ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การกรวดน้ำ การตรวจน้ำ การหลั่งน้ำสิโนธก มีหลักฐานการปฏบัติในครั้งพุทธกาลหรือไม่  (อ่าน 12234 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

saithong

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +13/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การกรวดน้ำ การตรวจน้ำ การหลั่งน้ำสิโนธก มีหลักฐานการปฏบัติในครั้งพุทธกาลหรือไม่
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28455
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
พระเจ้าพิมพิสาร

                    พระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ครองเมืองราชคฤห์แคว้นมคธ สืบต่อจากพระราชบิดา เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวชแล้วได้เสด็จไปประทับอยู่ที่ปัณฑวบรรพต แคว้นมคธ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ข่าวจึงเสด็จไปนมัสการ และชักชวนให้สละเพศบรรพชิตมาครองราชย์ด้วยกัน เมื่อได้รับคำปฏิเสธจึงขอคำปฏิญญาว่า หากทรงค้นพบสิ่งที่แสวงหาเมื่อใด ขอให้มาสอนพระองค์เป็นคนแรก

                    ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าเมื่อโปรดปัญจวัคคีย์ โปรดพระยสะและสหาย มีพระอรหันต์ จำนวน  60  องค์  ทรงส่งไปประกาศพระศาสนายังแคว้นต่างๆแล้ว พระองค์จึงเสด็จมุ่งตรงไปยังเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ   เพื่อเปลื้องคำปฏิญญาที่ประทานให้กับพระเจ้าพิมพิสารนั้นเอง
                   
     พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า พระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้นำแคว้นใหญ่   ถ้าพระเจ้าพิมพิสารทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแล้ว ประชาชนคนอื่นๆ ก็จะดำเนินรอยตาม ทรงดำริเช่นนี้จึงเสด็จไปยังเมืองราชคฤห์

                    สมัยนั้นพระเจ้าพิมพิสารและชาวเมืองทรงเคารพนับถือชฏิลสามพี่น้องอยู่   พระพุทธองค์จึงต้องไปโปรดสามพี่น้องก่อน  เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดชฏิลสามพี่น้องสละลัทธิความเชื่อดั้งเดิมมาเป็นสาวกของพระองค์แล้ว ก็พาสาวกใหม่จำนวนพันรูปไปพักยังสวนตาลหนุ่มใกล้เมืองราชคฤห์
 
                    เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้สดับข่าวนี้ จึงเสด็จพร้อมประชาชนจำนวนมากไปยังสวนตาลหนุ่ม ได้เห็นอาจารย์ของตนนั่งคุกเข่าประคองอัญชลีต่อพระพุทธเจ้า ประกาศเหตุผลที่สละลัทธิความเชื่อถือเดิมหันมานับถือพระพุทธศาสนา ก็หายสงสัย ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วนับถือพระรัตนตรัย และถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้า พร้อมภิกษุสงฆ์ที่พระราชวังในวันรุ่งขึ้น

                    หลังจากนั้นไม่กี่วันก็ถวายสวนไผ่นอกเมืองให้เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา  เรียกว่า  วัดเวฬุวัน   เวฬุวันนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กัลบทนิวาปสถาน คือ สถานที่ให้เหยื่อแก่กระแต

                    พระเจ้าพิมพิสารเป็นคนแรกที่ทำพิธีกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย เรื่องมีอยู่ว่า หลังจากถวายวัดเวฬุวันแล้วคืนนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงฝันร้าย เห็นพวกเปรตมาร่ำร้องอยู่ต่อหน้า น่าเกลียดน่ากลัวมาก รุ่งเช้าขึ้นมาพระองค์เสด็จไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อทรงทราบว่าเปรตเหล่านั้นเคยเป็นพระญาติของพระองค์มาของส่วนบุญ และได้รับคำแนะนำให้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้พวกเขา วันต่อมาพระเจ้าพิมพิสารจึงได้นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์ไปเสวย ภัตตาหารในพระราชวังแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแก่พวกเปรตเหล่านั้น ตกดึกคืนนั้นพวกเปรตมาปรากฏโฉมอีก แต่คราวนี้หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ขอบคุณที่แบ่งส่วนบุญให้แล้วก็อันตรธานหายวับไป

                    เมื่อหันมานับถือพระพุทธศาสนาแล้ว พระเจ้าพิมพิสารทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง จนแว่นแคว้นของพระองค์มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วว่าเป็นดินแดนแห่งพระธรรม   พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน มีพระอัครมเหสีพระนามว่าโกศลเทวี หรือ เวเทหิ  เป็นพระกนิษฐาของพระเจ้าปเสนทิโกศล   พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้พระกนิษฐาของพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระมเหสีเช่นกัน

                    มีพระโอรสนามว่า อชาตศัตรู (ผู้เกิดมาไม่เป็นศัตรู) ในช่วงตั้งครรภ์พระนางเวเทหิทรงแพ้พระครรภ์ใคร่เสวยพระโลหิตของพระสวามี โหราจารย์ทำนายว่าพระโอรสองค์นี้จะทำปิตุฆาต แต่พระเจ้าพิมพิสารก็มิทรงแยแสต่อคำทำนาย

                    เมื่อพระโอรสประสูติแล้ว ทรงให้การศึกษาอบรมเป็นอย่างดี เจ้าชายน้อยก็อยู่ในพระโอวาทเป็นอย่างดี แต่พอเจ้าชายน้อยได้รู้จักพระเทวทัต ถูกพระเทวทัตล้างสมองให้เห็นผิดเป็นชอบ จนจับพระเจ้าพิมพิสารขังคุกให้อดพระกระยาหารจนสิ้นพระชนม์   พระเจ้าพิมพิสารได้เสด็จเดินจงกรมยังชีพอยู่ในคุกได้ด้วยพระพุทธานุสสติ คือ มองลอดช่องหน้าต่างทอดพระเนตรดูพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นลงเขาคิชฌกูฏพร้อมภิกษุสงฆ์ทุกวัน   เมื่อรู้ว่าเสด็จพ่อยังเดินอยู่ได้ กษัตริย์อกตัญญูก็สั่งให้เอามีดโกนเฉือนพระบาทเอาเกลือทา ย่างด้วยถ่านไฟร้อน พระเจ้าพิมพิสารทนทุกขเวทนาไม่ไหวก็สิ้นพระชนม์ ณ ที่คุกขังนั้นแล

                    พระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ผู้ทรงธรรมทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ทำให้พระพุทธศาสนาหยั่งรากลงในแคว้นมคธและเจริญแพร่หลายชั่วระยะเวลาอันรวดเร็ว ชาวพุทธจึงควรระลึกถึงพระคุณของพระองค์ในข้อนี้

ที่มา  http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/budda/pim-pi-sarn.htm
_____________________________________________________________


ตอบปัญหาเรื่องการกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลครับ

คำถาม

ครับผม ผมเรียนถามหลวงพี่เรื่องนึงครับ เรื่องการกรวดน้ำ
การที่ผมตักบาตรให้กับพ่อผม บางครั้งผมก็กรวดน้ำ บางครั้งผมก็ไม่ได้กรวด
พ่อผมจะได้สิ่งที่ผมทำบุญไปให้หรือเปล่าครับ

คำตอบ

     ตอบช้าหน่อยครับ พอดีไปงานศพมา โยมแม่ของพระที่วัดเสียชีวิตครับ ก็พอดีกันกับที่โยมถามเรื่องการกรวดน้ำครับ ก็จะไขข้อข้องใจดังนี้ครับ

การกรวดน้ำ หรือตรวจน้ำ เริ่มมาจาก พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ เลื่อมใสในพระศาสดา ได้ทำบุญเป็นอันมาก ตกตอนกลางคืนพระองค์เห็นฝูงเปรต มาร้องโหยหวน น่ากลัวมาก จึงทูลถามพระตถาคต ได้ความว่า เปรต นั้นเป็นอดีตญาติ ๆ ของพระเจ้าพิมพิสาร ต้องเกิดเป็นเปรตเพราะกรรมที่เคยกิน หรือให้กินอาหารที่เตรียมไว้ถวายพระ มาขอแบ่งส่วนบุญที่พระเจ้าพิมพิสารทรงประกอบในชาตินี้ เพราะพระเจ้าพิมพิสารไม่ได้กรวดน้ำให้ พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงกรวดน้ำพร้อมกับตรัสพระคาถาที่พระพุทธองค์ทรงสอนว่า "อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ ญาตโย" เปรตเหล่านั้นได้อนุโมทนาและได้กลายเป็นเทวดามีอาหาร อาภรณ์ ปราสาท ทิพย์ เสวยสุขกันถ้วนหน้า ( นี่เล่าอย่าง ย่อ ๆ นะครับ คลิ๊กดูหัวข้อในพระไตรปิฏก )

     สำหรับการอุทิศส่วนกุศลจะสำเร็จต้องประกอบด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ ดังนี้ครับ

     ๑. มีบุญกุศลให้อุทิศ-ต้องทำความดีก่อนครับ

     ๒. มีผู้รับผลบุญ-ผู้ที่จะรับผลบุญได้ ต้องเป็นเปรตชนิด ปรตูปชีวีเปรต เท่านั้นครับ อ้าวแล้วถ้าญาติเราไม่เป็นเปรตละ? ต้องมีครับ ตลอดวัฏฏะอันแสนนาน เราต้องมีญาติอย่างน้อยสักคนที่เป็นเปรตละครับ

     ๓. มีการอุทิศให้-ก็กรวดน้ำ จะกรวดแห้งก็ได้ครับ-ตั้งจิตอธิษฐานเอา-ระบุชื่อผู้รับก็ได้-โดยส่วนตัวแล้ว ไม่ชอบระบุชื่อครับ มักจะว่า ให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหมด เผื่อญาติที่เราไม่รู้ชื่อด้วยไงครับ
     ๔. เปรตนั้นรู้ และยินดีด้วยกับบุญที่เราทำและอุทิศให้ด้วยครับ จึงจะได้ผล

     แล้วถ้าบังเอิญขาดข้อใดข้อหนึ่งหล่ะ ? บุญตีกลับ เหมือนจดหมายตีกลับเพราะไม่มีผู้รับ หรือจ่าหน้าซองไม่ชัดเจนครับ รับรองว่าบุญไม่หายไปไหน อย่างไรก็อยู่ที่คนทำอยู่แล้ว

     ถ้าอุทิศให้เขาหมดเราจะเหลืออะไรเล่า ? ไม่เหมือนให้ของ ให้แล้วหมด แต่การอุทิศส่วนกุศลเหมือนการต่อเทียน ต่อ ๆ กัน ๑ เล่ม เป็น ๒ เป็น๔..๘..๑๖..๓๒.. เป็น mega เป็น giga ครับ ยิ่งให้ยิ่งสว่างครับ

     ถ้าลืมละ ? กรวดย้อนหลังครับ พยายามนึกถึงบุญที่เราได้กระทำ แล้วเลื่อนเมาส์ขึ้นไปคลิ๊ก play ที่เครื่องเล่นด้านบน ๆ ได้เลยครับ ใส่บทสวดอนุโมทนาและให้พรไว้แล้ว หรือถ้าไม่สะดวกก็ระลึก อธิษฐานเป็นภาษาไทยก็ได้ครับ คำบาลีไว้ให้พวกมหาเขาว่ากันเถอะครับ เราเอาใจความพอแล้ว ว่าอย่างนี้ครับ "ขอบุญนี้จงเกิดแก่ญาติ ๆ ของข้าพเจ้า ขอให้ญาติ ๆ ของข้าพเจ้ามีความสุข" นี่แปลมาจากบทที่พระตถาคตทรงสอนพรเจ้าพิมพิสารครับ

อย่างไรก็ตามการกรวดน้ำย้อนหลังอาจไม่ได้ผลแรงเท่าสด ๆ ร้อน ๆ นะครับ ขึ้นอยู่กับสภาวะจิตที่ผ่องใสครับ ทำบุญใหม่ ๆ สด ๆ จิตจะใสมากครับ

     เอาละครับ  ถามนิดเดียว ตอบซะยาวยืดเลยเรา ( น้ำลายแตกฟอง ) ถ้าสงสัยอะไรก็ถามกันมานะครับ สาธุ
 
เพิ่มเติมครับ

มีความเห็นจากพระแทน กิตฺติทตฺโต ว่า
tan พูดว่า:
หลวงพี่เข้าไปอ่านเรื่องกรวดน้ำแล้ว ขอโอกาสแสดงความเห็นด้วยครับ

สำคัญที่สุด คือ จิต

แผ่กุศล กรวดน้ำ กรวดแห้ง ได้เช่นกัน เอ่ยยังไงก็ได้ แต่ตั้งจิตให้มั่น ให้แผ่ออกไป
แล้วจะรู้สึกได้ถึงกระแสบุญที่ไหลออกไป

คำภาวนา และ การเทน้ำ เป็นเพียงอุบายเหนี่ยวนำจิต

หลวงปู่หล้าว่าธรรมทั้งหลายทั้งปวงทั้ง 84000 ย่อเหลือจิตเพียงอย่างเดียว

หลวงปู่ดุลย์ ว่า จิตคือพุทธะ

พระครูเกษม ว่า เจอจิต จึงจะแจ้งธรรม
 
สาธุ สาธุ

ที่มา    http://maha-oath.spaces.live.com/blog/cns!6D66525A182F717E!374.entry
___________________________________________

    กรวดน้ำ

 เนื้อความ :

    ไปทำบุญวันเกิดมาค่ะ  สงสัยว่า ทำไมตอนกรวดน้ำเสร็จแล้ว
    พระท่านถึงไม่ให้ไปเทที่ต้นไม้ แต่ท่านเทใส่กระบอก อีกอันนึงข้างตัวท่าน เลยงงๆค่ะ  แล้วอย่างงี้ผลบุญจะส่งถึงเจ้ากรรมนายเวรรึเปล่า

 จากคุณ : บุษ [ 28 ก.ย. 2543 / 13:27:29 น. ]
     
 ความคิดเห็นที่ 1 : (4)

    การกรวดน้ำจริงๆแล้วเป็นพิธีของพราหมณ์ ตามพุทธพิธีเพียงแค่เรากล่าว
    และนึกอุทิศก็พอแล้ว ใช้ได้

 จากคุณ : 4 [ 28 ก.ย. 2543 / 14:46:00 น. ]
     

 ความคิดเห็นที่ 2 : (ศิษย์โง่เรียนเซ็น)

    ไม่ถึงหรอกครับ
    บุญถูกขังไว้ในกระบอกแล้วล่ะ
    แต่ถ้าไปเทที่ต้นไม้ ก็ถูกต้นไม้ดูดเอาไปกินอยู่ดีแหละครับ

 จากคุณ : ศิษย์โง่เรียนเซ็น [ 28 ก.ย. 2543 / 19:20:15 น. ]
     

 ความคิดเห็นที่ 3 : (สาธิต)

    พุทธ กับพราห์มนั้นแทบจะแยกไม่ออกเลยจริงๆ ครับ  คุณลอง search ในพระไตรปิฎกดูนะครับ ไม่เคยมีกล่าวถึงคำว่ากรวดน้ำเลย การทำบุญอุทิศส่วนกุศลด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์จึงไม่จำเป็นต้องกรวดน้ำครับ ขอแนะนำธรรมะเพื่อชีวิตใน web site http://easy.to/alternative ครับ คุณจะได้ทราบอีกหลายๆ เรื่องที่ชาวพุทธไม่เคยทราบมาก่อน

 จากคุณ : สาธิต [ 29 ก.ย. 2543 / 06:23:23 น. ]


 ความคิดเห็นที่ 4 : (ดังตฤณ)

    น้ำเป็นสื่อครับสำหรับคนทั่วไป
    ถ้าจิตตั้งมั่นเป็นหนึ่งได้ ก็มีกำลังเป็นกระแสแรงพอจะถึงตัวได้
    แต่ให้คนทั่วไปซึ่งยังมีจิตไม่ตั้งมั่นคิดอุทิศนั้น
    มโนภาพของเป้าหมายไม่ชัดพอ เลยต้องอาศัยสื่อ
    ซึ่งก็ไม่มีอะไรดีกว่าธาตุน้ำ อันเป็นธาตุเย็น
    และจูงใจให้เย็น มีอาการไหลลงสู่เป้าหมายเช่นพื้นที่ถูกน้ำกระทบ

    พูดกันตรงไปตรงมา เป็นไปได้ยากครับ
    ที่อุทิศบุญกุศลให้คนตายแล้วจะถึงเจ้าตัว
    แต่บุญอันเกิดจากการอุทิศอย่างหนักแน่น อันนั้นแหละ
    เกิดกับเราจริง จัดเป็นทานชนิดหนึ่ง
    เป็นส่วนหนึ่งของการเปิดใจให้กว้างออก
    ไม่คับแคบ ไม่อึดอัดตระหนี่
    ความรู้จักให้นั้นแหละเป็นความสุขชนิดหนึ่ง
    เป็นการระงับเหตุแห่งทุกข์ขั้นพื้นฐานได้อย่างหนึ่ง

 จากคุณ : ดังตฤณ [ 29 ก.ย. 2543 / 16:41:18 น. ]
     

 ความคิดเห็นที่ 5 : (เณรน้อย)

    สมัย ก่อน......ก่อนพระผู้มีพระภาคจะตรัสรู้นั้น  ลัทธิต่างๆกำลังเกิดขึ้นมากโดยเฉพาะ ลัทธิพราหมณ์  ที่ไม่สามารถแยกออกจากพระพุทธศาสนาได้ และการให้ของหรือให้ทานในลัทธิพราหมณ์นั้น  เขาถือว่าต้องเทน้ำลงพื้นดินจึงถือว่าของที่ให้นั้นได้ขาดจากเจ้าของโดย สมบูรณ์  และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้แล้ว  ประเพณีการเทน้ำยังมีอยู่  และพระผู้มีพระภาคก็ไม่ได้ทรงตำหนิแต่อย่างใด ทรงอณุโลมให้เป็นตามที่เคยปฏิบัติมา  แต่ท่านทรงตรัสว่าการอุทิศส่วนกุศล  ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำแต่อย่างไร  เมื่อทำบุญแล้วเพียงแต่นึกถึงผู้ที่จะอุทิศให้  ก็น่าจะถึงแล้ว  หากผู้ที่เราอุทิศให้อยู่ในฐานะที่จะรับได้ครับ  ขอให้สบายใจได้หากไม่สบายใจก็ทำใหม่แล้วอุทิศใหม่ก็ไม่เป็นไร 

 จากคุณ : เณรน้อย [ 29 ก.ย. 2543 / 17:22:22 น. ]


 ความคิดเห็นที่ 6 : (ดังตฤณ)

    ถ้าทำบุญอุทิศแล้ว เทวดา พรหมที่มีญาณหยั่งรู้
    ประกอบกับการอุทิศมีแรงสะเทือนพอ ก็อาจสะกิดให้ส่งใจอนุโมทนา
    และเอาเท่าที่หามาให้ได้แบบเร็วๆนะครับ
    เปรตบางประเภทสามารถอนุโมทนาบุญได้เช่นกัน
    ถ้ามีแต่การอุทิศ แต่ปราศจากการยินดีอนุโมทนา
    ผลก็ไม่บังเกิด (ความจริงมีเรื่องเปรตที่เป็นญาติพระเจ้าพิมพิสารรอรับส่วนบุญ
    แต่หาไม่เจอในตอนนี้ครับ)

    ------------------------------------------------------------------------
    ๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ
    ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตญาติพระเจ้าพิมพิสาร

          พระผู้มีพระภาคตรัสกะพระเจ้าพิมพิสารว่า
          [๙๐] เปรตทั้งหลายพากันมาสู่เรือนของตนแล้ว ยืนอยู่ภายนอกฝาที่ตรอก
                กำแพง และทาง ๓ แพร่ง และยืนอยู่ที่ใกล้บานประตู เมื่อข้าว น้ำ
                ของกิน ของบริโภคเป็นอันมากเขาเข้าไปตั้งไว้แล้ว แต่ญาติไรๆ ของ
                สัตว์เหล่านั้นระลึกไม่ได้ เพราะกรรมเป็นปัจจัย เหล่าชนผู้อนุเคราะห์
                ย่อมให้น้ำและโภชนะอันสะอาด ประณีตสมควรแก่ญาติทั้งหลายตามกาล
                ดุจทานที่มหาบพิตรทรงถวายแล้วฉะนั้น ด้วยเจตนาอุทิศว่า ขอทานนี้แล
                จงสำเร็จผลแก่ญาติทั้งหลายของเรา ขอญาติทั้งหลายของเราจงเป็นสุข
                เถิด ส่วนเปรตผู้เป็นญาติเหล่านั้น พากันมาชุมในที่นั้น เมื่อข้าว
                และน้ำมีอยู่บริบูรณ์ ย่อมอนุโมทนาโดยเคารพว่า เราได้สมบัติเพราะ
                เหตุแห่งญาติเหล่าใด ขอญาติของเราเหล่านั้น จงมีชีวิตอยู่ยืนนาน
               
                การบูชาเป็นอันพวกญาติได้ทำแล้วแก่เราทั้งหลาย และญาติทั้งหลายผู้ให้
                ก็ไม่ไร้ผล เพราะในเปรตวิสัยนั้น ไม่มีกสิกรรม ไม่มีโครักขกรรม ไม่
                มีการค้าขายเช่นนั้น ไม่มีการซื้อการขายด้วยเงิน เปรตทั้งหลายผู้ไปใน
                ปิตติวิสัย ย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยทานที่ญาติหรือมิตรให้แล้วแต่มนุษย-
                โลกนี้ น้ำฝนอันตกลงในที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ทานอัน
                ญาติหรือมิตรให้แล้วในมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่เปรตทั้งหลาย
                ฉันนั้นเหมือนกัน ห้วงน้ำใหญ่เต็มแล้ว ย่อมยังสาครให้เต็มเปี่ยม
                ฉันใด ทานอันญาติหรือมิตรให้แล้ว แต่มนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผล
                แก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน กุลบุตรเมื่อระลึกถึงอุปการะที่ท่าน
                ทำแล้วในกาลก่อนว่า ญาติมิตรและสหายได้ให้สิ่งของแก่เรา ได้ช่วย
                ทำกิจของเรา ดังนี้ พึงให้ทักษิณาแก่เปรตทั้งหลาย ความเศร้าโศก

                หรือความร่ำไรอย่างอื่น ไม่ควรทำเลย เพราะความร้องไห้เป็นต้นนั้น
                ไม่เป็นประโยชน์แก่เปรตทั้งหลาย ญาติทั้งหลายย่อมดำรงอยู่โดยปกติ
                ธรรมดา อันทักษิณานี้แลที่ท่านเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในสงฆ์ ให้แล้ว ย่อม
                สำเร็จประโยชน์แก่เปรตนั้นโดยพลัน สิ้นกาลนาน ญาติธรรมมหาพิตร
                ได้แสดงให้ปรากฏแล้ว การบูชาอันยิ่งเพื่อเปรตทั้งหลาย มหาพิตรทรง
                ทำแล้ว และกำลังกายมหาบพิตรได้เพิ่มให้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว บุญมี
                ประมาณไม่น้อยมหาบพิตรได้ทรงขวนขวายแล้ว.

    จบ ติโรกุฑฑเปตวัตถุที่ ๕.

 จากคุณ : ดังตฤณ [ 29 ก.ย. 2543 / 21:19:12 น. ]
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ทินกร

  • ถวายชีวิตเพื่อพุทธศาสน์
  • ผู้บริหารเว็บ
  • มีเหตุมีผล
  • *
  • ผลบุญ: +17/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 365
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ได้บทความดีๆ อีกแล้ว ถึงใจจริงๆ
บันทึกการเข้า
พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

www.madchima.org
http://saraburisat.ps-satcom.com รับติดตั้งจานดาวเทียมครับ
http://www.yutyaplaza.com ลงประกาศฟรี ของชาวอยุธยา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28455
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 ความคิดเห็นที่ 7 : (tchurit)

    ผมว่าตอนนี้บุญน่าจะไปถึงแล้วละครับ
    ถ้าคุณหายสงสัยว่า  ทำไมตอนกรวดน้ำเสร็จแล้วพระท่านให้เทใส่กระบอกแทนที่จะให้ไปเทที่ต้นไม้
    "เลยงงๆค่ะ แล้วอย่างงี้ผลบุญจะส่งถึงเจ้ากรรมนายเวรรึเปล่า ???"
    ผมว่าหายงง หายสงสัยเมื่อไหร่จิตคุณก็ส่งถึงเจ้ากรรมนายเวรเมื่อนั้นละครับ
    เออ! หรือว่าจะค้างอยู่กระบอก หรือ ถูกต้นไม้ดูดเอาไปกินอย่างที่คุณศิษย์โง่เรียนเซ็นว่านะ ???
    ขอบคุณสำหรับความรู้ว่าการกรวดน้ำมาได้อย่างไรครับ

 จากคุณ : tchurit [ 30 ก.ย. 2543 / 16:51:21 น. ]
     

 ความคิดเห็นที่ 8 : (คัดลอกมาให้อ่านครับ)

    ผู้ ถาม : กราบเรียนหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง สามีของลูกเลิกกันไปแล้ว ก็ตายไปแล้ว ประมาณสัก 10 วัน กว่า ก็ได้มีโอกาสถวายสังฆทานที่วัดแห่งหนึ่ง แล้วท่านก็นำน้ำมาให้กรวด แต่เวลากรวดน้ำจริงๆ ปรากฏว่าในเหยือกน้ำนั้นมีตะไคร่ดำปิ๊ดปี๋ไหลออกมา ลูกตกใจเป็นอย่างมาก ไม่ทราบว่าสามีแกจะได้รับอานิสงส์เป็นประการใดเจ้าคะ?
    หลวงพ่อ :  คิดว่าสามีแกจะกินน้ำเรอะ...มันไม่ใช่ การใช้น้ำเป็นวิธีการของพราหมณ์ ไม่ใช่พุทธ ตามพิธีกรรมของพราหมณ์ เขาจะยกอะไรให้ ยกลูกสาวให้ ยกควายให้ ยกวัวให้ ยกสมบัติให้ เขาให้คนที่รับแบมือมาแล้วเอาน้ำราดมือ เป็นการแสดงของการให้ ทีนี้การอุทิศส่วนกุศลครั้งแรกที่ พระเจ้าพิมพิสาร ทำน่ะนะ อย่าลืมว่าพระเจ้าพิมพิสารทำเป็นคนแรก และท่านเป็นพราหมณ์มาก่อน ชื่อว่า กุเวรพราหมณ์ ไงล่ะ
    ในเมื่อท่านเป็นพราหมณ์มาก่อน เวลาอุทิศส่วนกุศลตามที่พระพุทธเจ้าแนะนำ ท่านก็ใช้น้ำตามพิธีกรรมของพราหมณ์ แต่วาจาที่กล่าวเป็นลีลาของพระว่า "อิทัง โน ญาตินัง โหตุ..." แปลว่า "ขอผลบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติของข้าพเจ้า" เท่านี้เอง

    เท่านั้นบรรดา เปรตทั้งหลายก็ได้โมทนา แต่เนื้อแท้จริงๆ การอุทิศส่วนกุศลในพระพุทธศาสนาไม่จำเป็นต้องใช้น้ำ เพราะผีไม่กินน้ำนั้น เขากินอานิสงส์ มันไม่เกี่ยวกันนะ

 จากคุณ : คัดลอกมาให้อ่านครับ [ 1 ต.ค. 2543 / 15:48:54 น. ]

ที่มา   www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001686.htm
____________________________________________________________________






การกรวดน้ำ

ที่มาของธรรมเนียมการกรวดน้ำ


ในสมัยพุทธกาลที่พระพุทธเจ้า
ทรงออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนชมพูทวีปช่วงแรกๆนั้น
ยังไม่มีธรรมเนียมการกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแก่ผู้ตาย
หรือบรรพบุรุษของผู้กระทำกุศลแต่อย่างใด

จนกระทั่งพระเจ้าพิมพิสาร มหาราชแห่งแคว้นมคธ
ทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา
และทรงถวายสวนไผ่ให้เป็นวิหารที่ประทับของพระพุทธเจ้า

ซึ่งสวนไผ่แห่งนั้นได้กลายเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
ที่มีชื่อว่า “วัดพระเวฬุวัน”

แต่การบำเพ็ญกุศลอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าพิมพิสารครั้งนี้
ก็ยังไม่ได้มีการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย
เนื่องจากยังไม่มีธรรมเนียมปฏิบัติ

เมื่อพระเจ้าพิมพิสารบรรทมในคืนนั้น
ก็ทรงพระสุบินเห็นเปรตหลายตนมาขอส่วนบุญ
รุ่งเช้าพระเจ้าพิมพิสารจึงนำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า

พระพุทธองค์จึงตรัสให้พระเจ้าพิมพิสาร
ทรงถวายทานแก่พระสงฆ์อีกครั้ง
พร้อมกับให้ตั้งจิตอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
พระเจ้าพิมพิสารทรงกระทำตามที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำ

พอตกดึก เหล่าเปรตทั้งหลายก็ได้มาปรากฏตัว
ในพระสุบินของพระเจ้าพิมพิสารอีกครั้งหนึ่ง
แต่มาด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส นุ่งห่มผ้าเรียบร้อย
และขออนุโมทนาในส่วนบุญที่พระเจ้าพิมพิสารทรงอุทิศไปให้

เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ
พระพุทธองค์ตรัสว่าพวกเปรตเหล่านั้นในอดีตชาติ
เคยเป็นพระญาติของพระองค์

โดยครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารพร้อมทั้งหมู่ญาติ
ได้ตระเตรียมจะถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์
อันมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นประมุข

แต่เมื่อพระภิกษุสงฆ์ยังมิได้ฉันภัตตาหารนั้น
พวกญาติบางคนเกิดหิว จึงหยิบอาหารที่เตรียมไว้มารับประทาน
ด้วยผลกรรมนั้นพวกเขาจึงเกิดเป็นเปรต
เรียกว่า “ปรทัตตูปชีวิต”
(เปรตผู้อาศัยส่วนบุญที่คนเขาอุทิศให้ยังชีพ)


[พระเจ้าพิมพิสารทรงบำเพ็ญกุศลให้พระญาติที่เกิดเป็นเปรต
เปรตทั้งหลายต่างโมทนารับส่วนบุญ]


แต่เมื่อไม่มีญาติพี่น้องอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้
จึงผอมโซไปตลอดกาล
แต่เมื่อพระองค์ทรงอุทิศส่วนบุญไปให้
พวกเขาก็ได้รับดังกล่าวแล้ว

เหล่านี้คือที่มาของการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลในสมัยพุทธกาล

แต่การเอาน้ำมารินที่เรียกว่ากรวดน้ำนั้น มีมาเพิ่มในภายหลัง
โดยบางท่านสันนิษฐานว่าในสมัยก่อนนิยมใช้น้ำรินลงที่มือคนรับ

ดังเช่นพระเวสสันดรตอนพระราชทานสองกุมารแก่พราหมณ์ชูชก
ทรงยกคนโทน้ำรินน้ำลงที่มือของพราหมณ์
เป็นสัญลักษณ์ว่าให้เป็นการเด็ดขาด

แต่ในปัจจุบันนี้การใช้น้ำริน
อันเรียกกันตามภาษาเขมรว่า “กรวด”
จึงเรียกธรรมเนียมนี้ว่า “กรวดน้ำ”

มีระเบียบปฏิบัติที่ว่า

ให้เริ่มรินน้ำตอนที่พระรูปแรกสวด

“ยถา วาริวาหา...”

เมื่อพระสงฆ์รับพร้อมกัน
ก็ให้รินน้ำที่ยังเหลือให้หมด
แล้วประนมมือรับพรจากพระสงฆ์
โดยไม่ต้องเอานิ้วจับชายเสื้อของคนรินน้ำ

แต่ถ้าจะกรวดน้ำโดยไม่มีพิธีการทำบุญอย่างอื่น
เช่น การกรวดน้ำหลังจากการใส่บาตร
ก็นำพุทธวจนะสั้นๆ มาสวดว่า

“อิทํ โน ญาตินัง โหตุ สุขิตาโหนฺตุ ญาตโย”....ก็ได้


[พระเจ้าพิมพิสารเลื่อมใส ทรงหลั่งน้ำถวายวัดเวฬุวันเป็นปฐมสังฆาราม]

หมายเหตุ
“อุททิโสทก” แปลว่ากรวดน้ำมอบถวาย
ใช้กรณีเมื่อถวายของใหญ่โต
ไม่สามารถยกประเคนใส่มือได้ เช่น ที่ดินและวัด
(พระเจ้าพิมพิสารหลั่งน้ำจากน้ำพระเต้าลงพระหัตถ์ของพระพุทธองค์)

“ทักษิโณทก” กรวดน้ำแผ่ส่วนกุศลแก่คนตาย

   
ความเห็นของคุณกุหลาบสีชา



เมื่อกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนบุญ

๑. ควรเตรียมน้ำสะอาดใส่ภาชนะที่ง่ายแก่การหลั่งริน

๒. มือขวาใช้จับ มือซ้ายประคองหลั่งน้ำ

๓. เมื่อพระสงฆ์เริ่มอนุโมทนาบท “ยะถา วาริวหา ปูรา” ให้เริ่มกรวดน้ำ

๔. น้ำที่กรวดควรให้ไหลติดต่อกันไม่ขาดสาย
ไม่หลั่งน้ำลงบนฝ่ามือหรือใช้นิ้วรองน้ำ

๕. ตั้งใจอุทิศส่วนบุญในใจไปจนจบหรือกล่าวคำอุทิศส่วนบุญว่า

“อิทัง เม ญาตินัง โหตุ”
ขอบุญกุศลนี้ จงสำเร็จประโยชน์แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าด้วยเถิด

๖. เมื่อพระสวดถึงตอนที่ว่า “มะณิ โชติระโส ยะถา”
ควรหลั่งน้ำที่มีอยู่ให้หมดแล้วประนมมือรับพรจากพระ




อนึ่งหากหลั่งบนพื้นดินควรเลือกที่สะอาดหมดจด
ถ้าอยู่ในอาคารสถานที่ควรมีภาชนิรองรับอันสมควร

ไม่ใช้กระโถนหรือภาชนะสกปรกรองรับ
ควรหลั่งน้ำกรวดให้หมด
เมื่อเสร็จพิธีแล้ว จึงนำน้ำที่กรวดนั้นไปเทลงในดินที่สะอาด

การกรวดน้ำเป็นหน้าที่ของเจ้าของงานโดยตรง
เพราะถือเป็นเจ้าของบุญกุศล
เมื่อจะให้แก่ใคร เจ้าของต้องให้เอง




รวบรวมและเรียงเรียงมาจาก :
สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก
http://www.kalyanamitra.org/

ที่มา   http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=20380&start=0&st=0&sk=t&sd=a

__________________________________________________________   

ความเห็นของคุณ nene

   
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 284
พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักอุทิศทานแก่เปรตพวกนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

รับ. พระราชาเสด็จเข้าพระราชนิเวศน์ จัดแจงมหาทาน แล้วให้กราบทูลเวลา

ภัตตาหารแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าภายในพระราช-

นิเวศน์ ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาจัดไว้ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์.

เปรตพวกนั้น พากันไปยืนที่นอกฝาเรือนเป็นต้น ด้วยหวังว่า วันนี้

พวกเราคงได้อะไรกันบ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำโดยอาการที่เปรตพวก

นั้น จะปรากฏแก่พระราชาหมดทุกตน.

พระราชาถวายน้ำทักษิโณทก

ทรงอุทิศว่า ขอทานนี้จงมีแก่พวก

ญาติของเรา. ทันใดนั้นเอง สระโบกขรณีดารดาษด้วยปทุม ก็บังเกิดแก่เปรต

พวกนั้น. เปรตพวกนั้นก็อาบและดื่มในสระโบกขรณีนั้น ระงับความกระวน

กระวายความลำบากและหิวกระหายได้แล้ว มีผิวพรรณดุจทอง.

ลำดับนั้น พระราชาถวายข้าวยาคู ของเคี้ยว ของกินเป็นต้น

แล้วทรงอุทิศ. ในทันใดนั้นเอง ข้าวยาคูของเคี้ยวและของกินอันเป็นทิพย์ ก็

บังเกิดแก่เปรตพวกนั้น. เปรตพวกนั้น ก็พากินบริโภคของทิพย์เหล่านั้น มี

อินทรีย์เอิบอิ่ม.

ลำดับนั้น พระราชาถวายผ้าและเสนาสนะเป็นต้น ทรงอุทิศให้

เครื่องอลังการต่าง ๆ มีผ้าทิพย์ ยานทิพย์ ปราสาททิพย์ เครื่องปูลาดและที่นอน

เป็นต้น ก็บังเกิดแก่เปรตพวกนั้น. สมบัติแม้นั้นของเปรตพวกนั้น ปรากฏ

ทุกอย่างโดยประการใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงอธิษฐาน (ให้พระราชา

ทรงเห็น) โดยประการนั้น. พระราชาทรงดีพระทัยยิ่ง. แต่นั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เสวยเสร็จแล้ว ทรงห้ามภัตตาหารแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

ติโรกุฑฺเฑสุ ติฏฺนฺติ เป็นต้น เพื่อทรงอนุโมทนาแก่พระเจ้ามคธรัฐ.

ผู้ตั้งกระทู้ควรไปอ่านพระไตรปิฎกและสอบทานให้ดี เดี๋ยวชาวพุทธที่ไม่ค่อยจะอ่านพระไตรปิฎกกันจะเข้าใจเลอะเทอะไปกันใหญ่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 25, 2009, 07:55:08 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28455
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

ติโรกุฑฑสูตร

ว่าด้วยการให้ส่วนบุญแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่พระเจ้าพิมพิสาร เป็นคาถาว่า

[๘] ฝูงเปรตพากันมายังเรือนของตน ยืนอยู่ที่

นอกฝาเรือนบ้าง ยืนอยู่ที่ทาง ๔ แพร่ง ๓ แพร่งบ้าง

ยืนอยู่ใกล้บานประตูบ้าง.

เมื่อข้าวน้ำ ของเคี้ยว ของกินเขาวางไว้เป็นอัน

มาก ญาติไร ๆ ของเปรตเหล่านั้น ก็ระลึกไม่ได้ เพราะ

กรรมของสัตว์ทั้งหลายเป็นปัจจัย.

ชนเหล่าใด เป็นผู้เอ็นดู ชนเหล่านั้นย่อมให้น้ำ

ข้าว อันสะอาด ประณีต อันสมควร ตามกาล อุทิศ

เพื่อญาติทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ขอทานนี้แล จงมีแก่

ญาติทั้งหลาย ขอญาติทั้งหลาย จงมีสุขเถิด.

ส่วนฝูงเปรตที่เป็นญาติเหล่านั้น มาแล้ว พร้อม

แล้ว ก็ชุมนุมกันในที่ให้ทานนั้น ย่อมอนุโมทนาโดย

เคารพ ในข้าวน้ำเป็นอันมากว่า เราได้สมบัติเพราะ

เหตุแห่งญาติเหล่าใด ขอญาติเหล่านั้น ของเรา จงมี

ชีวิตยั่งยืน ทั้งการบูชา ญาติผู้เป็นทายกก็ได้กระทำแก่

พวกเราแล้ว อนึ่ง ทายกทั้งหลาย ย่อมไม่ไร้ผล.

ในปิตติวิสัยนั้น ไม่มีกสิกรรมการทำไร่การทำ

นาไม่มีโครักขกรรม การเลี้ยงโค. ในปิตติวิสัยนั้น การ

ค้าเช่นนั้น การซื้อขายด้วยเงิน ก็ไม่มี.



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

ผู้ทำกาลกิริยาละไปแล้ว ย่อมยังอัตภาพให้เป็น

ไปในปิตติวิสัยนั้น ด้วยทานที่ญาติให้แล้วจากมนุษย์

โลกนี้.

น้ำตกลงบนที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด

ทานที่ทายกให้ไปจากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่ฝูง

เปรตฉันนั้นเหมือนกัน.

ห้วงน้ำเต็มแล้ว ย่อมยังสาครให้เต็มฉันใด ทาน

ที่ทายกให้ไปนากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่ฝูง

เปรตฉันนั้น เหมือนกัน.

บุคคลเมื่อระลึกถึงกิจที่ท่านทำมาแต่ก่อนว่าท่าน

ได้ทำกิจแก่เรา ได้ให้แก่เรา ได้เป็นญาติมิตรเป็นเพื่อน

ของเรา ดังนี้ จึงควรให้ทักษิณาแก่ฝูงเปรต.

การร้องไห้ การเศร้าโศก หรือการพิไรรำพัน

อย่างอื่น ๆ ก็ไม่ควรทำ เพราะการร้องไห้เป็นต้นนั้น

ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ญาติทั้งหลาย ก็

คงอยู่อย่างนั้น.

ทักษิณานี้แล อันทายกให้แล้ว ตั้งไว้ดีแล้วใน

พระสงฆ์ ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ทายกนั้น โดยฐานะ

ตลอดกาลนาน.

ญาติธรรมนี้นั้น ก็ทรงแสดงแล้ว การบูชาผู้ล่วง

ลับไปแล้ว ก็ทรงทำโอฬารแล้ว ทั้งกำลังของภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ทรงเพิ่มให้แล้ว บุญพระองค์ก็ทรงขวน

ขวายไว้มิใช่น้อย.

จบติโรกุฑฑสูตร

อ่านและตีความให้ดีนะว่า คำว่าพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

ติโรกุฑฑสูตร

ว่าด้วยการให้ส่วนบุญแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่พระเจ้าพิมพิสาร เป็นคาถาว่า

[๘] ฝูงเปรตพากันมายังเรือนของตน ยืนอยู่ที่

นอกฝาเรือนบ้าง ยืนอยู่ที่ทาง ๔ แพร่ง ๓ แพร่งบ้าง

ยืนอยู่ใกล้บานประตูบ้าง.

เมื่อข้าวน้ำ ของเคี้ยว ของกินเขาวางไว้เป็นอัน

มาก ญาติไร ๆ ของเปรตเหล่านั้น ก็ระลึกไม่ได้ เพราะ

กรรมของสัตว์ทั้งหลายเป็นปัจจัย.

ชนเหล่าใด เป็นผู้เอ็นดู ชนเหล่านั้นย่อมให้น้ำ

ข้าว อันสะอาด ประณีต อันสมควร ตามกาล อุทิศ

เพื่อญาติทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ขอทานนี้แล จงมีแก่

ญาติทั้งหลาย ขอญาติทั้งหลาย จงมีสุขเถิด.

ส่วนฝูงเปรตที่เป็นญาติเหล่านั้น มาแล้ว พร้อม

แล้ว ก็ชุมนุมกันในที่ให้ทานนั้น ย่อมอนุโมทนาโดย

เคารพ ในข้าวน้ำเป็นอันมากว่า เราได้สมบัติเพราะ

เหตุแห่งญาติเหล่าใด ขอญาติเหล่านั้น ของเรา จงมี

ชีวิตยั่งยืน ทั้งการบูชา ญาติผู้เป็นทายกก็ได้กระทำแก่

พวกเราแล้ว อนึ่ง ทายกทั้งหลาย ย่อมไม่ไร้ผล.

ในปิตติวิสัยนั้น ไม่มีกสิกรรมการทำไร่การทำ

นาไม่มีโครักขกรรม การเลี้ยงโค. ในปิตติวิสัยนั้น การ

ค้าเช่นนั้น การซื้อขายด้วยเงิน ก็ไม่มี.



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

ผู้ทำกาลกิริยาละไปแล้ว ย่อมยังอัตภาพให้เป็น

ไปในปิตติวิสัยนั้น ด้วยทานที่ญาติให้แล้วจากมนุษย์

โลกนี้.

น้ำตกลงบนที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด

ทานที่ทายกให้ไปจากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่ฝูง

เปรตฉันนั้นเหมือนกัน.

ห้วงน้ำเต็มแล้ว ย่อมยังสาครให้เต็มฉันใด ทาน

ที่ทายกให้ไปนากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่ฝูง

เปรตฉันนั้น เหมือนกัน.

บุคคลเมื่อระลึกถึงกิจที่ท่านทำมาแต่ก่อนว่าท่าน

ได้ทำกิจแก่เรา ได้ให้แก่เรา ได้เป็นญาติมิตรเป็นเพื่อน

ของเรา ดังนี้ จึงควรให้ทักษิณาแก่ฝูงเปรต.

การร้องไห้ การเศร้าโศก หรือการพิไรรำพัน

อย่างอื่น ๆ ก็ไม่ควรทำ เพราะการร้องไห้เป็นต้นนั้น

ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ญาติทั้งหลาย ก็

คงอยู่อย่างนั้น.

ทักษิณานี้แล อันทายกให้แล้ว ตั้งไว้ดีแล้วใน

พระสงฆ์ ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ทายกนั้น โดยฐานะ

ตลอดกาลนาน.

ญาติธรรมนี้นั้น ก็ทรงแสดงแล้ว การบูชาผู้ล่วง

ลับไปแล้ว ก็ทรงทำโอฬารแล้ว ทั้งกำลังของภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ทรงเพิ่มให้แล้ว บุญพระองค์ก็ทรงขวน

ขวายไว้มิใช่น้อย.

จบติโรกุฑฑสูตร


คำ แปล....ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนฺติ สาครํ....เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺติ....ห้วงน้ำที่เต็ม ย่อมยังสมุทรสาคร ให้บริบูรณ์ได้ฉันใด....ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วแต่โลกนี้ ย่อมสำเร็จประโยชน์ แก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้ว ฉันนั้น

อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ตุมฺหํ...ขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ ขออิฏฐผล ที่ท่านปรารถนาแล้ว ตั้งใจแล้ว.... จงสำเร็จโดย ฉับพลัน

สพฺ เพ ปูเรนฺตุ สงฺกปฺปา....จนฺโท ปณฺณรโส ยถา.... มณิ โชติรโส ยถา ขอความดำริทั้งปวง จงเต็มที่....เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ....เหมือนแก้วมณี อันสว่างไสว ควรยินดี


คำว่าถวายน้ำทักษิโณทก แปลว่ากรวดน้ำหรือ ? ไม่ใช้มั๊ง! พระเจ้าพิมพิสารถวายน้ำให้พระพุทธองค์แล้วคิดอุทิศบุญให้ชาวทิพย์ที่เป็น ญาติทันทีต่างหากนะ และคำที่พระท่องยถาก็มีคำแปลอยู่แล้วไม่เห็นบอกว่าให้หยาดน้ำลงอะไรให้เลอะเทอะ

    คุณลองไปทำดูนะตามนี้แหละ ให้ทานวางของปั๊บอุทิศให้ญาติทิพย์ทันที ใครเข้ามาอ่านก็ลองทำดู ให้ทานวางของปั๊บอุทิศบุญทันที แล้วชีวิตจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงอีกเยอะ เพราะการอุทิศบุญด้วยการเทน้ำนั้น ไม่มีสอนในศาสนาพุทธ แน่นอน ไม่มีกล่าวไว้ในพระสูตรใด ๆ เลย


ถ้าใครอ่านพระไตรปิฎกพบว่า การทำบุญอุทิศโดยการเทน้ำลงพื้นหรือภาชนะรองรับน้ำนั้นมีกล่าวไว้ในพระสูตร ใด เล่มไหน หน้าที่เท่าไหร่ ช่วยบอกด้วยนะ ถ้ามีปรากฎในพระสูตรอะไรจะยอมแพ้ทันที

    เพราะเวลานี้ชาวพุทธทั่วโลกทำบุญ ทำทานกันคิดว่าจะอุทิศไปให้ญาติในโลกทิพย์ แต่ทำไมเดือดร้อนกันไปทั่วโลก ไปอ่านพระไตรปิฎกกัน เถิดชาวพุทธอย่าหลงเชื่อที่ใครเขากล่าว อ่านแล้วพิสูจน์ สมกับที่เป็นศาสนาที่นักวิทยาศาสตร์อย่างไอสไตล์ยอมแพ้ ....อย่างเงียบ ๆ ...เพราะเขากลัวว่านักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังจะอาย...

 

ที่มา   http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=20380&start=0&st=0&sk=t&sd=a


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 25, 2009, 07:50:33 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม