แสดงกระทู้
|
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to. |
Messages - เท่ากับผลรวม
|
หน้า: [1] 2 3 ... 5
|
22
|
เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / นิทานเซ็น ร่มคุ้มกันฝน
|
เมื่อ: ตุลาคม 21, 2012, 11:03:15 pm
|
ยังมีอุบาสกผู้หนึ่งหลบฝนอยู่ใต้ชายคา พอดีกับที่มีอาจารย์เซนผู้หนึ่งกางร่มเดินผ่านมา อุบาสกผู้นี้จึงร้องเรียกขอให้อาจารย์เซนพาตนไปด้วย โดยอ้างว่าตามหลักธรรม พระสงฆ์คือผู้ช่วยนำพาสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากห้วงทะเลทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิด
ทว่าอาจารย์เซนกลับปฏิเสธคำขอของอุบาสก ทั้งยังกล่าวว่า "ประสกอยู่ใต้ชายคาซึ่งไม่มีฝน มิได้เปียกปอน ฉะนั้นอาตมาไม่จำเป็นจะต้องพาประสกออกไป"
เมื่อุบาสกได้ยินดังนั้น จึงก้าวออกมานอกชายคา ยืนอยู่ท่ามกลางสายฝนพรำจนร่างกายเปียกชุ่มโชก จากนั้นขอร้องอีกครั้งให้อาจารย์เซนพาเขาไปด้วย
ยามนั้น อาจารย์เซนจึงเอ่ยว่า "ประสกยังคงไม่เข้าใจ แม้ว่าขณะนี้เราทั้งสองล้วนอยู่ใต้สายฝน แต่อาตมาไม่เปียกเพราะมีร่มคุ้ม ส่วนประสกกลับเปียกปอนเพราะไร้ร่มกำบัง ดังนั้นมิใช่ว่าอาตมาไม่พาประสกไป แต่ประสกต้องเสาะหาร่มคุ้มฝนของตน เพื่อข้ามผ่านไปด้วยตนเอง"  ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.pixgang.comปริศนาธรรม แบบเซ็น หลบฝนอยู่ใต้ชายคา ไม่เปียกฝน หมายถึง พอใจในเพศฆารวาส ไม่ต้องการบรรลุธรรม หลุดพ้นจากห้วงทะเลทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิด
ก้าวออกมานอกชายคา แล้วเปียกฝน หมายถึง แม้จะบวชเป็นบรรพชิต แต่มิได้บำเพ็ญเพียร ฝึกปฏิบัติเจริญสติด้วยตนเอง ย่อมไม่อาจพ้นทุกข์ได้
จากคุณ : รอเธอโสด
|
|
|
23
|
เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
|
เมื่อ: ตุลาคม 21, 2012, 11:00:05 pm
|
วิธีการปฏิบัติเซ็น แบ่งได้เป็น 3 ประการคือ
1. ซาเซ็น หมายถึง การนั่งขัดสมาธิอย่างสงบและเพ่งสมาธิ
2. ซันเซ็น หรือ วิธีการแห่งโกอัน
3. ม็อนโด คือการถามและการตอบอย่างอย่างทันทีทันใด โดยไม่ใช้ระบบความคิดหรือเหตุผลไตร่ตรองว่าเป็นคำตอบที่ดีหรือไม่ อาจารย์จะเป็นผู้ตั้งคำถามและพิจารณาคำตอบที่ลูกศิษย์ตอบในขณะนั้น
วิธีการแบบม็อนโดนี้ช่วยขจัดวิธีการใช้เหตุผล เพราะเหตุผลไม่ได้บ่งถึงข้อเท็จจริงในขณะนั้นๆ จิตที่รับรู้โลกฉับพลัน ตรงไปตรงมา ไม่ผ่านม่านของการใช้เหตุผล ย่อมจะไม่ถูกอวิชชาเข้ามาครอบงำทำให้พุทธภาวะอันเป็นธรรมชาติเดิมแท้ปรากฏออกมาได้  ขอบคุณภาพจาก http://www.compasscm.com/
|
|
|
24
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / "ใช้หนี้สงฆ์" กระมังครับ ไม่ใช่ "ใช้หนี้ ธรณีสงฆ์"
|
เมื่อ: ตุลาคม 03, 2012, 09:03:52 pm
|
"ใช้หนี้สงฆ์" กระมังครับ ไม่ใช่ "ใช้หนี้ ธรณีสงฆ์" ที่ธรณีสงฆ์ หมายถึงที่ดินที่เป็นของวัด สามารถนำไปใช้ประโยชน์และรับดอกผลเพื่อนำมาบำรุงวัดได้ คนโดยปกติก็จะไปยุ่งอะไรด้วยไม่ได้อยู่แล้ว ส่วนการใช้หนี้สงฆ์ หมายถึงการที่เราเข้าไปในวัดไม่ว่าจะด้วยกิจใดๆก็แล้วแต่ เราอาจจะใช้ทรัพยากรของวัด เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า ฯลฯ แม้กระทั่งดอกไม้ ใบหญ้า เศษดินทรายที่ติดรองเท้าออกมาโดยไม่มีเจตนา แต่โดยที่สิ่งเหล่านั้นเป็นของสงฆ์ จึงเท่ากับเราเป็นหนี้ต่อสงฆ์โดยรวม เพื่อไม่ให้มีหนี้ค้างคากันไป ชาวไทยจึงมีคตินิยมให้มีการชำระหนี้สงฆ์ ยกตัวอย่างเช่นการก่อพระเจดีย์ทรายก็เป็นการชำระหนี้สงฆ์ในรูปแบบหนึ่ง จากคุณ : จันทร์สะท้อนเงา 
|
|
|
25
|
กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
|
เมื่อ: ตุลาคม 02, 2012, 03:35:07 pm
|
๓. เผณปิณฑสูตร ว่าด้วยอุปมาขันธ์ ๕
[๒๔๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาใกล้อยุชฌบุรี. ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคานี้ พึงนำกลุ่มฟองน้ำใหญ่มา บุรุษผู้มีจักษุพึงเห็น เพ่ง พิจารณากลุ่มฟองน้ำใหญ่นั้น โดยแยบคาย เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย กลุ่มฟองน้ำนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่าหาสาระมิได้เลย สาระในกลุ่มฟองน้ำ พึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ภิกษุย่อมเห็นเพ่ง พิจารณารูปนั้นโดยแยบคาย เมื่อภิกษุนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย รูปนั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้ สาระในรูปพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๒๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเมล็ดหยาบตกอยู่ในสรทสมัย ฟองน้ำในน้ำ ย่อมบังเกิดขึ้นและดับไป บุรุษผู้มีจักษุ พึงเห็น เพ่ง พิจารณาฟองน้ำนั้นโดยแยบคาย
เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย ฟองน้ำนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้เลย สาระในฟองน้ำนั้นพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ภิกษุย่อมเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย เวทนานั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้ สาระในเวทนาพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๒๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนยังอยู่ พยับแดด ย่อมเต้นระยิบระยับในเวลาเที่ยง บุรุษผู้มีจักษุพึงเห็น เพ่ง พิจารณา พยับแดดนั้นโดยแยบคาย เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย พยับแดดนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า ฯลฯสาระในพยับแดดพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด. สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล.
[๒๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีความต้องการด้วยไม้แก่น เสาะหาไม้แก่น เที่ยว แสวงหาไม้แก่นอยู่ ถือเอาจอบอันคม พึงเข้าไปสู่ป่า บุรุษนั้นพึงเห็นต้นกล้วยใหญ่ ตรง ใหม่ยังไม่เกิดแก่นในป่านั้น พึงตัดโคนต้นกล้วยนั้นแล้วจึงตัดปลาย แล้วจึงปอกกาบใบออก บุรุษนั้นปอกกาบใบออก ไม่พึงได้แม้กระพี้ในต้นกล้วยใหญ่นั้น จะพึงได้แก่นแต่ที่ไหน บุรุษผู้มีจักษุพึงเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย ซึ่งต้นกล้วยใหญ่นั้น
เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย ต้นกล้วยใหญ่นั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นมิได้ แก่นในต้นกล้วยพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด. สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯอยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ภิกษุย่อมเห็น เพ่ง พิจารณาสังขารนั้นโดยแยบคาย เมื่อภิกษุนั้นเห็นเพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย สังขารนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้ สาระในสังขารทั้งหลายพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกันแล.
[๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นักเล่นกลหรือลูกมือนักเล่นกล พึงแสดงกลที่หนทางใหญ่ สี่แพร่ง บุรุษผู้จักษุพึงเห็น เพ่ง พิจารณากลนั้นโดยแยบคาย เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย กลนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้ สาระในกลพึงมีได้อย่างไรแม้ฉันใด. วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้
ภิกษุย่อมเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย เมื่อภิกษุเห็น เพ่งพิจารณาวิญญาณนั้นโดยแยบคาย วิญญาณนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้สาระในวิญญาณพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกันแล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร ทั้งในวิญญาณเมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมuญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
[๒๔๗] พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงแล้วว่า รูปอุปมาด้วยกลุ่มฟองน้ำ เวทนาอุปมาด้วยฟองน้ำ สัญญา อุปมาด้วยพยับแดด สังขารอุปมาด้วยต้นกล้วย และวิญญาณอุปมาด้วยกล.
ภิกษุย่อมเพ่งพิจารณาเห็นเบญจขันธ์นั้นโดยแยบคายด้วยประการ ใดๆ เบญจขันธ์นั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่า ด้วยประการนั้นๆ ก็การละธรรม ๓ อย่าง อันพระพุทธเจ้า ผู้มี ปัญญาดังแผ่นดิน ปรารภกายนี้ทรงแสดงแล้ว ท่านทั้งหลาย จงดูรูปอันบุคคลทิ้งแล้ว. อายุ ไออุ่น และวิญญาณย่อมละ กายนี้เมื่อใด เมื่อนั้น กายนี้อันเขาทอดทิ้งแล้วย่อมเป็นเหยื่อ แห่งสัตว์อื่น หาเจตนามิได้ นอนทับถมแผ่นดิน. นี้เป็น ความสืบต่อเช่นนี้ นี้เป็นกลสำหรับหลอกลวงคนโง่ เบญจขันธ์ เพียงดังว่าเพชฌฆาตผู้หนึ่ง
เราบอกแล้ว สาระย่อมไม่มีใน เบญจขันธ์นี้. ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วมีสัมปชัญญะ มีสติ พึงพิจารณาขันธ์ทั้งหลายอย่างนี้ ทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน. ภิกษุเมื่อ ปรารถนาบทอันไม่จุติ (นิพพาน) พึงละสังโยชน์ทั้งปวง พึงกระทำ ที่พึ่งแก่ตน พึงประพฤติ ดุจบุคคลผู้มีศีรษะอันไฟไหม้ ดังนี้. จบ สูตรที่ ๓.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๓๑๓๒ - ๓๑๙๑. หน้าที่ ๑๓๔ - ๑๓๖. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=3132&Z=3191&pagebreak=0 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=242 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๗ http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_17
|
|
|
32
|
กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / หลวงปู่ เคยธุดงค์ จาริกภาคใต้ บ้างหรือไม่ครับ ?
|
เมื่อ: กันยายน 02, 2012, 02:05:22 pm
|
หลวงปู่ เคยธุดงค์ จาริกภาคใต้ บ้างหรือไม่ครับ ? คือได้อ่านประวัติ หลวงปู่ เล่มสีแสด นะครับ แต่ไม่พบว่า หลวงปู่ เคยได้เดินทางไปภาคใต้นะครับ ถ้ามีประวัติหลวงปู่เคยไปภาคใต้ หลวงปู่ พระองค์ท่านชอบไปจังหวัดไหนครับ ขอบคุณมากครับ ทราบว่า คาถาไก่แก้ว นั้น ได้มาจากภาคเหนือนะครับ http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6809.msg25249#msg25249 พระคาถาบทนี้ทางภาคเหนือเรียกว่า พระคาถาไก่แก้ว กุกลูกพระอาจารย์สุก พระองค์ท่านทรงออกรุกข์มูลไปได้ ประมาณปีเศษก็เข้าสู่เขตป่าใหญ่ แขวงเมืองเชียงใหม่ ท่านใช้เวลาอยู่ที่ป่า แขวงเมืองเชียงใหม่ ป่าแขวงเชียงราย ป่าแขวงเชียงแสน เกือบปี พระองค์ท่านทรงพบพระมหาเถรวุฒาจารย์ ผู้ทรงอภิญญามากมาย ทั้งที่เชี่ยวชาญในด้านกสิณดิน กสิณไฟ กสิณลม กสิณน้ำ และเชี่ยวชาญทางวิปัสสนาธุระ
|
|
|
34
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ลำปางฮือฮา.! จัดงานศพหลอก 'มัจจุราช' อาการมะเร็งดีขึ้น
|
เมื่อ: สิงหาคม 28, 2012, 12:29:34 am
|
อาจจะได้ผล และ อาจจะไม่ได้ผล เพราะไม่ได้มี ผู้ใดมารับรองว่า ที่หายเป็นเพราะทานยา ควบคุมการบริโภค หรือ ว่ามีตัวยาดี หรือ ว่าเกิดจากการทำพิธี สืบชะตา เอาเป็นว่าเป็นความบังเอิญ ที่หายจริง ๆ หรือไม่ ตอบกันยาก ที่อยากให้พิจารณา คือ คนที่ไม่ตาย ในโลกนี้ มีหรือไม่ คือ จะตายช้า ตายเร็ว ก็ต้องมีสาเหตุทั้งนั้น บางคนตายเพราะป่วยฉับพลัน บางคนตายเพราะอุบัติเหตุ บางคนตายเพราะหมด อายุขัย ในกรณี ของคุณยายท่านนี้ ใช่ว่า จะรอด เพราะพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสไว้ว่า การผัพเพี้ยน ต่อมัจจุราช ซึ่งมีเสนามาก ย่อมไม่มีสำหรับเรา นะครับ สาธุ กับเรื่องที่นำมาเล่าสู่กันฟังครับ 
|
|
|
38
|
กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
|
เมื่อ: มิถุนายน 12, 2012, 01:24:26 pm
|
[๔๙๙] ในปัญหานั้น มีคำตอบดังนี้ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ย่อมตั้ง อยู่ไม่ได้ในวิญญาณ(๑)ซึ่งเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น ไม่มีที่สุด แต่มีท่าข้าม(๒)โดยรอบด้าน อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียด และหยาบ งามและไม่งาม ก็ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ในวิญญาณ นี้เช่นเดียวกัน นามและรูปย่อมดับสนิท ในวิญญาณนี้เช่นเดียวกัน เพราะจริมกวิญญาณ(๓)ดับไป นามและรูปนั้นก็ย่อมดับสนิทในที่นั้น” ทำการวิเคราะห์ หมายถึง ธาตุทั้ง 4 มี ดิน ไฟ ลม น้ำ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ใน วิญญาณ ( นิพพาน ) หมายความ ในนิพพาน ไม่มี ธาตุทั้ง 4 นิพพาน จึงเป็นธรรมที่มองเห็นไม่ได้ ไม่มีที่สุด แต่ นิพพาน นั้นมี ท่าข้าม ( เส้นทางการปฏิบัต ) อยู่โดยรอบด้าน ไม่ใช่ด้านเดียว กล่าวถึงกรรมฐาน 38 ประการ ( คิดว่าน่าจะเป็น 40 ประการมากกว่า ) โดยกรรมฐาน นั้น อาศัยอุปาทายรูป (รูปที่มีใจครอง ) ที่ยาว ที่สั้น ละเอียด หยาบ งาม และ ไม่งาม แต่ อุปาทายรูป ก็ตั้งอยู่ไม่ได้ใน วิญญาณ ( นิพพาน ) หมายถึง นิพพาน ก็ไม่มีอุปาทายรูป เช่นเดียวกับธาตุ นามและรูป (ขันธ 5 ) อาศัยวิปัสสนา ย่อมดับสนิท ใน วิญญาณ (นิพพาน ) เพราะ จริมกวิญญาณ การแล่นไปด้วยความรู้สีกสัมผัสปรุงแต่งอย่างยิ่ง ( อภิสังขารวิญญาณ )ย่อมดับสนิทในที่นั้น นั่นหมายถึง ธาตุ ทั้ง 4 อุปาทายรูป นามรูป อันมีเหตุปรุงแต่ง ด้วย สังขารทั้งหลายทั้งปวง ย่อมดับสนิทไม่มีเหลือใน นิพพาน จึงกล่าวได้ว่า ไม่มีรูป ไม่มีธาตุ ไม่มีนามรูป เป็นเพียงแต่สักว่าธาตุ ตามธรรมชาติเท่านั้น ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป้นตัวเป็นตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา อย่างนี้ควรที่เราทั้งหลายจะได้ทำความเข้าใจในเรือ่งธาตุ เพื่อคามรู้แจ้งเห็นจริง ด้วยสมาธิ ( ปล. ผมลองทำสมาธิ เข้าอารมณ์ ละเอียดแล้ว เจริญ นามรูป และพิจารณาบทธรรมนี้ ก็มีความเข้าใจเพียงเท่านี้นะครับ ) ขอท่านผู้รู้ทั้งหลาย โปรดแนะนำเพิ่มเติมกันด้วยนะครับ 
|
|
|
39
|
กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
|
เมื่อ: มิถุนายน 12, 2012, 01:10:21 pm
|
ผมได้อ่านหัวข้อนี้ตั้งแต่เมื่อวาน แล้วสนใจมากครับ มีความรู้สึกว่าพระอาจารย์ กำลังบอกใบ้เรื่องการปฏิบัติเฉพาะอะไรสักอย่าง ผมเองก็นั่งวิเคราะหืมาตั้งแต่เมื่อวาน ซึ่งพอจะจับใจความจากที่เพื่อน ก็น่าจะเห็นแบบเดียวกับผมนะครับ ก็คือ การทำความเข้าใจเรื่อง ธาตุ รูป อุปาทายรูป นามรูป ผมว่าหัวข้อนี้ เป็นโจทย์ และ เฉลยที่พระพุทธเจ้า ได้เฉลยลงมาแล้ว แต่ถึงเฉลย โดยพระพุทธเจ้า ก็อาศัยคำใบ้หรือสูตรที่พระอาจารย์ นำไว้ตอนต้น คือเรื่อง ความฉลาดในสมาธิ ได้กล่าวเป็นลำดับเลยนั่นหมายความ ต้องมีความสำคัญในความฉลาดทุกส่วน หรือส่วนนี้จะเกี่ยวกับ ยถาภูตญาณทัศศนะ ที่เรากำลังติดกันอยู่ ผมว่าพวกเราช่วยกันวิจัยกันในหัวข้อนี้มาก ๆ ก็ดีนะครับ สาธุ สาธุ สาธุ 
|
|
|
40
|
กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / พบรอยพระพุทธบาท ที่กาญฯ Part 1
|
เมื่อ: มิถุนายน 10, 2012, 05:28:21 pm
|
พบรอยพระพุทธบาท ที่กาญฯ Part 1
อัปโหลดโดย growthpeak เมื่อ 22 ก.พ. 2011 เมื่อเวลา 9.00 น. ของวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2554 ที่บ้านหนองสองตอน ตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี คุณป้าปราณี (ไม่ทราบนามสกุล) ได้เปิดเผยข้อมูลว่า ได้พบหินที่มีรอยคล้ายรอยพระพุทธบาท และได้กราบสักการะมาเป็นปีแล้ว จนมาถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ คุณป้าปราณีทราบข่าวมาว่า เจ้าของที่คือ จ่าสิบเอกแสวง ระเบียบ ได้ถวายหินก่อนนี้ให้กับพระสมชาย(ถามิโก) เจ้าอาวาสวัดเกาะแก้ว ตำบลหัวโพธิ์ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี คุณป้าปราณีจึงนำเรื่องมาร้องทุกข์กับผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 บ้านหนองสองตอน ตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ชื่อ นายประสงค์ ทับขำ ได้รีบไปดูหินก้อนดังกล่าว จึงเกิดกรณีพิพาทกันขึ้น ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านหนองสองตอนเป็นจำนวนมากได้ร้องขอกับจ่าสิบเอก แสวง ระเบียบ ว่าอย่านำก้อนหินที่มีรอยคล้ายรอยพระพุทธบาทซึ่งเป็นความเชื่อของชาวบ้านที่นี้ไป จนถึงเวลา 16.00 น. พระสมชาย(ถามิโก)และลูกศิษย์จำนวนหนึ่งได้เดินทางมาถึง จึงได้พบกับกลุ่มชาวบ้านที่ไม่ต้องการให้นำหินที่มีรอยคล้ายรอยพระพุทธบาทไป จึงเกิดความไม่พอใจกับคณะที่เดินทางมาจากสุพรรณบุรี จึงต้องมีการไกล่เกลี่ยกันอีกหนึ่งชั่วโมง ก่อนจะได้ข้อสรุปว่า ไม่สามารถนำก้อนหินก้อนนี้ไปได้ พระสมชาย(ถามิโก) จึงขอทำพิธีกราบสักการะบูชาก้อนหินก้อนนี้ด้วยเครื่องเซ่นไหว้พร้อมบายศรีที่นำมาแล้ว หลังจากทำพิธีดังกล่าวเป็นที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว พระสมชาย(ถามิโก)ได้กล่าวว่า ไม่ได้มีรอยเท้าแบบนี้แค่รอยเดียว แต่มีทั้งหมด 3 รอย ซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน ชาวบ้านก็ได้ทำการค้นหา และพบหินที่มีรอยคล้ายรอยพระพุทธบาทอีก 3 รอย
|
|
|
|