ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถาม ปวารณา คืออะไร ครับ ไม่ค่อยจะเข้าใจ  (อ่าน 1400 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ถาม ปวารณา คืออะไร ครับ ไม่ค่อยจะเข้าใจ

ตอบ ปวารณา คือ จิตที่เป็นกุศล คำกล่าวแสดงตน ให้ผู้อื่นเรียกร้อง แสดงความเห็น มาสู่ตนได้

ปวารณา ในพุทธศาสนา จำแนกออกเป็น ๓ แบบ ที่ใช้กัน ทั่วไปคือ
๑. ปวารณา ที่ เป็น ภิกษุ ต่อ ภิกษุ อันนี้จะเห็นชัดเจนในวันมหาปวารณา หรือวันออกพรรษา เพื่อให้ผู้อื่น แสดงความเห็นต่อตน ในการปรับปรุงตน หรือ ชี้แจงปัญหา ต่อตน ได้ทุกกรณี ในที่นี้ พระพุทธเจ้า ทรงหมายถึง พระที่ภันเต ควรได้กล่าวคำปวารณา ให้ อาวุโส ชี้ข้อบกพร่อง เพราะโดยปกติ อาวุโส ไม่มีสิทธิ์ไปกล่าวติเตียนแสดงความเห็น ต่อ ภันเต ได้ อันนี้เป็นโดยทางวินัย

แต่ในปัจจุบัน ก็ไม่ได้เป็นไปอย่างนั้น เพราะ การประกาศความผิดของผู้อื่น ไม่ว่าจะภันเต หรือ อาวุโส นั้น ไม่มีความเหมาะสมในปัจจุบัน เพราะว่า การอยู่ร่วมกันของสงฆ์ ปัจจุบันนั้น เป็นการอยู่อย่างจริงจัง ถาวร ไม่ใช่แบบเมื่อก่อน คือ ออกพรรษา แล้วต่างคนต่างไป เมื่อเข้าพรรษาแล้วกลับมา ดังนั้นการอยู่จริงจังถาวร เมื่อประกาศ ความไม่ดี หรือ สงสัย ข้อบกพร่อง ของ กัน และ กัน ไม่นำมาซึ่งความสงบสุข เพราะ คุณธรรมไม่เสมอกัน ดังนั้ันจากประสบการณ์ ชีวิตสงฆ์ ไม่เห็นประโยชน์ ในวันมหาปวารณา เลย พอ ๆ กับ การฟัง ปาฏิโมกข์ ซึ่งมันเหลือแค่ พิธี เท่านั้นในปัจจุบัน

๒.ปวารณา ที่เป็น คฤหัสถ์ ต่อ ภิกษุ สำหรับ คฤหัสถ์ มีการปวารณา อยู่ด้วยเหตุเดียว คือ การเข้ามาอุปถัมภ์ อุปการะ ต่อ ภิกษุ ที่ตนได้ปวารณา โดยการปวารณา นั้น มีการปวารณา อยู่ โดยการจำกัดเวลา และไม่จำกัดเวลา

๒.๑ กล่าวคำปวารณา ไม่เจาะจงเวลา การกล่าวคำปวารณา โดยไม่เจาะจงนั้น หากภิกษุ ผู้รับปวารณาไม่อาพาธ ให้ภิกษุยินดี การปวารณา นั้น เพียง ๔ เดือนเท่านั้น หลังจาก ๔ เดือนหากผู้ปวารณา ไม่กล่าวคำปวารณาใหม่ ให้ถือว่า สิ้นสุดการปวารณา ทันที ภิกษุไม่สามารถเรียกร้อง การอุปถัมภ์ อุปการะ จากผู้ปวารณาได้

๒.๒ กล่าวคำปวารณา เจาะจงเวลา ก็ตามที่ผู้ปวารณา ระบุเวลา

๒.๓ กล่าวคำปวารณา เจาะจง ปัจจัย ๔ คือ ผู้ปวารณาได้กล่าวคำปวารณา เจาะจงด้วย ปัจจัย ๔ จะทั้งหมด หรือ อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ภิกษุเรียกรับอุปการะ อุปถัมภ์ ได้เพียงสิ่งที่เจาะจงเท่านั้นไม่สามารถเรียกร้อง มากกว่าสิ่งที่เจาะจง

===========================================การปวารณา แบบ พิเศษ เป็นได้ทุกรณี

๑.การขอนิสสัย และ รับบุคคลเข้านิสสัย ( การรับเป็นอุปัชฌาย์ และ ศีษย์ ครูอาจารย์ )

ธุระของ เธอ เป็นของฉัน
ธุระของ ฉัน ก็เป็นของเธอ

อุปัชฌาย์ จะกล่าวไว้ในวันบวช พร้อมรับนิสสัย เป็นผู้ปกครอง เปรียบเสมือน พ่อ และ แม่ ในตัวของภิกษุ ผู้มาบวช ด้วย ดังนั้นอุปัชฌาย์ จึงต้องรับภาระ ในการดูแลภิกษุรูปนั้น ด้วย ปัจจัย สี่บ้าง ด้วยการสั่งสอน อบรมบ้าง อันเกี่ยวเนื่องด้วย ธุระ

ธุระ ในพุทธศาสนา มีอยู่ ๒ ประการ

คือ ๑ คันถธุระ ให้ความรู้ การศึกษา ด้านการดำรงชีพแบบภิกษุ ไม่ว่า อะไรที่เกี่ยวข้อง ก็ให้สอน ให้สนับสนุน อาทิ การย้อมผ้า การดูแลเสนาสนะ เป็นต้น

๒. วิปัสสนาธุระ ให้ความรู้ การศึกษา ในการทำกิจตรงของพุทธศาสนา นั่นก็คือไปสู่ ความเป็นพระอริยะ

ดังนั้น ความสัมพันธ์ ในด้านการปวารณา ทาง ศิษย์กัจจายนะ คือ ประเภทที่ ๓ ซึ่งรวมถึง ภิกษุ และ คฤหัสถ์ ด้วย ซึ่งความสัมพันธ์อย่างนี้ ต้องมีการยกถาด ถวายมอบตัวเป็นศิษย์ จักช่วยดูแลซึ่งกันและ กัน เป็นการปวารณา ถาวร

สรุป ศิษย์กรรมฐาน ทุกคน เท่ากับปวารณา กับ พระอาจารย์ ทุกคนว่า เราจะดูแลซึ่งกันและกัน จนกว่าจะตายจากกัน ประมาณนี้ ดังนั้น ศิษย์กรรมฐาน ไม่จำเป็นต้องกล่าวคำปวารณา ๒ แบบข้างต้น เพราะ โดยธรรมชาติ ของครุอาจารย์ ย่อมไม่ทำให้ ศิษย์ เดือดร้อน ทุกวันนี้คนไหน เลิกนับถือ พระอาจารย์ก็ไม่ได้ตัดสิทธิ์ ในการเข้าศึกษาพระกรรมฐาน หรือ ปรึกษาทางด้านกรรมฐานเลย แต่ลูกศิษย์ จะช่วยหรือไม่ช่วย ก็ตามนั้น

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ