ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิตกเป็นปฏิปักษ์ต่อถีนมิทธะ วิจารเป็นปฏิปักษ์ต่อวิจิกิจฉา  (อ่าน 3401 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา

    อนึ่ง แม้เมื่อธรรมเหล่าอื่นเป็นอกุศลมีอยู่ ท่านก็กล่าวนิวรณ์นั่นแหละ โดยแสดงความเป็นข้าศึกคือปฏิปักษ์ต่อองค์ฌานสูงๆ ขึ้นไป ในวิภังค์โดยนัยเป็นต้นว่า ในธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมเป็นไฉน? คือ กามฉันทะ ดังนี้.

    ก็นิวรณ์ทั้งหลายเป็นข้าศึกต่อองค์ฌานทั้งหลาย ท่านอธิบายไว้ว่า องค์ฌานทั้งหลายนั่นแล เป็นปฏิปักษ์ เป็นผู้ทำลาย เป็นผู้พิฆาตนิวรณ์เหล่านั้น.

     st12 st12 st12

    จริงอย่างนั้น ท่านกล่าวไว้ในปิฎกว่า
    สมาธิเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ ปีติเป็นปฏิปักษ์ต่อพยาบาท
    วิตกเป็นปฏิปักษ์ต่อถิ่นมิทธะ สุขเป็นปฏิปักษ์ต่ออุทธัจจกุกกุจจะ วิจารเป็นปฏิปักษ์ต่อวิจิกิจฉา.

    ความสงัดด้วยความข่มกามฉันทะ เป็นอันท่านกล่าวแล้วในที่นี้ด้วยบทว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ นี้ด้วยประการฉะนี้.

    ความสงัดด้วยความข่มนิวรณ์ทั้ง ๕ เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทว่า วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ นี้ ก็ด้วยการยึดถือสิ่งที่เขาไม่ยึดถือกัน ความสงัดด้วยความข่มกามฉันทะ เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทแรก#- ความสงัดด้วยความข่มนิวรณ์ที่เหลือ เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทที่ ๒.##- ด้วยประการนั้น.

____________________________
#- วิวิจฺเจว กาเมหิ. ##- วิวิจฺจ อกุสเลหิ.

    :25: :25: :25:

    ความสงัดด้วยความข่มโลภะซึ่งมีประเภทแห่งกามคุณ ๕ เป็นอารมณ์ ในอกุศลมูล ๓ เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทแรก ความสงัดด้วยความข่มโทสะและโมหะซึ่งมีประเภทแห่งอาฆาตวัตถุเป็นต้นเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทที่ ๒.

    อีกอย่างหนึ่ง ในธรรมทั้งหลายมีโอฆะเป็นต้น ความสงัดด้วยความข่มกาโมฆะ กามโยคะ กามาสวะ กามุปาทาน อภิชฌากายคันถะและกามราคสังโยชน์ เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทแรก, ความสงัดด้วยความข่มโอฆะ โยคะ อาสวะ อุปาทาน คันถะและสังโยชน์ที่เหลือ เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทที่ ๒.


     :49: :49: :49:

    ความสงัดด้วยความข่มตัณหาและธรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหานั้น เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทแรก, ความสงัดด้วยความข่มอวิชชาและธรรมที่สัมปยุตด้วยอวิชชานั้น เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทที่ ๒.

    อีกอย่างหนึ่ง ความสงัดด้วยความข่มจิตตุปบาท ๘ ที่สัมปยุตด้วยโลภะ เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทแรก ความสงัดด้วยความข่มจิตตุปบาทที่เป็นอกุศลที่ ๔ ที่เหลือเป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทที่ ๒. พึงทราบด้วยประการฉะนี้.





    ก็พระสารีบุตรเถระแสดงองค์แห่งการละของปฐมฌานด้วยคำมีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะแสดงองค์แห่งการประกอบ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สวิตกฺกํ สวิจารํ ดังนี้.

    บรรดาวิตกและวิจารเหล่านั้น
    วิตกมีลักษณะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ วิจารมีลักษณะประคองจิตไว้ในอารมณ์   
    วิตกและวิจารเหล่านั้น แม้เมื่อไม่แยกกันในอารมณ์อะไรๆ
    วิตกเข้าถึงจิตก่อนด้วยอรรถว่าหยาบและเป็นธรรมชาติถึงก่อน ดุจการเคาะระฆัง,
    วิจารตามพัวพันด้วยอรรถว่าละเอียด และด้วยสภาพตามเคล้า ดุจเสียงครางของระฆัง.


    ก็วิตกมีการแผ่ไปในอารมณ์นี้ เป็นความไหวของจิตในเวลาที่เกิดขึ้นครั้งแรก ดุจการกระพือปีกของนกที่ต้องการจะบินไปในอากาศ และดุจการโผลงตรงดอกปทุมของภมรที่มีใจผูกพันอยู่ในกลิ่น,
    วิจารมีความเป็นไปสงบ ไม่เป็นความไหวเกินไปของจิต ดุจการกางปีกของนกที่ร่อนอยู่ในอากาศ และดุจการหมุนของภมรที่โผลงตรงดอกปทุม ในเบื้องบนของดอกปทุม.


    ans1 ans1 ans1

    แต่ในอรรถกถาทุกนิบาตท่านกล่าวว่า
    วิตกเป็นไปด้วยภาวะติดไปกับจิตในอารมณ์ เหมือนเมื่อนกใหญ่บินไปในอากาศ ปีกทั้งสองจับลม แล้วก็หยุดกระพือปีกไปฉะนั้น,
    วิจารเป็นไปด้วยภาวะตามเคล้า เหมือนการบินไปของนกที่กระพือปีกเพื่อให้จับลมฉะนั้น.

    คำนั้นย่อมควรในการเป็นไปด้วยการตามพัวพัน.
    ก็ความแปลกของวิตกวิจารเหล่านั้น ย่อมปรากฏในปฐมฌานและทุติยฌาน.

    อีกอย่างหนึ่ง เมื่อบุคคลใช้มือข้างหนึ่งจับภาชนะที่มีสนิมจับอย่างมั่น
    ใช้มืออีกข้างหนึ่งขัดถูด้วยแปรงทำด้วยหางม้าที่จุ่มน้ำมันผสมผงละเอียด.
    วิตกเหมือนมือที่จับมั่น วิจารเหมือนมือที่ขัดถู.


    เหมือนเมื่อช่างหม้อใช้ท่อนไม้หมุนแป้นทำภาชนะอยู่
    วิตกดุจมือที่กด วิจารดุจมือที่ตกแต่งข้างโน้นข้างนี้.
    และเหมือนบุคคลที่ทำวงเวียน
    วิตกติดไปกับจิต ดุจขาที่ปักกั้นอยู่ตรงกลาง, วิจารตามเคล้า ดุจขาที่หมุนรอบนอก.

    ฌานนี้ ท่านกล่าวว่า สวิตกฺกํ สวิจารํ เพราะอรรถว่าย่อมเป็นไปกับด้วยวิตกนี้ด้วย ด้วยวิจารนี้ด้วย ดุจต้นไม้มีทั้งดอกและผลด้วยประการฉะนี้.


    (ยังมีต่อ...โปรดติดตาม)

             
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 06, 2013, 08:11:31 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ว่าด้วย ปิติและสุข

     ในบทว่า วิเวกชํ นี้ ความสงัดชื่อว่า วิเวก ความว่า ปราศจากนิวรณ์.
     อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวิเวก เพราะอรรถว่าสงัด.
     อธิบายว่า กองธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน ซึ่งสงัดจากนิวรณ์.
     ชื่อว่าวิเวกชะ เพราะอรรถว่าเกิดแต่วิเวกนั้น หรือในวิเวกนั้น.

     ในบทว่า ปีติสุขํ นี้ ชื่อว่าปีติ เพราะอรรถว่าอิ่มใจ, ปีตินั้นมีลักษณะดื่มด่ำ.
     ก็ปีตินี้นั้นมี ๕ อย่าง คือ
           ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อย ๑
           ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ ๑,
           โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอก ๑,
           อุพเพงคาปีติ ปีติโลดลอย ๑.
           ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน ๑,


     บรรดาปีติ ๕ อย่างนั้น
         - ขุททกาปีติอาจทำพอให้ขนชูชันในสรีระทีเดียว,
         - ขณิกาปีติย่อมเป็นเช่นกับฟ้าแลบ เป็นขณะๆ,
         - โอกกันติกาปีติให้รู้สึกซู่ลงมาๆ ในกาย ดุจคลื่นซัดฝั่งทะเล.
         - อุพเพงคาปีติเป็นปีติมีกำลัง ทำกายให้ลอยขึ้นโลดไปในอากาศหาประมาณไม่ได้,
         - ผรณาปีติเป็นปีติมีกำลังยิ่ง ก็เมื่อผรณาปีตินั้นเกิดขึ้นแล้ว สรีระทั้งสิ้นจะรู้สึกเย็นซาบซ่าน ดุจเต็มไปด้วยเม็ดฝน และดุจเวิ้งเขาที่ห้วงน้ำใหญ่ไหลบ่ามาฉะนั้น.


   - ก็ปีติทั้ง ๕ อย่างนี้ เมื่อถือเอาห้องถึงความแก่กล้า ย่อมยังปัสสัทธิทั้งสอง คือ กายปัสสัทธิ และ จิตตปัสสัทธิให้บริบูรณ์.
   - ปัสสัทธิเมื่อถือเอาห้องถึงความแก่กล้า ย่อมยังสุขทั้ง ๒ คือ สุขทั้งทางกาย และ สุขทางใจให้บริบูรณ์.       
   - สุขเมื่อถือเอาห้องถึงความแก่กล้า ย่อมยังสมาธิ ๓ อย่างคือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิให้บริบูรณ์.


    บรรดาปีติเหล่านั้น ผรณาปีติที่เป็นมูลแห่งอัปปนาสมาธิ เมื่อเจริญถึงความประกอบด้วยสมาธิ นี้ท่านประสงค์เอาว่า ปีติ ในอรรถนี้.





    ก็อีกบทหนึ่ง ชื่อว่าสุข เพราะอรรถว่าสบาย.
    อธิบายว่า เกิดขึ้นแก่คนใด ย่อมทำคนนั้นให้ถึงความสบาย.
    อีกอย่างหนึ่ง ความสบายชื่อว่าสุข ธรรมชาติใดย่อมกลืนกินและขุดออกเสียได้โดยง่าย ซึ่งอาพาธทางกายทางใจ ฉะนั้นธรรมชาตินั้นชื่อว่าสุข. คำนี้เป็นชื่อของโสมนัสสเวทนา สุขนั้นมีลักษณะสำราญ.

    ปีติและสุขเหล่านั้นเมื่อไม่แยกกันในอารมณ์อะไรๆ
    ความยินดีด้วยการได้เฉพาะอารมณ์ที่น่าปรารถนา ชื่อว่าปีติ.
    ความเสวยรสแห่งอารมณ์ที่ได้เฉพาะแล้ว ชื่อว่าสุข.
    ที่ใดมีปีติที่นั้นมีสุข ที่ใดมีสุขที่นั้นมีปีติโดยไม่แน่นอน.


    ปีติสงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์ สุขสงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์.
    คนที่ลำบากในทางกันดาร ปีติเหมือนเมื่อเห็น หรือได้ฟังป่าไม้และน้ำ, สุขเหมือนเมื่อเข้าไปสู่ร่มเงาของป่าไม้และบริโภคน้ำ ก็บทนี้พึงทราบว่ากล่าวไว้ เพราะภาวะที่ปรากฏในสมัยนั้นๆ.
    ฌานนี้ท่านกล่าวว่า ปีติสุข เพราะอรรถว่าปีตินี้ด้วย สุขนี้ด้วยมีอยู่แก่ฌานนี้ หรือในฌานนี้.


     :25: :25: :25:

    อีกอย่างหนึ่ง ปีติด้วย สุขด้วย ชื่อว่าปีติและสุข ดุจธรรมและวินัยเป็นต้น.
    ชื่อว่ามีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอย่างนี้ เพราะอรรถว่าปีติและสุขเกิดแต่วิเวก มีอยู่แก่ฌานนี้ หรือในฌานนี้ ก็ฌานฉันใด ปีติและสุขก็ฉันนั้นย่อมเกิดแต่วิเวกทั้งนั้น ในที่นี้.

    ก็ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกนั้นมีอยู่แก่ฌานนี้ เพราะเหตุดังนี้นั้น
    แม้จะกล่าวว่า วิเวกชํ ปีติสุขํ รวมเป็นบทเดียวกันทีเดียว ย่อโดยไม่ลบวิภัตติ ก็ควร.


   (ยังมีต่อ...โปรดติดตาม)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 06, 2013, 08:35:58 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อารัมมณูปนิชฌาน และ ลักขณูปนิชฌาน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2013, 10:42:41 am »
0

อารัมมณูปนิชฌาน และ ลักขณูปนิชฌาน

    บทว่า ปฐมํ ความว่า ชื่อว่าที่ ๑ เพราะเป็นลำดับแห่งการนับชื่อว่าที่ ๑ เพราะอรรถว่า ฌานนี้เกิดขึ้นเป็นที่ ๑ ก็มี.
    บทว่า ฌานํ ได้แก่ ฌาน ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน และ ลักขณูปนิชฌาน.
    ในฌาน ๒ อย่างนั้น
    สมาบัติ ๘ ถึงการนับว่า อารัมมณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่า เข้าไปเพ่งอารมณ์ มีปฐวีกสิณ เป็นต้น.
    ก็วิปัสสนา มรรค ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน.


    ในวิปัสสนา มรรคผลเหล่านั้น วิปัสสนาชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่งอนิจจลักษณะเป็นต้น,
    มรรคชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะกิจที่ทำด้วยวิปัสสนา สำเร็จด้วยมรรค,
    ส่วนผลชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่าเข้าไปเพ่งนิโรธสัจจะ ซึ่งเป็นลักษณะแท้.


    ในฌาน ๒ อย่างนั้น ในที่นี้ ท่านประสงค์อารัมมณูปนิชฌาน ในกาลเป็นส่วนเบื้องต้นประสงค์ลักขณูปนิชฌาน ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค เพราะฉะนั้นพึงทราบว่า ฌาน เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์ด้วย, เพราะเข้าไปเพ่งลักษณะด้วย, เพราะเผาข้าศึกคือกิเลสด้วย.

     :25: :25: :25:

    บทว่า อุปสมฺปชฺช ได้แก่ เข้าถึงแล้ว. มีอธิบายว่า บรรลุแล้ว.
    อีกอย่างหนึ่ง ให้เข้าถึงพร้อมแล้ว. มีอธิบายว่า ให้สำเร็จแล้ว.
    บทว่า วิหรติ ความว่า ย่อมเคลื่อนไหวด้วยการอยู่แห่งอิริยาบทที่สมควรแก่ฌานนั้น คือ เป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยฌานซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว ยังความเคลื่อนไหวคือ ความเป็นไปแห่งอัตภาพให้สำเร็จ.


    ก็ปฐมฌานนี้นั้นละองค์ ๕ ประกอบองค์ ๕ มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐.
    ในปฐมฌานนั้น พึงทราบความที่ละองค์ ๕ ด้วยสามารถละนิวรณ์ ๕ เหล่านั้น คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมีทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ด้วยว่า เมื่อละนิวรณ์เหล่านี้ไม่ได้ ปฐมฌานนั้นย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวนิวรณ์เหล่านี้ว่า เป็นองค์แห่งการละของปฐมฌานนั้น.


     ans1 ans1 ans1

    ก็อกุศลธรรมแม้เหล่าอื่นจะละได้ในขณะแห่งฌานก็จริง ถึงอย่างนั้น นิวรณ์เหล่านั้นแหละก็ยังทำอันตรายแก่ฌานได้โดยวิเสส.
      - ด้วยว่า จิตที่ถูกกามฉันท์เล้าโลมด้วยอารมณ์ต่างๆ ย่อมไม่ตั้งมั่นในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความแน่วแน่ หรือจิตนั้นถูกกามฉันท์ครอบงำ ย่อมไม่ดำเนินไปเพื่อละกามธาตุ.
      - ถูกพยาบาทกระทบกระทั่งในอารมณ์ ย่อมไม่เป็นไปติดต่อ,
      - ถูกถีนมิทธะครอบงำ ย่อมเป็นจิตไม่ควรแก่การงาน,
      - ถูกอุทธัจจะกุกกุจจะนำไปในเบื้องหน้า เป็นจิตไม่สงบทีเดียว ย่อมหมุนไปรอบ,
      - ถูกวิจิกิจฉาเข้าไปกระทบ ย่อมไม่ขึ้นสู่ปฏิปทาที่ให้การบรรลุฌานสำเร็จ
    นิวรณ์เหล่านี้แล ท่านกล่าวว่าองค์แห่งการละ เพราะกระทำอันตรายแก่ฌานโดยวิเสส ด้วยประการฉะนี้.





    ก็เพราะวิตกยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ วิจารประคองจิตไว้ในอารมณ์
    ปีติเกิดแต่ปโยคสมบัติแห่งจิตที่มีสังโยค อันวิตกวิจารเหล่านั้นสำเร็จแล้วด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน กระทำความเอิบอิ่ม, และสุขกระทำความเพิ่มพูน,
    ลำดับนั้น เอกัคคตาซึ่งเป็นสัมปยุตธรรมที่เหลือของปฐมฌานนั้น อันการติดไปกับจิต การตามเคล้า ความเอิบอิ่มและความเพิ่มพูนเหล่านี้ อนุเคราะห์แล้วย่อมตั้งมั่นเสมอและโดยชอบในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความแน่วแน่


    ฉะนั้นพึงทราบความที่ปฐมฌานประกอบองค์ ๕
    ด้วยสามารถความเกิดขึ้นแห่งองค์ ๕ เหล่านี้ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาจิต,
    ด้วยว่า เมื่อองค์ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว ฌานชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้น
    เพราะเหตุนั้น องค์ ๕ เหล่านี้ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นองค์ประกอบ ๕ ประการของปฐมฌานนั้น.

    เพราะฉะนั้น ไม่พึงถือเอาว่า มีฌานอื่นที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ เหมือนอย่างว่า ท่านกล่าวว่า เสนามีองค์ ๔ ดนตรีมีองค์ ๕ มรรคมีองค์ ๘ ก็ด้วยสามารถสักว่าองค์เท่านั้นฉันใด, แม้ปฐมฌานนี้ก็ฉันนั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่ามีองค์ ๕ ก็ตาม ว่าประกอบด้วยองค์ ๕ ก็ตาม ก็ด้วยสามารถสักว่าองค์เท่านั้น.


     ans1 ans1 ans1

    ก็องค์ ๕ เหล่านี้มีอยู่ในขณะแห่งอุปจารก็จริง ถึงอย่างนั้นในอุปจารก็มีกำลังกว่าจิตปกติ แต่ในปฐมฌานนี้แม้มีกำลังกว่าอุปจาร ก็สำเร็จเป็นถึงลักษณะแห่งรูปาวจร.

    ก็วิตกในปฐมฌานนี้ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เกิดขึ้นโดยอาการอันสะอาดมาก วิจารประคองจิตไว้กับอารมณ์อย่างยิ่ง ปีติและสุขแผ่ไปสู่กายแม้เป็นที่สุดแห่งสภาวะ. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า โดยสภาพแห่งกายนั้น อะไรๆ ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกไม่ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่มี.
    แม้เอกัคคตาจิตก็เกิดขึ้นถูกต้องด้วยดีในอารมณ์ ดุจพื้นผอบข้างบนถูกต้องพื้นผอบข้างล่างฉะนั้น องค์เหล่านั้นแตกต่างจากองค์เหล่านี้ดังนี้.


    ในองค์เหล่านั้น เอกัคคตาจิตมิได้แสดงไว้ในปาฐะนี้ว่า สวิตกฺกํ สวิจารํ ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็เป็นองค์เหมือนกัน เพราะท่านกล่าวไว้ในวิภังค์อย่างนี้ว่า บทว่า ฌานํ ได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาจิตดังนี้.
    ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำอุทเทสด้วยอธิบายใด อธิบายนั้นแล พระสารีบุตรเถระนี้ประกาศแล้วในวิภังค์ ดังนี้แล.

   (ยังมีต่อ...โปรดติดตาม)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ขออภัยลืมบอกที่มา อยู่ที่นี้ครับ

 ans1 ans1 ans1
"กถาว่าด้วยปฐมฌาน"
อรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค เวรัญชกัณฑ์

http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=01.0&i=1&p=10

"คุหัฏฐกสุตตนิทเทส" อรรถกถา ขุททกนิกาย มหานิทเทส อัฏฐกวัคคิกะ
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29.0&i=30&p=3
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 19, 2014, 06:08:14 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ