ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สุขของชาวบ้าน สุขใดมีค่ามากที่สุด.?  (อ่าน 3105 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
    • ดูรายละเอียด
สุขของชาวบ้าน สุขใดมีค่ามากที่สุด.?
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2017, 09:21:34 am »



อานัณยสูตร ว่าด้วย "สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้"

[๖๒] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี ดังนี้ว่า คหบดี สุข ๔ ประการนี้ คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม(๒) พึงได้รับตามกาล ตามสมัย
    สุข ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
    ๑. อัตถิสุข (สุขเกิดจากความมีทรัพย์)
    ๒. โภคสุข (สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์)
    ๓. อานัณยสุข(๓) (สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้)
    ๔. อนวัชชสุข (สุขเกิดจากความประพฤติที่ไม่มีโทษ)

@@@@@@

อัตถิสุข เป็นอย่างไร.?
คือ กุลบุตรในโลกนี้มีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความหมั่นเพียร เก็บรวบรวม ด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม เขาได้รับสุข โสมนัสว่า ‘เรามีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วย น้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม’ นี้เรียกว่า อัตถิสุข

โภคสุข เป็นอย่างไร.?
คือ กุลบุตรในโลกนี้ใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วย ความหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม เขาได้รับสุขโสมนัสว่า ‘เราใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญด้วย โภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบ เหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม’ นี้เรียกว่า โภคสุข

อานัณยสุข เป็นอย่างไร.?
คือ กุลบุตรในโลกนี้ไม่เป็นหนี้ใคร ไม่ว่าจะน้อยหรือมากก็ตาม เขาได้รับสุข โสมนัสว่า ‘เราไม่เป็นหนี้ใคร ไม่ว่าจะน้อยหรือมาก’ นี้เรียกว่า อานัณยสุข

อนวัชชสุข เป็นอย่างไร.?
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษ วจีกรรมที่ไม่มีโทษ และมโนกรรมที่ไม่มีโทษ เขาได้รับสุขโสมนัสว่า ‘เราประกอบด้วยกายกรรม ที่ไม่มีโทษ วจีกรรมที่ไม่มีโทษ มโนกรรมที่ไม่มีโทษ’ นี้เรียกว่า อนวัชชสุข


@@@@@@

คหบดี คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามพึงได้รับสุข ๔ ประการนี้แล ตามกาล ตามสมัย นรชนผู้จะต้องตาย รู้สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ ระลึกถึงสุขเกิดจากความมีทรัพย์ เสวยสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ ย่อมเห็นแจ้งด้วยปัญญา ผู้มีปัญญาดีเห็นชัดอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ส่วนทั้ง ๒ ว่า สุขแม้ทั้ง ๓ นี้มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งสุขเกิดจากความประพฤติอันไม่มีโทษ

       อานัณยสูตรที่ ๒ จบ


(๒) ผู้บริโภคกาม(กามโภคี) ในที่นี้หมายถึง ผู้เสพวัตถุกาม กิเลสกาม (หมายเอาผู้อยู่ครองเรือน) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๖๒/๓๕๔)
(๓) คำว่า อานัณยสุข นี้ ฉบับ สฺยามรฏฺฐสฺส เตปิฏกํ (๒๕๒๓) องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๑๖๒/๙๐-๙๑ และ ฉบับ ทยฺยรฏฺฐสฺส สงฺคีติเตปิฏกํ (๒๕๓๐) องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๖๒/๙๕ เป็น อนณสุข



อ้างอิง :-
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับมหาจุฬาฯ) เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
etipitaka.com/read/thaimc/21/105/?keywords=อานัณยสูตร


 st12 st12 st12 st12

สุขของคฤหัสถ์ หรือ คิหิสุข หรือ กามโภคีสุข 4 (สุขของชาวบ้าน, สุขที่ชาวบ้านควรพยายามเข้าถึงให้ได้สม่ำเสมอ, สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี)
       1. อัตถิสุข (สุขเกิดจากความมีทรัพย์ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรงความขยันหมั่นเพียรของตน และโดยชอบธรรม)
       2. โภคสุข (สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนได้ใช้ทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบนั้น เลี้ยงชีพ เลี้ยงผู้ควรเลี้ยง และบำเพ็ญประโยชน์)
       3. อนณสุข (สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนเป็นไท ไม่มีหนี้สินติดค้างใคร)
       4. อนวัชชสุข (สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนมีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหาย ใครๆ ติเตียนไม่ได้ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ)

       บรรดาสุข 4 อย่างนี้ อนวัชชสุข มีค่ามากที่สุด


ที่มา : องฺ.จตุกฺก. 21/62/90
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

leontalk

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: สุขของชาวบ้าน สุขใดมีค่ามากที่สุด.?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 26, 2017, 09:44:42 am »
 ๑. อัตถิสุข (สุขเกิดจากความมีทรัพย์)
 ๒. โภคสุข (สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์)
 ๓. อานัณยสุข(๓) (สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้)
 ๔. อนวัชชสุข (สุขเกิดจากความประพฤติที่ไม่มีโทษ)

4 สุขที่ควรทำตาม
บันทึกการเข้า