ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ฝากออมสิน ฝังดินไว้ ใช้หนี้เก่า ให้เขากู้ ทิ้งสู่เหว  (อ่าน 9800 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

โภคอาทิยะ ๕ (ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ หรือ เหตุผลที่อริยสาวกควรยึดถือ ในการที่จะมีหรือครอบครองโภคทรัพย์) อริยสาวกแสวงหาโภคทรัพย์มาได้ ด้วยน้ำพักน้ำแรงความขยันหมั่นเพียรของตน และโดยทางสุจริตชอบธรรมแล้ว
    ๑. เลี้ยงตัว มารดาบิดา บุตรภรรยา และคนในปกครองทั้งหลายให้เป็นสุข
    ๒. บำรุงมิตรสหายและผู้ร่วมกิจการงานให้เป็นสุข
    ๓. ใช้ป้องกันภยันตราย
    ๔. ทำพลี ๕ อย่าง
        ก. ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ
        ข. อติถิพลี ต้อนรับแขก
        ค. ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับ
        ง. ราชพลี บำรุงราชการด้วยการเสียภาษีอากร เป็นต้น
        จ. เทวตาพลี ถวายเทวดา** คือ สักการะบำรุงหรือทำบุญอุทิศสิ่งที่เคารพบูชา ตามความเชื่อถือ
   ๕. อุปถัมภ์บำรุงสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ เมื่อใช้โภคทรัพย์ทำประโยชน์อย่างนี้แล้ว ถึงโภคะจะหมดสิ้นไป ก็สบายใจได้ว่า ได้ใช้โภคะนั้นให้เป็นประโยชน์ถูกต้องตามเหตุผลแล้ว ถ้าโภคะเพิ่มขึ้นก็สบายใจเช่นเดียวกัน เป็นอันไม่ต้องเดือดร้อนใจในทั้งสองกรณี.

     เมื่อใช้โภคทรัพย์ทำประโยชน์อย่างนี้แล้ว ถึงโภคะจะหมดสิ้นไป ก็สบายใจได้ว่า ได้ใช้โภคะนั้นให้เป็นประโยชน์ถูกต้องตามเหตุผลแล้ว ถ้าโภคะเพิ่มขึ้นก็สบายใจเช่นเดียวกัน เป็นอันไม่ต้องเดือดร้อนใจในทั้งสองกรณี.


** ในจูฬนิทเทส ท่านอธิบายความหมายของ “เทวดา” ไว้ว่า ได้แก่สิ่งที่นับถือเป็นทักขิไณย์ของตนๆ (เย เยสํ ทกฺขิเณยฺยา, เต เตสํ เทวตา - พวกไหนนับถือสิ่งใดเป็นทักขิไณย์ สิ่งนั้นก็เป็นเทวดาของพวกนั้น) และแสดงตัวอย่างไว้ตามความเชื่อถือของคนสมัยพุทธกาล ประมวลได้เป็น 5 ประเภท คือ
       1. นักบวช นักพรต เช่น อาชีวกเป็นเทวดาของสาวกอาชีวก นิครณถ์ ชฎิล ปริพาชก ดาบส ก็เป็นเทวดาของสาวกนิครนต์เป็นต้นเหล่านั้นตามลำดับ
       2. สัตว์เลี้ยง เช่น ช้างเป็นเทวดาของพวกประพฤติพรตบูชาช้าง ม้า โค ไก่ กา เป็นต้น ก็เป็นเทวดาของพวกถือพรตบูชาสัตว์นั้นๆ ตามลำดับ
       3. ธรรมชาติ เช่น ไฟเป็นเทวดาของพวกประพฤติพรตบูชาไฟ แก้ว มณี ทิศ พระจันทร์ พระอาทิตย์ เป็นเทวดาของผู้ถือพรตบูชาสิ่งนั้นๆ ตามลำดับ
       4. เทพชั้นต่ำ เช่น นาคเป็นเทวดาของพวกประพฤติพรตบูชานาค ครุฑ ยักษ์ คนธรรพ์ เป็นเทวดาของผู้ถือพรตบูชานาคเป็นต้นเหล่านั้นตามลำดับ (พระภูมิจัดเข้าในข้อนี้)
       5. เทพชั้นสูง เช่น พระพรหม เป็นเทวดาของพวกประพฤติพรตบูชาพระพรหม พระอินทร์ เป็นเทวดาของผู้ถือพรตบูชาพระอินทร์ เป็นต้น


       สำหรับชนที่ยังมีความเชื่อถือในสิ่งเหล่านี้ พระพุทธศาสนาสอนเปลี่ยนแปลงเพียงให้เลิกเซ่นสรวงสังเวยเอาชีวิตบูชายัญ หันมาบูชายัญชนิดใหม่ คือบริจาคทานและบำเพ็ญกุศลกรรมต่างๆ อุทิศไปให้แทน คือมุ่งที่วิธีการอันจะให้สำเร็จประโยชน์ก่อน ส่วนการเปลี่ยนแปลงความเชื่อถือเป็นเรื่องของการแก้ไขทางสติปัญญา ซึ่งประณีตขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง โดยเฉพาะนักบวชในประเภทที่ 1 แม้สาวกใดจะเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาโดยสมบูรณ์ พระพุทธเจ้าก็ทรงแนะนำให้อุปถัมภ์บำรุงนักบวชนั้นต่อไปตามเดิม(ขุ.จู. 30/120/45.)

ที่มา : องฺ.ปญฺจก.๒๒/๔๑/๔๘. , พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม(ป.อ.ปยุตโต)

 :25: :25: :25: :25:

โภควิภาค ๔ (การแบ่งโภคะเป็น ๔ ส่วน, หลักการแบ่งทรัพย์โดยจัดสรรเป็น ๔ ส่วน)
     ๑. เอเกน โภเค ภุญฺเชยฺย (๑ ส่วน ใช้จ่ายเลี้ยงตน เลี้ยงคนที่ควรบำรุง และทำประโยชน์)
     ๒-๓. ทฺวีหิ กมฺมํ ปโยชเย (๒ ส่วน ใช้ลงทุนประกอบการงาน)
     ๔. จตุตฺถญฺจ นิธาเปยฺย (อีก ๑ ส่วน เก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น)


ที่มา : ที.ปา.๑๑/๑๙๗/๒๐๒ , พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม(ป.อ.ปยุตโต)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 03, 2017, 10:47:39 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


เงิน 5 กอง
โดย สมหวัง  วิทยาปัญญานนท์

ในทางพุทธนั้น ได้สอนถึงการบริหารเงินหรือทรัพย์หรือเศรษฐศาสตร์การคลังไว้ เมื่อเรามีเงิน เราต้องแบ่งเงินออกเป็น 5 กอง ไม่จำเป็นต้องมีปริมาณเท่ากัน ไว้ดังนี้ ฝากออมสิน ฝังดินไว้ ใช้หนี้เก่า ให้เขากู้ และทิ้งสู่เหว

ฝากออมสิน หมายถึง ให้เอาเงินไปกระจายความเสี่ยงในการลงทุน เช่นซื้อหุ้นกู้ ซื้อสลากออมสิน เอาไปลงทุน เพื่อดูผลที่เป็นรายได้ในระยะยาว หรือเก็บไว้เพื่ออนาคต

ฝังดินไว้ หมายถึง ให้เจียดเงินส่วนหนึ่งไว้ทำประโยชน์ต่อโลกที่เราอาศัยอยู่ ตอบแทนบุญคุณต่อแผ่นดินเพื่อชาติบ้านเมือง สนับสนุนส่วนรวม สร้างสรรให้โลกน่าอยู่ ช่วยด้านการศึกษา การรักษาพยาบาล คนเจ็บคนป่วย องค์กรกุศล มูลนิธิ เอาไปเสียภาษีอากร ที่เขาจะเอาไปสร้างสาธารณูปโภค ประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ ให้กาชาด ในทางธรรมจะคิดในแนวทำวัตถุทรัพย์ไปเป็นบุญเพื่อผลในโลกนี้และในโลกหน้า ฝังดินไว้จึงเหมือนเอาไปให้คนอื่นใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะพื้นแผ่นดินที่มีบุญคุณต่อเรา ให้เราเหยียบอาศัยอยู่

ใช้หนี้เก่า หมายถึง ให้เลี้ยงดูพ่อแม่ ตอบแทนบุญคุณที่พ่อแม่เลี้ยงเรามา หรือใครที่เป็นผู้ให้กำเนิดเรา หรือมีบุญคุณต่อเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชีวิต ต่ออาชีพ ต่อการเงินการงานของเรา เราต้องรู้คุณ

ให้เขากู้ หมายถึง เจียดเงินส่วนหนึ่งไว้เลี้ยงทายาท บุตรหลาน เป็นการลงทุนสร้างฐานสร้างทายาท เพื่อให้เขาพัฒนาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ รู้ทั้งทางโลกและทางธรรม แล้วเขาก็จะมาเลี้ยงพ่อแม่ยามพ่อแม่แก่เฒ่า นั่นคือเอาเงินไปให้เขาใช้ก่อน แล้วเขาจะใช้คืนในภายหลัง นั่นเอง

ทิ้งสู่เหว หมายถึง เอาไว้ใช้ไว้กินในชีวิตประจำวัน ให้กับตัวเองและครอบครัว การต้อนรับขับสู้แขกผู้มาเยือน โดยเน้นคุณค่าแท้ไม่หลงต่อคุณค่าเทียม เน้นประโยชน์สูง ประหยัดสุด ตามหลักความพอเพียงความพอดี ไม่สุรุ่ยสุร่ายและไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ซึ่งต้องจ่ายไปเรื่อยๆ เหมือนเหวที่ถมไม่รู้จักเต็ม


ที่มา  http://www.budmgt.com/budman/bm01/money5.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 03, 2017, 10:16:26 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
นับเงินแก้เครียด
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 29, 2010, 12:30:21 pm »
0



นับเงินแก้เครียด

วารสารจิตวิทยา "ไซโคโลจิคัล ไซเอินซ์" ฉบับล่าสุดชี้ว่า นักวิจัยมหาวิทยาลัยซุนยัตเซน มินนิโซตา และฟลอริดา พบว่า การนับเงินช่วยบรรเทาความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่เมื่อนึกถึงการใช้เงินความเครียดจะเพิ่มขึ้น

การศึกษาชิ้นนี้เน้นที่อำนาจเชิงสัญลักษณ์ของเงิน โดยเริ่มการทดลองชิ้นแรกกับนักศึกษาจีน 84 คน แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม
    กลุ่มแรกสั่งให้นับธนบัตร 80 ใบ ส่วนอีกกลุ่มให้นับกระดาษเปล่า 80 แผ่น
    หลังจากนั้นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดต้องเล่นวิดีโอเกมออนไลน์ ซึ่งเป็นเกมรับส่งลูกบอลที่จะต้องเล่นร่วมกับผู้อื่นในอินเตอร์เน็ต แต่มีการตั้งโปรแกรมไว้ให้กลุ่มตัวอย่างครึ่งหนึ่งรับลูกบอลที่โยนมาไม่ได้ หลังผ่านไปสิบลูก ขณะที่อีกกลุ่มยังรับได้อยู่

เมื่อจบเกมกลุ่มตัวอย่างที่ตกรอบต้องให้คะแนนความเครียดทางสังคมและความรู้สึกของตัวเอง ซึ่งผลปรากฏว่ากลุ่มที่ได้นับเงินก่อนมีระดับความเครียดทางสังคมต่ำกว่ากลุ่มที่นับกระดาษเปล่า อีกทั้งยังรู้สึกว่าเข้มแข็งและมีความพร้อมในตัวเองมากกว่าด้วย


 :s_good: :s_good: :s_good:

นักวิจัยทดลองส่วนที่สองเพื่อดูว่าการนับเงินช่วยลดความเจ็บปวดทางร่างกายด้วย หรือไม่ โดยเปลี่ยนจากเกมออนไลน์เป็นการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นสองกลุ่ม
     กลุ่มแรกต้องจุ่มมือลงในน้ำอุ่น และกลุ่มที่สองจุ่มมือลงในน้ำร้อน
     พบว่า กลุ่มที่ได้นับเงินก่อนรู้สึกร้อนมือน้อยกว่า และเพื่อให้การศึกษาครบถ้วนสมบูรณ์จึงทดลองเพิ่ม ซึ่งพบว่า เมื่อใดที่คนเรานึกถึงการใช้เงินอย่างสิ้นเปลืองที่ผ่านมาจะยิ่งเพิ่มความเครียด และถ้าพวกเขาถูกปฏิเสธจากสังคมและมัวแต่คิดถึงแต่ความไม่สะดวกสบายทางกายภาพ ก็จะกระตุ้นให้มีความต้องการเงินมากขึ้นและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่น้อยลง

     "ผลการศึกษานี้มีนัยในโลกแห่งความเป็นจริง โดยเฉพาะท่ามกลางเศรษฐกิจขาลง การตกงานถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการถูกสังคมปฏิเสธที่จะทำให้คนๆ นั้นอยากได้เงินมากขึ้น ในขณะที่ตัวเองมีเงินน้อยลงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ภาวะถดถอยทำให้คนเรายิ่งพยายามไขว่คว้าหาสิ่งที่ ไม่สามารถมีได้"
      นักวิจัย ม.มินนิโซตา ระบุ


ที่มา : http://www.oknation.net/blog/nattaporn/2009/09/01/entry-5
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 03, 2017, 10:28:47 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




ใช้หนี้เก่า-ให้เขากู้-ใส่ปากงู : พุทธวิธีวางแผนการเงิน

เมื่อหาเงินได้มาแล้ว พระพุทธองค์ทรงให้แบ่งเงินเป็น 4 ส่วน(โภควิภาค 4) แต่ให้แบ่งใช้เป็น 3 งบ

1) เงินส่วนแรก – สำหรับงบใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน คือ งบเลี้ยงดูพ่อแม่ กับ งบใช้สอยบริโภค โบราณเรียกว่า "ใช้หนี้เก่า" กับ "ทิ้งลงเหว"
2) เงินส่วนที่สองกับสาม – สำหรับงบลงทุน คือ งบลงทุนในอาชีพ กับ งบให้การศึกษาลูกโบราณเรียกว่า "ให้เขากู้" (คนละความหมายกับออกเงินกู้) ในที่นี้หมายถึงการลงทุนเพื่ออนาคต คือลงทุนกับงานและลงทุนกับคน
3) เงินส่วนที่สี่ – สำหรับงบฉุกเฉินในคราวมีภัยอันตราย คือ งบรักษาพยาบาล กับ งบทำบุญโบราณเรียกว่า "ใส่ปากงู" กับ "ฝังดินไว้"


@@@@@

ท่านเรียกรวมเป็นปริศนาธรรมว่า ใช้หนี้เก่า–ทิ้งลงเหว–ให้เขากู้–ใส่ปากงู–ฝังดินไว้ แต่สมัยนี้เรียกว่า “แผนการเงิน” หรือ “วินัยการเงิน”

ถ้าจะเทียบตัวอย่างให้เห็นได้ง่ายๆ หากเราหาเงินได้ 100 บาท แผนการเงินของเรา ก็คือ
    1) แบ่งไว้ 25 บาท เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวันคือให้พ่อแม่ 12.50 บาท ใช้สอยบริโภค 12.50 บาท
    2) แบ่งไว้ทำงาน 50 บาท คือ เพื่องานอาชีพ 25 บาท เพื่อการศึกษาของลูก 25 บาท
    3) แบ่งไว้ยามฉุกเฉิน 25 บาท คือ ค่ารักษาพยาบาล 12.50 บาท เพื่อสร้างบุญ 12.50 บาท


@@@@@

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า เงิน 100 บาทนั้น หากทำตามวินัยการเงินที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ เราสามารถทำอะไรได้มากทีเดียว เพราะเพียงแค่เอารายได้ปัจจุบันคูณเข้าไป เราก็จะเห็นตัวเลขตามแผนการเงินนี้ทันที เช่น ถ้ารายได้ 10,000 บาท ต่อเดือน แผนการเงินที่ได้ ก็คือ

1) งบใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 2,500 บาท ต่อเดือน (ให้พ่อแม่ 1,250 บาท ใช้สอย 1,250 บาท)
2) งบลงทุน 5,000 บาท ต่อเดือน (ทุนอาชีพ 2,500 บาท ทุนการศึกษาลูก 2,500)
3) งบฉุกเฉิน 2,500 บาทต่อเดือน (ค่ารักษาพยาบาล 2,500 บาท ทำบุญ 2,500 บาท)

@@@@@

เมื่อเรามีวินัยการเงินแบบนี้ กับการบริหารรายได้ประจำ 10,000 บาทต่อเดือนเราก็จะรู้อนาคตทางการเงินใน 1 วัน 1 เดือน 1 ปี ของตัวเองทันที จากนั้น เมื่อเรามองไปไกลๆ อีกหลายสิบปี ก็จะเห็นตัวเลขการเงินในวัยชราขึ้นมาทันทีเช่นกัน

ซึ่งนี่เป็นการเทียบเคียงกับแผนการเงินที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้แบบง่ายๆ ถ้าหากเรามีวินัยตามนี้ ก็จะมีเงินเหลือเก็บ เงินฉุกเฉิน และเงินทำบุญต่อปีเพิ่มขึ้นเอง คนฉลาดไม่ใช่แค่หาเงินเก่งเท่านั้น แต่ต้องฉลาดในการวางแผนใช้เงินด้วย ถึงจะเป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ส่วนใครที่เกิดผิดพลาดทางการเงินไปแล้ว ขอเพียงใจแข็งทำตามพระพุทธองค์ไปสักพักทุกอย่างก็จะดีขึ้นเอง


ขอบคุณบทความจาก
http://www.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=5393
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ