ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถาม สักกายทิฏฐิ หมายถึงอะไร และการพิจารณาทุกข์ ทำอย่างไร  (อ่าน 315 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ถาม สักกายทิฏฐิ หมายถึงอะไร และการพิจารณาทุกข์ ทำอย่างไร
ตอบ  แม่บทย่อย สักกายะ คืออะไร
=====================================
สกฺกาโยติ ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา. สกฺกายสมุทโยติ เตสํ
นิพฺพตฺตกา ปุริมตณฺหา. สกฺกายนิโรโธติ อุภินฺนํ  อปฺปวตฺติภูตํ นิพฺพานํ.
มคฺโค ปน นิโรธาธิคมสฺส อุปายตฺตา นิโรเธ คหิเต คหิโต วาติ
เวทิตพฺโพ.
  ทุกฺขทุกฺขตาติ ทุกฺขภูตา ทุกฺขตา. ทุกฺขเวทนาเยตํ นามํ.
สงฺขารทุกฺขตาติ สงฺขารภาเวน ทุกฺขตา. อทุกฺขมสุขาเยตํ  อทุกฺขมสุขาเวทนาเยตํ สงฺขตตฺตา อุปฺปาทชรา ภงฺคปีฬิตา, ตสฺมา อญฺญทุกฺขสภาววิรหโต สงฺขารทุกฺขตาติวุตฺตา. วิปริณามทุกฺขตาติ วิปริณาเม ทุกฺขตา. สุขเวทนาเยตํ นามํ, สุขสฺสหิ วิปริณาเม ทุกฺขํ อุปฺปชฺชติ, ตสฺมา สุขํ วิปริณามทุกฺขตาติ วุตฺตํ. อปิจ ฐเปตฺวา ทุกฺขเวทนํ สุขเวทนญฺจ สพฺเพปิ เตภูมิกา ธมฺมา "สพฺเพ สงฺขาราทุกฺขา"ติ  วจนโต สงฺขารทุกฺขตาติ เวทิตพฺพา.
------------------------------------------------------------------
คำว่า สกฺกาโย หมายถึง อุปาทานขันธ์ ทั้ง ๕.
               คำว่า สกฺกายสมุทโย หมายถึง ตัณหาในเบื้องต้นอันเป็นตัวทำให้เกิดอุปาทานขันธ์เหล่านั้น. คำว่า สกฺกายนิโรโธ หมายถึง ความดับที่ทำให้อุปาทานขันธ์และตัณหาทั้งคู่นั้นเป็นไปไม่ได้. ส่วนมรรคพึงทราบว่า เมื่อกล่าวถึงนิโรธแล้วก็เป็นอันกล่าวถึงด้วยทีเดียว เพราะเป็นอุบายแห่งการบรรลุนิโรธ.
               คำว่า ทุกฺขทุกฺขตา หมายเอาทุกข์เพราะเป็นทุกข์. คำนี้เป็นชื่อของทุกขเวทนา.
               คำว่า สงฺขารทุกฺขตา หมายเอาทุกข์เพราะความเป็นสังขาร. คำนี้เป็นชื่อของอทุกขมสุขเวทนา. ความเป็นทุกข์เพราะสังขารนั้นมีความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ถูกความแตกดับบีบคั้น เพราะเป็นสภาพที่ถูกปรุงแต่ง เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวความเป็นทุกข์เพราะสังขารไว้ โดยเว้นจากสภาวะแห่งทุกข์อื่น.
               คำว่า วิปริณามทุกฺขตา หมายเอาทุกข์เพราะแปรปรวนไป. คำนี้เป็นชื่อของสุขเวทนา. แท้จริง เพราะสุขแปรปรวนไป ทุกข์จึงเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกสุขว่า ทุกข์เพราะแปรปรวน.
               อีกประการหนึ่ง ธรรมทั้งปวงอันเป็นไปในภูมิ ๓ เว้นทุกขเวทนาและสุขเวทนา พึงทราบว่าทุกข์เพราะสังขาร โดยพระบาลีว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
-----------------------------------------------
สักกายทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นที่ยึดมั่นถือมั่นต่อขันธ์ทั้ง 5 ว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวเป็นตนเป็นเราของเรา
การพิจารณาทุกข์ พิจารณา 3 อย่าง
ทุกข์ คือ ความทุกข์เป็นความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ทุกข์ คือ ความทุกข์มีเกิดดับเสื่อมไปเพราะการปรุงแต่ง
ทุกข์ คือ ความแปรปรวนที่ไมคงที่เพราะสุขดับไป
เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ