ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 260 ปีพุทธศาสนาไทย-ศรีลังกา มจร.เสริมจุดแข็งอุดมศึกษาสงฆ์  (อ่าน 1369 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29297
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



260 ปีพุทธศาสนาไทย-ศรีลังกา มจร.เสริมจุดแข็งอุดมศึกษาสงฆ์

“อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อภิปูชะยามะ,อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อภิปูชะยามะ,อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อภิปูชะยามะ”

“ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ”

เสียงคณะสงฆ์ และชาวศรีลังกา สวดบูชาพระรัตนตรัย และศีล ก่อนเริ่มพิธีเปิด “การสัมมนานานาชาติ เรื่อง การแลกเปลี่ยนพระพุทธศาสนานานาชาติในบริบทของโลก เพื่อเฉลิมฉลอง 260 ปี แห่งการสถาปนาพระพุทธศาสนานิกายสยามวงศ์ในประเทศศรีลังกา” ภายใน หอประชุมสถาบันวิชาการพระพุทธศาสนานานาชาติศรีลังกา เมืองแคนดี้ ประเทศศรีลังกา สร้างความประทับใจให้แก่คณะสงฆ์และชาวไทยไม่น้อย ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชาวศรีลังกา เมื่อมีการจัดพิธีใด หรือจัดประชุมใด ก็ตาม ต้องมีการสวดมนต์ รับศีล เพื่อเป็นสิ่งเตือนใจในการดำเนินชีวิต


 ans1 ans1 ans1

การสัมมนาครั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) คณะสงฆ์สยามนิกาย ฝ่ายมัลลวัตตา ฝ่ายอัสสคีรี และวัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว ได้เห็นความสำคัญ จึงได้จัดการสัมมนาวิชาการขึ้น ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจาก การเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างคณะสงฆ์ไทยและศรีลังกา นับตั้งแต่พ.ศ. 2295 สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา ส่งพระอุบาลี และพระอริยมุนีเถระเป็นพระธรรมทูต ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา ตามคำทูลขอของ พระเจ้าเกียรติศิริราชสิงหะ พระมหากษัตริย์แห่งศรีลังกา ที่ทรงมีพระราชศรัทธา อย่างแรงกล้า ที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในศรีลังกา

เนื่องจากขาดช่วงไม่มีพระสงฆ์ จึงออกประกาศว่า เมืองใด มีการบวชที่คล้ายคลึงกับศรีลังกา จึงได้พบว่า ประเทศสยามขณะนั้น เป็นนิกายเถรวาท คล้ายคลึงกับศรีลังกามากที่สุด จึงได้ส่ง คณะราชทูต มาทูลขอ พระธรรมทูต ให้มาบวชแก่ชาวศรีลังกา เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนา จนกระทั่งมีความมั่งคงเป็นอย่างมากในทุกวันนี้



ไม่เพียงเท่านั้น ในครั้งนี้ มจร.ยังได้ถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่ พระมหานายากะ ฝ่ายอัสสคีรี และอนุนายากะ ฝ่ายมัลลวัตตา เพื่อถวายเกียรติแด่พระมหาเถระทั้ง 2 รูป ที่ได้ร่วมมือกับคณะสงฆ์ไทยด้วยดีตลอดมา ซึ่งพระพรหมบัณฑิต(ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต)อธิการบดีมจร.ในฐานะกรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) กล่าวว่า

พระมหาเถระศรีลังกาทั้ง 2 รูป ถือเป็นสัญลักษณ์ของคณะสงฆ์สยามนิกายที่สืบต่อจากพระอุบาลีที่ได้มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาเมื่อ 260 ปีก่อน รวมทั้งเป็นการยกย่องพระมหาเถระทั้ง 2 รูปด้วย เนื่องจากได้มีมิตรภาพต่อคณะสงฆ์ไทยมาโดยตลอด ไม่ว่าคณะสงฆ์ไทยจะจัดงานด้านใดท่านก็ได้เดินทางมาร่วมทุกครั้ง มีเมตตาต่อชาวไทย เพราะเป็นประเทศที่ให้กำเนิดสยามนิกายในศรีลังกา

 :25: :25: :25:

“หลังจากนี้ไปคณะสงฆ์ไทยและคณะสงฆ์ศรีลังกา จะสานสัมพันธ์ด้านการส่งเสริมและเผยแผ่พระพุทธศาสนากันมากขึ้น โดยองค์การสหประชาชาติได้ให้ความเห็นชอบตั้งสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลกขึ้นในฐานะเป็นที่ปรึกษาคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ โดยได้มีหนังสือยืนยันการรับรองอย่างเป็นทางการส่งมายังมจร.เมื่อวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา

ดังนั้น มจร.จะเชิญคณะสงฆ์ศรีลังกา และสมาชิกชาวพุทธทั่วโลก ให้เข้ามาทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การสังคมสังเคราะห์ ด้านสิ่งแวดล้อม ลดภาวะโลกร้อน การส่งเสริมการศึกษาคณะสงฆ์ เป็นต้น เพื่อให้ชาวโลกได้เห็นว่า พระพุทธศาสนา สามารถนำไปใช้ในการทำงานได้ทุกด้าน รวมถึงจะใช้หลักธรรมสร้างความเข้มแข็งให้ชาวพุทธทั่วโลกอีกด้วย”


 st12 st12 st12

พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ (ไสว โชติโก) รองอธิการบดี มจร. ฝ่ายกิจการต่างประเทศ กล่าวว่า คณะสงฆ์ไทยโดยมจร. และคณะสงฆ์ศรีลังกา จะร่วมมือทางด้านการศึกษา ซึ่งในเบื้องต้นพบว่าคณะสงฆ์ศรีลังกามีความเชี่ยวชาญด้านภาษาบาลีมาก จึงจะขอความร่วมมือในการร่วมกันศึกษาคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่มีการจารึกลงบนคัมภีร์ใบลานเป็นภาษาบาลี ส่วนทางคณะสงฆ์ไทยซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องกรรมฐานก็จะช่วยส่งเสริมในเรื่องกรรมฐาน



นอกจากนี้เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง 260 ปีแห่งการสถาปนาพระพุทธศาสนานิกายสยามวงศ์ในประเทศศรีลังกา ทางประเทศไทยยังให้ทุนพระสงฆ์ศรีลังกามาศึกษาในไทย รวม 26 ทุน แบ่งเป็นของมจร. 5 ทุน และทุนของสำนักพุทธฯ 21 ทุน

โดยในส่วนของมจร.มีพระสงฆ์ศรีลังกามารับทุนปริญญาตรี 2 ทุน ปริญญาโท 1 ทุน และปริญญาเอก 2 ทุน ส่วนทุนของพศ.จะให้มาศึกษาในส่วนของนักธรรมตรีถึงนักธรรมเอก พร้อมกันนี้คณะสงฆ์ศรีลังกายังขอความร่วมมือมจร. ให้ช่วยส่งเสริมการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในศรีลังกาด้วย เนื่องจากในศรีลังกายังไม่มีมหาวิทยาลัยสำหรับพระสงฆ์

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงความร่วมมือบางส่วนเท่านั้น คณะสงฆ์ไทยได้เคยมาร่วมมือทางวิชาการก่อนหน้านี้ จนคณะสงฆ์ศรีลังกา ก่อตั้งสถาบันวิชาการพระพุทธศาสนานานาชาติศรีลังกาขึ้น เป็นสถาบันสมทบของมจร.ในต่างประเทศ ที่ใช้หลักสูตรของมจร. และยังได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการของศรีลังกาด้วย


 st11 st11 st11

หลังจากประชุมวิชาการกันแล้ว ทางมจร.ได้ไปเยี่ยมชม วัดบุปผาราม ที่พระธรรมทูตสมัยอยุธยามาจำวัด ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า วัดมัลลวัตตา และเป็นวัดของสังฆนายก คณะสงฆ์นิกายสยามวงศ์ ฝ่ายมัลลวัตตา และที่ขาดไม่ได้คือการไปชม วัดพระเขี้ยวแก้ว ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระทันตธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลแห่พระเขี้ยวแก้วบนหลังช้าง หรือพาราเฮร่าพอดี

อีกสิ่งที่ประทับใจในศรีลังกา เมื่อไปตามวัด โดยเฉพาะวัดพระเขี้ยวแก้ว คือ ชาวพุทธของที่นี่ยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างมาก คนส่วนใหญ่จะอ่านพูดเขียนภาษาบาลีได้ ตามวัดต่างๆจะแน่นขนัดไปด้วยชาวพุทธศรีลังกาที่ตั้งใจมานั่งตั้งจิตภาวนาทำสมาธิ พ่อแม่ จูงลูกเล็กเด็กแดงเข้าวัด นำดอกบัวมาถวายเป็นพุทธบูชา ช่วงเทศกาลแห่พระเขี้ยวแก้วจะงดขายเหล้า เครื่องดื่มมึนเมาตลอดเทศกาล แม้แต่ในโรงแรมก็ยังไม่ขาย ถือเป็นแบบอย่างที่ดี ที่เราน่าจะเอาอย่างให้สมกับการเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก

มนตรี ประทุม


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.dailynews.co.th/education/231745
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ฟ้าใหม่แจ่มใส

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 226
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ ถ้าไม่ถูกใจก็ต้องว่า ยายกบ เพราะชวนมาศึกษาธรรมะ