ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทศพิธราชธรรม คืออะไร.? ประกอบด้วยอะไรบ้าง.?  (อ่าน 552 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 


ทศพิธราชธรรม คืออะไร.? ประกอบด้วยอะไรบ้าง.?

ทศพิธราชธรรม คือจริยวัตร 10 ประการ ที่พระเจ้าแผ่นดินพึงปฏิบัติ เป็นหลักธรรมประจำพระองค์เพื่อปกครองให้บ้านเมืองและประชาชนสงบสุข ไม่ได้จำเพาะว่าจะต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดินถึงจะใช้หลัก 10 ประการนี้ได้เท่านั้น แต่บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้บริหารระดับสูงในหลายๆ องค์กรก็ควรใช้ด้วยเช่นเดียวกัน

หลัก 10 ประการของ ทศพิธราชธรรม มีอะไรบ้าง มาดูกัน

@@@@@@

1. “ทานัง”
หรือทาน เป็นการให้ปันปัจจัยแห่งชีวิต อะไรเป็นปัจจัยของการดำรงอยู่แห่งชีวิต ก็ให้ปัจจัยเหล่านั้นทั้งในทาง รูปธรรมและทั้งในทางนามธรรม ที่เป็นรูปธรรมก็หมายถึง วัตถุ สิ่งของ, ที่เป็นนามธรรม ก็หมายถึง ความรู้ ความฉลาด ความ สามารถ ล้วนแต่เป็นปัจจัยแห่งชีวิต

ต่อเพื่อนมนุษย์ ตรงต่อหน้าที่การงานแห่งความเป็นมนุษย์ ความ ซื่อตรงนี้เหตุให้เกิดความรัก สามัคคี ไว้ใจ วางใจ ซื่อตรง

2. “สีลัง”
หรือศีล แปลว่า ภาวะปกติ และเหตุปัจจัย หรือการจัดการที่ทำให้เกิดภาวะปกติ อุปมาเหมือนว่าก้อนหิน ก้อน ศิลา มีความเป็นปกติ ความหมายนี้ใช้ได้กันกับคำว่าสีละหรือศีล ที่ รักษาสมาทานกันอยู่ เหตุทำให้เกิดความปกติ แล้วก็เกิดความปกติ แล้วก็มีผลของความปกติ อยู่กันอย่างสงบสุข

3. “ปะริจจาคัง”
หรือบริจาค เป็นการให้ในภายใน ไม่ต้องมีผู้รับก็ได้ เป็นการให้สิ่งที่ไม่ควรมีอยู่ในตน เช่น การละกิเลส เป็นต้น ละความตระหนี่หวงแหน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ละความเห็นแก่ตน ทานให้วัตถุปัจจัยภายนอกมีตัวผู้รับ ปริจจาคะ ให้ปัจจัยภายใน ไม่ต้องมีตัวผู้รับก็ได้ต่างกันไม่ใช่อย่างเดียวกัน ไม่ใช่ว่าให้ — ให้ด้วยกัน

4. “อาชชะวัง”
หรืออาชชวะ คือความซื่อตรงต่อเพื่อนมนุษย์ ตรงต่อหน้าที่การงานแห่งความเป็นมนุษย์ ความซื่อตรงนี้เป็นเหตุให้เกิดความรัก สามัคคี ไว้ใจ วางใจ ซื่อตรงต่อเพื่อนมนุษย์ ก็อยู่กันอย่างสะดวกสบาย ซึ่งตรงต่อหน้าที่แห่งความเป็นมนุษย์นี้เป็นความตรงสุดยอด ความเป็นมนุษย์มีหลักเกณฑ์อย่างไร ซื่อตรงต่อความเป็นอย่างนั้น ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น

5. “มัททะวัง”
หรือมัททวะ แปลว่า อ่อนโยน อ่อนโยนต่อบุคคล ซึ่งใครๆ ก็ชอบความอ่อนโยน อย่าต้องกล่าวถึงมนุษย์เลย แม้แต่สัตว์ก็ยังชอบความอ่อนโยนของบุคคลผู้เป็นเจ้าของ นี้ก็เป็นการอ่อนโยนต่อบุคคล ป็นการอ่อนโยนแห่งอาการทางกาย ทีนี้มีการอ่อนโยนทางจิต คือมีจิตที่อบรมไว้ดี คล่องแคล่วที่จะทำการงานทางจิต จะคิด จะนึก จะรู้สึกอะไรก็ คล่องแคล่ว เหมือนขี้ผึ้งที่อ่อนดีแล้วจะปั้นเป็นอะไรก็ง่ายอย่างนั้น ความอ่อนโยนทางจิต ความเหมาะสมแก่การงานทางจิตนี่เป็นสิ่งที่ จะต้องระลึกนึกถึงกันให้มาก เดี๋ยวนี้จิตมักไม่ได้รับความอ่อนโยน ไม่ได้รับการปรับปรุงให้มีความอ่อนโยน มันก็ลำบาก


ขอบคุณภาพจาก www.jiggaban.com/

6. “ตะปัง”
หรือตบะ หมายถึง วิริยะที่เผาอุปสรรค เช่น อิทธิบาททั้ง 4 มีแล้วก็เผาความไม่สำเร็จให้เกิดความสำเร็จ

7. “อักโกธัง”
หรืออโกธะ เราก็เห็นกันอยู่ว่าเป็น ความไม่โกรธ แต่ตัวหนังสือละเอียดอ่อนกว่านั้น แปลว่าไม่กำเริบ ไม่กำเริบภายใน ทำให้ตนลำบาก ไม่กำเริบในภายนอก ทำให้ผู้อื่น ลำบาก ไม่โกรธตัวเอง — ไม่โกรธผู้อื่น ก็คือไม่กำเริบในภายใน ไม่กำเริบในภายนอก

8. “อะวิหิงสัง”
หรืออวิหิงสา ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนตนเองนี่บางคนยังไม่เข้าใจก็ได้เพราะถือเสียว่าคนมันรักตัวเองแล้วมันจะเบียดเบียนทำไม นั่นแหละ จะมีได้มากเพราะไม่รู้ เพราะไม่เข้าใจมันก็ทำไปในลักษณะที่เป็นการเบียดเบียน ผู้ปฏิบัติผิดพลาด ความชั่วทั้งหลาย เป็นการ เบียดเบียนตนเองโดยที่ไม่อยากจะเบียดเบียน แต่ความโง่เขลามัน ทำให้เป็นการเบียดเบียน ถ้าว่าเบียดเบียนไปถึงผู้อื่นเรื่องก็ร้ายกาจมาก

9. “ขันติ”
หรือขันติ ความอดทน คือ รอได้ คอยได้ ไม่กระวนกระวายใจ ถ้าไม่มีความอดทนมันก็เหมือนกับทรมานตัวเอง จะมีฉลาด เฉลียว ปัญญาวิเศษอย่างไร ถ้าไม่รอได้ ทนได้ มันก็ จะเปล่าประโยชน์ เพราะประโยชน์มันไม่ออกมาทันที มันต้องมี โอกาสตามเวลาแห่งความสำเร็จ ต้องรอได้ ทนได้เหมือนกับทำนา มันต้องรอได้กว่าจะออกเป็นข้าวออกมา อีกอย่างหนึ่ง ขันติแปลว่า สมควร สมควรที่จะได้รับความสำเร็จ มันก็หมายถึงอดทนนั่นแหละ อดทนนั่นแหละสมควรที่จะได้รับความสำเร็จ

10. “อะวิโรธะนัง”
หรืออวิโรธนะ ข้อนี้ แปลว่า ไม่มีอะไรพิรุธที่ผิดไปจากแนวแห่งความถูกต้อง อวิโรธนะ ขอให้หมายถึงความไม่มีอะไรพิรุธเป็นความถูกต้อง เป็นคุณธรรม ระดับปัญญา ถ้าแปลเป็นอย่างอื่นไปเสียแล้ว ธรรมะทั้งชุดนี้ก็จะ ขาดปัญญาซึ่งเป็นไปไม่ได้ สิ่งที่เรียกว่าปัญญานี้จะมาเป็นตัวสุดท้าย ของหมวดเสมอ อวิโรธนะนี้หมายถึงปัญญา ไม่มีอะไรผิดพลาดไป จากทำนองคลองธรรมเพราะไม่รู้ คือไม่มีปัญญานั่นเอง ถ้าไม่มีการ พิรุธหรือผิดพลาด ก็หมายความว่ามีปัญญา อะวิโรธะนังจึงหมายถึง ความมีปัญญาไม่พิรุธ ความรู้ไม่พิรุธ ความเข้าใจไม่พิรุธ อะไร ๆ ก็ไม่พิรุธ เพราะอำนาจแห่งปัญญา


@@@@@@

เป็น 10 ประการด้วยกันเช่นนี้ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม



ข้อมูลจากหนังสือ โชคดีมีโอกาส ได้เดินตามรอยพระยุคลบาท โดยทศพิธราชธรรม
ขอบคุณ : https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/124986.html#cxrecs_s
By nintara1991 ,24 June 2019
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 05, 2019, 06:16:55 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ