แสดงกระทู้
|
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to. |
Messages - kosol
|
หน้า: [1] 2
|
4
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: "ร้านกาแฟคนมีบุญ" แล้วแต่ศรัทธา - พระสงฆ์ชงเอง เปิดพื้นที่ให้ญาติโยมได้สนทนาธรรม
|
เมื่อ: มีนาคม 24, 2015, 12:01:05 am
|
มองต่างมุม ก็ เป็น ไอเดีย ดี เพราะ พระเณร เรียนการจัดการ มาแต่ไม่มีที่ฝึกงาน เหมือนชาวบ้าน สาธุ แต่มองภาพรวม แล้วไม่ดี เพราะ นั่นเป็นการลด ภาพรวม ของพระสงฆ์สามเณร อยู่ในระดับ คนทั่วไป การวางตน ในการสมควร เป็นส่วนที่ ต้องระวัง สมมุติ ว่าผมเป็นลูกศิษย์ แล้วไปถึง อาจารย์ กาแฟ หนึ่งแก้วครับ อาจารย์ ชงให้ ( นึกภาพตาม ) ยกไปนั่งดื่ม ที่เก้า อี้ เผอิญไม่มีตังค์วันนั้น ( หนี้สงฆ์เกิดแล้ว ) ความเจริญทางธรรม ด้านสติปัญญา อาจจะมากขึ้น แต่ความเห็นแก่ตัว และ เวรกรรม ก็เกิดขึ้น การปรามาส มีเกิดขึ้นแล้ว ด้วยเหตุนี้ จบข่าว ขอบคุณ สำหรับ การนำเสนอ ทำให้รู้ว่า ตอนนี้พระสงฆ์ สามเณร เปลี่ยนบทบาทไปตามการศึกษา สุพรรณ มีร้านขายขนมปัง ไปเยี่ยมมา พระเณร ทำกันแต่สี่ ตี่ห้า ไม่ต้องบิณฑบาตร ไม่ต้องสวดมนต์ เพราะหารายได้เข้าวัด ( อ๊ะ อ๊ะ อย่าให้พูด ) โอ มาย ก๊อด ร้านกาแฟ เชียงใหม่ ผมเห็นด้วยที่มี แต่ ควรให้ อุบาสก อุบาสิกา จัดการดีกว่า เหมือนวัดท่าซุง วัดเขาวง เขามีร้านกาแฟคนบุญ นะครับ แต่ไม่ฟรี นะ เคยไปนั่งดื่มมาแล้ว ก็ ok
|
|
|
12
|
เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เชิญผู้สนใจฝึกกรรมฐาน ปฏิบัติธรรมเดือน มิถุนายน 2556 คณะ 5 วัดราชสิทธาราม
|
เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2013, 10:07:52 am
|
เชิญผู้สนใจฝึกกรรมฐาน ปฏิบัติธรรมเดือน มิถุนายน 2556 ณ คณะ 5 วัดราชสิทธาราม 22 - 23 ( 2 วัน )ที่คณะ 5 และพระอุโบสถ วัดราชสิทธาราม (พลับ)
ถนนอิสรภาพ ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ โทร.084-651-7023
 ขอบคุณภาพจาก https://www.facebook.com/phrakrusittisongvon
กำหนดการ ปฏิบัติธรรมเดือนมิถุนายน 2556
วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน 2556 ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 7
เวลา 09.00-10.00 น. ลงทะเบียน รับทานอาหารเช้า
ขึ้นกรรมฐาน นั่งกรรมฐาน
เวลา 10.00 น.- 11.00 น. รับประทานอาหารเพล พักผ่อน
เวลา 13.00 น.- 14.00 น. ฟังบรรยายธรรม –ตอบปัญหา
เวลา 14.00 น.- 16.00 น. เจริญจิตภาวนา เดินจงกรม
เวลา 16.00 น.- 17.00 น. ทำวัตรสวดมนต์ ในพระอุโบสถ อุทิศส่วนกุศล
วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน 2556 แรม 15 ค่ำ เดือน 7
เวลา 06.30 น.- 08.30 น. รับประทานอาหารเช้า ทำวัตรเช้าในพระอุโบสถ
เวลา 09.30 น.- 11.00 น. นั่งกรรมฐานเดินจงกรม รับประทานอาหารเพล
เวลา 13.00 น.- 14.00 น. ฟังธรรมบรรยาย
เวลา 14.00 น.- 16.00 น. เจริญจิตภาวนา เดินจงกรม ทำธุระส่วนตัว
เวลา 16.30 น.- 17.00 น. ทำวัตรเย็น ในพระอุโบสถ ลาศีล
ที่มาข่าวสาร http://www.somdechsuk.org/node/297
|
|
|
22
|
ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม อยู่สูตร นี้นะครับ
|
เมื่อ: มกราคม 25, 2013, 01:39:00 am
|

************************************************** ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม
บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม
ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน คือ กรรมที่ให้วิบากใน นรกก็มี กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี เปรตวิสัยก็มี มนุษย์โลกก็มี เทวโลกก็มี
วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน คือ เราย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑ กรรมที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑ กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆไป ๑
ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม
************************************************** นิพเพธิกสูตร เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๙๖๑๑ - ๙๗๕๓. หน้าที่ ๔๑๘ - ๔๒๔
|
|
|
29
|
กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เมตตา กรรมฐานถ้าจะฝึกกรรมฐาน นี้ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร บ้างคะ
|
เมื่อ: ธันวาคม 01, 2012, 10:50:33 am
|
จะกล่าวว่า พรหมวิหารกรรมฐาน นั้นเป็นกรรมฐานที่ต้องเป็น อุปจาระสมาธิ ขึ้นไปนั้นน่าจะยังไม่ถูก 1.ความปรารถนา ให้ทุกคนและตนเอง เป็นผู้มีความสุข ย่อมทำให้ใจไม่กระด้าง และไม่คิดเบียดเบียนใคร 2.ความปรารถนา ที่อยากจะช่วยคนให้พ้นจากทุกข์ภัย เป็นคุณสมบัติของมนุษย์นะครับ 3.ความปรารถนา ที่พลอยยินดีในความเป็นมนุษย์ ของผู้อื่น ย่อมส่งเสริมกรรมฐาน คือ มีจิตเป็นกุศล 4.ความปรารถนา การปล่อยวาง เป็นคุณสมบัติระงับเวรภัย ครับ ที่มาจากเมล ของพระอาจารย์ อ่านกันไปก่อนนะครับ 
|
|
|
31
|
กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เมื่อเพื่อน ผมคนหนึ่ง ได้สรุปว่า การปฏิบัติแท้จริง ไม่มี ไม่มีอะไรทั้งสิ้น ทุก..
|
เมื่อ: ธันวาคม 01, 2012, 10:30:49 am
|
เห็นด้วยครับ เพราะผมเองก็อยากถกประเด็น เรื่อง ที่พูดถูกหรือผิด ก่อนนะครับ
การปฏิบัติแท้จริง ไม่มี ไม่มีอะไรทั้งสิ้น ทุกอย่างเป็นเพียง สุญญตา คือ ความว่างเปล่าเท่านั้น ไม่มีศาสนา ไม่มีพุทธ ไม่มี .... และ ก็ไม่มี ...
1. คำตอบ ก็ คือ ไม่ถูก ทั้งหมด อาจจะถูกเพียง 30 เปอร์เซ็นต์ นะครับ ไม่ใช่ปฏิเสธว่า ไม่ถูกเสียทั้งหมด 2. คำตอบ คือ ไม่เห็นด้วย และไม่ยอมรับ เพราะขัดกับหลักการของธรรม คือ ผู้ที่ถึงธรรม ควรเข้าถึงการละกิเลส การละสิ่งเสพติด ก็ควรเป็นส่วนหนึ่งของการละกิเลส ครับ 3. การปฏิบัติที่แท้จริง นั้น ต้องผ่านไปเป็นลำดับ มีการเข้าถึงไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่ ศีล สมาธิ ปัญญา ภูมิธรรมไปตามลำดับ การบรรลุธรรม ก็ต้องเข้าผ่านไปตามลำดับ การผ่านตามลำดับ ก็คือ ภาวนาและปฏิบัติธรรม กรรมฐาน ดังนั้น จะกล่าวว่าไม่มี เลยไม่ได้ เพราะรูปนามที่เป็นกายขันธ์ ก็ยังมีอยู ที่ไม่มีเป็นเพียงแต่การบรรลุธรรม ที่เรียกว่า คลายอุปาทาน ความยึดมั่น ถือมั่น ว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา ซึ่งจากการศึกที่เว็บนี้มาระดับนี้เรียกว่า พระโสดาบัน เท่านั้น
ก็เบื้องต้นเท่านี้นะครับ ดังนั้น ขอท่านผู้รู้ทุกท่าน ชี้นำกันต่อนะครับ
1. ดังนั้นจะเห็นว่า ประเด็น จริง ๆ คือ ผู้ถามเห็นว่า ถูกก็มีส่วนหนึ่ง แต่ไม่ถูกทั้งหมด จากที่ผมอ่านข้อความ ก็คือ การปฏิบัติแท้จริง ไม่มี ไม่มีอะไรทั้งสิ้น ทุกอย่างเป็นเพียง สุญญตา คือ ความว่างเปล่าเท่านั้น ไม่มีศาสนา ไม่มีพุทธ ไม่มี .... และ ก็ไม่มี ... ขอถอดประเด็น ดังนี้ ครับ 1. การปฏิบัติแท้จริง ไม่มี ไม่มีอะไรทั้งสิ้น 2. ทุกอย่างเป็น สุญญตา คือความว่างเปล่า เท่านั้น 3. ในที่นี้ความว่างเปล่า ยกตัวอย่างว่า ไม่มีศาสนา ไม่มีพุทธ ไม่มี และก็ไม่มี ผมจับ 3 ประเด็นนี้ ก็ยังไม่ได้ขอตอบ หรือ ถูก หรือ ผิด แต่ขอแสดงความเห็น ไปตามหัวข้อนะครับ 1. การปฏิบัติแท้จริง ไม่มี ไม่มีอะไรทั้งสิ้น อันนี้ไม่น่าจะใช่ การปฏิบัติ ก็คือ การทำตามอริยะมรรค มีองค์ 8 ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ ครับ ดังนั้นกล่าวว่าการปฏิบัติแท้จริง ไม่มีอะไรทั้งสิ้นนั้นเป็นคำพูดที่ยังไม่ถูก เพราะการปฏิบัติที่แท้จริงต้องประกอบ ด้วย สัมมาทิฏฐิ เป็นต้น สัมมาสมาธิ เป็นที่สุด 2.ทุกอย่างเป็น สุญญตา คือความว่างเปล่า เท่านั้น อันนี้ผมว่า เป็นหลุดโลก แบบโลกียะวิสัย เพราะพวกนี้ส่วนใหญ่ เข้า ใจ อรูปกรรมฐาน เป็น นิพพานกัน เช่น เวิ้งว้างว่างเปล่า หาประมาณมิได้ ไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ ไม่มีอะไรใด ๆ เลย ซึ่งเริ่มตั้งแต่ อากาสนัญจายนะฌาน อากิญจัญญาตนะฌาน วิญญานัญจายตะฌาน และ เนวนาสัญญายตะฌาน ซึ่ง อรูปฌานทั้ง 4 ให้ความรู้สึกต่อจิตว่า ไม่มีอะไร เป็นเพียงแต่ความเปล่า ซึ่ง ไม่ใช่ความหมายของคำว่า สุญญตา สุญญาตา เป็นผล จากการที่จิตเห็นธรรม ทั้งหลายทั้งปวง ว่าเป็น อนัตตา การเห็นว่าเป็น อนัตตา คือ ตา เห็ฯ รูป สักว่า นั่นคือรูป ว่างจากเรา ว่างจากของเรา ว่างตัวตนของเรา เป็นต้น การเห็นว่าเป็นสักว่า ไม่ใช่เรา คือ คลายยึดมั่นถือมั่น ว่าเป็นเรา ของเรา ทางจิตอย่างนี้ 3.พระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสว่า เราเป็นพุทธะ อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสว่า เราไม่ได้เป็นอะไร ตลอด 45 ปี พระองค์ตรัสเรียกพระองค์ว่า ตถาคต สัมมาสัมพุทธะ พุทธะ ศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย ครูผู้สอนเทวดาและมนุษย์ ดังนั้นจะป่วยการไปกล่าวกับบุคคลที่ไม่ใช่พระพุทธเจ้า ว่าเราไมได้เป็นอะไร นั้นทำไม เพราะทุกคนเป็นตามที่ควรจะเป็น เพราะความเป็น นั้นเป็นสัจจะ แต่ภายในความไม่เป็นไม่ต้องกล่าวเพราะมองไม่เห็น ต้องภาวนาเท่านั้นถึงจะเห็น นะครับ ก็คงช่วยในคำตอบได้ไม่มาก ก็ขอให้ท่านผู้รู้ท่านอื่นมาแสดงเหตุผลกันต่อไปนะครับ 
|
|
|
32
|
กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เมื่อเพื่อน ผมคนหนึ่ง ได้สรุปว่า การปฏิบัติแท้จริง ไม่มี ไม่มีอะไรทั้งสิ้น ทุก..
|
เมื่อ: ธันวาคม 01, 2012, 10:10:12 am
|
การปฏิบัติแท้จริง ไม่มี ไม่มีอะไรทั้งสิ้น ทุกอย่างเป็นเพียง สุญญตา คือ ความว่างเปล่าเท่านั้น ไม่มีศาสนา ไม่มีพุทธ ไม่มี .... และ ก็ไม่มี ...

ขอตัดประเด็นเรื่อง คน ออกก่อน นะครับ เพราะผมคิดว่า ถ้าไปตอบเรื่องคน ไม่จบปัญหา เพราะอคติ ปุถุชนอาจจะทำให้เขวในคำถาม กัน ดังนั้นผม เอาประเด็น ที่คุณถามว่า การปฏิบัติแท้จริง ไม่มี ไม่มีอะไรทั้งสิ้น ทุกอย่างเป็นเพียง สุญญตา คือ ความว่างเปล่าเท่านั้น ไม่มีศาสนา ไม่มีพุทธ ไม่มี .... และ ก็ไม่มี ... ตรงนี้ใช่หรือไม่ครับว่า ต้องการคำตอบเบื้องต้นว่า 1.ถูก หรือ ไม่ถูก 2.ถ้าถูก ก็ ไม่ต้องอธิบาย 3.ถ้าไม่ถูก ก็ต้องตอบแก้ให้ถูกต้องก่อนใช่หรือไม่ครับ ดังนั้นขอถามย้อนกลับไปว่า 1. คุณคิดว่า ถูก หรือ ไม่ถูก ก่อนครับ 2. ถ้าถูก ก็ ต้องยอมรับ สิ่งที่เขาพูด ว่าถูก แต่การยอมรับ นี้เป็นการยอมรับ ธรรมะว่าถูก แต่ไม่ใช่ว่า ยอมรับพฤติกรรมของผู้พูดว่าจะถูก เพราะทุกวันนี้ มีการใช้พระธรรม เป็นเครื่องมือหากินอยู่รอดกันมากมาย ต่างวิธีการไป เช่นพระบางรูปแสดงธรรมได้ไพเราะหมดจด ฟังแล้วเคลิบเคลิ้ม แต่ไม่ได้ปฏิบัติตามที่ตนเองพูดสอนก็มีครับ เป็นต้น ดังนั้น ถูก คือการยอมรับ ว่าพระธรรม ถูก ไม่ใช่ยอมรับ ผู้พูดว่า มี พฤติกรรมที่ถูก นะครับ 3.ถ้าไม่ถูก ให้อธิบายให้ฟังหน่อย ครับว่า ไม่ถูกอย่างไร ครับ มาร่วมสนทนาด้วยนะครับ
|
|
|
38
|
ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕
|
เมื่อ: ตุลาคม 17, 2012, 01:22:44 pm
|
องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕
[๕๑๘] ดูกรราชกุมาร องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ เหล่านี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ เป็นไฉน? ๑. ดูกรราชกุมาร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม.
๒. เธอเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เห็นปานกลางควรแก่ความเพียร.
๓. เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เปิดเผยตนตามความเป็นจริง ในพระศาสดาหรือในเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูทั้งหลาย.
๔. เธอเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้เข้าถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.
๕. เธอเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอันเห็นความเกิดและดับเป็นอริยะ สามารถชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ. ดูกรราชกุมาร องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้แล ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่ง ภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้แล เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ได้ [ใช้เวลาเพียง] เจ็ดปี. ดูกรราชกุมาร เจ็ดปีจงยกไว้.
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ได้. [ใช้เวลาเพียง] หกปี ...ห้าปี ... สี่ปี ... สามปี ... สองปี ... หนึ่งปี. ดูกรราชกุมาร หนึ่งปีจงยกไว้.
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ได้ [ใช้เวลาเพียง] เจ็ดเดือน. ดูกรราชกุมาร เจ็ดเดือนจงยกไว้.
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำพึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ได้ [ใช้เวลาเพียง]หกเดือน ... ห้าเดือน ... สี่เดือน ... สามเดือน ... สองเดือน ... หนึ่งเดือน. ดูกรราชกุมาร ครึ่งเดือน จงยกไว้.
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำพึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ได้ [ใช้เวลาเพียง] เจ็ดคืน เจ็ดวัน. ดูกรราชกุมาร เจ็ดคืนเจ็ดวันจงยกไว้.
ภิกษุประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ได้ [ใช้เวลาเพียง] หกคืนหกวัน ... ห้าคืนห้าวัน ... สี่คืนสี่วัน ... สามคืน...สามวัน ... สองคืนสองวัน ... หนึ่งคืนหนึ่งวัน. ดูกรราชกุมาร หนึ่งคืนหนึ่งวันจงยกไว้.
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ ตถาคต สั่งสอนในเวลาเย็น จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเช้า ตถาคตสั่งสอนในเวลาเช้า จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเย็น. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โพธิราชกุมารได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้ามีพระคุณเป็นอัศจรรย์ พระธรรมมีพระคุณเป็นอัศจรรย์ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วเป็นอัศจรรย์ เพราะภิกษุที่พระผู้มีพระภาคทรงสั่งสอนในเวลาเย็น จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเช้า ที่พระผู้มีพระภาคทรงสั่งสอนในเวลาเช้า จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเย็น. (๕/๕๑๘)
|
|
|
39
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / จ่อยุบโรงเรียนพระปริยัติธรรม 50 แห่ง
|
เมื่อ: ตุลาคม 17, 2012, 01:20:48 pm
|
วันนี้ (9 ต.ค.)นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า ขณะนี้นอกจาก พศ. จะเร่งจัดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านพระพุทธศาสนา (บี-เน็ต) หรือว่า B-net -Buddhism National Educational Test) ให้กับสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาทั้งประเทศ 16,000 รูป เพื่อใช้วัดระดับมาตรฐานความรู้ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาของคณะสงฆ์แล้วนั้น ตนได้มอบนโนบายให้เร่งดำเนินการพัฒนาคุณภาพและแก้ปัญหาการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ โดยเฉพาะเรื่องการสอนบาลีเสริมเข้าไปในชั้นเรียนและการบริหารทรัพยากรร่วมกันด้วย เนื่องจากการสำรวจพบว่าโรงเรียนพระปริยัติธรรมขนาดเล็กที่มีอยู่ประมาณ 50 แห่ง มีอัตราครูสอนน้อยไม่ครบตามรายวิชาที่ตั้งไว้ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายเรียนฟรี 15 ปีเด็กส่วนใหญ่หันไปเรียนการศึกษาภาคบังคับหมด มาบวชเรียนจึงน้อยลงเรื่อยๆ
นายนพรัตน์ กล่าวต่อไปว่า ส่วนที่บวชเรียนอยู่บางรูปไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่าย ค่าเดินทาง เพราะอาศัยอยู่วัดห่างไกล ทำให้จำนวนนักเรียนมีแนวโน้มลดลงจากปี 2554 มีนักเรียน 56,000 รูป ในปี 2555 มียอดนักเรียนเหลือเพียง 54,000 รูปเท่านั้น โรงเรียนบางแห่งมีนักเรียนแค่ 3 ห้องๆ ละ30 รูป ซึ่งถือว่าน้อยมาก หากปล่อยทิ้งไว้อาจมีแนวโน้มโรงเรียนพระปริยัติธรรม ขนาดเล็กอาจจะต้องถูกยุบในที่สุด อย่างไรก็ตามแนวทางแก้ไขเฉพาะหน้านั้น ทาง พศ.จะเร่งจัดสรรงบประมาณที่มีอยู่ 1,100 ล้านบาทลงไปเพื่อช่วยเหลืออย่างเต็มที่ และจะเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนที่เป็นพระสงฆ์มาช่วยสอนมากขึ้น เพื่อให้พระสงฆ์ที่มีความรู้ความสามารถจะมีทักษะประสบการณ์ในการสอนเด็กให้มีคุณภาพ
“ส่วนโรงเรียนที่มีสามเณรเรียนน้อยจริงๆ อาจจะให้ยุบรวมกับโรงเรียนใกล้เคียงแล้วสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทาง รถโดยสารให้ ส่วนการแก้ไขปัญหาระยะยาวจะต้องเร่งสร้างแรงจูงใจให้เด็กเข้ามาบวชเรียน นอกเหนือจากทุนเล่าเรียนหลวงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน เพื่อพัฒนาวงการศึกษาคณะสงฆ์แล้ว ตนจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดหาทุนเรียนฟรีถึงปริญญาเอกให้สามเณรที่เรียนดีด้วย” ผอ.พศ. กล่าว
http://www.dailynews.co.th/education/159937
|
|
|
|