ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิจารณ์หนังเรื่อง ทีเซอร์ อุโมงค์ผาเมือง กับอะไรหลาย ๆ อย่าง  (อ่าน 11089 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sayamol

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 95
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ชมไตเติ้ลก่อน นะคะ





สงสัยเรื่องแรกคะ คือ พระไม่โกนคิ้ว ( เห็นแล้วหัวใจ .... อุ๊ยหล่อ มาก )

เท่านี้ก่อนนะคะ

 :)
บันทึกการเข้า
จริงใจ อ่อนน้อม พรั่งพร้อมด้วยความรู้
อัตตาหิ อัตตโนนาโถ
ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

sayamol

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 95
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


อุโมงค์ผาเมือง (สหมงคลฟิล์ม)

กำหนดฉาย : 8 กันยายน 2554
แนว : พีเรียด-ดราม่า
นำแสดง : มาริโอ้ เมาเร่อ, อนันดา เอเวอริงแฮม, เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์, พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง, เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา, ดอม เหตระกูล, ศักราช ฤกษ์ธำรงค์, รัดเกล้า อามระดิษ ฯลฯ
กำกับ : ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล
บทภาพยนตร์ : ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล

          จากสุดยอดบทละครเวทีเรื่อง ราโชมอน (ประตูผี) ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

          สู่ภาพยนตร์สุดตระการตาเรื่อง อุโมงค์ผาเมือง โดย ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล

          ฉลองครบรอบ 100 ปีชาตกาล พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

          40 ปีบริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

          และ 101 ปี ผู้กำกับชั้นเซียน อากิระ คุโรซาวา

          ประชันบทบาทสุดเข้มข้นของทีมนักแสดงชั้นนำ

          มาริโอ้ เมาเร่อ / อนันดา เอเวอริงแฮม / เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์

          พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง / เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา / ดอม เหตระกูล

          ศักราช ฤกษ์ธำรงค์ / รัดเกล้า อามระดิษ

          และนักแสดงสมทบอีกคับคั่ง

          ร่วมค้นหาความจริงของมหาฆาตกามคดีแห่งโจรป่า นางบาป และขุนศึก


มหาฆาตกามคดีแห่งโจรป่า นางบาป และขุนศึก

          ปีพุทธศักราช 2110 ณ นครผาเมืองแห่งอาณาจักรเชียงแสนอันรุ่งเรือง วันหนึ่งหลังจากเกิดวิบัติการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ทั้งอัคคีภัยครั้งใหญ่หลวง แผ่นดินไหวอันรุนแรง และโรคร้ายระบาดคร่าชีวิตประชาชนไปกว่าครึ่งนคร ก็เกิดคดีฆาตกรรมปริศนาที่น่าสะพรึงกลัวและซับซ้อนซ่อนเงื่อนสุดที่จะค้นหา ความจริงได้ โจรป่าสิงห์คำ (ดอม เหตระกูล) ผู้โหดร้ายที่สุดในแผ่นดินถูกจับได้ในคดีฆาตกรรม ขุนศึกเจ้าหล้าฟ้า (อนันดา เอเวอริงแฮม) และข่มขืน แม่หญิงคำแก้ว (เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์) ภรรยาของขุนศึกในป่านอกเมือง ขณะที่สองสามีภรรยาเดินทางออกจากเมืองเพื่อไปเยี่ยมญาติที่นครเชียงคำ

          จากคำให้การของโจรป่าและแม่หญิง สร้างความปั่นป่วนและพิศวงงงงวยให้แก่ เจ้าผู้ครองนคร (ศักราช ฤกษ์ธำรงค์) และประชาชนผู้มาฟังคำให้การเป็นอย่างยิ่ง เพราะทั้งคู่ต่างยอมรับอย่างหน้าชื่นตาบานว่าตนเองเป็นผู้ฆ่าขุนศึก เจ้าหลวงจึงเรียก "ผีมด-ร่างทรง " (รัดเกล้า อามระดิษ) มาเข้าทรงดวงวิญญาณของขุนศึกเพื่อค้นหาความจริง แต่แล้ววิญญาณของขุนศึกกลับให้การผ่านร่างทรงว่า ตนต่างหากที่ฆ่าตัวตายเอง!!!

          เหตุการณ์ทั้งหมดถูกถ่ายทอดผ่านการพบเห็นและสนทนาของ พระหนุ่ม (มาริโอ้ เมาเร่อ), ชายตัดฟืน (เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา) และ สัปเหร่อ (พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง) ภายในอุโมงค์ผีที่ผาเมือง ซึ่งไม่อาจเข้าใจได้เลยว่า เหตุใดทั้ง 3 คนจึงให้การปิดบังความจริงที่เกิดขึ้น

          และ ความจริง ทั้งหมดคืออะไรกันแน่???


เกร็ดภาพยนตร์ อุโมงค์ผาเมือง

          1. ภาพยนตร์เรื่อง อุโมงค์ผาเมือง (2554) ดัดแปลงจากบทละครเวทีเรื่อง ราโชมอน ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช (2454-2538) ซึ่งเรียบเรียงและดัดแปลงจากเรื่องสั้น 2 เรื่อง คือ Rashomon (ประตูผี) และ In a Grove (ในป่าละเมาะ) ของนักประพันธ์ยอดฝีมือชาวญี่ปุ่น ริวโนะสุเกะ อะคุตะงะวะ (2435 - 2470) อันเป็นที่มาของภาพยนตร์ญี่ปุ่นเรื่องดังก้องโลกอย่าง Rashomon (2493) ผลงานการกำกับลำดับที่ 11 ของ "อากิระ คุโรซาวา" (2453-2541) จักรพรรดิแห่งภาพยนตร์ญี่ปุ่นนั่นเอง

          2. สู่การเขียนบทสุดละเมียดและกำกับอย่างสุดวิจิตรตระการตาของผู้กำกับชั้นครู "ม.ล. พันธุ์เทวนพ เทวกุล" เป็นผลงานลำดับที่ 10 ถัดจากภาพยนตร์ขึ้นหิ้งอย่าง เพลิงพิศวาส (2527), ช่างมันฉันไม่แคร์ (2529), ฉันผู้ชายนะยะ (2530), นางนวล (2530), เผื่อใจไว้ให้กันสักหน่อย (2532), ความรักไม่มีชื่อ (2533), มหัศจรรย์แห่งรัก (2538), อันดากับฟ้าใส (2540) และ ชั่วฟ้าดินสลาย (2553)

          3. ละครเวทีเรื่อง ราโชมอน ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ออกแสดงอย่างเป็นทางการถึง 4 ครั้ง ในรอบ 27 ปี ดังนี้

          - ครั้งแรก (10 มีนาคม พ.ศ. 2508) หน้าพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำแสดงโดย สุพรรณ บูรณะพิมพ์, อาคม มกรานนท์, อาจิต รัศมิทัต, สาหัส บุญ-หลง, มาลี เวชประเสริฐ, มนัส บุณยเกียรติ, ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

          - ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2515) ที่หอประชุมเอยูเอ จัดโดย คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำแสดงโดย จันทรา ชัยนาม ฯลฯ กำกับการแสดงโดย เพ็ญศรี เผ่าเหลืองทอง (นักวิจารณ์ละครและภาพยนตร์ มุมสูง” นิตยสารมติชนรายสัปดาห์ในปัจจุบัน)

          - ครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2529) ที่โรงละครคณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดยคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำแสดงโดย อรชุมา ยุทธวงศ์, ชลประคัลภ์ จันทร์เรือง, ม.ร.ว. อุษณิษา สุขสวัสดิ์ ฯลฯ กำกับการแสดงโดย อะสา สะกอสกี้ (นักแสดงละครบรอดเวย์จากนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา)

          - ครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2535) ที่มณเฑียรทองเธียเตอร์ โรงแรมมณเฑียร นำแสดงโดย พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง, ธัญญา โสภณ, รวิวรรณ จินดา, ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี ฯลฯ กำกับการแสดงโดย ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล (ออกแสดงในโรงละครอาชีพครั้งแรก ทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์ ยาวนานถึง 3 เดือน รวม 72 รอบ)

          4. ภาพยนตร์ญี่ปุ่นเรื่อง Rashomon ของผู้กำกับอากิระ คุโรซาวา ออกฉายครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2493 ก่อนที่จะเดินทางไปฉายประกวดและคว้ารางวัลจาก "เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส" ที่ประเทศอิตาลี พ.ศ. 2494 และเข้าฉายที่สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2494 ก่อนที่จะได้เข้าชิงและคว้ารางวัลอีกหลายสถาบัน รวมถึง รางวัลออสการ์เกียรติยศ (Honorary Award) เมื่อปี พ.ศ. 2495 อีกด้วย

          5. ระดม ทีมนักแสดงแถวหน้าของเมืองไทยไม่ว่าจะเป็น มาริโอ้ เมาเร่อ, อนันดา เอเวอริงแฮม, เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์, พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง, เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา, ดอม เหตระกูล, ศักราช ฤกษ์ธำรงค์, รัดเกล้า อามระดิษ และนักแสดงสมทบอีกมากมายมาประชันบทบาทสุดเข้มข้นเป็นครั้งแรก ในเรื่องราวสนุกชวนติดตามที่สอดแทรกเนื้อหาสาระไปตลอดทุกอณูภาพยนตร์

          6. อุโมงค์ ผาเมือง เลือกสรรอย่างละเอียดและถ่ายทำในหลากหลายสถานที่สวยงามแปลกตาที่ไม่เคยเห็น มาก่อนในภาพยนตร์ไทย อาทิเช่น ถ้ำเชียงดาว, วัดอุโมงค์, น้ำตกหมอกฟ้า, ม่อนล่อง, ม่อนแจ่ม ดาราเทวี จ. เชียงใหม่, พระธาตุลำปางหลวง จ. ลำปาง และเวียงป่าเป้า จ. เชียงราย

          7. ผ่าน การสร้างสรรค์จากทีมงานเบื้องหลังมืออาชีพในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบงานสร้างอย่างวิจิตรตระการตาในทุกฉาก, การกำกับภาพและจัดแสงสุดละเมียดงดงามในทุกเฟรมภาพ, งานออกแบบเครื่องแต่งกายล้านนาสุดประณีตทุกชุด, การเมคอัพสุดบรรจงในทุกตัวละคร รวมถึงดนตรีประกอบสุดขลังทุกบรรยากาศภาพยนตร์ เหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะดึงดูดและตราตรึงผู้ชมไปตั้งแต่ต้นจนจบ เรื่องอย่างสุดประทับใจ


http://movie.kapook.com/view28519.html
บันทึกการเข้า
จริงใจ อ่อนน้อม พรั่งพร้อมด้วยความรู้
อัตตาหิ อัตตโนนาโถ
ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ทำไมพระไทยต้องโกนคิ้ว
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 18, 2011, 12:05:46 pm »
0


ทำไมพระไทยต้องโกนคิ้ว

เหตุผลที่พระไทยต้องโกนคิ้ว ไม่มีหลักฐานยืนยัน มีแต่เรื่องเล่าต่อ ๆ กันมาว่า

ในสมัยอยุธยาที่ไทยรบกับพม่าและพม่าส่งทหารปลอมตัวเป็นพระลอบเข้ามาสืบข่าวในพระนคร พระเจ้าอยู่หัวจึงรับสั่งให้พระไทยโกนคิ้วทิ้งพระที่ไม่ได้โกนคิ้วก็แสดงว่าเป็นพวกพม่า จับไปสอบสวนได้ทันทีหลังจากนั้นมาพระไทยก็โกนคิ้วมาตลอด

อีกเรื่องหนึ่งเล่าว่า ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีพระวัดหนึ่งเห็นผู้หญิงเดินผ่านก็ยักคิ้วให้ความทราบถึงสังฆราชเจ้า จึงออกเป็นคำสั่งแต่นั้นมาให้พระสงฆ์ไทยโกนคิ้วจะได้ไม่ต้องยักคิ้วหลิ่วตาให้ผู้หญิง

อย่างไรก็ตาม เรื่องการโกนคิ้วไม่ปรากฏในพระวินัย จะโกนหรือไม่โกนก็ได้มีแต่คณะสงฆ์ไทยเท่านั้นที่โกนคิ้ว ถือเป็นวัตรปฏิบัติที่สืบต่อกันมา

พระสงฆ์ในประเทศอื่น ๆ ไม่ได้โกนคิ้ว และยืนยันว่าควรจะไว้คิ้วเพราะคิ้วเป็นเครื่องป้องกันมิให้เหงื่อไคลไหลเข้าตา



ที่มา 108 ซองคำถาม
ขอขอบคุณหัวข้อ: ทำไมพระไทยต้องโกนคิ้ว
ทำไมพระสงฆ์ในพุทธศาสนาบางประเทศจึงโกนคิ้ว และบางประเทศจึงไว้คิ้วด้วย
ทำไมพระจึงต้องโกนหัว และเดินบินทบาตรตีนปล่าว....
http://www.baanmaha.com/community/thread39935.html
ขอบคุณภาพจาก http://image.ohozaa.com,www.dmc.tv



ทำไมพระภิกษุไทยต้องโกนคิ้ว

ถาม  " เราพึงปลงผมและหนวด   นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

เถิด..."จากประสบการณ์ส่วนตัวนะคะ   สังเกตว่าพระภิกษุในประเทศไทยเท่านั้นที่โกน

คิ้ว  แต่พระภิกษุในต่างประเทศ เช่น ทิเบต ศรีลังกา พม่า ลาว ไม่โกนคิ้วค่ะ  ที่ถูกต้อง

ตามพระวินัยเป็นอย่างไรค่ะ


ตอบ ในพระวินัยไม่มีบัญญัติว่าพระภิกษุต้องโกนคิ้ว   แต่มีพระบัญญัติว่าห้ามพระภิกษุ

บวชให้กับคนที่ไม่มีคิ้ว สำหรับในเมืองไทยเรื่องการโกนคิ้ว เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์

ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  ในยุคที่มีสงคราม   มีคนต่างชาติปลอมเข้ามาบวช   ทางบ้าน

เมืองขอให้พระภิกษุในยุคนั้นโกนคิ้ว  เพื่อจะได้เห็นความแตกต่างกันของพระภิกษุไทย

กับคนปลอมเข้ามาบวชเท่านั้น     จึงมีประเพณีสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันว่า    เวลาบวช

โกนทั้งผมและคิ้ว  แต่ผู้ที่ไม่โกนไม่เป็นอาบัติตามพระวินัย



ที่มา http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=180
ขอบคุณภาพจาก www.traveladventures.org,www.onopen.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นบทความเกี่ยวกับเรื่องราวของหนังเรื่องนี้ ลองเข้าไปดูครับว่าเขามีความคิดอย่างไรครับ

เข้าไปอ่านได้ที่เว็บนี้ครับ

http://www.dhammajamsai.com/

จากคุณ    : ปอมปอม มิยาโตวิช
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

บุญสม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นหนังที่น่าติดตามดูเหมือนกัน เรื่องนี้จากที่ลองอ่านเรื่อง ย่อ ๆ
จุดประสงค์ เพื่อให้คนเชื่อเรื่อง ภพชาติ กรรม น่าสนับสนุน

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

สถาพร

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 220
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ได้ดูหนังเรื่องนี้แล้ว รู้สึก ถึงการผูกเรื่อง 3 ส่วนแสดงอารมณ์ หญิง ขุนศึก โจร  คนตัดฟืน พระ สัปเหร่อ แล้วทำให้เห็นสภาวะความเป็นจริง ที่แต่ละคนสร้างหน้ากากขึ้นมาด้วยคำว่า เกรียรติยศ ฐานะ จนลืมความเป็นจริง

    มุมมองอื่น ผมไม่ค่อยใส่ใจ แต่ผมใส่ใจในมุมมองของพระ ซึ่งจากบท ได้แสดงให้เห็นมุมมองด้านเดียวของพระในช่วงแรกที่มองคนด้วยความรู้สึก มิใช่มองจากแก่น คือ กิเลส ตัณหา ดังนั้นจึงทำให้ท่านรู้สึกเบื่อหน่าย และ ผิดหวังกับผู้คนที่เรียนธรรมะ ฟังธรรมจากท่าน แล้วทำไม จึงไร้เหตุไร้ผล ดังนั้น

   เรื่องนี้เป็นเรื่องที่คน ศึกษาธรรม และดำเนินวิถีชีวิตตามธรรม ควรใส่ใจ นะครับ
 
   ควรได้ดูอีกเรื่องที่แสดงเนื้อหา ทางศรัทธาในพระพุทธศาสนา ครับ


  :49: :08:

บันทึกการเข้า
ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน

winyuchon

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องนี้ ใครที่ยังไม่ได้ชม ก็ควรชมนะครับ เนื้อเรื่องผูกได้ดีมาก ถึงแม้การดำเนินการอาจจะเยิ่นเย้อไปนิด แต่เนื้อหาของการแสดงอารมณ์ ที่เรียกว่า ความจริง แต่ละคนไม่เหมือนกัน นี่สำคัญมากครับ และที่สำคัญที่สุดเรืองนี้แสดงให้เห็นว่า
     
      พระ เจ้าเมือง ขุนศึก หญิงงาม คนตัดฟืน ร่างทรง สัปเหร่อ ขุนโจร ต่างก็แสดงความคิดในมุมมองของตนเอง

      ก็จะวิจารณ์ กันพอเป็นกษัย ประกอบสักนิดนะครับ เพราะพระอาจารย์ ท่านให้ช่วยเขียนให้หน่อยนะครับ

      1.พระ  บุรุษซึ่งเป็น ตัวละครเอก ซึ่งเริ่มต้นด้วยการแสดง ภาพพจน์ ของพระประกอบ ฐานะความต้องการการอุปสมบถของพระ ซึ่งมีความชำนาญในด้านศิลปะ ซึ่งกล่าวได้ว่าคนที่มีศิลปะ มักมีอารมณ์อ่อนไหว หากหยุดความคิดไม่ได้ มีการปรุงแต่งมากกว่าคนทั่วไป ซึ่งท่านมีส่วนเกี่ยวข้องในการเป็นพยานแค่สวนทางกับ คนที่ตาย ครั้งเดียว เมื่อท่านเห็นขุนโจร ถูกประหารทั้ง ๆ ที่ท่านมีความคิดเห็นว่าขุนโจร ไม่มีความผิด แต่ในเรื่อง ขุนโจร อย่างน้อย ฆ่าคนที่แบกเสลี่ยงมาถึง 8 คน ซึ่งเนื้อเรื่องแสดงให้เห็นว่าการฆ่าคนทั่วไป ไม่มีความผิดมาก แต่การฆ่า ขุึนศึก นั้นมีความผิดมาก ซึ่งพระท่าน เห็นขุนโจรตายอย่างนั้น จึงมิได้เห็นด้วยท่านกับน้อยใจว่าชาวเมืองไม่ยุติธรรม ธรรมๆที่ท่านสอน ชาวเมืองไม่ได้ใคร่ครวญตามที่ท่านคิดว่าน่าจะเป็น จึงตัดสินใจเข้าไปลาสิกขาบถ แต่ถูกทัดทานไว้ ให้ออกจาริกธุดงค์ แสวงว่า คำว่า วิญญาณ ของตน

      2.คนตัดฟืน บทรองจากพระ แต่มีความสำคัญ เพราะเป็นกุมความลับ เรียกว่า ความจริงของเรื่องทีถูกนำมาเปิดเผยกันในอุโมงค์ผาเมือง สำหรับชื่อหนังทำให้ผมเคว ไปนึกว่าเป็นเรื่องที่แสดงเรื่องราวของคนลับแล แต่เนื้อเรื่องผิดหวังจากที่คิดไว้มาก มีเพียงเรื่องที่สอดแทรกเหมือนเรื่อง มนต์ดำตอนที่ คนทรงเล่าแทนคนตาย

     

      3.ขุนศึก กับ ขุนโจร กับ หญิงงาม  ซึ่งเป็นเรื่องที่ผูกเนื้อหา่ของเรื่อง ซึ่งแสดงความคิด เห็นในเชิงที่แต่ละคนยอมเสียหาย เพื่อปกป้องเกรียติยศ ของตนไว้ คือยอมตาย เพื่อ เกรียติ แต่เนื้อเรื่องนี้แสดงถึงกิเลส และ สังขาร ( การปรุงแต่ง ) ของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี


      รวมๆ แล้วเป็นหนัง ที่แสดงเนื้อหา ของ หลักธรรมพื้นฐานของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี

      ข้อเสียของภาพยนต์เรื่องนี้ คือ การนำพระพุทธภาิษิต มาร้องออกเสียงสูงเหมือน โอเปร่า ซึ่งทำให้ผมฟังเนื้อหา พระพุทธภาษิตไม่ทัน ทำให้พระพุทธภาษิตด้อยค่าลง ดีที่มีตัวหนังสือ แนบระหว่างที่ร้อง ซึ่งกินเวลาของหนังไปพอสมควร รำคาญเสียงสูง

      ข้อที่สอง คือการแต่งกายของคน สวนทางกับหลักการในสมัยก่่อนอยู่พอสมควร เพราะความเป็นจริงในเขตเมืองเหนือนั้น มีอากาศที่หนาวเย็นมาก ๆ แต่ในเรื่อง กับให้คนนุ่งผ้าเตีิ่ยว โชว์รอยสักกันเป็นส่วนใหญ่ ซึี่งการแต่งการ กระเดียดมาทางสุโขทัย ทั้ง ๆ ที่ ขุนศึกเป็นคนเชียงคำ ผาเมืองเป็นเขตเมืองลำปาง

      วิจารณ์ พอกล้อมแกล้มนะครับ

     
   
บันทึกการเข้า

Skydragon

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 92
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องนี้ ส่วนหนึ่งผมว่า นำเรื่อง นางผอบแก้ว โมรา นะครับ เพราะเนื้อหา คล้ายคลึงกันซึ่งเรื่องนี้อาจจะชี้ให้เห็นสภาวะที่น่ากลัว ของสิ่งที่เรียกว่า สวยงาม ได้หากเรื่องนี้ไม่มี หญิงงาม มาเกี่ยวข้องเนื้อเรื่องคงไม่เข้่าท่า

   ผมได้ดูถึงตอนเฉลยเรื่อง โดยคนตัดฟืนแล้ว รู้สึกได้เลยว่า ...ผู้หญิง นี่น่ากลัว นะครับโดยเฉพาะ ผู้หญิงสวย ๆ ยิ่งน่ากลัวมาก อาวุธของผู้หญิง ซึ่งผมยอมรับเลยว่า ใช้ได้ผลกับผมมาแล้วไม่ว่า จะเป็นแม่ เป็นเมีย เป็นน้อง เป็นเพื่อน เป็นญาต นั่นก็คือ น้ำตา ซึ่งผมเองได้ถูกอาวุธชนิดนี้ ลอกคราบ มาแล้วก็หลายครั้ง บางครั้งก็เจ็บเข้าไปในใจอย่างมากเลยจริง ๆ


    โดยรวม เรื่องนี้แสดงความศรัทธา และ ความคิดของเขียนเรื่อง คือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ นะครับแต่เนื้อหาทางธรรม นั้นพูดตรงๆ แล้วไม่มีครับ เพราะเนื้อหาทางธรรมนั้นต้องคิดขึ้นมาเอง ในหนังได้แต่แสดงอารมณ์มุมมอง ของแต่ละคน โดยที่แต่ละคน แสดงหน้ากากของตนเอง แต่แก่นธรรม คืออะไร ดูหนังเรื่องนี้จบแล้วมันก็เหมือนชีวิต คนกลุ่มหนึ่งที่ต้องใช้ชีวิตอย่างนั้น ได้แต่แสวงอะไร ในใจตนเอง

     ธรรมะ ของแท้ ที่จะทำให้พ้นทุกข์ นั้นไม่ได้ถูกแสดงในเนื้อหา
   
     ที่สำคัญที่สุด พระ ก็ไม่ได้กล่าวเนื้อหาหลักธรรม เวลาที่คุยกับคนตัดฟืน หรือ สัปเหร่อ ไม่สมกับเป็นธรรมกถึก ตามบท

     ส่วนบทที่ตีแตก อาจจะเป็นบทถนัดของ พงษ์พัฒน์ ( สัปเหร่อ ) แล้วการหยามพระ การแสดงความน่าเกลียด น่าคลื่นไส้ในอาการของคนที่เรียกว่า ชั้นต่ำ แสดงได้ดี ที่เดียว นับถือมาก ยิ่งตอนถ่มน้ำลายใส่พระ ซึ่ง ๆ หน้า นี่ รู้สึกแสดงว่าสมจริงมาก ( เกินไปหรือไม่ )
   
     เอาเป็นว่าเนื้อหาหลักธรรม นั้น ต้องคิืดกันเอาเอง เหมือนต้องตรัสรู้เอง ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้.... ใช่หรือไม่ครับ

    โดยรวมเป็นหนังที่ผูกเรื่องได้ เข้าตา เข้าใจผมสักประมาณ 50 เปอร์เซ้น ที่เหลือไม่ตรงกับใจ เหมือนที่คุณ winyuchon ได้กล่าวไว้ คือผมคิดว่าหนังเรื่องนี้จะแสดงเรื่องของคนลับแล อะไรปานนี้เหมือนกันตามชื่อเรื่อง แต่ ผิดหวังกลายเป็นว่า เป็นเรื่องที่มาเล่ากันในอุโมงค์ ที่ชื่อว่า ผาเมือง ระหว่างพระ คนตัดฟืน และ สัปเหร่อ ซึ่งมี 3 คน มีเด็กในตระกร้ามาเกี่ยวข้องในตอนท้าย หน่อยเดียว

    ซึ่งถ้าใครได้ดู แบ๊กกราวด์ ตอนต้นนั้นแสดงถึงฐานะของพระ ที่บวช และ พี่ชายมาขอให้ออกไปช่วยบ้านแต่ท่านยืนยันว่าจะออกธุดงค์ ซึ่งจากฐานะนั้นไม่ควรให้เด็กไปคนตัดฟืน ซึ่งท่านพึ่งออกเดินทางมาวันแรกและไม่ไกลจากวัดที่ท่านอยู่ ยังติดอยู่ที่อุโมงค์ของเมือง

    อีกอย่างที่ไม่ถุกใจ คือ บริขาร ความสมจริง กับพระธุดงค์เดินกลางร่มนั้น มันขัดความรู้สึกที่จริงเรื่องนี้ถ้าให้สมจริง เป็นค่าการแสดงก็ควรให้โกนผมไปเลยดีหรือไม่ครับ ( ความเห็นส่วนตัว นะครับ ) จึงทำให้ฉากบังคับใช้ร่มที่กลางกันเอฟเฟ็กเรื่องวิกพระ จึงทำให้วิถีของสงฆ์ดูไม่สมจริง และบริขารที่เดินธุดงค์นั้น กาน้ำ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ซึ่งภาพเหล่านี้เวลาที่เด็กสมัยปัจจุบัน จะจินตนาการของพระธุดงค์ผิดจากรูปแบบที่ควรสนับสนุน

    เอ้ามาร่วมวิจารณ์ หน่อยหนึ่งนะครับ

    :s_hi:
บันทึกการเข้า

tasawang

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 116
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เห็นด้วยครับ เกี่ยวกับเรื่องภาพของพระ ที่ออกมาในหนังไม่ถูกใจ ชาวเหนืออย่างผมครับ

 อันที่จริงจะบอกให้ครับ ว่าคนในสมัยปัจจุบันชาวเหนือเคารพพระสงฆ์ มากนะครับ ขนาดเด็ก ๆ อย่างผมจำได้ว่าเวลาสวนกับพระ พ่อแม่ บอกให้หยุดให้พระผ่านไปก่อน หรือต้องนั่งไหว้นะครับ

   สมัยในอดีตไม่ต้องพูดถึงเลยครับ เรื่องนี้จำลองเมื่อ พ.ศ. 2000 ปี คือยุคสุโขทัย ซึ่งเป็นยุคที่พระพุทธศาสนารุ่งเรือง อย่างพระร่วง พ่อขุนรามคำแหงอย่างนี้ ท่านเคารพพระสงฆ์กันมาก และพระสงฆ์จัดได้ว่าเป็นปูชนียบุคคลเพราะเป็นผู้ที่ถ่ายทอด วิชาความรู้ ด้วย ดังนั้นชาวบ้านจะนับถือพระสงฆ์มากครับ ในส่วนนี้แต่ในหนังกับสร้างบรรยากาศ ว่า ชาวบ้านเฉย กับพระธุดงค์ที่เดินผ่านส่วนนี้ ผมว่าทำให้ชาวล้านนา อย่างผมคิดไม่ถูกในมุมมองของผมเลยนะครับว่า ทำไมชาวล้านนาที่เคารพพระ ทำไมจึงกระด้างกระเดื่อง ไม่มีมารยาทต่อพระธุดงค์ ที่เดินผ่าน

    ในหนังผมเห็น การใช้สถานที่ วัดพระธาตุลำปางหลวง เปิดฉากพระ แสดงให้เห็นการใส่ใจของชาวบ้าน แม้การบวชสามเณร ก็แ่ห่แหนกันอย่าง อึกทึกคึกโครมอันนี้เห็นด้วยเพราะความจริงเป็นอย่างนั้น แต่ทำไมมารยาทของชาวบ้านในหนัง ถึงดูแข็งมากไม่มีใครยกมือไหว้พระเลย ยกเว้นคนตัดฟืน คนเดียว กับ พี่ชาย ที่เห็นมีเท่านี้อีกอย่างการประหารชาวบ้านนั้นโดยปกติ ไม่ให้พระเข้าไปยุ่งอยู่แล้วด้วยวินัยสงฆ์ แต่ในเรื่องผูกให้พระเข้าไปชมการตัดหัว ซึ่งถึงกับมีเลือดกระเด็นใส่ผ้า ตรงนี้มุมมองไม่ค่อยดี นะครับ เพราะขัดหลักวินัย ยิ่งเป็นพระที่ต้องสอนธรรมด้วยยิ่งไม่ทำแน่นอน มีพระรูปไหนต้องการไปดูการประหาร ( ฆ่าคน ) ต่อหน้า ต่อตาบ้าง นึกถึงความจริงและ วินัยแล้ว ไม่น่าเป็นไปได้

    มาร่วมวิจารณ์ ให้สนุกขึ้นนะครับ ก่อนที่ทางที facebook จะดึงเรื่องนี้ขึ้น facebook

    :s_hi: :93: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

axe

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 187
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมว่า ถ้าจะเข้าใจ มุมมอง พระพุทธศาสนา ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ แล้ว ควรอ่านเรื่อง ไผ่แดง ครับ อันนี้ชัดมากนะครับ

    :s_hi: :s_hi: :s_hi:
บันทึกการเข้า
หนุ่มหล่อ ใจดี AXE

VongoleX

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 402
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องนี้กำลังมีให้เช่าตามร้าน วีดีโอ นะครับถ้าจำไม่ผิด

เนื้อเรื่อง รวม ๆ ช่วยเล่าแบบละเอียดหน่อยได้หรือไม่ครับ ลงเป็นตอนให้อ่านเลยก็ดีนะครับ

  :s_hi:
บันทึกการเข้า
ผู้พิทักษ์รุ่นที่ 10 แห่ง Vongole จับมือกับ แก็งค์ อ๊บ อ๊บ

สถาพร

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 220
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านบทวิจารณ์ แล้วมีความน่าสนใจ ในเรื่องแต่ ถ้าพิจารณาให้ดีถ้าเนื้อเรื่องไม่ได้เกี่ยวกับ พระพุทธศาสนา แล้วก็จัดว่าเป็นหนังสืบสวน น่าสู้เรื่อ conan ไม่ได้นะครับ

  ปกติ หนังแนวสืบสวนต้องการแสดง อารมณ์ของแต่ละบุคคล

  ก็จัดว่าเป็นหนังน่าสนใจ ที่คนไทยทำ นะครับ

  :25: :character0029:
บันทึกการเข้า
ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน