ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ภิกขุ ภิกขาจาร - ผู้ขอ การเที่ยวขออาหาร  (อ่าน 478 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ภิกขุ ภิกขาจาร - ผู้ขอ การเที่ยวขออาหาร
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2020, 07:30:34 am »
0


ภิกขุ ภิกขาจาร

พจนานุกรมให้ความหมายโดยพื้นฐานของ "ภิกขุ" ว่า ผู้ขอ นี่ย่อมสัมพันธ์กับ ภิกขาและภิกขาจาร เพราะว่า ภิกษามีพื้นฐานมาจากภิกขา เหมือนกับศิกษาหรือสิกขา เพียงแต่เมื่อภิกษาหมายถึงการขออาหาร อาหารที่ขอมา

ดังนั้น ภิกษาจาร จึงเท่ากับ การเที่ยวขอ การเที่ยวขออาหาร เพราะว่าวัตรปฏิบัติภิกขาของพระภิกษุเริ่มขึ้นในสมัยพุทธกาล จึงเหมือนกับเมื่อพระอาจารย์ชา สุภัทโท จาริกไปพร้อมกับสุเมโธภิกขุยังมหานครลอนดอน นั่นก็คือ เป็นสภาวะแปลกใหม่และแปลกแยกอย่างยิ่งกับสังคม

ดังได้สดับมาจากพระอาจารย์ชา สุภัทโท เช่นนี้


@@@@@@

พระอานนท์กับพระพุทธเจ้าของเราในสมัยก่อนไปบิณฑบาตบ้านมิจฉาทิฐิ พอไปถึงหน้าบ้าน พระพุทธองค์ก็สะพายบาตรยืนเฉย ท่านก็อาย เพราะท่านเข้าใจว่า เรายืนอยู่เฉยๆ มันไม่บาปหรอก เขาจะให้ก็ไม่เป็นไร เขาจะไม่ให้ก็ไม่เป็นไร ท่านยืนอยู่เฉยๆ

พระอานนท์เดินย่ำเท้าไปมา อายเขา คิดว่าพระพุทธองค์นี้อยู่ทำไม ถ้าเขาไล่ก็น่าจะหนีไป เขาไม่ให้ก็ยังทนอยู่ ไม่ก่อประโยชน์อะไรเลย พระพุทธองค์ก็เฉย จนกว่าสุดวิสัยแล้วก็ไป บางทีเขาก็ให้ ให้ในฐานที่ไม่เคารพ พระพุทธเจ้าก็เอา เขาให้พระพุทธเจ้าก็เอา ท่านไม่หนีไปไหน ไม่เหมือนพระอานนท์

พอกลับมาถึงอาราม พระอานนท์ก็กราบพระพุทธองค์แล้วถามว่า
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรงไหนที่เขาไม่ใส่บาตรให้เรา เราจะไปยืนอยู่ทำไม มันเป็นทุกข์ อายเขา เขาไม่ให้ก็รีบไปที่อื่นเสียดีกว่า"

@@@@@@

พระพุทธองค์ตรัส "อานนท์ ตรงนี้ถ้ายังไม่ชนะมัน ไปที่อื่นก็ไม่ชนะ ถ้าเราชนะอยู่ที่นี่ ไปที่อื่นเราก็ชนะ"
พระอานนท์ว่า "ชนะไม่ชนะไม่รู้เรื่องแหละ อายเขา"
"อายทำไม อานนท์ อย่างนี้มันผิดหรือเปล่า เป็นบาปไหม เรายืนอยู่ เขาไม่ให้ก็ไม่เป็นไร"

พระอานนท์บอกว่า "อาย"
"อายทำไม เรายืนอยู่เฉยๆ มันเป็นบาปที่ไหน อานนท์ เราจะต้องทำอยู่อย่างนี้ ถ้าเราชนะมันตรงนี้ ไปที่ไหนมันก็ชนะ แต่ถ้าเขาไม่ให้ เราก็ไปที่โน่น ถ้าไปที่โน่นแล้วเขาไม่ให้ เราจะไปไหน อานนท์"
"ไปอีก ไปบ้านโน้นอีก"
"ถ้าหากบ้านโน้นเขาไม่ให้ เราจะไปตรงไหน"
"ไปตรงโน้นอีก"
"เลยไม่มีที่หยุดเลย อานนท์ ถ้าเราไม่ชนะตรงนี้ ไปข้างหน้ามันก็ไม่ชนะ ถ้าเราชนะอยู่ที่นี่แห่งเดียว ไปที่อื่นมันก็ชนะทั้งนั้น อานนท์ เข้าใจผิดแล้ว ไม่ต้องอายสิ"


@@@@@@

กระนั้นในความเป็นจริง ความหมายของ "ภิกษุ" มิได้มีแต่เพียงว่าผู้ขอเท่านั้น ตรงกันข้าม หากพลิกไปยังหน้า ๑๗๓ ของหนังสือ พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)ฉบับตีพิมพ์เล่มใหญ่ ๓๗๖ หน้า ก็จะประจักษ์ในความหลากหลายแห่งความหมายนอกเหนือไปจากผู้ขอ
   - นั่นก็คือ ๑ ผู้มองเห็นภัยในสังขาร
   - นั่นก็คือ ๑ ผู้ทำลายกิเลส

ดังที่พระอาจารย์ชา สุภัทโทเห็นว่า อย่างคำสอนที่ท่านสอนว่าภิกขุ ท่านแปลว่า ผู้ขอ ถ้าแปลอย่างนี้การปฏิบัติมันก็ไปรูปหนึ่ง ถ้าใครเข้าใจอย่างพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ภิกษุ แปลว่า ผู้เห็นภัยในสงสาร นี่มันก็ลึกซึ้งกว่ากัน ผู้เห็นภัยในสงสารก็คือ เห็นโทษของวัฏฏะ ในวัฏสงสารนี้มันมีภัยมากที่สุด แต่ว่าคนธรรมดาสามัญ ไม่เห็นภัยในสงสารนี้


จากหนังสือ ธรรมวิจยะ โดยพระอาจารย์ชา สุภัทโท
ที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1322800384&grpid=no&catid=&subcatid=
ขอบคุณ : http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=25519.0
โพสต์โดยคุณทรงกลด
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ