ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กาลามสูตร กับ อริยธน ขัดกันหรือป่าว  (อ่าน 2918 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
กาลามสูตร กับ อริยธน ขัดกันหรือป่าว
« เมื่อ: ธันวาคม 13, 2009, 11:31:39 am »
0
กาลามสูตรของ
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมครู
๑. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตาม ๆ กันมา
๒. อย่าปลงเชื่อ ด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
๓. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
๔. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
๕. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก
๖. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
๗. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
๘. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฏีที่พินิจไว้แล้ว
๙. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
๑๐. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
เอามาจากกระทู้ พระอุตตระเถระ กับพระครูโลกเทพอุดร คือองค์เดียวกันใช่หรือไม่

อริยทรัพย์ เกิดได้จาก
1.ผู้มีใดมี ศรัทธาในพระรัตนตรัย ตั้งมั่นอย่างดีไม่หวั่นไหว
2.ผู้ใดมี ศีลเป็นที่งดงามและเป็นที่สรรเสริญของพระอริยเจ้า
3.ผู้ใดมี ความเลื่อมใส ในพระสงฆ์
4.ผู้ใดทำ ความเห็นธรรม ให้เนือง ๆ

เอามาจากกระทู้ ปฏิบัติกรรมฐานแล้วสามารถแก้โรค แก้กรรมได้จริงหรือครับ?

อย่าปลงใจเชื่อ  กับ ความเชื่อ ( ศรัทธา )
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: กาลามสูตร กับ อริยธน ขัดกันหรือป่าว
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2009, 12:20:45 pm »
0
คุณฟ้าใสครับ คุณนำกาลามสูตรมาลงไม่ครบครับ ที่ขาดไปมีดังนี้ครับ

ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น
 
     สูตรนี้ ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติยสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่ากาลามะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาลามะนั้นเป็นชาวเกสปุตตนิคม
A.I.189     องฺ.ติก.๒๐/๕๐๕/๒๔๑.
________________________________________
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ของท่าน ป.อ.ปยุตโต

คุณฟ้าใสครับลองดู ธรรมคุณ ๖ แล้วจะเข้าใจคุณสมบัติของธรรม ของพระพุทธเจ้า

ธรรมคุณ ๖ (คุณของพระธรรม — virtues or attributes of the Dhamma)

๑. สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม (พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว คือ ตรัสไว้เป็นความจริงแท้ อีกทั้งงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศหลักการครองชีวิตอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง — Well proclaimed is the Dhamma by the Blessed One)
 
๒. สนฺทิฏฺฐิโก (อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง คือ ผู้ใดปฏิบัติ ผู้ใดบรรลุ ผู้นั้นย่อมเห็นประจักษ์ด้วยตนเองไม่ต้องเชื่อตามคำของผู้อื่น ผู้ใดไม่ปฏิบัติ ไม่บรรลุ ผู้อื่นจะบอกก็เห็นไม่ได้ — to be seen for oneself)

๓. อกาลิโก (ไม่ประกอบด้วยกาล คือ ไม่ขึ้นกับกาลเวลา พร้อมเมื่อใด บรรลุได้ทันที บรรลุเมื่อใด เห็นผลได้ทันที อีกอย่างว่า เป็นจริงอยู่อย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น ไม่จำกัดด้วยกาล — not delayed; timeless)

๔. เอหิปสฺสิโก (ควรเรียกให้มาดู คือ เชิญชวนให้มาชม และพิสูจน์ หรือท้าทายต่อการตรวจสอบ เพราะเป็นของจริงและดีจริง — inviting to come and see; inviting inspection)

๕. โอปนยิโก (ควรน้อมเข้ามา คือ ควรเข้ามาไว้ในใจ หรือน้อมใจเข้าไปให้ถึง ด้วยการปฏิบัติให้เกิดมีขึ้นในใจ หรือให้ใจบรรลุถึงอย่างนั้น หมายความว่า เชิญชวนให้ทดลองปฏิบัติดู อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นสิ่งที่นำผู้ปฏิบัติให้เข้าไปถึงที่หมายคือนิพพาน — worthy of inducing in and by one’s own mind; worthy of realizing; to be tried by practice; leading onward)

๖. ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ (อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน คือ เป็นวิสัยของวิญญชนจะพึงรู้ได้ เป็นของจำเพาะตน ต้องทำจึงเสวยได้เฉพาะตัว ทำให้กันไม่ได้ เอาจากกันไม่ได้ และรู้ได้ประจักษ์ที่ในใจของตนนี่เอง — directly experienceable by the wise)
 
คุณข้อที่ ๑ มีความหมายกว้างรวมทั้งปริยัติธรรม คือ คำสั่งสอนด้วย ส่วนข้อที่ ๒ ถึง ๖ มุ่งให้เป็นคุณของโลกุตตรธรรม จะเห็นได้ในที่อื่นๆ ว่า ข้อที่ ๒ ถึง ๖ ท่านแสดงไว้เป็น คุณบทของนิพพาน ก็มี
M.I.37; A.III.285.     ม.มู.๑๒/๙๕/๖๗; องฺ.ฉกฺก.๒๒/๒๘๑/๓๑๘.
________________________________________
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ของท่าน ป.อ.ปยุตโต

พระพุทธเจ้าไม่ได้บังคับให้ใครเชื่อในธรรมของท่าน แต่ท้าให้พิสูจน์ด้วยตนเอง
ต่อเมื่อปฏิบัติถึงแล้ว จะเข้าใจและรู้ได้ด้วยตนเอง
"อย่าได้ด่วนปฏิเสธ ถ้ายังไม่ได้พิสูจน์"



คุณฟ้าใสครับ อ่านแล้วคงพอเข้าใจนะครับ

วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย ในพระรัตนตรัย
อยู่ในนิวรณ์ ๕ และยังอยู่ในสังโยชน์ ๑๐
โสดาบันปัตติผลเท่านั้นที่ละได้

ขอเป็นกำลังใจให้ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 13, 2009, 12:23:34 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: กาลามสูตร กับ อริยธน ขัดกันหรือป่าว
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 21, 2010, 12:58:49 am »
0
 :25:
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม