ครุธรรม ๘ ประการสำหรับภิกษุณี ดำรงพระสัทธรรมได้เพียง ๑,๐๐๐ ปี
ครุธรรม ๘ ประการนั้นมีรายละเอียดดังนี้ คือ
๑) พระภิกษุณีแม้จะบวชมาตั้ง ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องแสดงความเคารพพระภิกษุแม้เพิ่งบวชในวันนั้น ด้วยการกราบไหว้ ลุกขึ้นต้อนรับ กระพุ่มมือไหว้ และทำการนอบน้อม
๒) พระภิกษุณีต้องไม่อยู่ในวัดที่ไม่มีพระภิกษุอยู่ร่วมด้วย
๓) พระภิกษุณีต้องถามวันอุโบสถ และเข้ารับฟังโอวาทจากพระภิกษุ ทุกกึ่งเดือน
๔) พระภิกษุณีจำพรรษาแล้วต้องปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ และฝ่ายพระภิกษุณีสงฆ์๕) พระภิกษุณีทำผิดพระวินัยมีโทษเป็นสังฆาทิเสส ต้องประพฤติปักขมานัต (อยู่กรรม) ในสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ และฝ่ายพระภิกษุณีสงฆ์
๖) ก่อนจะบวชเป็นพระภิกษุณี สตรีจะต้องบวชเป็นสิกขมานา รักษาศีล ๖ ครบ ๒ ปีแล้วจึงบวชได้ แต่จะต้องบวชจากสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือ จากพระภิกษุสงฆ์ และจากพระภิกษุณีสงฆ์
๗) พระภิกษุณีจะต้องไม่ด่าหรือใส่ร้ายพระภิกษุ ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม
๘) ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พระภิกษุณีจะกล่าวสอนพระภิกษุไม่ได้ แต่พระภิกษุกล่าวสอนพระภิกษุณีได้สำหรับ ความพิเศษของครุธรรม ๘ ประการ คือ การบัญญัติครุธรรม ๘ ประการนั้นพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติก่อนมีเรื่องเกิดขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการที่พระพุทธเจ้าจะทรงบัญญัติหลักปฏิบัติสิ่งใด จะต้องมีเหตุเกิดเรื่องขึ้นก่อน ถึงค่อยทำการบัญญัติ แต่สำหรับครุธรรม ๘ ประการนี้ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติก่อนที่จะเกิดเรื่องขึ้น
เป็นความ จริงที่ว่า ครุธรรม ๘ ประการนั้นถูกบัญญัติก่อนมีเรื่องเกิดขึ้น ซึ่งพระอรรถกถาจารย์อย่างพระพุทธโฆสะได้ยืนยันว่า พระพุทธเจ้าเองทรงบัญญัติครุธรรม ๘ ประการก่อนมีเรื่องเกิดขึ้น ก็โดยทรงมีพระประสงค์จะกันมิให้พระภิกษุณีล่วงละเมิด ในพระไตรปิฎกมีกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบการบัญญัติครุธรรม ๘ ประการไว้ก่อนนั้นว่า เหมือนกับการกั้นขอบปากสระใหญ่มิให้น้ำไหลล้นออก พระองค์ทรงมีพระประสงค์จะให้พระภิกษุเป็นหลักรับภาระในการรักษาคำสอนของพระองค์
โดยทรงให้เหตุผลเปรียบเทียบว่า ตระกูลที่มีสตรีมากและมีบุรุษน้อยย่อมถูกโจรรุกรานขจัดได้ง่าย พระสัทธรรมจะอยู่ได้เพียงแค่ ๕๐๐ ปี แต่หากสตรีไม่บวช พระสัทธรรมจะอยู่ได้ถึง ๑,๐๐๐ ปี พระพุทธโฆสะอธิบายว่า พระสัทธรรม คือ ปริยัติธรรม (การศึกษาพระธรรมวินัย) ปฏิบัติสัทธรรม (การปฏิบัติตามพระธรรมวินัย) และปฏิเวธสัทธรรม (การได้บรรลุมรรคผลนิพพาน) เมื่อพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติครุธรรม ๘ ประการ สัทธรรมทั้ง ๓ ประการนี้ จักดำรงอยู่ต่อได้อีก ๕๐๐ ปี รวมเป็น ๑,๐๐๐ ปี ซึ่งก็หมายความว่า ครุธรรม ๘ ประการ ได้ช่วยประคับประคองคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ดำรงอยู่ได้ถึง ๑,๐๐๐ ปี(คำ กล่าวที่ว่า พระพุทธศาสนาจักมีอายุ ๕,๐๐๐ ปีนั้น มีอธิบายไว้ว่า หมายถึงมีการเรียนพระธรรมวินัย มีการปฏิบัติจนกระทั่งได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ถึง ๕,๐๐๐ ปี โดยแบ่งออกเป็น ๑,๐๐๐ ปีแรก มีพระอรหันต์ผู้ได้บรรลุปฏิสัมภิทา
๑,๐๐๐ ปีที่ ๒ มีเพียงพระอรหันต์ประเภทสุกขวิปัสสกะ
๑,๐๐๐ ปีที่ ๓ มีเพียงพระอริยะขั้นพระอนาคามี
๑,๐๐๐ ปีที่ ๔ มีเพียงพระอริยะขั้นสกทาคามี
๑,๐๐๐ ปีที่ ๕ มีเพียงพระอริยะชั้นโสดาบัน
เลย ๕,๐๐๐ ปีนั้นไป พระภิกษุในพระพุทธศาสนาจะละทิ้งแม้กระทั่งการเล่าเรียนพระธรรมวินัย ได้ชื่อว่าเป็นพระเพียงแค่โกนศีรษะครองผ้ากาสาวพัสตร์เท่านั้น อ้างอิงจาก วินย.อ. ๓/๔๐๓/๔๐๗ ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ)สำหรับ การบุรุษเพศนั้น ถ้าอายุยังไม่ครบอุปสมบท ให้บวชเป็นสามเณรก่อน ครั้นเมื่ออายุครบเกณฑ์อุปสมบทแล้ว ก็ให้ทำการอุปสมบทเพื่อยกฐานะขึ้นเป็นพระภิกษุต่อไป แต่สำหรับสตรีเพศนั้น ขั้นแรกให้บวชเป็นสามเณรี ครั้นพออายุครบ ๑๘ ปีให้สามเณรีนั้นทำการบวชเป็นนางสิกขมานา (แปลว่า นางผู้กำลังศึกษา) ก่อน
ถ้าสามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของนางสิกขมานาครบ ๒ ปี จึงค่อยได้รับการอนุญาตให้อุปสมบทเป็นภิกษุณีต่อไป จะเห็นได้ว่า การอุปสมบทเป็นนางภิกษุณีนั้นจะมีขั้นตอนมากกว่าการอุปสมบทของพระภิกษุที่มา http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=2732