เชิญสมทบทุนบริจาคได้ที่ คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม ซ.อิสรภาพ ๒๓
แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023
หรือ โอนเข้าบัญชี ธ.กสิกรไทย สาขาโพธิ์สามต้น
บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 067-2-83847-9 ในนามพระวีระ สุขมีทรัพย์
(link ข้อมูลและภาพที่เกี่ยวข้องในfacebookเพื่อสะดวกในการ share+Tagส่งข้อมูลต่อๆกันไปครับ
https://www.facebook.com/events/437146979732592/ )
========================================
สวัสดีครับทุกท่าน
ในขณะนี้พระอาจารย์วีระ หรือพระครูสิทธิสังวร เจ้าคณะ5 วัดราชสิทธาราม(พระอาจารย์ผู้สืบทอดกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับยุคนี้)
มีความประสงค์ที่จะเปลี่ยนหลังคาอาคารกรรมฐานหลักที่คณะสองส่วนด้วยกันคือ
๑ ด้วยหลังคาเดิมบางส่วนหน้ากุฎิหลวงพ่อพระครูวีระนั้นค่อนข้างเก่าแล้ว สังเกตจากภาพด้านล่างได้ว่ามีรอยรั่ว และแตกจำนวนหลายแห่งเวลาฝนตกหนักมีน้ำรั่วซึมออกมามาก ทำให้การเดินเข้าออกมีความไม่สะดวกอย่างมากโดยเฉพาะจุดนั้นเป็นทางเดินเข้าห้องกรรมฐานหลักด้วยครับ(ห้องกรรมฐานหลักอยู่ทางซ้ายมือ)
๒ หลังคาด้านหลังอาคารกรรมฐาน(ทางประตูด้านหลัง)มีช่องรางน้ำทำให้เวลาฝนตกหนักมีน้ำรั่วซึมออกมาเช่นกันทำให้พระในคณะ๕มีความไม่สะดวกเวลาออกไปทำศาสนกิจ
ดังนั้นด้วยเหตุปัจจัยที่ว่ามาข้างต้นหลวงพ่อพระครูวีระจึงมีดำริที่จะเปลี่ยนและบูรณะหลังคาใหม่ครับหลังคาใหม่นี้จะออกแบบอย่างดีเพื่อที่ญาติธรรมที่มาขึ้นกรรมฐานจะได้เดินทางเข้าออก ปฎิบัติภาวนาจะได้มีความสะดวกสบายมากขึ้นด้วยครับส่วนงบประมาณที่จะใช้ตกอยู่ที่ราวๆ 100,000- 150,000บาทโดยประมาณครับ



รูปหลังคาเดิมบางส่วนหน้ากุฎิหลวงพ่อพระครูวีระครับ
==========================
หลังคาด้านหลังอาคารกรรมฐาน(ทางประตูด้านหลัง)มีน้ำรั่วซีมอยู่เรื่อยๆเวลาฝนตกครับ


===========================================================
[size=20pt]
ในการร่วมสร้างหลังคาเป็นวิหารทานในพระพุทธศาสนาครั้งนี้พระอาจารย์วีระ (หลวงพ่อจิ๋ว ) ได้เมตตาเปิดโอกาสให้ท่านสาธุชนที่อยากร่วมบุญ สามารถร่วมบุญได้ เรื่อยๆนะครับ
ร่วมบุญสร้างหลังคาเป็นวิหารทานในพระพุทธศาสนาโดยโอนเงินไปที่ ธนาคาร กสิกรไทย สาขาโพธ์สามต้น บัญชีเลขที่ 067-2-83847-9 บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี พระวีระ สุขมีทรัพย์(ร่วมสร้างหลังคาเป็นวิหารทานในพระพุทธศาสนา)
ท่านที่ต้องการร่วมบุญสร้างหลังคากรุณา โอนเงินโดยปิดการลงท้ายจำนวนด้วยเลข .99 สตางค์ในทุกครั้งที่โอนด้วยนะครับ
ตัวอย่างเช่น ท่านต้องการโอน100 บาทก็โอนด้วยจำนวน 100.99 เป็นต้นครับ
(สาเหตุที่ต้องกำหนดเช่นนี้เพราะเพื่อที่หลวงพ่อจะได้ทราบในเจตนาการโอนครั้งนี้ว่าเป็นไปเพื่อการร่วมร่วมสร้างหลังคาเป็นวิหารทานครับผม) ===============
ความสำคัญและอานิสงค์ที่จะได้ในการร่วมบุญสร้างหลังคาเป็นวิหารทานครั้งนี้
1. หลังคาเปรียบเสมือนร่มคุ้มแดดค้มฝนท่านที่ได้ร่วมบุญนี้ก็จะได้อานิสงค์เช่นกันคือคุ้มครองท่านจากภัยทั้งหลาย และมีความสงบสุขร่มเย็นในชีวิต
2. หลังคาใหม่นี้จะออกแบบอย่างดีเพื่อที่ญาติธรรมที่มาขึ้นกรรมฐาน ปฎิบัติภาวนาจะได้มีความสะดวกสบายมากขึ้นด้วย เมื่อผู้ที่มาขึ้นกรรมฐาน มาปฎิบัติธรรมบำเพ็ญเพียรภาวนามีความสะดวกสบายภาวนาได้ดีอานิสงค์ที่ช่วยเหลือผู้ปฎิบัติธรรมนั้นย่อมถึงท่านอย่างแน่นอน
3.ได้บุญบารมีทางธรรมเพิ่ม เพราะอาคารหลังนี้เป็นอาคารหลักที่ใช้เมื่อมีผู้มาขอขึ้นกรรมฐานมัชฌิมาฯและ มาปฎิบัติธรรมครับ
ภาวนามีความสะดวกสบายภาวนาได้ดีอานิสงค์ที่ช่วยเหลือผู้ปฎิบัติธรรมนั้นย่อมถึงท่านอย่างแน่นอน
======================================
กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับมีความสำคัญอย่างไร
1. ในปัจจุบันกรรมฐาน ๔๐ และแนวกรรมฐานแบบมัชฌิมากำลังจะสาบสูญไปตามกาลเวลานับจากที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระโสณะและพระอุตตระมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาและกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ(กรรมฐานมาตรฐานแบบโบราณ)ในภูมิภาคนี้
ช่วงนี้ถือว่าเป็นรอยต่อที่อันตรายที่สุดเพราะแทบไม่มีผู้สนใจศึกษากรรมฐาน ดั้งเดิมที่สืบทอดมาแต่พุทธกาลแล้วแต่ ด้วยพระอาจารย์วีระ คณะ ๕ วัดราชสิทธารามได้ดำเนินการอนุรักษ์ไว้ กรรมฐานแนวทางนี้จึงไม่สาบสูญ เห็นควรอย่างยิ่งที่จะได้รักษาตามแบบแผนไว้
ข้อมูลอ้างอิง....
พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับสำหรับพระพุทธศาสนาในไทยนั้นสำคัญมากจนมี การเล่าขานว่า พระมหากษัตริย์ในแทบจะทุกยุคของไทยแลแถบสุวรรณภูมิตั้งแต่สมัย ทวารวดี สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้ทรงให้ความใส่ใจและทรงศึกษาเพื่อรักษา พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับให้คงอยู่ตลอดมา รัชกาลที่1-2-3-4นั้นก็ยังทรงศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับนี้กับสมเด็จ พระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)
อีกทั้งล้นเกล้ารัชกาลที่สองยังทรงมีพระบรมราชโองการสังคายนาพระกัมมัฏฐานแบบลำดับเพราะ
ทรงเล็งเห็นว่าจะเป็นภัยแก่พระศาสนาที่คนรุ่น ต่อไปจะหา ของจริงที่ถูกต้องไว้เล่าเรียนไม่ได้จึงทรงมีพระบรมราชโองการ ให้ทำ สังคายนาพระกัมมัฏฐานแบบลำดับ ไว้เป็นหมวดหมู่ (แต่กรรมฐานมัชฌิมามากระจัดกระจายและค่อยๆหายไปยุคปลายรัชกาลที่๔เพราะการแยกนิกายครับ)
สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงพระเกียรติคุณเป็นที่เลื่องลือพระองค์หนึ่งในยุครัตนโกสินทร์ ทรงพระคุณพิเศษในด้านวิปัสสนาธุระ(ซึ่งคือกรรมฐานแบบลำดับ;หรือกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ)จนมีพระฉายานามอันเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ประชาชนว่า “พระสังฆราชไก่เถื่อน” เพราะทรงสามารถแผ่พรหมวิหารธรรมให้ไก่ป่าเชื่องเป็นไก่บ้านได้[/size]


ครั้น พ.ศ. ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นปฐมรัชกาลแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์, เมื่อได้ทรงจัดการข้างฝ่ายอาณาจักรเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ได้ทรงพระราชดำริจัดการข้างฝ่ายพุทธจักรเพื่อทำนุบำรุง พระพุทธศาสนา ซึ่งเสื่อมโทรมเศร้าหมองเพราะการจลาจลวุ่นวายในบ้านเมือง
จึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระราชาคณะในตำแหน่งต่างๆตามโบราณราชประเพณี และได้ทรงแสวงหาพระเถระผู้ทรงคุณพิเศษจากที่ต่างๆมาตั้งไว้ในตำแหน่งที่สมควร เพื่อช่วยรับภาระ ธุระทางพระพุทธศาสนาสืบไป และก็ในคราวนี้เองที่ได้ทรง “โปรดให้นิมนต์พระอาจารย์วัดท่าหอย คลองตะเคียน แขวงกรุงเก่า มาอยู่วัดพลับ ให้เป็นพระญาณสังวรเถร” (๒) พระอาจารย์วัดท่าหอยดังกล่าวนี้ก็คือ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) นั่นเอง
สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ทรงเป็นที่ทรงเคารพนับถือเป็นอันมากของพระบรมราชวงศ์มาแต่ครั้งรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๓ รัชกาลที่ ๔ปรากฏนามพระญาณสังวรเถร เป็นพระกรรมวาจาจารย์แทบทุกพระองค์ นับแต่คราวทรงผนวชพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิสรสุนทร เป็นต้นมา ดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร

สำหรับวัดพลับ หรือวัดราชสิทธารามนั้น นับแต่สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ได้มาอยู่ครองแต่ครั้งยังทรงเป็นที่ พระญาณสังวรเถรแล้ว ก็ได้กลายเป็นสำนักปฏิบัติทางวิปัสสนาธุระที่สำคัญ ดังที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ไว้ใน เรื่องประวัติวัดมหาธาตุว่า
“ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ วัดอรัญวาสีที่สำคัญ ก็คือวัดสมอราย ๑ กับวัดราชสิทธาราม ๑” และพระเกียรติคุณในทางวิปัสสนาธุระของสมเด็จพระสังฆราช (สุก) นั้น คงเป็นที่เคารพนับถือทั้งในฝ่ายเจ้านายในพระบรมราชวงศ์และในหมู่ประชาชนทั่วไป จึงได้ทรงเป็นพระราช อุปัธยาจารย์และเป็นพระอาจารย์ของพระมหากษัตริย์ และเจ้านายชั้นสูงในพระบรมราชวงศ์หลายพระองศ์ ดังได้กล่าวมาแล้วเครดิตที่มาของข้อมูล
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/monk-raja/monk-raja-04-hist.htmhttp://www.prommapanyo.com/smf/index.php?topic=2798.msg22137#msg22137http://www.somdechsuk.org/http://www.facebook.com/phrakrusittisongvonhttp://www.facebook.com/themajjhimahttp://www.themajjhima.com/================================================
ส่วนอานิสงค์วิหารทาน
วิหารทานคือการทำบุญถวายหรือร่วมสร้างเสนาสนะต่าง ๆ
ถวายไว้เป็นสมบัติพระพุทธศาสนา เช่น การสร้างพระอุโบสถ (โบสถ์)
กุฏิ ศาลา วิหาร บุษบก หอฉัน หอระฆังเป็นต้น
องค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงตรัสไว้ว่าการถวายวิหารทานมีอานิสงส์มาก
โดยมีพุทธดำรัสตรัสเอาไว้ว่า
"แม้ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง
ยังมีอานิสงส์ไม่เท่าถวายสังฆทานครั้งเดียว"
"แม้การถวายสังฆทาน ๑๐๐ ครั้ง ยังมีอานิสงส์ไม่เท่าการ
ถวาย "วิหารทาน" ครั้งเดียว"
การถวายวิหารทานยังมีอานิสงส์อีกมาก สุดจะพรรณา
เชิญสมทบทุนบริจาคได้ที่ คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม ซ.อิสรภาพ ๒๓
แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023
หรือ โอนเข้าบัญชี ธ.กสิกรไทย สาขาโพธิ์สามต้น
บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 067-2-83847-9 ในนามพระวีระ สุขมีทรัพย์
จึงขออนุโมทนาในบุญกุศลในครั้งนี้ เจริญด้วยอายุ วรรณะ
สุขะ พละ ธนสารสมบัติ จงทุกวันเทอญ
ขอทุกท่านร่วมกันสนับสนุน ศูนย์กลางพระกรรมฐานโบราณ วัดราชสิทธาราม คณะ 5ด้วยนะครับ
สาธุ สาธุ สาธุ
=======================================================================
===
ความสำคัญโดยย่อของพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับสำหรับพระพุทธศาสนาในไทย
[url=http://www.prommapanyo.com/smf/index.php?topic=2798.msg22550#msg22550]http://www.prommapanyo.com/smf/index.php?topic=2798.msg22550#msg22550[/url]
ข่าวสารเกี่ยวกับพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับที่คุณควรรู้
oxfordทึ่งพบแหล่งเก็บคัมภีร์กรรมฐานแบบลำดับครบถ้วนที่สุดท้ายในโลกที่วัดพลับ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=41415==========================================
ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
http://somdechsuk.org/node/312[/size]