ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อรหันต์องค์นี้ เรียกชาวบ้านทุกคนว่า "เจ้าคนถ่อย" อยู่เสมอ  (อ่าน 4974 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระปิลินทวัจฉเถระ
เอตทัคคะในทางผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพยดา

พระปิลินทวัจฉะ เป็นบุตรของพราหมณ์ ตระกูลวัจฉโคตร เดิมชื่อว่า “ปิลินทะ” แต่
คนทั่วไปมักเรียกว่า “ปิลินทวัจฉะ” ตามชื่อตระกูลของท่านเมื่อเจริญวัยได้รับการศึกษาจบไตร
เพทตามลัทธินิยม
 
•   เบื่อโลกจึงออกบวช
ต่อมาเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตการครองเรือน จึงออกบวชเป็นปริพาชกเที่ยวแสวงหา
สำนักอาจารย์เพื่อศึกษาศิลปวิทยาขั้นสูง ๆ ต่อไป และได้ศึกษาวิชา จูฬคันธาระ ในสำนักของ
อาจารย์แห่งหนึ่ง จนสำเร็จสามารถแสดงฤทธิ์เหาะได้ และสามารถล่วงรู้ความ รู้สึกนึกคิดจิตใจ
ของผู้อื่นได้ด้วย


ทำให้ชื่อเสียงของท่านร่ำลือระบือปรากฏไปทั่งกรุงสาวัตถีบ้านเกิดของท่าน ลาภ
สักการะก็เกิดขึ้นมากมาย แต่วิชานี้มีข้อจำกัดว่า ถ้าเข้าไปในเขตแดนที่มีวิชา มหาคันธาระ อยู่
ด้วย วิชาจูฬคันธาระ นี้ก็จะเสื่อมลงไม่สามารถแสดงฤทธิ์เหาะได้ และไม่สามารถล่วงรู้จิตใจผู้
อื่นได้

ปิลินทวัจฉปริพาชก ท่องเที่ยวแสดงฤทธิ์ แสดงความสามารถแก่ประชาชนทั้งหลายไป
ยังเมืองต่าง ๆ จนมาถึงเมืองราชคฤห์ ชาวเมืองให้ความเคารพยกย่องนับถือเป็นจำนวนมาก และ
ท่านก็ได้พักอยู่ในเมืองราชคฤห์นั้น


ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว ทรงประกาศเผยแผ่หลักธรรมคำสอนไปยังคามนิคม
ต่าง ๆ จนมาถึงเมืองราชคฤห์ จากนั้นวิชาจูฬคันธาระ ของปิลินทวัจฉะก็เสื่อมลง ท่านรู้ได้ทันที
ว่าในเมืองนี้จะต้องมีวิชามหาคันธาระเกิดขึ้นแล้ว จึงสืบเสาะแสวงหาจนพบพระบรมศาสดา และ
ทราบว่าพระองค์มีวิชามหาคันธาระ

จึงกราบทูลขอศึกษาวิชานี้ พระผู้มีพระภาคก็ทรงยินดีที่จะ
สอนให้ แต่ว่าผู้เรียนต้องบวชในพระพุทธศาสนาก่อน เพราะวิชานี้จะสอนให้เฉพาะผู้ที่บวชใน
พระพุทธศาสนาเท่านั้น ท่านจึงกราบทูลขอบวชในวันนั้นเพื่อที่จะเรียนวิชามหาคันธาระตามที่
ตนต้องการ


เมื่อปิลินทวัจฉะ บวชแล้ว ได้พยายามศึกษาวิชามหาคันธาระ ตามที่พระบรมศาสดา
ประทานสอนให้ โดยให้ท่านพิจารณาพระกรรมฐานตามสมควร แก่อัธยาศัย ท่านได้พยายามอยู่
ไม่นานก็ได้สำเร็จวิชามหาคันธาระ ซึ่งก็นับว่าสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนา

•   มีปกติเรียกคนอื่นว่า “คนถ่อย”
พระปิลินทวัจฉะ เป็นผู้มีปกติเรียกภิกษุด้วยกัน และคฤหัสถ์ทั้งหลายด้วยถ้อยคำว่า
“วสละ” ซึ่งเป็นคำหยาบ หมายถึง “คนถ่อย” โดยมีเรื่องเล่าดังต่อไปนี้:-
วันหนึ่ง ท่านเข้าไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ เห็นชายคนหนึ่งถือถาดใส่ดีปรีเต็มถาด
กำลังเข้าไปในเมือง ท่านจึงถามว่า


“แนะเจ้าคนถ่อย ในถาดของท่านนั้นถืออะไร ?”
ชายคนนั้นได้ฟังแล้วก็รู้สึกไม่พอใจขึ้นมาทันที จึงตอบไปว่า
“ขี้หนู ครับท่าน”
พระปิลินทวัจฉะ ก็พูดเป็นการรับทราบตามคำของชายคนนั้นว่า
“อ้อ เจ้าคนถ่อย ของนั้นเป็นขี้หนู

ด้วยอำนาจแห่งคุณความเป็นพระอรหันต์ของพระเถระ และคำพูดไม่ดีอันเกิดจากอกุศล
จิตของชายคนนั้น ทำให้ดีปรีในถาดของเขากลายเป็นขี้หนูไปเสียทั้งหมด เขาตกใจมาก เพราะคิด
ขึ้นได้ว่ายังมีดีปรีอยู่ในเกวียนนอกเมืองอีก


เมื่อเขากลับไปดูก็พบว่าดีปรีกลายเป็นขี้หนูไปทั้งหมด
จริง ๆ เขาเสียใจเป็นอย่างยิ่งเพราะดีปรีเหล่านั้นเป็นของมีค่ามาก และเขาเตรียมเพื่อจะนำมาขาย
ขณะที่เขาแสดงอาการเสียใจและกำลังโกรธพระเถระอยู่นั้น มีอุบาสกคนหนึ่งเดินผ่านมา สอบ
ถามได้ทราบความแล้วก็เข้าใจเหตุการณ์โดยตลอด จึงแนะนำขึ้นว่า:-

“ดูก่อนสหาย ท่านจงถือถาดขี้หนูนี้ไปยืนรอที่หนทาง ซึ่งพระเถระผ่านมา เมื่อพระเถระ
ผ่านมาเห็นแล้วก็จะถามว่า “แน่เจ้าคนถ่อย ในถาดของท่านนั้นคืออะไร ?”
ท่านก็จงตอบว่า “ดีปรี ครับท่าน”
พระเถระก็จะกล่าวว่า “อ้อ เจ้าคนถ่อย ของนั้นเป็นดีปรี”
อย่างนี้แล้ว ท่านก็จะได้ดีปรีกลับคืนมา
ชายคนนั้นทำตามคำแนะนำของอุบาสก และในที่สุดขี้หนูก็กลับกลายเป็นดีปรีดังเดิม


•   พระเถระถูกเพื่อภิกษุฟ้องพระพุทธเจ้า
สมัยหนึ่ง เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ภิกษุ
ทั้งหลายพากันเข้าเฝ้าแล้วกราบทูลกล่าวโทษพระปิลินทวัจฉเถระว่า:-
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระปิลินทวัจฉเถระ มักเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยคำว่า วสละ พระ
เจ้าข้า”


พระบรมศาสดา จึงรับสั่งให้พระภิกษุรูปหนึ่งไปเรียกท่านมาแล้วตรัสถามว่า “ดูก่อนปิลิ
นทวัจฉะ ได้ทราบว่าเธอมักเรียกภิกษุทั้งหลาย ด้วยคำว่า วสละ จริงหรือ ?”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นจริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า”

พระบรมศาสดา ครั้นได้สดับแล้ว จึงตรัสเล่าถึงบุพกรรมในอดีตชาติอันยาวนานของ
ท่านให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า

“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าได้ถือโทษโกรธปิลินทวัจฉะเลย ท่านมิได้มีความโกรธแค้น
ในตัวเธอทั้งหลายเลย แต่ที่ท่านมักเรียกพวกเธอว่า วสละ นั้น เป็นเพราะในอดีตชาติย้อนหลังไป
๕๐๐ ชาติ ท่านก็มักกล่าวอย่างนั้นมาตลอดกาลช้านาน คำนั้นจึงเป็นอุปนิสัยที่ติดตัวท่านมาตั้งแต่
อดีตชาติ”


•   ได้รับยกย่องว่าเป็นที่รักของเทวดา
พระปิลินทวัจฉเถระ นั้น เป็นผู้มีความสามารถแสดงธรรมแก่เทพยดา ทั้งหลาย ด้วยใน
อดีตชาติท่านกับสหายเป็นจำนวนมาก ได้รักษาศีลปฏิบัติธรรมร่วมกัน เมื่อตายแล้วได้ไปเกิดใน
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์


ส่วนตัวท่านเมื่อสิ้นบุญจากสวรรค์แล้วได้จุติลงมาเกิดในอัตภาพนี้ ได้สำเร็จ
เป็นพระอรหันต์เหล่าเทพยดาทั้งหลายผู้เป็นอดีตสหายก็พากันลงมาอาราธนาให้ท่านแสดงธรรม
ให้ฟัง จนทำให้ท่านเป็นที่รักใคร่ของเทพยดาทั้งหลายเหล่านั้น

ด้วยเหตุนี้ พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง
ผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพยดา ฯ
ท่านดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน


ที่มา  http://www.84000.org/one/1/41.html


ถ่อย ว. ชั่ว, เลว, ทราม.

วาสนา [วาด สะหฺนา] น. บุญบารมี, กุศลที่ทําให้ได้รับลาภยศ, เช่น เด็กคนนี้มีวาสนาดี เกิดในกองเงินกองทอง, มักใช้เข้าคู่กับคำ บุญ หรือ บารมี เป็น บุญวาสนา หรือ วาสนาบารมี เช่น เป็นบุญวาสนาของเขา เขาเป็นคนมีวาสนาบารมีมาก. (ป., ส.).


ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


วาสนา อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานานจนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้ เช่น คำพูดติดปาก อาการเดินที่เร็ว หรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น

       ท่านขยายความว่า วาสนา ที่เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศล ก็มี เป็นอัพยากฤต คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็มี
       ที่เป็นกุศลกับอัพยากฤตนั้น ไม่ต้องละ

       แต่ที่เป็นอกุศลซึ่งควรจะละนั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ
ส่วนที่จะเป็นเหตุให้เข้าถึงอบาย กับส่วนที่เป็นเหตุให้เกิดอาการแสดงออกทาง กายวาจาแปลกๆ ต่างๆ
ส่วนแรก พระอรหันต์ทุกองค์ละได้ แต่ส่วนหลัง พระพุทธเจ้าเท่านั้นละได้ พระอรหันต์อื่นละไม่ได้


       จึงมีคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นละกิเลสทั้งหมดได้ พร้อมทั้งวาสนา;
       ในภาษาไทย คำว่า วาสนา มีความหมายเพี้ยนไป กลายเป็นอำนาจบุญเก่า หรือกุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ


ที่มา  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 17, 2012, 09:02:17 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

poepun

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 134
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อันนี้เรียกว่า คำ สบถ คือ พูดออกมาเป็นประจำ คำไทยเรียกว่า คำพล่อย

ไม่จัดเป็นคำด่า หรือ ว่า หรือ ตำหนิ แต่เนื่องด้วยคำที่พูดออกมานี้ เป็นคำแสลงใจ

ที่เมื่อผู้ฟังได้ฟังแล้ว มีความรู้สึกว่า ด่าเรา ทันทีเลยครับ

  เหมือนคำว่า เหี้ย ตะกวด ตัวเงิน ตัวทอง คำเหล่านี้ ล้วนแล้ว ถึงจะพูดให้ไพเราะขึ้น ผู้ฟังก็ยังฟังเข้าใจในเนื้อหา
ว่าเป็นคำด่า อยู่ดี

  ผมนั่งฟัง เวทีพันธมิตร พูดวันนี้ ที่มักจะพูดหลายครั้งโดยนานสนธิ
  จะเรียกคนที่ไม่ชอบว่า ไอ้หัว.....( ตามด้วยชื่อ ) ตรงจุด ๆ นั้นไม่ได้พูด แต่คนฟังก็ยังเข้าใจความหมาย
อยู่ดีว่า กล่าวถึงอะไร

  พยายามจะพิมพ์ความเข้าใจ โดยที่ไม่มีคำหยาบ ผิดพลาด ขออภัยด้วยนะครับ

 :67:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



เพลง พระปิลินทวัจฉเถระ ดาวน์โหลด MP3 ได้จากลิ้งด้านล่างนี้
http://www.cosmicnirvana.com/home/modules/content/index.php?id=427
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ