ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล  (อ่าน 19069 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
มหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล
« เมื่อ: ตุลาคม 05, 2013, 08:01:30 am »
0


มหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล

มหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล หมายถึง แคว้นขนาดใหญ่ หรือรัฐ ๑๖ รัฐ ตามที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ดังนี้

๑. แคว้นกัมโพชะ มีเมืองหลวงชื่อ ทวารกะ
๒. แคว้นกาสี มีเมืองหลวงชื่อ พาราณสี
๓. แคว้นกุรุ มีเมืองหลวงชื่อ อินทปัถะ
๔. แคว้นโกศล มีเมืองหลวงชื่อ สาวัตถี
๕. แคว้นคันธาระ มีเมืองหลวงชื่อ ตักศิลา
๖. แคว้นเจตี มีเมืองหลวงชื่อ โสตถิวดี
๗. แคว้นปัญจาละ มีเมืองหลวงชื่อ กัมปิลละ
๘. แคว้นมคธ มีเมืองหลวงชื่อ ราชคฤห์
๙. แคว้นมัจฉะ มีเมืองหลวงชื่อ วิราฎ
๑๐. แคว้นมัละ มีเมืองหลวงชื่อ กุสาวดี (แต่ภายหลังแยกเป็นกุสินาราและปาวา)
๑๑. แคว้นวังสะ มีเมืองหลวงชื่อ โกสัมพี
๑๒. แคว้นวัชชี มีเมืองหลวงชื่อ เวสาลี (ไพศาลี)
๑๓. แคว้นสุระเสนะ มีเมืองหลวงชื่อ มถุรา
๑๔. แคว้นอวันตี มีเมืองหลวงชื่อ อุชเชนี
๑๕. แคว้นอังคะ มีเมืองหลวงชื่อ จัมปา
๑๖. แคว้นอัสสกะ มีเมืองหลวงชื่อ โปตลิ (โปตละ)


 ans1 ans1 ans1

นอกจากมหาชนบทหรืออาณาจักร ๑๖ นี้แล้ว ยังมีแคว้นอื่นๆ ที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ที่พอจะประมวลมาได้ดังนี้

๑. แคว้นโกลิยะ มีเมืองหลวงชื่อ เทวทหะ (รามคาม)
๒. แคว้นภัคคะ มีเมืองหลวงชื่อ สุงสุมารคีระ
๓. แคว้นมัททะ มีเมืองหลวงชื่อ สาคละ
๔. แคว้นวิเทหะ มีเมืองหลวงชื่อ มิถิลา
๕. แคว้นสักกะ มีเมืองหลวงชื่อ กบิลพัสดุ์
๖. แคว้นสุนาปรันตะ มีเมืองหลวงชื่อ สุปปารกะ
๗. แคว้นอังคุตตราปะ เมืองหลวงเป็นเพียงนิคมชื่ออาปณะ





มหาชนบท หรืออาณาจักร ๑๖ ในสมัยพุทธกาล เท่าที่ค้นพบหลักฐานในปัจจุบัน ได้แก่ อาณาเขตและเมืองดังต่อไปนี้

๑. แคว้นกัมโพชะ ตั้งอยู่เหนือแคว้นคันธาระ ตั้งอยู่เหนือสุดของชมพูทวีป มีเมืองหลวงชื่อทวารกะ (ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศอัฟกานิสถาน)

๒. แคว้นกาสี ตั้งอยู่ตอนบรรจบของแม่น้ำคงคาและยมุนานครหลวงชื่อ พาราณสี อยู่เหนือแคว้นมคธ อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ของแคว้นโกศล มีแคว้นวัชชีและแคว้นวิเทหะอยู่ทางตะวันออก มีแคว้นวังสะอยู่ทางตะวันตก ในสมัยพุทธกาลแคว้นกาสีถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโกศล (ปัจจุบันเรียกว่า วาราณสี)

๓. แคว้นกุรุ ตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้ำยมุนาตอนบนอยู่เหนือแคว้นมัจฉะ สุรเสนะ และปัญจาละ มีเมืองหลวงชื่อ อินทปัตถะ (ปัจจุบันเป็นดินแดนราวแคว้นปัญจาบและเมืองเดลีนครหลวงของประเทศอินเดีย)

๔. แคว้นโกศล ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาหิมาลัยกับแม่น้ำคงคาตอนกลาง ทิศเหนือจดภูเขาหิมาลัยตะวันตก ทิศใต้จดแม่น้ำคงคา ทิศตะวันออกจดแคว้นกาสีต่อกับแคว้นมคธ นครหลวงชื่อสาวัถี (ปัจจุบันเป็นดินแดนราวเมืองอโยธยา หรือ โอธ บัดนี้เรียกว่า สะเหต-มะเหต ตั้งอยู่บนฝั่งลำน้ำอจิรวดีหรือรับดิ ห่างจากเมืองโอธไปทางทิศเหนือราว ๘๐ กิโลเมตร และอยู่ทางทิศใต้ห่างจากเขตแดนประเทศเนปาลราว ๕๐ กิโลเมตรแคว้นโกศลคือ อุตรประเทศในปัจจุบัน)

๕. แคว้นคันธาระ ตั้งอยู่ทางลุ่มแม่น้ำสินธุตอนบน อยู่ทางเหนือสุดของชมพูทวีป มีเพียงแคว้นกัมโพชะอยู่เหนือขึ้นไป นครหลวงชื่อตักศิลา (ปัจจุบันเป็นดินแดนนี้อยู่ราวพรมแดนทิศนะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย ตรงกับแคว้านปัญจาบภาคเหนือ อยู่ติดกับแคว้นกัษมีระหรือแคชเมียร์ นครหลวงชื่อตักสิสา อยู่ในดินแดนประเทศปากีสถาน)


๖. แคว้นเจตี ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำคงคา ติดต่อกับแคว้นวังสะทางทิศตะวันออก มีแคว้นวันตีอยู่ทางทิศตะวันตก นครหลวงชื่อโสตถิวดี

๗. แคว้นปัญจาละ ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบน มีแม่น้ำภาคีรถีซึ่งเป็นแควหนึ่งของแม่น้ำคงคาตอนบนไหลผ่าน มีแคว้นโกศลอยู่ทางทิศตะวันออก มีแคว้นกุรุอยู่ทางทิศตะวันตก ภูเขาหิมาลัยอยู่ทางทิศเหนือแม่น้ำคงคาอยู่ทางทิศใต้ เมืองหลวงของแคว้นนี้เดิมชื่อ หัสดินาปุระหรือหัสดินต่อมาจึงแยกไปตั้งนครหลวงใหม่คือกัมปิลละตั้งอยู่เหนือแม่น้ำคงคา ถัดลงมาถึงเมืองสังกัสสะ และถึงเมืองกันยากุพชะ(บัดนี้เรียกว่ากะเนาซ์ปัจจบันดินแดนแห่งนี้ อยู่ราวเมืองอัคราของประเทศอินเดีย)

๘. แคว้นมคธ ตั้งอยู่ใต้แม่น้ำคงคาตอนกลางมีแม่น้ำคงคาอยู่ห่างทิศเหนือ และมีภูเขาวินชัยอยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันตก ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำโสนกับแคว้นอังคะ นครหลวงชื่อราชคฤห์ ตั้งอยู่ในเขตภูเขา ๕ ลูกล้อมรอบคือ ภูเขาคิชณกูฏ อิสิคิสิ ปัพภาระ เวภาระ และเวปุลละเรียกว่าเบญจคีรี ต่อมาพระเจ้าอุทายีพระราชนัดดาของพระเจ้าอชาตศัตรูได้ย้ายนครหลวงไปที่เมืองปาฏลีบุตร บนฝั่งแม่น้ำคงคาเหนือเมืองราชคฤห์ขึ้นไป (ปัจจุบันดินแดนแห่งนี้คือแคว้นพิหารของประเทศอินเดียนครราชคฤห์ บัดนี้เรียกว่า ราชคีร์ ตั้งอยู่ห่างจากเมืองปัตนะเมืองหลวงปัจจุบันของแคว้นพิหารไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๖๕ กิโลเมตร นครปาฏลีบุตร บัดนี้เรียกว่าปัตนะ)





๙. แคว้นมัจฉะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสินธุกับยมุนาตอนบนมีแคว้นโกศลอยู่ทางทิศตะวันออก มีแคว้นกุรุอยู่ทางทิศเหนือ มีแคว้นสุรเสนะ อยู่ทางทิศใต้ นครหลวงชื่อวิราฏ

๑๐. แคว้นมัลละ ตั้งอยู่ถัดจากแคว้นโกศลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ทางเหนือของแคว้นวัชชี และทางทิศตะวันออกของแคว้นสักกะ นครหลวงชื่อกุสาวดี แต่ภายหลังแยกเป็นนครกุสินาราและนครปาวา นครกุสินารา ตั้งอยู่ในจุดบรรจบของแม่น้ำรับดิและคันธกะส่วนนครปาวาอยู่ระหว่างนครกุสินารากับนครเวลสาลีเมืองหลวงของแคว้นวัชชี (ปัจจุบันเมืองกุสินาราอยู่ในเขตประเทศอินเดียเหนือประเทศเนปาล เมืองกุสินาราบัดนี้เรียกว่าเมืองกาเซีย ส่วนนครปาวา บัดนี้เรียกว่าเมืองปัทระโอนะ)

๑๑. แคว้นวังสะ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของลำน้ำยมุนา ทิศใต้ของแคว้นโกศล และทางทิศตะวันตกของแคว้นกาสี นครหลวงชื่อโกสัมพี ตั้งอยู่เหนือฝั่งแม่น้ำยมุนา (ปัจจุบันนครโกสัมพี เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อว่าโกสัมอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองอัลลาฮาบัด)

๑๒. แคว้นวัชชี ตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันออกของแม่น้ำคันธกะอยู่ทางทิศตะวันออกของแคว้นมัลละ ทางทิศเหนือของแคว้นมคธ นครหลวงชื่อเวสาลี หรือไพศาลี (ปัจจุบันนครเวสาลีบัดนี้เรียกว่า เบสาห์อยู่ห่างจากเมืองปัตนะไปทางทิศเหนือราว ๔๕ กิโลเมตร)

๑๓. แคว้นสุรเสนะ ตั้งอยู่ระหว่างลำน้ำสินธุกับยมุนาตอนล่าง ตั้งอยู่ทางใต้ของแคว้นกุรุ แคว้นปัญจาละอยู่ทางทิศตะวันออก นครหลวงชื่อมถุรา (ปัจจุบันดินแดนแห่งนี้อยู่ราวแคว้นราชสถานของประเทศอินเดีย และนครมถุราอยู่ราวเมืองมัตตรา)

๑๔. แคว้นอวันตี หรือแคว้นมาลวะ ตั้งอยู่เหนือภูเขาวินธัย ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของแคว้นอัสสกะ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นวังสะ นครหลวงชื่ออุชเชนี (บัดนี้คือเมืองอุเทนในประเทศอินเดีย)

๑๕. แคว้นอังคะ ตั้งอยู่ปลายแม่น้ำคงคา ทางทิศตะวันออกของแคว้นมคธ มีแม่น้ำจัมปากั้นแดน มีนครหลวงชื่อจัมปา ตั้งอยู่เหนือฝั่ง แม่น้ำคงคา ด้านขวา (ปัจจุบันดินแดนแห่งนี้อยู่ราวรัฐเบงคอลของประเทศอินเดีย นครจัมปา บัดนี้เรียกว่า ภคัลปูร์)

๑๖. แคว้นอัสสกะ ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำโคธาวรี ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นอวันตี อยู่ติดแนวของดินแดนทักขิณาบถคือเมืองแถบใต้ มีนครหลวงชื่อโปตลิหรือโปตละ


ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข
http://www.dhammathai.org/buddha/g42.php
ภาพจาก http://www.bloggang.com/, http://www.vcharkarn.com/ , http://lh5.ggpht.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: มหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2013, 08:27:38 am »
0

16 แคว้นพุทธกาล
คอลัมน์ รู้ไปโม้ด nachart@yahoo.com

ask1 ถามโดยคนสนใจ : อยากทราบชื่อเมืองสำคัญๆ ในสมัยพระพุทธ เจ้า อย่างเช่น มคธ โกสัมพี พาราณสี เป็นต้น ขอบคุณครับน้า

ans1 ตอบ คนสนใจ : สมัยของพระพุทธองค์คือสมัยพุทธกาล ยุคที่เรียกแผ่นดินถิ่นกำเนิดพระพุทธศาสนาคืออินเดียในกาลนั้นว่า ชมพูทวีป ซึ่งในสมัยปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศ 4 ประเทศ คือ อินเดีย เนปาล ปากีสถาน และ บังกลาเทศ

ชมพูทวีปแบ่งออกเป็นจังหวัดใหญ่ๆ 2 จังหวัด คือ มัชฌิมชนบท หรือ มัธยมประเทศ ได้แก่ จังหวัดส่วนกลาง และปัจจันตชนบท หรือ ปัจจันตประเทศ ได้แก่ จังหวัดปลายแดน หรือรอบนอก

ทั้งนี้ อาณาเขตแห่งมัชฌิมชนบทในครั้งพุทธกาลตามในบาลีจัมมขันธมหาวรรค มีดังนี้
   - ทิศบูรพา ภายในแต่มหาศาลนครเข้ามา
   - ทิศอาคเนย์ ภายในแต่แม่น้ำลัลลวตีเข้ามา
   - ทิศทักษิณ ภายในแต่เสดกัณณิกนิคมเข้ามา
   - ทิศปัจจิม ภายในแต่ถูนคามเข้ามา
   - ทิศอุดร ภายในแต่ภูเขาอุสีรทชะเข้ามา


 :96: :96: :96:

ครั้งพุทธกาลนั้น ชมพูทวีปแบ่งเป็น 21 อาณาจักร หรือแคว้น หรือชนบท โดยแคว้นที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่เรียก มหาชนบท ดังนี้ (ชื่อหลังคือเมืองหลวง) ที่ปรากฏในบาลีอุโบสถสูตร มหาชนบท 16 แคว้น ได้แก่
    อังคะ-จัมปา มคธ-ราชคฤห์ กาสี-พาราณสี โกสละ หรือ โกศล -สาวัตถี
    วัชชี-เวสาลี (ไพศาลี) มัลละ-กุสินารา (ปาวา) เจตี-โสตถิวดี วังสะ-โกสัมพี
    กุรุ-อินทปัตถ์ (ปัตถะ) ปัญจาละ-กัมปิลละ (หัสดินปุระ) มัจฉะ-สาคละ สุรเสนะ-มถุรา
    อัสสกะ-โปตลิ อวันตี-อุชเชนี คันธาระ-ตักสิลา กัมโพชะ-ทวารกะ

   และที่ปรากฏในพระสูตรอื่นมี 5 แคว้นชนบท คือ
   สักกะ-กบิลพัสดุ์ โกลิยะ-เทวทหะ (รามคาม) ภัคคะ-สุสุงมารคีรี
   วิเทหะ-มิถิลา และ อังคุตตราปะ-อาปณะ


 :sign0144: :sign0144: :sign0144:

ไล่เรียงชื่อเมืองสำคัญในพุทธประวัติได้ว่า ดินแดนแห่งหนึ่ง ณ บริเวณที่ราบเชิงเขาหิมาลัย ที่อยู่ในประเทศเนปาลปัจจุบัน ครั้งกระนั้นที่นั่นคืออาณาจักรเล็กๆ นามว่า กบิลพัสดุ์ เมืองหลวงของแคว้นสักกะ ห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองประมาณ 35 กิโลเมตร เจ้าชายสิทธัตถะถือพระประสูติกาลขึ้นกลางสวนป่าลุมพินีวัน ขณะที่พระนางสิริมหามายา พระมารดาของพระองค์ กำลังเสด็จกลับไปยังบ้านเกิด คือเมืองเทวทหะ แคว้นโกลิยะ ที่อยู่ห่างไปไม่ไกลนัก

หลังจากใช้ชีวิตในฐานะองค์รัชทายาทได้ 29 ปี เจ้าชายสิทธัตถะ ได้ไปเห็นความจริงของชีวิตอันเป็นทุกข์ในหมู่ประชาชน ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับชีวิตอันหรูหราเปี่ยมสุขในพระราชวัง ทำให้ทรงตัดสินพระทัยละทิ้งชีวิตอันแสนสุขทางโลก เสด็จออกจากพระราช วังในค่ำคืนหนึ่ง เพื่อเข้าสู่โลกของนักบวช


 st12 st12 st12

ทรงออกศึกษาแสวงหาหนทางแห่งการหลุดพ้นจากชีวิตอันเป็นทุกข์เรื่อยมากว่า 6 ปี จนบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระ พุทธเจ้า ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในแคว้นมคธ ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงกบิลพัสดุ์กว่า 200 กิโลเมตร เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา

หลังจากที่พระองค์ตรัสรู้ คือการค้นพบกฎความจริงของธรรมชาติ ทรงประกาศหลักธรรมครั้งแรกให้แก่ปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี

 :25: :25: :25:

จากนั้นเสด็จออกเผยแผ่สิ่งที่ทรงค้นพบให้กับประชาชนในแว่นแคว้นต่างๆ บริเวณนั้น เป็นเวลานานถึง 45 ปี โดยจำพรรษาอยู่ที่แคว้นโกศลมากที่สุดถึง 19 ปี กระทั่งมาถึงวาระสุดท้ายของชีวิต พระองค์เสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ เมื่อพระชนมายุ 80 พรรษา

การเผยแผ่คำสอนและประกาศหลักธรรมที่ดำเนินมาตลอดพระชนมชีพของพระองค์ ได้ทำให้พระพุทธศาสนาฝังรากลึกลงในแผ่น ดินชมพูทวีปอย่างแน่นหนาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และภายหลังการเสด็จปรินิพพาน ศาสนาพุทธเริ่มลงหลักปักฐานอย่างมั่นคง กษัตริย์แคว้นต่างๆ หลายพระองค์ทรงหันมานับถือศาสนาพุทธ และเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าไปทั่วอาณาจักรของตน


ที่มา http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakU1TVRBMU1nPT0=&sectionid=Y25Wd1lXbHRiMlJs&day=TWpBd09TMHhNQzB4T1E9PQ==
ภาพจาก http://www.indiaindream.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 05, 2013, 08:31:26 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: มหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2013, 09:11:58 am »
0
บาลีจัมมขันธมหาวรรค

พระพุทธานุญาตพิเศษ
[๒๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:-
    ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย จังหวัดอวันตีทักขิณาบถ มีภิกษุน้อยรูป เราอนุญาตการอุปสมบทด้วยคณะสงฆ์มีวินัยธรเป็นที่ ๕ ได้ ทั่วปัจจันตชนบท


กำหนดเขตปัจจันตชนบทและมัชฌิมชนบท
    บรรดาชนบทเหล่านั้น ปัจจันตชนบท มีกำหนดเขต ดังนี้:-
    - ในทิศบูรพา มีนิคมชื่อกชังคละ ถัดนิคมนั้นมาถึงมหาสาลนคร นอกนั้นออกไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท
๑-
       @๑. จังหวัดภายในเป็นศูนย์กลางของประเทศ
    - ในทิศอาคเนย์ มีแม่น้ำชื่อสัลลวตี นอกแม่น้ำสัลลวตีนั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบทร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท
    - ในทิศทักษิณ มีนิคมชื่อเสตกัณณิกะ นอกนิคมนั้นออกไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท
    - ในทิศปัจฉิม มีพราหมณคามชื่อถูนะ นอกนั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท
    - ในทิศอุดร มีภูเขาชื่ออุสีรธชะ นอกนั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการอุปสมบท ด้วยคณะสงฆ์มีวินัยธรเป็นที่ ๕ ได้ ทั่วปัจจันตชนบทเห็นปานนี้

__________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒ จัมมขันธกะ ที่ ๕
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=5&A=545&Z=695&pagebreak=0


บาลีอุโบสถสูตร

[๕๑๐] ๗๑. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมารดา ในบุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตาได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับในวันอุโบสถ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
     ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
     ดูกรนางวิสาขา ท่านมาแต่ไหนแต่ยังวันอยู่
     นางวิสาขากราบทูลว่า วันนี้ดิฉันเข้าจำอุโบสถ เจ้าข้า ฯ

     พ. ดูกรนางวิสาขา อุโบสถมี ๓ อย่าง ๓ อย่างเป็นไฉน คือ
        โคปาลกอุโบสถ ๑
        นิคัณฐอุโบสถ ๑
        อริยอุโบสถ ๑ ฯลฯ


      ans1 ans1 ans1

     ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนผู้ใดพึงครองราชย์เป็นอิศราธิบดีแห่งชนบทใหญ่ ๑๖ แคว้นเหล่านี้ อันสมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตีวังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ
     การครองราชย์ของผู้นั้นยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘
     ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราชสมบัติที่เป็นของมนุษย์ เมื่อนำเข้าไปเปรียบเทียบกับสุขที่เป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย ฯลฯ

____________________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต อุโปสถสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=5421&Z=5666
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

nopporn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2013, 10:46:25 am »
0
 st11 st12
บันทึกการเข้า
อยู่แก๊งค์ ป่วนอ๊บ