พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ข้าพเจ้าได้รวบรวม และเรียบเรียงมาจาก พระคัมภีร์กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ฝ่าย เถรวาท ซึ่งถือตามคติที่พระอรหันต์พุทธสาวก ที่ได้วางหลักพระธรรมวินัย และธรรมปฎิบัติเป็นแบบแผนไ้ว้เมื่อครั้งตติยสังคายนา และนับถือแพร่หลายในประเทศไทย พม่า ลังกา ลาว และกัมพูชา เป็นของ เก่า สืบทอดต่อมาโดยสมเด็จพระสังฆราชญานสังวร (สุก ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม แต่ได้มาอธิบาย พระกรรมฐานของเก่าขึ้นใหม่ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย และเพิ่มศรัทธา ให้มีผู้เข้ามาปฎิบัติธรรม ของเก่าดั้งเดิมกันมากขึ้น เป็นการจรรโลงการปฎิบัติธรรมของเก่ามิให้คลาย เสื่อมสลาย สูญสิ้นไป
สม ดังปณิธาน ของสมเด็จสังฆราช ไก่เถื่อน และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ได้ทรงกระทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมา ภาคปฎิบัติเอาไว้ ตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔
พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับนี้ เป็นของเก่าเล่าเรียนปฎิบัติ สืบต่อกันมาช้านาน แต่ครั้งพุทธกาล โดยพระราหูเถรเจ้า ทรงเป็นต้นสาย สืบต่อมา ถึงครั้งตติยสังคายนา นำเข้ามาสู่ลังกา และนำเข้ามาสู่สุวรรณภูมิ โดยพระโสฌเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้า พระองค์ท่านได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับผ่านสมัยเรื่อยมาจนถึงยุคศรี ทวารวดี
ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๖๐๑-๖๕๓ พระอุปติสสะเถรเจ้า แห่งลังกาทวีป ได้นำเอาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ซึ่งเป็นพระกรรมฐาน ภาคปฎิบัติ อันทรงจำสืบกันมา นำมาแต่งจารึกลงเป็นอักษร เรียงลำดับ เรียงหมวดหมู่กรรมฐานไว้เป็นภาคปริยัติ เรียกว่า คัมภีร์วิมุตติมรรค เพื่อให้ผู้ปฎิบัติกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับมาแล้ว ได้ศึกษาหาความรู้ภาคปริยัติต่อไป
ต่อ มาประมาณปีพระพุทธศักราช ๙๕๖ พระพุทธโฆสะ ได้นำคัมภีร์วิมุตติมรรคมาแต่งเป็น พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค เพื่อแสดงปัญญาให้ได้มาซึ่งคัมภีร์อรรถคาถา ศรีทวารวดี ยุคสุโขทัย ยุคอยุธยา และยุครัตนโกสินทร์
ในยุครัตนโกสินทร์นี้ เอง พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ได้เรื่มเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ พระสงฆ์ สามเณร ปะขาว ชี เริ่มประพฤติปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา ออกนอกลู่ นอกทาง การปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แต่ก่อนมา ไม่ปฎิบัติเป็นขั้น เป็นตอน ทำให้พระพุทธศาสนาภาคปฎิบัติเสื่อมถอยลง
ต่อมาล้น เกล้ารัชกาลที่ ๒ จึงได้ให้ชุมนุมพระสงฆ์ วิปัสนา-พระกรรมฐานมัชฌิมา มาร่วมกัน ทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาไว้ และทรงแต่งตั้งพระภิกษุไปเป็นพระอาจารย์บอกพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ และสมถะพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จึงมีมาจนทุกวันนี้ ซึ่งบางสมัยก็เจริญ บางสมัยก็เสื่อม โดยความรู้ไม่ทั่วถึง จึงต้องมีการฟื้นฟู ผดุงรักษา พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ฉะนั้น โบราณจารย์ พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แต่ปางก่อนทั้งหลาย จึงได้กล่าวเป็นคติพยากรณ์ถึงการรักษาแบบแผน การปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไว้เป็นสามคาบว่า
สัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
ดังเช่น..... หลวงปู่สมเด็จพระสังฆราชญานสังวรมหารเถระเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) ดังนี้ เป็นต้น
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร
คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม
โทรศัพท์-โทรสาร ๐-๒๔๖๕-๒๕๕๒ , ๐๘๙-๓๑๖-๒๕๕๒
หมายเหตุโดยผู้พิมพ์ : เนื้อหา บทความจะยาวมาก ผู้พิมพ์พยายามจัดหมวดหมู่ให้อ่านได้ง่าย ขอให้กัลยาณมิตรที่สนใจอ่านทำความเข้าใจไปเรื่อยๆ ตรงไหนที่ไม่เข้าใจขอให้โทรกราบเรียนถามหลวงพ่อท่านโดยตรง หรือ ถ้ามีเวลาและอยากจะเริ่มการฝึกกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ อย่างจริงจัง ขอแนะนำให้เข้าไปที่พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม (พลับ) ถ.อิสรภาพ ๒๓ วัดอรุณ บางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร จะมีครูบาอาจารย์ทางกรรมฐานเป็นผู้ฝีกสอน ชี้แนะให้ค่ะ
อานิสงส์ จากการพิมพ์เผยแผ่่เป็นธรรมทานในครั้งนี้ ข้าพเจ้าขออนุโมทนาบุญให้กับกัลยาณมิิตร ญาติธรรม สหธรรมมิกทุกท่าน ทุกชาติภพที่มีส่วนร่วมในการช่วยกันดำรงเผยแพร่พระพุทธศาสนา ขอให้ทุกท่านเจริญด้วยสติปัญญาและพาตนของตนถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือพระนิพพานเทอญ สาธุ