ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คุยเรื่อง "คาถาตวาดมาร"  (อ่าน 14169 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
คุยเรื่อง "คาถาตวาดมาร"
« เมื่อ: กันยายน 07, 2015, 08:52:36 am »
0


คาถา "ตวาดมาร"
(คู่มือทำวัตรกรรมฐาน ของพระครูสังฆรักษ์วีระ เรียกว่า คาถากรวดน้ำให้มารทั้ง ๕)

    มรดกธรรมของ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ให้สวด ๓ จบ ๕ จบ ๗ จบ
    คาถามีดังนี้....

    "ปัญจะมาเร  ชิเนนาโถ  ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ"

    คำแปล : พระโลกนาถเจ้าทรงชนะมาร พร้อมด้วยเสนามาร บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณอันสูงสุด ทรงประกาศสัจจะธรรมสี่ประการ ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีความแกล้วกล้ายิ่ง พวกมารทั้งห้าจงหนีไป

    แล้วให้อธิษฐานว่า มารทั้ง ๕ และมานะทั้งปวง อย่าได้จำนองจองเวรแก่กันเลย จงรับเอาส่วนบุญนี้เถิด(มารจะได้ไม่มารบกวนเวลานั่งบำเพ็ญกรรมฐาน)

       กรวดน้ำให้มารทั้งห้า คือ
         กิเลสมาร มาร คือ กิเลส ๑
          ขันธมาร มาร คือ ปัญจะขันธ ๑
           อภิสังขารมาร มาร คือ อภิสังขารที่ปรุงแต่งกรรม ๑
            เทวปุตตมาร มาร คือเทพบุตร ๑
             มัจจุมาร มาร คือ ความตาย ๑


ที่มา : คู่มือทำวัตรกรรมฐาน ของ สมเด็จพระสังฆราช ญาณสังวรมหาเถรเจ้า (หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน)
เรียบเรียงโดย พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร(พลับ)




ปุจฉา : เหตุใดจึงเรียกว่า "คาถาตวาดมาร"...?
วิสัชนา : เนื่องจากความหมายของคาถานี้ โดยเฉพาะประโยคสุดท้าย "ปัญจะมาเร ปลายิงสุ" แปลว่า "มารทั้งห้าจงหนีไป" ประโยคนี้ชัดเจนในความหมาย คือ ไล่มาร

ปุจฉา : คาถานี้ควรใช้ตอนไหน.?
วิสัชนา : ควรใช้ก่อนปฏิบัติธรรม เพื่อไล่มารและเสนามารที่จะมาขวางไม่ให้เราบรรลุธรรม

ปุจฉา : คาถานี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร.?
วิสัชนา : จนด้วยเกล้า ไม่ทราบจริงๆ แต่จะพยายามวิเคราะห์คาถานี้ในบางแง่มุม ตามกำลังสติปัญญาอันน้อยนิดที่มีอยู่...


  โปรดติดตาม.......
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 07, 2015, 08:55:16 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: คุยเรื่อง "คาถาตวาดมาร"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 08, 2015, 07:37:17 am »
0


ในคาถาตวาดมารนั้น มีคำว่า "ปัญจะมาเร" ซึ่งหมายถึง มารทั้ง ๕

ถามว่า : ในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงมารทั้ง ๕ หรือไม่.?
ตอบว่า : พระพุทธเจ้าตรัสถึงมารเหล่านั้น ตรัสเอาไว้ในที่ที่ต่างกัน ไม่ได้ตรัสรวมเอามารทั้ง ๕ ไว้ในที่เดียวกัน และไม่เคยตรัสว่า มารมี ๕ ประเภท การรวบรวมมารเข้าด้วยกันเป็น ๕ มารนั้น เป็นการรวบรวมของอรรถกถาจารย์

ในคำแปลของคาถาตวาดมาร กล่าวถึง "เสนามาร"
ถามว่า :  ในพระไตรปิฎกมีการกล่าวถึงเสนามาร หรือไม่.?
ตอบว่า :  มี แต่บางทีก็ใช้คำว่า "มารเสนา" มารเสนา(เสนามาร)มี ๑๐ ตัว พระพุทธองค์ตรัสไว้ใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส

ถามว่า : อรรถกถาจารย์กล่าวถึงมารทั้ง ๕ ไว้อย่างไร.?
ตอบว่า : ขอยกเอา พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) มาแสดงดังนี้


มาร 5 (สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ, สิ่งที่ล้างผลาญคุณความดี, ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางบุคคลมิให้บรรลุ ผลสำเร็จอันดีงาม)
       1. กิเลสมาร (มารคือกิเลส, กิเลสเป็นมารเพราะเป็นตัวกำจัดและขัดขวางความดี ทำให้สัตว์ประสบความพินาศทั้งในปัจจุบันและอนาคต)
       2. ขันธมาร (มารคือเบญจขันธ์, ขันธ์ 5 เป็นมาร เพราะเป็นสภาพอันปัจจัยปรุงแต่ง มีความขัดแย้งกันเองอยู่ภายใน ไม่มั่นคงทนนาน เป็นภาระในการบริหาร ทั้งแปรปรวนเสื่อมโทรมไปเพราะชราพยาธิเป็นต้น ล้วนรอนโอกาสมิให้บุคคลทำกิจหน้าที่ หรือบำเพ็ญคุณความดีได้เต็มปรารถนา อย่างแรง อาจถึงกับพรากโอกาสนั้นโดยสิ้นเชิง)
       3. อภิสังขารมาร (มาร คือ อภิสังขาร, อภิสังขารเป็นมาร เพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม นำให้เกิดชาติ ชรา เป็นต้น ขัดขวางมิให้หลุดพ้นไปจากสังขารทุกข์)
       4. เทวปุตตมาร (มารคือเทพบุตร, เทพยิ่งใหญ่ระดับสูงสุดแห่งชั้นกามาวจรตนหนึ่งชื่อว่ามาร เพราะเป็นนิมิตแห่งความขัดข้อง คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้ มิให้ล่วงพ้นจากแดนอำนาจครอบงำของตน โดยชักให้ห่วงพะวงในกามสุขไม่หาญ เสียสละออกไปบำเพ็ญคุณความดียิ่งใหญ่ได้)
       5. มัจจุมาร (มารคือความตาย, ความตายเป็นมาร เพราะเป็นตัวการตัดโอกาส ที่จะก้าวหน้าต่อไปในคุณความดีทั้งหลาย)

_________________________________________________
อ้างอิง :- วิสุทฺธิ.1/270 ; เถร.อ. 2/24,383,441 ; วินย.ฎีกา. 1/481




จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ จะเห็นว่า มาร ๕ ทั้งหมดอ้างอิงกับคัมภีร์ในชั้นอรรถกถาทั้งสิ้น ขอยกมาแสดงดังนี้

วิสุทธิมรรค เล่ม ๑ ภาคสมาธิ ปริเฉทที่ ๗ ฉอนุสสตินิเทศ หน้าที่ 350 มีข้อธรมดังต่อไปนี้


อธิบายบท ภคฺควา
อนึ่ง เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคนั้น ได้ทรงหักเสียแล้วซึ่งกิเลสอันเป็นเหตุให้เกิดความกระวนกระวาย และความเร่าร้อนจำนวนแสนอย่างสิ้นเชิง
     อันต่างด้วยโลภะโทสะโมหะและมนสิการอันเคลื่อนคลาด
     อันต่างด้วยอหิริกะและอโนตตัปปะ โกธะและอุปนาหะ มักขะและปลาสะ อิสสาและมัจฉริยะ มายาและสาเถยยะ ถัมภะและสารัมภะ มานะและอติมานะ มทะและปมาทะ ตัณหาและอวิชชา
     อันต่างด้วยกุศลมูล ๓ ทุจริต ๓ สังกิเลส ๓ มลทิน ๓ วิสมะ ๓ สัญญา ๓ วิตก ๓ ปปัญจธรรม ๓ อันต่างด้วยวิปริเยสะ ๔ อาสวะ ๔ คันถะ ๔ โอฆะ ๔ โยคะ ๔ อคติ ๔ ตัณหุปปาทะ ๔ อุปาทาน ๔
     อันต่างด้วยเจโตขีละ ๔ วินิพันธะ ๕ นิวรณ์ ๕ อภินันทนะ ๕
     อันต่างด้วยวิวาทมูล ๖ ตัณหากายะ ๖
     อันต่างด้วยอนุสัย ๗ มิจฉัตตะ ๘ ตัณหามูลกะ ๙ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทิฏฐิ ๖๒ และตัณหาวิจริต ๑๐๘

     หรือเมื่อว่าโดยสังเขป พระผู้มีพระภาคได้ทรงหักเสียแล้วซึ่งมาร ๕ จำพวก คือ
     กิเลสมาร ๑ ขันธมาร ๑ อภิสังขารมาร ๑ เทวปุตตมาร ๑ มัจจุมาร ๑
     ดังนั้น แทนที่จะเฉลิมพระนามว่า ภคฺควา เพราะพระผู้มีพระภาคได้ทรงหักเสียซึ่งอันตรายเหล่านั้น ก็ไปเฉลิมพระนามเสียว่า ภควา จริงอย่างนั้น...ฯลฯ

_____________________________________________________________________
ที่มา https://th.wikisource.org/wiki/วิสุทธิมรรค_เล่ม_๑_ภาคสมาธิ_ปริเฉทที่_๗_ฉอนุสสตินิเทศ_หน้าที่_๓๔๖_-_๓๕๐

 :25: :25: :25: :25:

ใน อรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค เวรัญชกัณฑ์ ได้กล่าวไว้ว่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหักกิเลสได้ตั้งแสนอย่าง            
อนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรงหักกิเลสเครื่องเร่าร้อนกระวนกระวายทุกอย่างตั้งแสนอย่าง มีประเภท คือ โลภะ โทสะ โมหะ วิปรีตมนสิการ อหิริกะ อโนตตัปปะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ตัณหา อวิชชา, อกุศลมูล ๓ ทุจริต ๓ สังกิเลส ๓ มลทิน ๓ วิสมะ ๓ สัญญา ๓ วิตก ๓ ปปัญจะ ๓, วิปริเยสะ ๔ อาสวะ ๔ คัณฐะ ๔ โอฆะ ๔ โยคะ ๔ อคติ ๔ ตัณหุปาทาน ๔, เจโตขีละ ๕ วินิพันธะ ๕ นีวรณ์ ๕ อภินันทนะ ๕, วิวาทมูล ๖ ตัณหากาย ๖, อนุสัย ๗, มิจฉัตตะ ๘, ตัณหามูลกะ ๙, อกุศลกรรมบถ ๑๐, ทิฏฐิ ๖๒, และตัณหาวิปริต ๑๐๘,

    หรือโดยย่อได้ทรงหักมาร ๕ คือ กิเลสมาร ขันธมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร และเทวบุตรมาร,
    ฉะนั้น ในเมื่อควรจะเฉลิมพระนามว่า ภัคควา แต่ท่านเฉลิมพระนามว่า ภควา เพราะพระองค์ทรงหักอันตรายเหล่านั้นได้แล้ว..ฯลฯ

________________________________________________________
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=1&p=8

 ans1 ans1 ans1 ans1

จากอรรถกถาที่ยกมาแสดงข้างต้น จะเห็นว่า อรรถกถาจารย์ได้ทำการย่อ "กิเลสจำนวนแสนที่พระพุทธองค์ทรงชนะได้" ลงเป็น มาร ๕  คือ กิเลสมาร ขันธมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร และเทวบุตรมาร

ยีงมีต่อ.....
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 13, 2015, 08:53:05 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: คุยเรื่อง "คาถาตวาดมาร"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 08, 2015, 10:54:48 am »
0


ถามว่า : พุทธพจน์ที่มีมาในพระไตรปิฎก ตรัสถึงมารไว้ว่าอย่างไร.?
ตอบว่า : ขอเริ่มด้วย พระยามาร มารเสนา และมารธิดา
          พระยามารและมารธิดา ปรากฎอยู่ใน "มารธีตุสูตรที่ ๕"
          เป็น พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
          มารธีตุสูตรนี้ เป็นความต่อจาก "สัตตวัสสสูตร"

     พระยามารนี้ในชั้นพระไตรปิฎกไม่ปรากฎชื่อ ชื่อพระยามารนี้อยู่ในอรรถกถามีชื่อว่า "วสวัตตีมาร" เป็นหัวหน้าเทวดาอยู่ในชั้นปรนิมมิตวสวัตตี เป็นใหญ่ในชั้นกามาวจรทั้ง ๖ พระยามารมีอีกชื่อว่า "ท้าวปชาบดี"
     เรื่อง พระยามาร(หรือพญามาร) อ่านได้ใน อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค
     หรือ http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=1&p=3

     ส่วนมารธิดานั้น ในมารธีตุสูตรระบุว่ามี ๓ ตน ชื่อว่า นางตัณหา นางอรดี และนางราคา
     มาถึงมารเสนา มารเสนาปรากฎอยู่ใน พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส มารเสนามี ๑๐ ประเภท ดังนี้
     ๑. กิเลสกาม
      ๒. ความไม่ยินดี
       ๓. ความหิวกระหาย
        ๔. ตัณหา 
         ๕. ความง่วงเพราะหาวนอน
           ๖. ความเขลา
            ๗. ความลังเลใจ
             ๘. ความลบหลู่และความกระด้าง 
              ๙. ลาภ ความสรรเสริญ สักการะ และยศที่ได้โดยทางผิด
               ๑๐. ความยกตนและข่มผู้อื่น


      ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

     ต่อไปจะกล่าวถึงมารทั้ง ๕ พระพุทธองค์ตรัสไว้ดังนี้ (ในพระไตรปิฎกเท่านั้น ไม่อิงอรรถกถา)

     ๑. กิเลสมาร ในกามสูตรที่ ๒ ตรัสถึง กิเลสมารและเทวปุตตมารเอาไว้ แต่ไม่มีคำอธิบาย กามสูตรนี้อยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
     ๒. ขันธมาร ในมารสูตร มีคำอธิบายโดยพิศดาร ว่าโดยย่อก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณล้วนเป็นมารทั้งสิ้น มารสูตรนี้อยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
     ๓. อภิสังขารมาร ประกฎอยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ขอยกมาแสดงดังนี้
         คำว่า "มารย่อมไปตามสัตว์ด้วยอำนาจอภิสังขาร คือ กรรมนั้นนั่นแล ความว่า ขันธมาร ธาตุมาร อายตนมาร คติมาร อุปบัติมาร ปฏิสนธิมาร ภวมาร สังสารมาร วัฏฏมาร อันมีในปฏิสนธิ ย่อมไปตาม คือ ตามไป เป็นผู้ติดตามไป ด้วยอำนาจอภิสังขาร คือ กรรมนั้นนั่นแล"     
     ๔. เทวปุตตมาร มีที่มาเหมือนกิเลสมาร อยู่ในกามสูตรที่ ๒
     ๕. มัจจุมาร ปรากฏอยู่ใน สุภากัมมารธีตาเถรีคาถา คาถาสุภาษิตของนางสุภากัมมารธีตาเถรี แต่ไม่มีคำอธิบาย คาถานี้อยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา


      ยังมีต่อ.....
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คุยเรื่อง "คาถาตวาดมาร"
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 08, 2015, 11:09:33 pm »
0
 like1
ขออนุโมทนาสาธุ  ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: คุยเรื่อง "คาถาตวาดมาร"
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 09, 2015, 09:11:43 am »
0



คำว่า "มหาวีรัง นะมามิหัง" ในคาถาตวาดมาร เป็นคำที่น่าสนใจมาก
คำนี้แปลว่า "ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีความแกล้วกล้ายิ่ง"

คำที่ใช้เรียกพระพุทธเจ้ามีหลายคำ เช่น ตถาคต ภควา สุคโต สยัมภู โลกนาถ ธรรมกาย เป็นต้น
มหาวีรัง ก็เป็นอีกคำหนึ่งที่ใช้แทนชื่อพระพุทธเจ้า ในครั้งที่ท้าวสหัมบดีพรหมได้ทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้แสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์นั้น ท้าวสหัมบดีพรหมได้ประพันธ์คาถามีใจความตอนหนึ่งว่า
   "ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ทรงชนะสงคราม ผู้นำหมู่ หาหนี้มิได้ ขอพระองค์จงทรงอุตสาหะเที่ยวไปในโลกเถิด ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม เพราะสัตว์รู้ทั่วถึงธรรมจักมี"
    เทียบกับภาษาบาลี ดังนี้
    "อุฏฺเฐหิ วีร วิชิตสงฺคาม สตฺถวาห อนณ วิจร โลเก เทสสฺสุ  ภควา ธมฺมํ อญฺญาตาโร ภวิสฺสนฺตีติ"

    (ที่มา : พรหมยาจนกถา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔  พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑)
   
     ans1 ans1 ans1 ans1

    เมื่อดูอรรถกถา มีคำอธิบายคำว่า "วีร วิชิตสงฺคาม....ฯ.." ไว้ดังนี้
    "พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า วีร เป็นต้น ดังนี้ :-
    พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระนามว่า วีระ เพราะทรงมีความเพียร
    ทรงพระนามว่า วิชิตสงคราม เพราะทรงชำนะเทวบุตรมาร มัจจุมาร กิเลสมารและอภิสังขารมาร
    ทรงพระนามว่า สัตถวาหะ เพราะทรงสามารถช่วยหมู่สัตว์ให้พ้นจากกันดาร มีชาติกันดาร เป็นต้น
    ทรงพระนามว่า ผู้ไม่มีหนี้ เพราะไม่มีหนี้ คือ กามฉันท์....ฯ.."

   
    ถึงตรงนี้คงพอเข้าใจกันได้นะครับ ว่า..
    คำว่า มหาวีรัง น่าจะมีต้นตอ มีเค้ามูลมาจาก "คาถาของท้าวสหัมบดีพรหม" นั่นเอง
    ในภาษาไทยนั่น คำว่า วีระ หมายถึง กล้าหาญ
                        คำว่า วิชิต หมายถึง เขตแดนที่ปราบปรามแล้ว (บาลี แปลว่า ถูกปราบ ชนะ)


ถามว่า : เหตุใดคาถาตวาดมาร ใช้คำว่า "มหาวีรัง" แทนพระนามของพระพุทธเจ้า.?
ตอบว่า : เพราะคำว่า "มหาวีรัง" มีที่มาเกี่ยวข้องกับการชนะมาร ตามความในพระไตรปิฎกและอรรถกถา

     ยังมีต่อ....
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 09, 2015, 09:16:16 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: คุยเรื่อง "คาถาตวาดมาร"
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กันยายน 09, 2015, 10:17:27 am »
0



ถามว่า : ใครบ้างที่ไม่อยู่ใต้อำนาจของมาร.?
ตอบว่า : เว้นพระพุทธเจ้า นอกนั้นมารยังรังควาญได้ ขอยกตัวอย่าง บุคคลในพระไตรปิฎกดังนี้

- พระอานนท์ แม้ท่านเป็นอริยะในชั้นโสดาบัน ยังถูกมารดลใจ ท่านจึงไม่ทูลอ้อนวอนพระพุทธเจ้าให้ทรงดำรงอยู่ตลอดกัป คงไม่ต้องกล่าวถึงปุถุชนให้ป่วยการ

- พระมหาโมคคัลลานะ ถูกมารเข้าไปสิงในท้อง ท่านต้องพูดขู่มาร มารจึงยอมออกมา นี่ขนาดท่านมีฤทธิ์มากที่สุด เป็นถึงเอตะทัตคะทางด้านฤทธิ์ มารยังสิงได้เลย
     เรื่องนี้อยู่ใน มารตัชชนียสูตร ว่าด้วยการคุกคามมาร
     พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
     http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=10287

- พกพรหม มารเข้าสิงกายพรหมได้ครับ สิงกายพรหมเพื่อกล่าวมิจฉาทิฏฐิ เป็นต้นว่า "พรหมสถานนี้แล ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ"
     เรื่องนี้อยู่ในพรหมนิมันตนิกสูตร ว่าด้วยพกพรหมมีทิฏฐิอันลามก
     พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
     http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=10134&Z=10286


 ask1 ans1 ask1 ans1

ถามว่า : ที่ใดที่มารไปไม่ถึง.?
ตอบว่า : หลายคนนึกถึงนิพพาน ในที่นี้ขอเว้นนิพพานเอาไว้ก่อน ในนิวาปสูตร พระพุทธองค์ตรัสถึง "ที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง" ที่นั้นคือ รูปฌาน ๔ ,อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ
      เรื่องนี้อยู่ใน นิวาปสูตร อุปมาพรานปลูกหญ้าล่อเนื้อ
      พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
      http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=5109&Z=5383


      ยังมีต่อ....
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

waterman

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 302
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คุยเรื่อง "คาถาตวาดมาร"
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กันยายน 09, 2015, 03:21:40 pm »
0
 st11 st12 st12 like1
บันทึกการเข้า

sakol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คุยเรื่อง "คาถาตวาดมาร"
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กันยายน 09, 2015, 05:26:58 pm »
0
เท่าที่อ่านมา คือ ต้องการให้ทำความเข้าใจ ว่า ตัวมารนั้น ไม่มีตัวตน มีแต่สภาวะ ที่เรียกว่า กิเลส ต่าง ๆ กิเลสพันห้า ตัณหาร้อยเก้า เป็นหมื่นแสนล้าน นั่นก็คือ มาร นั่นเอง
   แล้ว อย่างนี้ มารที่มีชื่อ อย่างไพเราะ เพราะพริ้ง นั้น สรุป มีตัวตนจริง หรือ ว่า ติต่าง ขึ้นมาเป็น มาร ตามเนื้อเรื่อง ยี่เก เท่านั้น

    เช่น พญาสุรัสวตี เป็นต้น พวกนี้เป็นเพียง สภาวะ เท่านั้น

    รวมความไปถึง พวก พรหม พวก เทวดา ด้วย สรุป แล้ว มีหรือไม่

    ถ้าไม่ มี

     พวกนายนิริยะบาล พญายม เหล่านี้ ก็ สมมุติ ขึ้นมาด้วยใช่หรือไม่ ?
     ถ้าบอกว่า พุทธเราสอนให้เชื่ออย่างนี้ คือ มาร เทวดา พรหม สัตว์ เปตร อสุรกาย เป็นต้น เป็นสภาวะ ในใจของเราที่เป็นอย่างนั้น ใช่หรือไม่ ?

     ดูเหมือนแนวความคิด อย่างนี้ เหมือนสาย เซ็น เลย เหมือน พวกสวนโมกข์ ก็มีแนวคิดเช่นนี้

     thk56
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: คุยเรื่อง "คาถาตวาดมาร"
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กันยายน 09, 2015, 06:12:47 pm »
0
อ้างถึง
ข้อความโดย sakol

เท่าที่อ่านมา คือ ต้องการให้ทำความเข้าใจ ว่า ตัวมารนั้น ไม่มีตัวตน มีแต่สภาวะ ที่เรียกว่า กิเลส ต่าง ๆ กิเลสพันห้า ตัณหาร้อยเก้า เป็นหมื่นแสนล้าน นั่นก็คือ มาร นั่นเอง
   แล้ว อย่างนี้ มารที่มีชื่อ อย่างไพเราะ เพราะพริ้ง นั้น สรุป มีตัวตนจริง หรือ ว่า ติต่าง ขึ้นมาเป็น มาร ตามเนื้อเรื่อง ยี่เก เท่านั้น

    เช่น พญาสุรัสวตี เป็นต้น พวกนี้เป็นเพียง สภาวะ เท่านั้น

    รวมความไปถึง พวก พรหม พวก เทวดา ด้วย สรุป แล้ว มีหรือไม่

    ถ้าไม่ มี

     พวกนายนิริยะบาล พญายม เหล่านี้ ก็ สมมุติ ขึ้นมาด้วยใช่หรือไม่ ?
     ถ้าบอกว่า พุทธเราสอนให้เชื่ออย่างนี้ คือ มาร เทวดา พรหม สัตว์ เปตร อสุรกาย เป็นต้น เป็นสภาวะ ในใจของเราที่เป็นอย่างนั้น ใช่หรือไม่ ?

     ดูเหมือนแนวความคิด อย่างนี้ เหมือนสาย เซ็น เลย เหมือน พวกสวนโมกข์ ก็มีแนวคิดเช่นนี้

     thk56

      ans1 ans1 ans1 ans1
     
      กระทู้นี้ยังไม่จบ..ขอรับ จบเมื่อไหร่ จะมาแยกแยะ คำไหนเป็นพุทธพจน์ คำไหนเป็นของอรรถกถาจารย์
    โปรด..อดใจรอสักนิด ไม่นาน

       :welcome: :49: :s_good: :25:
       
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คุยเรื่อง "คาถาตวาดมาร"
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กันยายน 09, 2015, 11:13:42 pm »
0
 thk56 like1 gd1
         ขออนุโมทนาสาธุ  ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
เครื่องมือสยบมาร..?!
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กันยายน 10, 2015, 10:38:26 am »
0


โพชฌงค์ ๗ เครื่องมือสยบมาร

มารสูตร : โพชฌงค์เป็นมรรคาเครื่องย่ำยีมาร
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค


[๕๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมรรคาเป็นเครื่องย่ำยีมารและเสนามารแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังมรรคานั้น
    ก็มรรคาเป็นเครื่องย่ำยีมารและเสนามารเป็นไฉน.? คือ โพชฌงค์ ๗
    โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน.? คือ
       สติสัมโพชฌงค์
        ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์
         วิริยะสัมโพชฌงค์
          ปีติสัมโพชฌงค์ 
           ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ 
            สมาธิสัมโพชฌงค์ 
             อุเบกขาสัมโพชฌงค์
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมรรคาเครื่องย่ำยีมาร และเสนามาร.

_________________________________________________________________
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=2995&Z=3001




พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓.มหาปรินิพพานสูตร]
ภิกขุอปริหานิยธรรม เล่มที่ 10 หน้า 85-86


[๑๓๙] ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการอีกหมวดหนึ่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง  จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
    “ภิกษุทั้งหลาย
     ๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญสติสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้)
     ๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์ แห่งการตรัสรู้คือการเฟ้นธรรม)
     ๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญวิริยสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่ง การตรัสรู้คือความเพียร)
     ๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญปีติสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ)
     ๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์ แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ)
     ๖. ภิกษุพึงหวังได้ แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น)
     ๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความวางใจเป็นกลาง)

     ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่



รูปแสดงจุดที่ตั้งนวหรคุณ ๙ จุด


     วิชาโลกุดร สยบมาร
     ๑. ตั้งที่กลางสะดือ ภาวนาว่า สติสัมโพชฌงค์
     ๒. ตั้งที่เหนือสะดือ ๒ นิ้ว ภาวนาว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
     ๓. ตั้งที่หทัย ภาวนาว่า วิริยะสัมโพชฌงค์
     ๔. ตั้งที่คอกลวง ภาวนาว่า ปีติสัมโพชฌงค์
     ๕. ทั้งที่โคตรภูท้ายทอย ภาวนาว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
     ๖. ตั้งที่กลางกระหม่อม ภาวนาว่า สมาธิสัมโพชฌงค์
     ๗. ตั้งที่ระหว่างคิ้ว ภาวนาว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์
         แล้วเปลี่ยนมา ภาวนาว่า โลกุตตะรัง จิตตัง ฌานัง


     ผลประโยชน์ของวิชาโลกุดร สยบมาร
     ๑. แผ่ให้ผู้ที่ลำบาก
     ๒. แผ่บารมีให้มาร
     ๓. ทำจิตให้หลุดพ้น
     ๔. บูชาคุณครูบาอาจารย์
     ๕. เมตตา
     ๖. ปราบมาร
     ๗. มีความเพียร
     ๘. ปราบคนทุศีล
     ๙. รักษาโรคกาย โรคจิต ตนเอง และผู้อื่น


อ้างอิง
"ภิกขุอปริหานิยธรรม ภาคปฺฏิบัติ"  โพสต์โดย arlogo
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=10522.msg39239#msg39239
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

KIDSADA

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 439
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คุยเรื่อง "คาถาตวาดมาร"
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: กันยายน 10, 2015, 10:48:38 am »
0
 st11 st12 st12 st12 like1
บันทึกการเข้า
เราชอบ ป่วนแก็งค์ อ๊บ อ๊บ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
เครื่องมือสยบมาร..?!
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: กันยายน 10, 2015, 10:49:51 am »
0


พระอริยเถราจารย์สอนเรื่องตัดขันธ์
(พรรษาที่ ๑๕ สถิตวัดท่าหอย ยุคธนบุรี)

ณ วัดท่าหอย พรรษาที่ ๑๔ พระอาจารย์สุก พระองค์ท่าน ทรงเจริญสมณะธรรมทุกคืน ก็จะมีพระอริยเถราจารย์มากล่าวสอน พร่ำสอน พระกรรมฐานพระองค์ท่านทุกคืน คืนนี้ก็เช่นกัน มีพระเถราจารย์พระองค์หนึ่งล่วงมาแล้ว เข้ามาหาพระอาจารย์สุกด้วยกายทิพย์อันละเอียดประณีต

พระอริยเถราจารย์ พระองค์นั้นมาถึงแล้วก็กล่าวกับพระองค์ท่านว่า ข้าฯชื่อ คำมา ข้าจะมาสอนเรื่องการตัดขันธ์ จะได้เอาไว้ใช้กับตัวเอง และเอาไว้ใช้สอนผู้อื่น เวลาเกิดทุกขเวทนาในเวลาใกล้ตาย ท่านสอนว่าการตัดขันธ์นี้ ต้องมีสมาธิจิตกล้าแข็งสามารถลืมทุกสิ่งทุกอย่างได้ ไม่เอาสังขารร่างกายแล้ว ให้ตัดจากขันธ์หยาบก่อน โดยพิจารณาวิปัสสนา คือ
         ๑. ตัดอาโปธาตุก่อน
         ๒. ตัดเตโชธาตุ
         ๓. ตัดปฐวีธาตุ
         ๔. ตัดวิญญาณธาตุ
     ดับความยึดมั่นในร่างกาย สุดท้ายให้ตัด วาโยธาตุ
     เวลามรณะกรรม ทุกขเวทนา จะไม่มี ไม่ปรากฏ แต่ต้องมีสมาธิจิตกล้าแข็ง จึงจะทำได้


พระอริยเถราจารย์ ยังกล่าวสอนต่อไปอีกว่า ระหว่างทุกข์เวทนาเกิดขึ้นมากนั้น ให้ตั้งสติให้กล้าแข็ง องค์แห่งธรรมสามัคคี คือ โพชฌงค์ ๗ จะเกิดขึ้น คือ
      สติสัมโพชฌงค์ ๑
      ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑
      วิริยะสัมโพชฌงค์ ๑
      ปีติสัมโพชฌงค์ ๑
      ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๑
      สมาธิสัมโพชฌงค์ ๑
      อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ๑

      - เมื่อมีสติรู้ต่อทุกข์เวทนา ทั้งภายในภายนอก เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์เกิด
      - มีสติแล้วระลึกถึงการตัดซึ่งขันธ์ห้า เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เกิด
      - เริ่มทำความเพียรในการตัดขันธ์ เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์เกิด
      - เมื่อตัดขันธ์ได้ครบองค์แล้ว ดับความยึดมั่นในร่างกายได้ ปีติสัมโพชฌงค์ก็เกิด
      - ความสงบทั้งภายในภายนอกก็ตามมา ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ จึงเกิด
      - ความไม่มีทุกข์เวทนา ก็หายไป จิตก็ตั้งมั่น จึงเกิดสมาธิสัมโพชฌงค์
      - วางเฉยในอกุศลธรรมทั้งปวง จึงเกิดอุเบกขาสัมโพชฌงค์





เมื่อท่านเจริญโพชฌงค์แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งจริงแท้ด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่ ธรรมเหล่านี้มีอยู่ ๗ อย่างตามที่กล่าวมาแล้ว พระอริยเถราจารย์ยังกล่าวต่อไปอีกว่า เจริญอย่างไรจึงจะหลุดพ้น คือ
     ๑. ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธอันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย
     ๒. ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธอันน้อมไป เพื่อความปลดปล่อย
     ๓. ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธอันน้อมไป เพื่อความปลดปล่อย
     ๔. ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธอันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย
     ๕. ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธอันน้อมไป เพื่อความปลดปล่อย
     ๖. ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธอันน้อมไป เพื่อความปลดปล่อย
     ๗. ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธอันน้อมไป เพื่อความปลดปล่อย


ท่านเจริญโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นเหตุให้เข้าถึงเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่ ฯ

   



คืนต่อมาพระอริยเถราจารย์ หรือหลวงปู่คำมา ท่านก็กล่าวสอนอีกว่า ข้าฯจะสอน "วิชาผ่อนคายจิต" ท่านสอนว่า ขณะที่จิตกำลังมีความสับสนวุ่นวาย
     ขอให้ตั้งสติแล้วหายใจให้ลึกๆ พุ้งสมาธิจิตไปที่ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ พระพุทธรูป
     ให้เพ่งดูนิ่งๆนานๆ สักครู่หนึ่ง แล้วภาวนาสวดพระพุทธคุณ คือ อิติปิโส ฯลฯ ภควาติ ๑ จบ หรือหลายจบก็ได้
     ความวุ่นวายใจ และสับสนใจ ก็จะคลายลง แล้วหายไปเอง


คืนต่อมาพระอริยเถราจารย์ หรือหลวงปู่คำมา ท่านก็สอนต่อไปอีกว่า "วิชชาสยบทุกข์เวทนา" ท่านบอกว่า เมื่อมีทุกขเวทนาเกิดขึ้นแก่เรา
     ขอให้เราตั้งสติแล้ว ยอมรับทุกขเวทนานั้นก่อน คือ ให้มีสติกำหนดรู้ทุกข์นั้นเอง
     ให้รู้ว่าทุกข์เกิดจากอะไร แล้วนึกถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า
     เรามีกรรมเป็นของตนเอง เรามีกรรมเป็นมรดก เรามีกรรมเป็นกำเนิด เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
     แล้วมีสติกำหนดรู้ ความวางเฉยในทุกข์เวทนานั้นด้วย ถ้าทำดังนี้ได้ ทุกขเวทนาที่มีอยู่ในใจและกาย ก็จะบรรเทา เบาบางลง และหายไปในที่สุด หรือให้มีสติรู้เวทนา เช่นทุกข์เวทนาเกิด ก็รู้ว่าทุกข์เวทนาเกิด ทุกข์เวทนาไม่มี ก็รู้ว่าทุกขเวทนาไม่มี ดังนี้
     ก็จะสามารถแยกจิตกับทุกขเวทนาออกไปได้ ไม่รู้สึกทุกข์
     ถ้ารู้ไม่เท่าทันทุกข์เวทนา เราก็ไม่สามารถสยบทุกขเวทนาได้
     ท่านบอกว่า นี้เป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพร่ำสอนพระสาวก และสืบต่อมาจนถึงข้าฯและถึงท่านนี่แหละ


พระอาจารย์สุกพระองค์ท่าน ทรงออกจากสมาธิแล้ว ทรงทบทวนการตัดขันธ์ทบทวนโพชฌงค์ ๗ ทบทวนวิชาสยบทุกข์เวทนา เป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทุกวันในพรรษานี้ พระองค์ท่านก็สามารถตัดทุกขเวทนาได้ และชำนาญใน พระคัมภีร์โพชฌงค์ ๗ อีกด้วย 





คืนต่อมาในพรรษานั้น พระอริยเถราจารย์องค์ที่สอนพระอาจารย์สุก เรื่องการตัดขันธ์อันประกอบด้วย โพชฌงค์ ๗ ประการ ได้มาบอกท่านในสมาธิอีกว่า ข้าฯจะสอน "วิชาโพชฌงค์ ๗ เป็นวิชาโลกุดรสยบมาร" ท่านกล่าวอีกว่า
    มาร คือ กิเลสมาร สังขารมาร อภิสังขารมาร เทวปุตมาร และมัจจุมาร
    ท่านบอก นอกจากจะสยบมารทั้งห้าแล้ว ยังใช้รักษาโรคกาย โรคจิต ให้แก่ตัวเอง และผู้อื่นได้อีกด้วย


    ต่อมาท่านจึงบอกวิธีทำฌานโลกุดร สยบมาร ดังนี้
    ๑. ท่านให้ตั้งสติสัมโพชฌงค์ ที่กลางสะดือ องค์ธรรมนาภี จุดชุมนุมธาตุ
    ๒. ให้ตั้งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ที่จุดเหนือสะดือ หนึ่งนิ้ว จุดธาตุดิน
    ๓. ตั้งวิริยสัมโพชฌงค์ ที่จุดหทัย จุดองค์ธรรม พระพุทโธ
    ๔. ตั้งปีติสัมโพชฌงค์ ที่จุดคอกลวง องค์ธรรม ของพระปีติ
    ๕. ตั้งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ที่โคตรภูมิท้ายทอย องค์ธรรมนิโรธ ธาตุลม
    ๖. ตั้งสมาธิสัมโพชฌงค์ ที่กลางกระหม่อม องค์ธรรมของพระพุทธเจ้า
    ๗. ตั้งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ที่หว่างคิ้ว องค์ธรรมของพระสังฆราชา เมื่อจิตมีกำลัง ปราณีตดีแล้ว ตรงอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ให้เปลี่ยนคำภาวนาเป็น "โลกุตตะรัง ฌานัง" อันเป็นไปเพื่อจิตหลุดพ้น


ในกาลต่อมาพระอาจารย์สุก พระองค์ท่านก็ทรงนำวิชาโลกุดร สยบมาร มาสั่งสอนศิษย์ มากมายในกรุงรัตนโกสินทร์ มีชื่อเสียงโด่งดังมากมายหลายองค์


อ้างอิง : พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน) หน้า 154 - 157
เรียบเรียงโดย พระครูสิทธิสังวร ผช.จล. วัดราชสิทธาราม เจ้าคณะ 5 
ที่มา : http://www.somdechsuk.com , http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6657.0
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คุยเรื่อง "คาถาตวาดมาร"
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: กันยายน 10, 2015, 01:35:09 pm »
0
 thk56 like1

 st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คุยเรื่อง "คาถาตวาดมาร"
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: กันยายน 11, 2015, 10:42:35 am »
0
 st11 st12 st12 st12
 ท่าน raponsan เรียบเรียง เรื่องราว ทั้งหมด อ่านได้ ง่าย


  thk56 like1
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

lamai54

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 138
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คุยเรื่อง "คาถาตวาดมาร"
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: กันยายน 11, 2015, 07:41:07 pm »
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
แข่งขันในโครงการ yamaha นะฮะ อย่าเข้าใจว่าเป็นพวกเสื้อแดง.... เราไม่ใช่....

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คุยเรื่อง "คาถาตวาดมาร"
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: กันยายน 11, 2015, 07:57:15 pm »
0

      ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: คุยเรื่อง "คาถาตวาดมาร"
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: กันยายน 17, 2015, 10:20:15 am »
0
อ้างถึง
ข้อความโดย sakol

เท่าที่อ่านมา คือ ต้องการให้ทำความเข้าใจ ว่า ตัวมารนั้น ไม่มีตัวตน มีแต่สภาวะ ที่เรียกว่า กิเลส ต่าง ๆ กิเลสพันห้า ตัณหาร้อยเก้า เป็นหมื่นแสนล้าน นั่นก็คือ มาร นั่นเอง
   แล้ว อย่างนี้ มารที่มีชื่อ อย่างไพเราะ เพราะพริ้ง นั้น สรุป มีตัวตนจริง หรือ ว่า ติต่าง ขึ้นมาเป็น มาร ตามเนื้อเรื่อง ยี่เก เท่านั้น

    เช่น พญาสุรัสวตี เป็นต้น พวกนี้เป็นเพียง สภาวะ เท่านั้น

    รวมความไปถึง พวก พรหม พวก เทวดา ด้วย สรุป แล้ว มีหรือไม่

    ถ้าไม่ มี

     พวกนายนิริยะบาล พญายม เหล่านี้ ก็ สมมุติ ขึ้นมาด้วยใช่หรือไม่ ?
     ถ้าบอกว่า พุทธเราสอนให้เชื่ออย่างนี้ คือ มาร เทวดา พรหม สัตว์ เปตร อสุรกาย เป็นต้น เป็นสภาวะ ในใจของเราที่เป็นอย่างนั้น ใช่หรือไม่ ?

     ดูเหมือนแนวความคิด อย่างนี้ เหมือนสาย เซ็น เลย เหมือน พวกสวนโมกข์ ก็มีแนวคิดเช่นนี้

     thk56



      ans1 ans1 ans1 ans1

     เบื้องต้นต้องทำความเข้าใจคำเหล่านี้ก่อน
     บุคคลาธิษฐาน มีบุคคลเป็นที่ตั้ง, เทศนายกบุคคลขึ้นตั้ง คือ วิธีแสดงธรรมโดยยกบุคคลขึ้นอ้าง
     ธรรมาธิษฐาน มีธรรมเป็นที่ตั้ง คือ เทศนายกธรรมขึ้นแสดง เช่นว่า ศรัทธา ศีล คืออย่างนี้ ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ดังนี้เป็นต้น

___________________________________________________________
อ้างอิง : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


:25: :25: :25: :25:

บุคคลาธิษฐานเทศนา หมายถึง เทศนาที่มีบุคคลเป็นที่ตั้ง หรืออ้างถึงบุคคล ได้แก่ พระวินัย พระสูตร เป็นต้น ต่างจาก ธรรมาธิษฐานเทศนา ซึ่งหมายถึงเทศนาที่มีธรรมเป็นที่ตั้ง หรืออ้างถึงสภาวะธรรมล้วนๆ ได้แก่ พระอภิธรรม

ปัจจุบัน "ความหมายบุคคลาธิษฐานเทศน" ในศาสนาพุทธเปลี่ยนมาใช้หมายถึง การยกคนหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมอื่นๆ ขึ้นมาเป็นหลักในการอธิบาย เช่น เปรียบกิเลสเหมือนมาร คู่กับ ธรรมาธิษฐาน

______________________________________________
อ้างอิง : https://th.wikipedia.org/wiki/บุคคลาธิษฐานเทศนา


st12 st12 st12 st12


มาร
1. สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ, ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี มี ๕ คือ
        ๑. กิเลสมาร มารคือกิเลส
        ๒. ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์
        ๓. อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขารที่ปรุงแต่งกรรม
        ๔. เทวปุตตมาร มารคือเทพบุตร
        ๕. มัจจุมาร มารคือความตาย
2. พระยามารที่มีเรื่องราวปรากฏบ่อยๆ ในคัมภีร์ คอยมาแทรกแซงเหตุการณ์ต่างๆ ในพุทธประวัติ เช่น ยกพลเสนามาผจญพระมหาบุรุษในวันที่จะตรัสรู้ พระองค์ชนะพระยามารได้ด้วยทรงนึกถึงบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา
       มารในกรณีเช่นนี้ บางทีท่านอธิบายออกชื่อว่าเป็นวสวัตดีมาร ซึ่งครองแดนหนึ่งในสวรรค์ชั้นสูงสุด แห่งระดับกามาวจรคือปรนิมิตวสวัตดี เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้ มิให้ล่วงพ้นจากแดนกามซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน
       อย่างไรก็ดี ผู้ศึกษาพึงพิจารณาเทียบจากมาร ๕ ในความหมายที่ 1. ด้วย

__________________________________________________________
อ้างอิง : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)




 ans1 ans1 ans1 ans1

จากคำอธิบายของอรรถกถาจารย์ ท่านระบุว่า คำว่า มาร มีความหมายอยู่สองนัย นัยหนึ่งเป็นนามธรรม อีกนัยหนึ่งเป็นรูปธรรม เช่น กิเลสมารเป็นนามธรรม ในส่วนของขันธมารนั้นเป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม ขอยกมารสูตรมาแสดงดังนี้

      พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้
      ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ แล จึงเรียกว่า มาร.?
      พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
      ดูกรราธะ เมื่อรูปมีอยู่ มาร(ความตาย) จึงมีผู้ทำให้ตายจึงมี ผู้ตายจึงมี
      เพราะฉะนั้นแหละ ราธะ เธอจงพิจารณาเห็นรูปว่า เป็นมารเป็นผู้ทำให้ตาย เป็นผู้ตาย เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความทุกข์ เป็นตัวทุกข์ บุคคลเหล่าใดพิจารณาเห็นรูปนั้นอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมเห็นชอบ.
      เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ
      เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ
      เมื่อสังขารมีอยู่ ฯลฯ
      เมื่อวิญญาณมีอยู่ มารจึงมี ผู้ทำให้ตายจึงมีผู้ตายจึงมี
      เพราะฉะนั้นแหละ ราธะ เธอจงพิจารณาเห็นวิญญาณว่า เป็นมาร เป็นผู้ทำให้ตายเป็นผู้ตาย เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความทุกข์ เป็นตัวทุกข์ บุคคลเหล่าใดพิจารณาเห็นวิญญาณนั้นอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมเห็นชอบ. (รูปธรรมคือรูป นอกนั้นเป็นนามธรรม)





      มารที่เป็นนามธรรมอีกอย่างหนึ่งคือ อภิสังขารมาร
      เทวปุตตมารนั้น ในพระสูตรระบุไว้ชัดว่า มีตัวตน คือเป็นรูปธรรมนั่นเอง ขอยกมาแสดงดังนี้


      มหาสมัยสูตร
      สุพรหมและปรมัตตพรหม ซึ่งเป็นบุตรของพระพุทธเจ้าผู้มีฤทธิ์ ก็มาด้วย
      สนังกุมารพรหมและติสสพรหมแม้นั้นก็มา ยังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ
      ท้าวมหาพรหมย่อมปกครองพรหมโลกพันหนึ่ง ท้าวมหาพรหมนั้นบังเกิดแล้วในพรหมโลกมีอานุภาพ มีกายใหญ่โต มียศ ก็มา
      พรหม ๑๐ พวก ผู้เป็นอิสระในพวกพรหมพันหนึ่ง มีอำนาจเป็นไปเฉพาะองค์ละอย่างก็มา
      มหาพรหมชื่อหาริตะ อันบริวารแวดล้อมแล้ว มาในท่ามกลางพรหมเหล่านั้น

      มารเสนาได้เห็นพวกเทวดา พร้อมทั้งพระอินทร์พระพรหมทั้งหมดนั้น ผู้มุ่งมา ก็มาด้วย แล้วกล่าวว่า ท่านจงดูความเขลาของมาร
      พระยามารกล่าวว่า พวกท่านจงมาจับเทวดาเหล่านี้ผูกไว้ ความผูกด้วยราคะ จงมีแก่ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงล้อมไว้โดยรอบ อย่าปล่อยใครๆ ไป พระยามารบังคับเสนามารในที่ประชุมนั้นดังนี้แล้ว เอาฝ่ามือตบแผ่นดิน กระทำเสียงน่ากลัว เหมือนเมฆยังฝนให้ตก คำรามอยู่ พร้อมทั้งฟ้าแลบ ฉะนั้น
      เวลานั้น พระยามารนั้นไม่อาจยังใครให้เป็นไปในอำนาจได้ โกรธจัด กลับไปแล้ว


      มารธีตุสูตร
      ครั้งนั้นแล มารธิดาทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคาจึงพากันเข้าไปหาพระยามารถึงที่อยู่ ครั้นแล้วจึงถามพระยามารด้วยคาถาว่า
      ข้าแต่คุณพ่อ คุณพ่อมีความเสียใจด้วยเหตุอะไร หรือเศร้าโศกถึงผู้ชายคนไหน หม่อมฉันจักผูกผู้ชายคนนั้นด้วยบ่วง คือราคะ นำมาถวาย เหมือนบุคคลผูกช้างมาจากป่า ฉะนั้นชายนั้นจักตกอยู่ในอำนาจของคุณพ่อ ฯ

      พระยามารกล่าวว่า ชายนั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ดำเนินไปดีแล้วในโลก ไม่เป็นผู้อันใครๆ พึงนำมาด้วยราคะได้ง่ายๆ ก้าวล่วงบ่วงมารไปแล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงเศร้าโศกมาก ฯ
      ครั้งนั้นแล มารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา จึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจักขอบำเรอพระบาทของพระองค์ ฯ
      ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงใส่พระทัยถึงคำของนางมารธิดาเหล่านั้น เพราะพระองค์ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม ฯ
 
      ลำดับนั้น มารธิดา คือนางตัณหา นางอรดี นางราคา จึงหลีกออกไป ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วร่วมคิดกันอย่างนี้ว่า ความประสงค์ของบุรุษมีต่างๆ กันแล อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรนิรมิตเพศเป็นนางกุมาริกาคนละร้อยๆ ฯ
      ลำดับนั้น มารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา จึงพากันนิรมิตเพศเป็นนางกุมาริกาคนละร้อยๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจะขอบำเรอพระบาทของพระองค์ ฯ
      พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงใส่พระทัยถึงถ้อยคำของมารธิดา เพราะพระองค์ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม





      สุดท้าย มัจจุมาร เป็นนามธรรม ในพระสูตรจะพบคำว่า มัจจุราชเป็นส่วนใหญ่ พึงทราบว่า มัจจุมารและมัจจุราชมีความหมายเดียวกัน คือความตาย เมื่อกล่าวถึงความตาย ต้องนึกถึงนรกและนายนิริยบาล ในธนัญชานิสูตร ได้กล่าวถึงดังนี้

      ธนัญชานิสูตร
      สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน
      บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งบิดามารดา นายนิริยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนา
      หรือว่าเราเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา ขอนายนิริยบาลอย่างพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย
      หรือมารดาบิดาของผู้นั้นจะพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย?

      ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญมากมาย นายนิริยบาลก็พึงโยนลงในนรกจนได้.





      ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

      ผมคงอธิบายได้เท่านี้ เพื่อนๆจะเข้าใจหรือเชื่ออย่างไร ก็ตามอัธยาศัย
      มารที่อยู่ใกล้เรามากที่สุด คือ ตัวเราเอง ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม อันประกอบขึ้นเป็นตัวตนของเรานั้น เราเห็นได้สัมผัสได้ แต่ควบคุมมันได้แค่บางส่วนในระดับหนึ่งเท่านั้น ในที่สุดแล้วมันจะอยู่นอกอำนาจของเรา มารตนนี้เราเห็นชัดที่สุด เป็นทุกข์ที่สุด
      คุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ ขอบพระคุณที่ติดตาม....


       :welcome: :49:  :25: thk56
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ