ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: นับหนึ่ง..นครปฐม..แน่หรือ.?  (อ่าน 15893 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
นับหนึ่ง..นครปฐม..แน่หรือ.?
« เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2015, 03:47:24 pm »
0


นับหนึ่ง..นครปฐม..แน่หรือ.?

ในหนังสือชื่อสุวรรณภูมิอยู่ที่นี่ ที่แผ่นดิน สยาม (สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก ก.ค. 2545) รวมพระราชนิพนธ์ พระนิพนธ์ และ บทความวิชาการเกี่ยวกับสุวรรณภูมิ ของรัชกาลที่ 4 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ธนิต อยู่โพธิ์ มานิต วัลลิโภดม ชิน อยู่ดี ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม...บางตอนของคำนำเสนอ สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ เขียนไว้...ว่า

ประวัติศาสตร์ชาติไทย ยึดมั่นถือมั่นว่า สุวรรณภูมิ คือชื่ออาณาจักรเก่าแก่เริ่มแรกของประเทศ มีราชธานีอยู่ที่เมืองนครปฐมโบราณ แล้วโยงเข้าเรื่องพระเจ้าอโศกจากอินเดีย ส่งพระโสณะ พระอุตระ มาเผยแผ่พุทธศาสนา โดยมี พระปฐมเจดีย์ เป็นพยานอยู่ทุกวันนี้

“ที่เชื่อถือกันมาทั้งหมดนั้น ไม่จริง” สุจิตต์ ฟันธงแล้วอธิบายว่า เพราะสุวรรณภูมิไม่ใช่ชื่ออาณาจักร ไม่มีอาณาจักรสุวรรณภูมิ เมืองนครปฐมโบราณ ที่มีชื่อเรียกในสมัยอยุธยา ว่าเมือง นครชัยศรี ก็ไม่ใช่เมืองเก่าแก่ที่สุดในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเพราะยังมีเมืองเก่าแก่กว่า คือ เมืองอู่ทอง (อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี)

ฉะนั้น พระปฐมเจดีย์ ก็ไม่ใช่สถูปเจดีย์แห่งแรก ที่สร้างแต่ครั้งพระเจ้าอโศก


 :96: :96: :96: :96:

ถึงตรงนี้จึงมีคำถาม สุวรรณภูมิคืออะไร.? อยู่ที่ไหน.?

ศิลาจารึกที่ศาลเจ้าพระปฐมเจดีย์ เป็นหลักฐานที่รัชกาลที่ 4 ครั้งทรงผนวช ทรงพระราชนิพนธ์ หลังเสด็จธุดงค์ไปนมัสการสถูปเก่าที่เมืองนครชัยศรี ปี พ.ศ.2374 ทรงเข้าพระทัยว่าเป็นองค์พระมหาสถูปเจดีย์ของโบราณแรกตั้งพระพุทธศาสนา

ต่อมาค้นพบโบราณวัตถุ เช่น ธรรมจักร พระพิมพ์ ฯลฯ มีข้อความจารึกเป็นคาถา เย ธัมมา นี่คือ จุดเริ่มต้นของความเชื่อเรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระเจ้าอโศก แล้วนำเข้าสู่เรื่องอาณาจักรสุวรรณภูมิ ในช่วงเวลาต่อๆไป


 ans1 ans1 ans1 ans1

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ...ทรงเชื่อว่า เมืองนครปฐมคือสุวรรณภูมิ สมดังที่รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำริ

“ผลงานการศึกษาค้นคว้าของนักปราชญ์ราชบัณฑิตยุคบุกเบิกเริ่มแรก ล้วนมีคุณูปการมหาศาล เป็นเหมือนบันไดขั้นแรก ที่ส่งให้ผู้ศึกษาค้นคว้าภายหลังได้ก้าวขึ้นบันไดขั้นต่อไป ไม่ได้หมายความว่ารุ่นเก่าล้าสมัย รุ่นใหม่ทันสมัย”


 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

สุจิตต์ วงษ์เทศ ว่าหลัง พ.ศ.2500 มีการขุดค้นทางโบราณคดี พบโครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่บ้านเก่า กาญจนบุรี จนถึงมีการขุดค้นที่เมืองอู่ทอง สุพรรณบุรี พบหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์กว้างขวางและซับซ้อนมากขึ้น

ด้วยเหตุดังนั้น จึงเกิดข้อสงสัย แล้วถกเถียงทักท้วงเรื่องต่างๆ รวมเรื่องสุวรรณภูมิด้วย ผู้รู้บางท่านเสนอหลักฐานค้านว่านครปฐมไม่ใช่สุวรรณภูมิ แต่สุวรรณภูมิอยู่ที่เมืองอู่ทอง


:sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

พ.ศ.2510 อาจารย์ธนิต อยู่โพธิ์ อธิบดีกรมศิลปากร เขียนเรื่องสุวรรณภูมิ ด้วยการยกเอาเอกสารลังกา อินเดีย กรีก-โรมัน ฯลฯ มาตีแผ่ แล้วเพิ่มเติมความเห็นแทรกไว้ วิธีคิดของอาจารย์ธนิตเป็นเพียงการประนีประนอม ระหว่างความคิดเก่ากับหลักฐานที่พบใหม่ คือ เมืองอู่ทอง กับเมืองนครปฐม ต่างเป็นสุวรรณภูมิ
    เมืองอู่ทอง เป็นเมืองสำคัญทางการปกครอง
    เมืองนครปฐม เป็นเมืองสำคัญทางศาสนา



แต่ในงานวิจัย เรื่องยุคเหล็กในประเทศไทย พัฒนาการทางเทคโนโลยีและสังคม...อาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม ใช้เวลาสำรวจตรวจสอบและศึกษาค้นคว้าเกือบตลอดชีวิต แล้วสรุปว่า

บริเวณที่เป็นตำแหน่งสำคัญของสุวรรณภูมิ น่าจะอยู่ที่ลุ่มน้ำท่าจีน-แม่กลอง ที่ต่อมามีเมืองอู่ทองเป็นศูนย์กลาง

งานวิจัยของอาจารย์ศรีศักดิ์ อ้างงานขุดค้นของอาจารย์ชิน อยู่ดี ที่บ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี แสดงหลักฐานชัดเจนถึงการติดต่อกับอินเดียก่อนที่อื่น ร่วมยุคกับพระเจ้าอโศก

สุวรรณภูมิเป็นชื่อดินแดนเก่าแก่ รู้จักกันแพร่หลายในหมู่ชาวอินเดีย-ลังกาโบราณ สุวรรณภูมิไม่ได้เกิดจากจินตนาการเพื่อแต่งนิทาน แต่มีตัวตนอยู่จริงๆ อย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยพุทธกาลมาแล้ว มีร่องรอยทางโบราณคดีสนับสนุน


 ask1 ans1 ask1 ans1

นักโบราณคดีนานาชาติถกเถียงเรื่องสุวรรณภูมิอยู่ที่ไหนมาช้านาน ฝ่ายหนึ่งว่าสุวรรณภูมิอยู่ในพม่า อีกฝ่ายว่าอยู่ในสยามประเทศ ตำราประวัติศาสตร์ไทยเคยจัดให้สุวรรณภูมิ เป็นอาณาจักรเก่าแก่ในภาคกลางประเทศไทย

การค้นคว้านักวิชาการรุ่นใหม่พบว่า สุวรรณภูมิเป็น ชื่อรวมๆที่ชาวอินเดียโบราณใช้เรียกภูมิภาคอุษาคเนย์ทั้งหมด ไม่ได้หมายถึงที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ

อุษาคเนย์โบราณ หรือสุวรรณภูมิ เป็นแหล่งโลหะและของป่าที่ชาวอินเดียต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทองแดงและทองคำ ซึ่งตรงกับคำว่า สุวรรณ การค้าโลหะและของป่าระหว่างอินเดียกับอุษาคเนย์คงแพร่หลายมาก ทำให้พ่อค้ามั่งคั่งอย่างรวดเร็ว ชาดกและคัมภีร์โบราณ ทั้งของอินเดีย ลังกา จึงกล่าวถึงการค้ากับสุวรรณภูมิเสมอๆ


 :25: :25: :25: :25:

“สุวรรณภูมิจะอยู่ที่ไหนก็ได้ ไม่สำคัญ แต่เรื่องสุวรรณภูมิ มีความสำคัญมากต่อพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมยุคแรกๆของอุษาคเนย์ทั้งหมด

สถาบันระดับอุดมศึกษาประเทศต่างๆ น่าจะร่วมกันผลักดันให้เกิด “สถาบันสุวรรณภูมิศึกษา” ขึ้นมาค้นคว้าความรู้ออกเผยแพร่ เพื่อสร้างสรรค์อนาคตอันดีงามของภูมิภาคและของโลกใบน้อยนี้” สุจิตต์ วงษ์เทศ ทิ้งท้าย.


คอลัมน์ คัมภีร์จากแผ่นดิน โดย บาราย
http://www.thairath.co.th/content/497702
ขอบคุณภาพจาก http://2.bp.blogspot.com/ , http://www.bloggang.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: นับหนึ่ง..นครปฐม..แน่หรือ.?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2015, 09:06:18 pm »
0



 :13:           gd1           :13:           gd1           :13:           gd1           :13:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 10, 2015, 09:43:18 pm โดย ธุลีธวัช (chai173) »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: นับหนึ่ง..นครปฐม..แน่หรือ.?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2015, 09:59:13 am »
0


 กระเบื้องจาร ( ศิลาจารึก ) อักษร เล่าเรื่อง ราวของ พระโสณะ พระอุตตระ ด้วยภาษาโบราณ (ทมิฬ) มีภาษาจีน ภาษาท้องถิ่นเดิม กระเบื้องจาร พบอยู่หลายแห่ง ที่พบมากมีอยู่ สามที่ เป็นเหมือนสมุดบันทึก เรื่องราวในยุคนั้น พบหลักฐานที่มาการเก็บรักษา ได้จำนวนหนึ่ง ที่วัดเพชรพลี เพชรบุรี



 สำหรับรายละเอียดเรื่องนี้ มีบันทึกอยู่ในหนังสือ ที่ถูกรวบรวมไว้ชื่อหนังสือ สุวรรณภูมิ

 

 เรื่องราวประวัติศาสตร์ จากศิลาจารึก ค่อนข้างจะเชือ่ถือได้ มาก เพราะแผ่นศิลาจารึก เมื่อถอดข้อความ ออกมา แล้ว มามีเรื่องราวหลายเรื่อง ที่เราไม่รู้ โดยเฉพาะเรื่อง การเผยแผ่พระพุทธศาสนา มาครั้งแรก และการสร้าง สถิตย์ เจดีย์ นครปฐม นั้น มีการเฉลยเรื่องราวในนี้

    สำหรับเจดีย์ นครปฐม ไม่ใช่เจดีย์แรกอยู่แล้ว ที่ถูกสร้างในดินแดน ศรีสัชนาลัย ( การปกครองขณะที่ นำการเผยแผ่ เข้ามา ) คณะเผยแผ่ ล่องเรือ มหาสมุทรอินเดีย และ อ้อมผ่าน เขตมาเลเซีย เป้าหมายขณะนั้น คือ ดินแดน ศูนย์กลางทางความรู้อยู่ที่ ศูนย์กลางของ อาณาจักร ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ ซึ่งศูนย์กลางแห่งความรู้ในสมัยนั้น เข้าใจว่าเป็น ที่ จ.นครปฐมปัจจุบัน แต่ ความเป็นจริง ถิ่นที่มีบัณฑิต อยู่มาก คือ จ.เพชรบุรี การสร้างสถูป เจดีย์

     ศิลาจารึก ที่สอดคล้อง ที่ เสาอโศก ประเทศอินเดีย

    การทำสังคายนาครั้งที่สามเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 234 ที่อโศการาม กรุงปาฏลีบุตร แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย โดยมีพระโมคคลีบุตรติสสเถระ เป็นประธาน การทำสังคายนาครั้งนี้มีพระสงฆ์มาประชุมร่วมกัน 1,000 รูป ดำเนินการอยู่เป็นเวลา 9 เดือน จึงเสร็จสิ้น

ข้อปรารภในการทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อพวกเดียรถีย์ หรือนักบวชศาสนาอื่นมาปลอมบวช แล้วแสดงลัทธิศาสนาและความเห็นของตนว่าเป็นพระพุทธศาสนา พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ จึงได้ขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้าอโศกมหาราชสังคายนาพระธรรมวินัยเพื่อกำจัดความเห็นของพวกเดียรถีย์ออกไป

ในการทำสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคลีบุตรติสสเถระ ได้แต่งคัมภีร์กถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์หนึ่งในพระอภิธรรมไว้ด้วย และเมื่อทำสังคายนาเสร็จแล้ว ก็มีการส่งคณะทูตไปประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ มีดังนี้

   

    พระมหินทเถระ โอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช นำพระพุทธศานาไปประดิษฐานในลังกา
    พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ และพระมหาเถรเจ้า อีก 3 รูป  พร้อมพระอนุจร 30 รูป นำพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ยังดินแดนสุวรรณภูมิ ( อย่าลืมว่าไม่ใช่ เป็นการเผยแผ่ ครั้งแรก อันนี้มัน พ.ศ.234 ไปแล้วนะ ดังนั้นพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ก่อนไปแล้ว แต่ว่าไม่เป็นทางการจาก มหาราช ในยุคนั้น ครั้งนี้นับว่า มีสาสน์ตราตั้งจาก มหาราช ส่งมาเหมือนเป็น ฑูต เป็นทางการ)

    ดังนั้น ช่วง ที่พระพุทธเจ้า ทรงมีพระชนม์ อยู่ ก็ได้เดินทางมากับ สาวก ด้วย ฤทธา เพื่อประทับรอยพระพุทธบาท ทั้ง 4 แห่งในประเทศไทย  รอยใหญ่ 3 รอยที่ระลึก 1 ในครั้งนั้นก็มีการสร้าง สถูปเจดีย์ ขึ้นมาแล้ว ดังนั้น จะบอกว่า ปฐมเจดีย์ เป็นเจดีย์ ที่สร้างก่อนเจดีย์อื่น นั้นไม่ใช่ เพราะมีเจดีย์ สถูป ก่อน ปฐมเจดีย์ เช่น ตุงคะเจดีย์ ที่ปักธง เป็นต้นก็สร้างก่อน นัยว่าเป็นที่แรกในเขตเหนือ จากการเผยแผ่ ของพระสงฆ์ยุคแรก ที่มาทางเท้า ข้ามอินเดีย ข้ามจีน ข้ามพม่า เข้ามาบังภาคเหนือในสมัยนั้น เพราะต้องการเข้ามากราบ รอยพระพุทธบาท และ ค้นหารอยพระพุทธบาท โยนกปุเร ตามที่มีบันทึกไว้ ในสมัยนั้น

    ปฐมเจดีย์ เป็น เจดีย์พุทธบุตร กำเหนิดบูชาในคุณของครูอาจารย์ ในสายกรรมฐาน พุทธวงศ์ที่แท้ เรียกว่า สายกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั่นเอง อันนี้เป็นที่หนึ่ง อย่าลืมว่า ฉันก็จะสร้างเหมือนกัน แต่ เรียกว่า ทุติยะเจดีย์ แต่เจดีย์ในประเทศไทย เขาก่อนสร้างก่อนฉันมีเป็นพันเจดีย์ เลยนะ ฉันก็ยังเรียก ทุติยะเจดีย์ ( ฉลาดไหม ศิษย์ทั้งหลาย เข้าใจความนัยหรือ ยัง ) หรือ แม้แต่การสร้าง เจดีย์ สุดท้าย ที่เรียกว่า ตติยะเจดีย์นั้น ก็จะมีในอนาคต ที่จังหวัด พิษณุโลก ด้วยเช่นกัน เรื่องเหล่านี้ เริ่มพูดอธิบายไม่ได้แล้ว เอาเป็นว่า แค่นี้

    การคล้อยตาม องค์ความรู้ ของหลัก ฐาน ต้องพิจารณา หลัก ฐาน หลายอย่าง ตอนที่ พระอาจารย์ ค้นหาเรื่องราว กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ไม่ได้ค้นข้อมูลจาก วัดราชสิทธาราม ที่เดียว แต่ค้นจากแหล่งข้อมูล ที่ปรากฏในนิมิต ด้วย จากคำบอกของ ครูอาจารย์ด้วย จาก เรื่อง ราวที่มีบันทึก อันได้รับคำชี้แนะ จากครูอาจารย์ ด้วยอีกอย่าง

    ดังนั้น ปฐมเจดีย์ เป็นเจดีย์ สำคัญ และ เป็น เจดีย์แรก แน่นอน สำหรับเรา

     :49: ;)


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 11, 2015, 10:34:05 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ตามหลักฐานบันทึกในหนังสือมหาวงค์ พงศาวดารลังกา (คำบรรยายของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ อดีตภัณฑารักษ์เอก กรมศิลปากร ) พ.ศ. ๓๐๓ และตามหลักฐานของวัดเพชรพลี (วัดพริบพรีเดิม บันทึกอักษรเทวนาคี ขุดค้นพบ ณ ซากศิลาวัดบัวคูบัว ต.คูบัว จ.ราชบุรี ) กล่าวว่า พระพุทธศาสนาได้เริ่มแพร่เข้าสู่แคว้นสุวรรณภูมิ ใน พ.ศ. ๒๓๕ ( ซึ่งระยะต่างกัน ๖๘ ปี พ.ศ. ๓๐๓-๒๓๕ ) พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงกระทำตติยสังคายนาพระไตรปิฎก คือ ทำการชำระพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครั้งที่ ๓ ครั้รแล้วจึงอาราธนาพระโมคคลีบุตรติสสเถระ องค์อรหันต์เป็นประธานคัดเลือกบรรดาพระอรหันตเถระ ออกทำการเผยแพร่พระพุทธศาสนายังนานาประเทศ โดยแบ่งเป็น ๙ คณะ คณะที่ ๘ ไปยังสุวรรณภูมิประเทศ ( พม่า มอญ เขมร ลาว รามัญ ญวน ไปจรดแหลมมลายู หรือที่เรียกว่าอินโดจีน เป็นสุวรรณภูมิทั้งสิ้น )

คณะธรรมฑูตประกอบด้วย
     

      ๑. พระโสณเถระ
      ๒. พระอุตระเถระ
      ๓. พระฌานียะ
      ๔. พระภูริยะ
      ๕. พระมูนียะ

   สามเณรอิสิจน์ สามเณรคุณะ สามเณรนิตตย เขมกะอุบาสก อนีฆาอุบาสก อดุลลยอำมาตย์ และคุณหญิงอดุลยา พราหมณ์และนางพราหมณี ผู้คนอีก ๓๘ คน ได้มาพักที่วัดช้างค่อม ( นครศรีธรรมราช ) เมื่อวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย พ.ศ. ๒๓๕ ออกบิณฑบาตวันขึ้น ๑๕ ค่ำ แล้วเทศนาพรหมชาลสูตร และได้วางวิธีอุปสมบทญัตติจถกรรมวาจา โดยใช้อุทกเขปเสมาหรือเสมาน้ำและได้วางเพศชีสยาม โดยถือแบบเหล่าพระสากิยานีซึ่งเป็นต้นของพระภิกษณี โดยบวชหรือบรรพชาไม่มีเรือน ( อาคารสมา อนคาริย ปพพชชา ) ได้วางวิธีสวดปาติโมกข์ หรืออุโบสถกรรม ปวารณากรรม

  เมื่อพระเจ้าโลกละว้า (เจ้าผู้ครองแคว้น สุวรรณภูมิ ) รับสั่งให้มนขอมพิสณุขอมเฉย ขอมสอน ขอมเมือง สร้างวัดมหาธาตุ ท่านได้วางวิธีกำหนดนิมิตผูกขันธสีมา พ.ศ. ๒๓๘ เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ

  ขณะอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ท่านได้สอนพระบวชใหม่ให้ท่องพระไตรปิฎกจบหลายองค์ แล้วจึงวางจึงวิธีสวด สาธยายโดยฝึกซ้อมให้คล่อง เมื่อคล่องแล้วจึงจะสัชฌากันจริง ๆ ท่านให้มนขอมปั้นพระพุทธรูปด้วยปูนขาวเป็นพระประธานในโรงพิธี เมื่อเรียบร้อยแล้วท่านวางวิธีกราบ สวดมนต์ ไหว้พระ เห็นดีแล้วจึงให้สร้างพระพุทธรูปประจำพระอุโบสถ จึงเป็นธรรมเนียมสืบต่อมาท่านได้วางวิธีกฐิน และธุดงค์ คือเที่ยวจารึกไปในเมืองต่าง ๆ

  การสร้างพระพุทธรูปในสมัยดังกล่าวนี้ก็ล้วนเป็นสิ่งสมมติ พระพุทธรูปเป็นองค์สมมติ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์ก็เป็นเพียงสมมติสงฆ์ สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านใช้วงล้อเกวียนประดิษฐ์เป็นพระธรรมจักรแทนพระธรรม กับทีทิค ( มิ-คะ) คือสัตว์ประเภทกวาง ฟาน หรือเก้ง เป็นเครื่องหมายในสมัยสุวรรณภูมิ

  ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๙ พระโสณเถระกับพระเจ้าโลกละว้าราชา ได้ส่งพระภิกษุสยาม ๑๐ รูป มีพระญาณจรณะ (ทองดี) เป็นหัวหน้า พร้อมด้วยสามเณร ๓ รูปอุบาสก อุบาสิกา ได้เรียนและศึกษา ณ กรุงปาตลีบุตร แคว้นมคธ นับเป็นเวลา ๕ ปี ลุปี พ.ศ. ๒๔๕ พระเจ้าโลกละว้าสิ้นพระชนม์ ตะวันทับฟ้า ราชบุตรขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า ตะวันอธิราชเจ้า พระโสณเถระอยู่ ณ แดนสุวรรณภูมิวางรากฐานพระธรรมวินัยในพระบวรพระพุทธศาสนา เป็นระยะเวลา ๒๙ ปี และนิพพานในปี พ.ศ. ๒๖๔
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: นับหนึ่ง..นครปฐม..แน่หรือ.?
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2015, 10:55:08 pm »
0
 gd1 thk56 st11 st12 st12 st11
      ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: นับหนึ่ง..นครปฐม..แน่หรือ.?
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2015, 11:50:42 pm »
0
 :25:           st12           :25:           st12           :25:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: นับหนึ่ง..นครปฐม..แน่หรือ.?
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มีนาคม 20, 2016, 08:15:37 am »
0

       ยังไงผมก็ต้องเชื่อตามตำนานพระกรรมฐาน ไว้ก่อนครับ

      กระเบื้องจารึก ของครูบาอาจารย์ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา