาหาร เพราะว่า การที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นไปเทศน์โปรดพระพุทธมารดา พระองค์ไปด้วยอภิญญาสมาบัติ ยกกายไปทั้งกาย ไม่ใช่ว่าถอดจิตขึ้นไปอย่างที่พระได้มโนมยิทธิ

      การขึ้นไปของพระต่างกัน บางท่านที่ได้เฉพาะมโนมยิทธิก็เอาไปแต่นามกาย คือ กายภายในที่เราเรียกกันว่า จิต  จิตในที่นี้จะไปหมายความว่ามันเป็นดวงๆ ก็ไม่ถูก ความจริงแล้วมันเป็นกายอีกกายหนึ่งที่เราเรียกว่า อทิสมานกาย มีหัว มีเท้า มีขา มีร่างกายเหมือนกัน

      แต่ว่ากายนี้จะสวยหรือไม่สวยปานใด ต้องวัดกันถึงด้านกุศลผลบุญที่เราทำไว้ ถ้าเราทำบาป กายนี้ก็จะเสื่อมโทรมมองดูไม่สวย ถ้าเรามีบุญร่างกายก็สวย ถ้าบุญมากเท่าไรกายนี้ยิ่งสวยมากเท่านั้น ถ้ากายของพระที่ประกอบไปด้วยนิพพาน จะเป็นแก้วประกายพรึกทั้งดวง มีแสงสว่าง
      กายประเภทนี้เราจะทราบได้เมื่อเราได้เจโตปริยญาณ เพราะอาศัยที่เรามีความเคารพในศาสนา ขององค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเหตุ ความรู้อันนี้ องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ได้มาแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วจึงได้สอนพวกเราเหล่าพุทธบริษัท  ถ้าเราปฏิบัติตามเราก็ได้เช่นเดียวกัน


      มาพูดกันต่อไปว่า เมื่อถึงเวลาบิณฑบาต องค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็ทรงใช้ปาฏิหาริย์เนรมิตรูปพระขึ้นองค์หนึ่ง เหมือนกับพระองค์ ให้เทศน์ต่อ พระองค์ก็ลงมาบิณฑบาตยังเมืองมนุษย์



    ในวันหนึ่ง พระองค์เห็นพระสารีบุตรที่ขอบสระโบกขรณี องค์สมเด็จพระชินสีห์จึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสเรียกพระสารีบุตรว่า สารีปุตฺต  ดูก่อนสารีบุตร เธอจงมาหาตถาคตในเวลากลับจากบิณฑบาตแล้ว พระสารีบุตรกำลังจะกลับวัด องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิ์จึงมาดักพระสารีบุตรอยู่ เพราะว่าองค์สมเด็จพระบรมครูทรงทราบว่า  พระที่เป็นลูกศิษย์ของพระสารีบุตรทั้ง 500 รูป เดิมทีเดียวเคยฟังอภิธรรมทั้ง 7 คัมภีร์ ถ้าเขาฟังซ้ำอีกที เขาจะได้บรรลุมรรคผล

      เมื่อองค์สมเด็จพระทศพลทรงทราบอย่างนี้  องค์สมเด็จพระชินสีห์จึงได้ไปดักพระสารีบุตรที่ขอบสระโบกขรณี เมื่อพระสารีบุตรพบองค์สมเด็จพระชินสีห์ เข้ามากราบถวายบังคมแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วจึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า สารีปุตฺต ดูก่อนสารีบุตร เธอจงเรียนปกรณ์ 7 ประการนี้ไป
      คำว่า ปกรณ์ หมายความถึง หัวข้อธรรมที่บรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายนำมาสวดผีตาย คือคนตายในเวลานี้

     แล้วองค์สมเด็จพระชินสีห์ก็มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า สารีบุตร ลูกศิษย์ของเธอทั้ง 500 รูป ที่บวชอยู่ในสำนักของเธอ เดิมทีเขาเป็นค้างคาว 500 ตัว  เคยฟังปกรณ์ 7 ประการนี้มาแล้ว และก็หล่นลงมาตายพร้อมกัน ไปเกิดเป็นเทวดาทั้ง 500 ท่านเมื่อหมดบุญจากเทวดา ก็จุติลงมาเกิดเป็นมนุษย์ เป็นลูกชาวประมง  เวลานี้บวชในสำนักของเธอ ถ้าเขาฟังปกรณ์ 7 ประการนี้จบด้วยความเคารพ ท่านทั้งหมดนั้นจะเป็นอรหันต์ทั้งหมดทันที



    เมื่อองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแนะนำพระสารีบุตรแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็บอกกับพระสารีบุตร ให้เรียนปกรณ์ทั้ง 7 ประการ คืออภิธรรมทั้ง 7 คัมภีร์ องค์สมเด็จพระชินสีห์กล่าวธรรมแต่เพียงโดยย่อ พอได้ความตามที่พระนำมาสวดเวลาคนตายในเวลานี้

     เมื่อจบแล้ว องค์สมเด็จพระชินสีห์ก็แยกจากพระสารีบุตรขึ้นไปสู่สวรรค์เทวโลกชั้นดาวดึงส์ เสด็จประทับที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์เทศน์ต่อ พระที่องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถทรงเนรมิตไว้ ทั้งนี้พรหมและเทวดาทั้งหมดจะทราบก็หาไม่ เพราะเป็นอำนาจพระพุทธปาฏิหาริย์

     สำหรับพระสารีบุตรนั้น เมื่อได้สดับปกรณ์ทั้ง 7 ประการ จากองค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดามาแล้ว  กลับมาก็ปฏิบัติตามกระแสคำแนะนำขององค์สมเด็จพระประทีบแก้วคือ ฉันข้าวเสร็จแล้วจึงได้เรียกพระที่เป็นบริษัททั้ง 500 รูป มาประชุมกันแล้วก็แสดงปกรณ์ 7 ประการ พร้อมด้วยคำอธิบายให้เข้าใจ
     บรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อได้ฟังปกรณ์ 7 ประการ พร้อมด้วยคำอธิบาย ก็ปรากฎว่าบรรลุอรหัตผล เป็นพระอริยบุคคลสูงสุดในพระพุทธศาสนา


       นี่แหละ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยทั่วหน้า การที่นำประวัติความเป็นมาของงูเหลือมก็ดี ค้างคาวก็ดี มาแสดงให้แก่บรรดาพุทธบริษัททราบ ก็มีความหวังตั้งใจอยู่อย่างเดียว คือว่า การสั่งสมบุญบารมีในเขตของพระพุทธศาสนานี้ และการเข้าถึงนิพพานเป็นของไม่ยากนัก

       ................ฯลฯ.............



      รวมความแล้วก็ดีกว่าค้างคาว ดีกว่างูเหลือมมาก อย่างน้อยที่สุดท่านก็รู้ว่า นี่เป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าที่สอนไว้  ถ้าบุคคลผู้ใดปฏิบัติตามจะมีความสุข หรือถ้าความเลื่อมใสไม่มีถึงแค่นั้น ท่านทั้งหลายก็ยังรู้จักคำพูดที่พระท่านสวด หรือฟังเครื่องบันทึกเสียงที่ฟังว่า นี่เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า รู้ภาษาแห่งคำพูด ถ้าจะเปรียบเทียบกับค้างคาวและงูเหลือม ท่านดีกว่าหลายแสนเท่า

      ในเมื่อค้างคาวและงูเหลือมเป็นสัตว์เดรัจฉาน ฟังธรรมไม่รู้ว่าธรรมและก็ไม่รู้เรื่อง พอใจแต่เพียงเสียง  ตายแล้วเป็นเทวดาได้ อันนี้เป็นทุนใหญ่เบื้องแรก แล้วกลับลงมาเกิดเป็นคน ฟังธรรมซ้ำอีกคราวหนึ่ง ปรากฎว่าสำเร็จอรหัตผล
      บรรดาท่านพุทธบริษัทเกิดเป็นคน ฟังภาษาก็รู้เรื่องและก็มีความเข้าใจว่า
      นี่เป็นคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
      เป็นอันว่าท่านมีกำไรดีกว่างูเหลือมและค้างคาวทั้งหมด

      หากว่าท่านพอใจในเสียงธรรมขององค์สมเด็จพระบรมสุคต ที่บรรดาพระสงฆ์สาวกนำมาแสดง 
      ฟังแล้วจงอย่าทิ้งไป เลือกฟังหลายๆเรื่อง อย่ากลัวเปลืองเวลาและอย่ากลัวเปลืองเงิน 
      บันทึกเข้าไว้หลายๆเรื่อง หลายๆตอน แล้วก็พิจารณาพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินวรว่า 
      เรื่องไหนเราชอบใจมากที่สุด มีอยู่เท่าไร ฟังตอนที่เราชอบใจให้หนัก ให้ขึ้นใจ
      เวลาก่อนจะหลับ  นึกถึงพระธรรมบทนั้น หนักเข้าไว้สัก 2-3 นาที แล้วก็หลับไปไม่เป็นไร เวลาตื่นใหม่ ๆ นึกถึงพระธรรมบทนั้นเข้าไว้สักนิดหน่อย เป็นการกระตุ้นเตือนใจ เวลากลางวันประกอบกิจการงาน ถ้าว่างเมื่อไรนึกถึงธรรมบทนั้นเข้าไว้



      ถ้าเป็นอย่างนี้ ถ้าบุญวาสนาบารมีท่านยังอ่อน จะต้องเร่ร่อนไปในวัฏสงสาร
      ถ้าตายไปจากมนุษย์เมื่อไร  อย่างน้อยที่สุดท่านก็เกิดเป็นเทวดาหรือพรหม
      ถ้าหมดบุญวาสนาบารมีจากเทวดาหรือพรหม มาเกิดเป็นคน ฟังธรรมซ้ำอีกหนเดียว เพราะว่าพระอรหันต์ก็ดี พระพุทธเจ้าก็ดี ย่อมรู้ใจคนว่ามีกุศลส่วนใดมาในชาติก่อน องค์สมเด็จพระชินวรจะสอนบทนั้นเป็นการซ้ำ  หรือสะกิดแผลเก่า จะทำให้เราเข้าถึงธรรมบทนั้นได้โดยฉับพลัน และเป็นอรหันต์ทันที

     เวลาที่เราเกิดเป็นเทวดา ถ้าพระศรีอาริย์ตรัสขึ้นมา เรายังเป็นเทวดาหรือพรหม
     ถ้าฟังเทศน์จากพระศรีอาริย์เพียงจบเดียว บรรดาท่านพุทธบริษัทก็จะได้บรรลุมรรคผลพระนิพพาน 
     เพราะว่าองค์สมเด็จพระพิชิตมารเทศน์สอนพุทธบริษัทคราวใด ปรากฎว่าเทวดาหรือพรหมบรรลุมรรคผลมากกว่าคน
     เพราะว่าเทวดาก็ดี พรหมก็ดี มีกายเป็นทิพย์ มีความเป็นอยู่เป็นทิพย์ ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความกังวล เมื่อจิตน้อมไปในส่วนของกุศลแล้ว ก็ปรากฎว่ามีความเข้าใจในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วได้ดี เป็นเหตุให้บรรลุมรรคผลได้ง่าย

      ..........ฯลฯ.............


ที่มา http://kaskaew.com/index.asp?catid=4&contentID=10000004&getarticle=130&title=%A4%E9%D2%A7%A4%D2%C7%BF%D1%A7%B8%C3%C3%C1
ขอบคุณภาพจาก http://www.4x4.in.th/,http://www.thaiwildlife.org/,http://www.dmc.tv/,http://www.wathuakrabeu.com/,http://www.dhammajak.net/,http://www.bloggang.com/,http://www.84000.org/,http://picdb.thaimisc.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 31, 2013, 08:21:57 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สัตว์เดรัจฉาน ฟังธรรม รู้เรื่องหรือไม่ครับ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2013, 10:24:48 am »
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๗. กัณฐกวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในกัณฐกวิมาน
     
      พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า
      [๘๑] พระจันทร์ในวันเพ็ญ อันหมู่ดาวนักษัตรแวดล้อมแล้ว เป็นใหญ่กว่าหมู่ดาว มีรูปกระต่าย ย่อมหมุนเวียนไปโดยรอบฉันใด วิมานของท่านนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น ย่อมไพโรจน์ยิ่งด้วยรัศมี อยู่ในเทพบุรี ดุจพระอาทิตย์อุทัยฉะนั้น พื้นวิมานของท่านน่ารื่นรมย์ใจ วิจิตรแล้วด้วยไพฑูรย์ทองคำ แก้วผลึก รูปียะ มรกต มุกดา และแก้วทับทิม ลาดด้วยแก้วไพฑูรย์ ปราสาททั้งหลายของท่านงามน่ารื่นรมย์ ปราสาทของท่านอันบุญกรรมเนรมิตดีแล้ว

      อนึ่ง สระโบกขรณีของท่าน เป็นสถานน่ารื่นรมย์กว้างขวาง อันหมู่ปลาเป็นอันมาก อาศัยแล้ว มีน้ำใสสะอาด
พื้นลาดด้วยทรายทอง ดารดาษด้วยปทุมชาตินานา เป็นที่รวมอยู่แห่งบัวขาบ ครั้นลมรำเพยพัด กลิ่นหอมฟุ้งชื่นใจ ที่สองข้างแห่งสระโบกขรณีของท่านนั้น มีพุ่มไม้อันบุญกรรมเนรมิตไว้ให้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยหมู่ไม้ดอกและไม้ผล  หมู่นางเทพอัปสรปกคลุมด้วยสรรพาภรณ์ทัดทรงมาลาต่างๆ พากันมาบำรุง
 
      ท่านผู้มีฤทธิ์มาก ผู้นั่งบนบัลลังก์เชิงทองคำ อ่อนนุ่ม อันบุญกรรมลาดแล้วด้วยผ้าโกเชาว์ ให้รื่นรมย์ใจดุจท้าววสวดีเทวราช
      ท่านสมบูรณ์ด้วยความยินดีในการฟ้อนรำ ขับร้องและการประโคม รื่นเริงด้วยกลอง สังข์ ตะโพน พิณ และบัณเฑาะว์ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์อันท่านประสงค์แล้ว น่ารื่นรมย์ใจ มีอยู่พร้อมในวิมานของท่าน
      ท่านมีรัศมีรุ่งเรืองยิ่งกว่า เทพบุตรผู้มีรัศมีรุ่งเรืองในวิมาน อันประเสริฐนั้น ดุจพระอาทิตย์อุทัย


      นี้เป็นผลแห่งทาน ศีลหรืออัญชลีกรรมของท่าน อาตมาถามแล้ว ขอจงบอกผลนั้น แก่อาตมา?


     
      เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญญาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ข้าพเจ้าเป็นพญาม้าชื่อกัณฐกะ เป็นสหชาติของพระโอรส ของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้เป็นใหญ่กว่าเจ้าศากยะทั้งหลายในกรุงกบิลพัสดุ์

      เมื่อพระราชโอรสนั้น เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ในมัชฌิมยามเพื่อความตรัสรู้ เอาฝ่าพระหัตถ์อันอ่อนเล็บแดงจางสุกใส ตบอกข้าพเจ้าเบาๆ แล้วตรัสกะข้าพเจ้าว่า
      จงพาฉันไปเถิดสหาย ฉันได้บรรลุพระโพธิญาณอันอุดมแล้ว จักยังโลกให้ข้ามพ้นจากห้วงน้ำใหญ่คือสงสาร เมื่อข้าพเจ้าฟังพระดำรัสนั้นแล้ว ได้มีความร่าเริงยินดีเบิกบาน บันเทิงใจเป็นอันมาก

      ข้าพเจ้าจึงได้รับคำของท่านโดยความเคารพ ครั้นข้าพเจ้ารู้ว่า พระมหาบุรุษผู้เป็นพระโอรสแห่งศากยราชผู้เรืองยศ ประทับนั่งบนหลังของข้าพเจ้าแล้ว มีจิตเบิกบานบันเทิงใจ นำพระมหาบุรุษออกไปจากพระนคร ไปจนถึงแว่นแคว้นของกษัตริย์เหล่าอื่น เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นแล้ว พระมหาบุรุษมิได้มีความอาลัยละทิ้งข้าพเจ้ากับฉันนะอำมาตย์ไว้ ทรงหลีกไป
       ข้าพเจ้าได้เลียพระบาททั้ง ๒ ของพระองค์ ซึ่งมีเล็บอันแดงด้วยลิ้น
       ร้องไห้ แลดูพระลูกเจ้าผู้มีความเพียรอันยิ่งใหญ่เสด็จไปอยู่
       ข้าพเจ้าป่วยอย่างหนักเพราะมิได้เห็นพระมหาบุรุษศากโยรส ผู้มีศิริพระองค์นั้น
       ข้าพเจ้าได้ตายลงอย่างรวดเร็ว ด้วยอานุภาพแห่งปีติและโสมนัสนั้น

 
   
     ข้าพเจ้าจึงได้มาอยู่ยังวิมานนี้ อันประกอบด้วยกามคุณอันเป็นทิพย์ ดุจท้าวสักกเทวราชผู้เป็นใหญ่ในเทพบุรี ฉะนั้น
     ความยินดีและความร่าเริงได้เกิดมีแก่ข้าพเจ้า เพราะได้ฟังเสียงว่า เพื่อพระโพธิญาณก่อนกว่าสิ่งอื่นๆ
     ฉันจักบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ เพราะกุศลกรรมนั้นนั่นแล

 
      ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ถ้าพระคุณเจ้าพึงไปในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ศาสดาไซร้
      ขอพระคุณเจ้าจงทูลถึงการถวายบังคมด้วยเศียรเกล้ากะพระองค์ตามคำของข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้าก็จักไปเฝ้าพระชินเจ้าผู้หาบุคคลอื่นเปรียบมิได้ การได้เห็นพระโลกนาถเจ้าเช่นนั้น หาได้ยาก.

      พระสังคีติกาจารย์ได้รจนาคาถาไว้ ๒ คาถา ความว่า
      ก็กัณฐกเทพบุตรนั้น เป็นผู้กตัญญูกตเวที ได้เข้าเฝ้าพระศาสดาฟังพระดำรัสของพระศาสดาผู้มีพระจักษุแล้ว ได้บรรลุธรรมจักษุกล่าว คือ โสดาปัตติผล ได้ชำระทิฏฐิและวิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสของตนให้บริสุทธิ์
ถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระศาสดา แล้วอันตรธานไปในที่นั้นนั่นเอง.


      จบ กัณฐกวิมานที่ ๗.


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๒๖๒๒ - ๒๖๗๘. หน้าที่ ๑๐๘ - ๑๑๐.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=2622&Z=2678&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=81
ขอบคุณภาพจาก http://www.kidsdee.org/,http://upic.me/,http://www.dmc.tv/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 01, 2013, 10:27:30 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สัตว์เดรัจฉาน ฟังธรรม รู้เรื่องหรือไม่ครับ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2013, 11:19:43 am »
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑

เรื่องนาคแปลงกายเป็นมนุษย์มาขอบวช

    [๑๒๗] ก็โดยสมัยนั้นแล นาคตัวหนึ่งอึดอัด ระอา เกลียดกำเนิดนาค
    นาคนั้นจึงได้มีความดำริว่า ด้วยวิธีอะไรหนอ เราจึงจะพ้นจากกำเนิดนาค และกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์
เร็วพลัน.


    ครั้นแล้วได้ดำริต่อไปว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้แล เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าวแต่คำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม หากเราจะพึงบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ด้วยวิธีเช่นนี้ เราก็จะพ้นจากกำเนิดนาคและกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์เร็วพลัน

    ครั้นแล้วนาคนั้นจึงแปลงกายเป็นชายหนุ่ม แล้วเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายขอบรรพชา. 
    ภิกษุทั้งหลายจึงให้เขาบรรพชาอุปสมบท.


    สมัยต่อมา พระนาคนั้นอาศัยอยู่ในวิหารสุดเขตกับภิกษุรูปหนึ่ง.
    ครั้นปัจจุสสมัยแห่งราตรี ภิกษุรูปนั้น ตื่นนอนแล้ว ออกไปเดินจงกรมอยู่ในที่แจ้ง.
    ครั้นภิกษุรูปนั้นออกไปแล้ว. พระนาคนั้นก็วางใจจำวัด. วิหารทั้งหลังเต็มไปด้วยงู. ขนดยื่นออกไปทางหน้าต่าง.


    ครั้นภิกษุรูปนั้นผลักบานประตูด้วยตั้งใจจัก เข้าวิหาร ได้เห็นวิหารทั้งหลังเต็มไปด้วยงู เห็นขนดยื่นออกไปทางหน้าต่าง ก็ตกใจ จึงร้องเอะอะขึ้น.

    ภิกษุทั้งหลายพากันวิ่งเข้าไปแล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า อาวุโส ท่านร้องเอะอะไปทำไม?
    ภิกษุรูปนั้นบอกว่า อาวุโสทั้งหลาย วิหารนี้ทั้งหลังเต็มไปด้วยงู ขนดยื่นออกไปทางหน้าต่าง.


    ขณะนั้น พระนาคนั้น ได้ตื่นขึ้นเพราะเสียงนั้น แล้วนั่งอยู่บนอาสนะของตน.
    ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโส ท่านเป็นใคร?
             น. ผมเป็นนาค ขอรับ.
             ภิ. อาวุโส ท่านได้ทำเช่นนี้เพื่อประสงค์อะไร?
             พระนาคนั้นจึงแจ้งเนื้อความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย.


    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วได้ทรงประทานพระพุทธโธวาทนี้แก่นาคนั้นว่า

    "พวกเจ้าเป็นนาค มีความไม่งอกงามในธรรมวินัยนี้เป็นธรรมดา ไปเถิดเจ้านาค
     จงไปรักษาอุโบสถในวันที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์นั้นแหละ
     ด้วยวิธีนี้เจ้าจักพ้นจากกำเนิดนาค และจักกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์เร็วพลัน."


    ครั้นนาคนั้นได้ทราบว่า ตนมีความไม่งอกงามในพระธรรมวินัยนี้เป็นธรรมดา
    ก็เสียใจหลั่งน้ำตา ส่งเสียงดังแล้วหลีกไป.

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งความ ปรากฏตามสภาพของนาค มีสองประการนี้ คือ
    เวลาเสพเมถุนธรรมกับนางนาค ผู้มีชาติเสมอกัน ๑
    เวลาวางใจนอนหลับ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งความปรากฏตามสภาพของนาค ๒ ประการนี้แล


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว ต้องให้สึกเสีย.



ที่มา http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=4&A=3517&w=%B9%D2%A4
ขอบคุณภาพจาก http://i1045.photobucket.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สัตว์เดรัจฉาน ฟังธรรม รู้เรื่องหรือไม่ครับ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2013, 11:22:58 am »
0


ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นในประเด็น เรื่อง ภัพพสัตว์ และ อภัพพสัตว์

     ภัพพสัตว์ หมายถึง เหล่าสัตว์ที่สามารถบรรลุธรรมได้ในชาตินั้น
     ส่วน อภัพพสัตว์ คือ เหล่าสัตว์ที่ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ในชาตินั้น   
     ดังนั้นจากข้อความที่คุณหมอยกมาที่ว่า


     [๒๘] อภัพพาคมนบุคคล บุคคลผู้ไม่ควรแก่การบรรลุมรรคผล เป็นไฉน?
     บุคคลที่ประกอบด้วย กัมมาวรณ์ ประกอบด้วยกิเลสาวรณ์ ประกอบด้วยวิปากาวรณ์ ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นผู้ไม่ควรหยั่งลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย
     บุคคลเหล่านี้เรียกว่า อภัพพาคมนบุคคล บุคคลผู้ไม่ควรแก่การบรรลุมรรคผล.


     บุคคลที่ไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้ ในชาตินั้นเพราะไม่มีธรรมเป็นเครื่องกั้น ธรรมที่เป็นเครื่องกั้นในการบรรลุมรรคผล มี ดังนี้
     1. กรรม
     2. กิเลส
     3. วิบาก
     4. ไม่มีศรัทธา
     5. ไม่มีฉันทะ
     6. มีปัญญาทราม คือ ไม่มีปัญญา



     กรรมเป็นเครื่องกั้น ต่อการบรรลุมรรคผลในชาตินั้น เป็น อภัพพสัตว์ คือ การกระทำกรรม ทำอนันตริยกรรม 5 ประการ  มีการฆ่าบิดา มารดา เป็นต้น เพราะการทำอันนตริยกรรม อันเป็นกรรมที่กั้นการบรรลุมรรคผลในชาตินั้น  แม้จะฟังมาก  อบรมปัญญาเท่าไหร่ก็ไม่สามารถบรรลุ มรรคผลได้

     กิเสส คือ ความเป็นผุ้มีความเห็นผิดที่ดิ่ง เช่น ไม่เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม เป็นต้น มีความเห็นผิดที่มีกำลังเปลี่ยนแปลงไม่ได้  ความเห็นผิดที่เป็นกิเลสนี้เองที่เป็นเครื่องกั้นการบรรลุ มรรคผล ไม่สามารถบรรลุได้ จึงเป็นอภัพพสัตว์ เพราะด้วยอำนาจกิเลส คือ ความเห็นผิดครับ

     วิบาก หมายถึง วิบาก คือ ปฏิสนธิจิต คือ การเกิด บุคคลทีเกิดมาด้วยปฏิสนธิจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ก็ไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้ในชาตินั้นครับ

     ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา คือ ไม่มีศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์  ไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะไมได้อบรม สะสมมาในอดีตชาติ จึงทำให้ไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้ จึงเป็นพวก อภัพพสัตว์ครับ

    ความเป็นผุ้ไม่มีฉันทะ หมายถึงไม่มีฉันทะ ความพอใจ ใคร่ที่จะฟังพระธรรม อบรมปัญญา ไม่มีฉันทะในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลายในอดีต จึงไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้

     ความเป็นผู้มีปัญญาทราม คือ ไม่มีปัญญา เพราะไมได้สะสมปัญญามาในอดีต จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ เมื่อไม่ได้สะสมปัญญามา ก็ย่อมทำให้ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ จึงจัดเป็นพวกอภัพพสัตว์ครับ

     ส่วนสัตว์พวก ภัพพสัตว์ก็ตรงกันข้าม คือ สามารถบรรลุ มรรคผลได้ เพราะไม่มีธรรม 6 ประการตามที่กล่าวมาเป็นเครื่องกั้น เพราะไม่มีการทำอนันตริยกรรม ไม่มีความเห็นผิดที่ดิ่ง และเกิดด้วยวิบากที่ประกอบด้วยปัญญา เป็นผู้มีศรัทธาในพระรัตนตรัยและกุศลธรรมทั้งหลาย  เป็นผู้มีฉันทะในการอบรมปัญญา และมีปัญญาที่สะสม ก็สามารถบรรลุธรรมได้เป็นภัพพสัตว์ครับ

     ดังนั้นหน้าที่ของเรา คือ อบรมเหตุคือการฟังพระธรรมต่อไป เมื่อสะสมเหตุไปเรื่อยๆก็สามารถถึงการบรรลุธรรม เป็นภัพพสัตว์ในอนาคตได้ครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ



ที่มา ความเห็นของอาจารย์เผดิม จากเว็บไซต์บ้านธัมมะ
http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=19996
ขอบคุณภาพจาก http://2.bp.blogspot.com/,http://images.palungjit.com/


อ่านรายละเอียดเรื่องอภัพพสัตว์ได้ที่
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๓๑๒๑ - ๓๑๒๙. หน้าที่ ๑๒๗ - ๑๒๘.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=3121&Z=3129&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=277
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สัตว์เดรัจฉาน ฟังธรรม รู้เรื่องหรือไม่ครับ
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2013, 06:47:27 pm »
0
คือ บางครั้งก็สับสนเหมือนกัน นะครับ ว่า บางท่านก็กล่าวว่า สัตว์เดรัจฉาน ปิดประตูธรรมไปเลยเพราะไม่รู้จัก บุญบาป กุศล อกุศล

  แต่พอผมมานั่งนึกดู ก็คือ ปลาโลมา ช่วยเหลือชีวิตคน  ลิง ที่สามารถฝึกหัดอ่านเขียน หมาที่กตัญญูต่อเจ้าของ

  หรือแม้ในครั้งพุทธกาล ม้ากัณฑกะ ก็ยอมตายเพราะ เจ้าชายสิทธัตถะออกบวช
  ช้าง และ ลิง อยู่ในป่า อุปัฏฐาก พระพุทธเจ้า อย่างนี้ ผมก็เลยสงสัยว่า

   แท้ที่จริง สัตว์ดิรัจฉาน นี่ก็รับธรรม ได้ ใช่หรือไม่ครับ

  :smiley_confused1: :smiley_confused1: :smiley_confused1:

 ans1 ans1 ans1
     
      เอาล่ะครับ หลังจากหาข้อมูลมาให้อ่านอยู่หลายวัน น่าจะถูกใจมิตรรักแฟนธรรมหลายท่าน
      สัตว์เดรัจฉานนั้น บรรลุธรรมไม่ได้แน่นอน ในบาลีพระพุทธเจ้าได้ตรัสยืนยันว่า
      "นาคบรรลุธรรมไม่ได้" ซ้ำยังห้ามนาคบวชอีกด้วย ท่านแนะนำให้ถือศีล เพื่อที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์


      หากกล่าวถึง ทาน ศีล ภาวนา ตามข้อมูลที่ได้นำเสนอมา
      ระบุไว้ชัดเจนว่า สัตว์เดรัจฉานทำทานได้ เช่น ช้าง ลิง สุนัข(ใช้เสียงเป็นทาน)
      ส่วนกรณีของค้างคาวนั้น อันนี้เป็นเรื่องที่อธิบายไม่ได้ เป็นเรื่องอจินไตยครับ


      ที่คุณ chatchay ถามว่า "สัตว์ดิรัจฉานรับธรรมได้หรือไม่"
      เบื้องต้นต้องตีความก่อนว่า อะไร คือ รับธรรม
      หากจะพูดแบบกำปั้นทุบดิน ก็ต้องพูดว่า อยากได้ธรรมต้องปฏิบัติ..สถานเดียว
      เอาเป็นว่า สัตว์ดิรัจฉานทำบุญได้แค่ ทานกับศีล เท่านั้น
      ขอคุยเท่านี้ครับ

       :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ