ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สติปัฏฐาน แบ่งตาม "จ ริ ต" ?..และ อ า นิ ส ส ง ส์.. ๗ ๖ ๕ ๔..?  (อ่าน 5674 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
วิปัสสนากรรมฐาน
(จาก บทเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์ ชุดที่ ๑๐)


จากบทเรียนชุดที่ ๙ ได้ศึกษาถึงเรื่องอารมณ์กรรมฐานทั้ง ๔๐ แล้ว ซึ่งเป็นวิธีการปฏิบัติในแนวทางการเจริญสมาธิซึ่งเมื่อปฏิบัติไปอย่างดีตลอดสายก็ยังให้ฌานจิตและอภิญญาจิตเกิดขึ้นได้ ผลของฌานย่อมนำให้ผู้ปฏิบัติไปเกิดในรูปภูมิ อรูปภูมิ เสวยสุขอันเป็นทิพย์ตลอดเวลาที่ยังอยู่ในพรหมภูมินั้นๆ แต่ถ้าหมดบุญและฌานเสื่อมลงก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดใน ๓๑ ภูมิ ฉะนั้น การเจริญสมาธิอย่างเดียวจึงยังไม่ใช่ทางหลุดพ้นจากวัฏฏะ

พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงหนทางปฏิบัติในการเจริญวิปัสสนาเพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถขัดเกลากิเลส ดับกิเลส ทำลายวัฏฏทุกข์ทั้งปวงให้สิ้นไป ซึ่งเป็นคำสอนที่ยังผลสำเร็จอันเป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา คือ ความหลุดพ้นจากสังสารวัฏฏ์

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นต้องดำเนินไปตามแนวมหาสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งเป็นทางสายเอก ที่จะยังปัญญาญาณให้เกิดขึ้น สติปัฏฐานมี ๔ คือ

     กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน


บทเรียนชุดที่ ๑๐ นี้เป็นชุดสุดท้ายของการศึกษาหลักสูตรพระอภิธรรมทางไปรษณีย์ เมื่อศึกษามาถึงชุดนี้แล้วท่านคงจะเห็นแล้วว่าการศึกษาพระอภิธรรมนั้นเป็นการเจริญกุศลและเป็นการอบรมปัญญาไปในตัว ย่อมจะยังประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายที่จะได้น้อมนำมาปฏิบัติ ทาน ศีล ภาวนา ยังปัญญาในวิปัสสนาญาณให้เกิดขึ้นได้ ทำให้รู้ได้ว่ารูปและนามแยกขาดจากกัน รูปก็อย่างหนึ่ง นามก็อย่างหนึ่ง

สภาวธรรมทั้งหลายเป็นเพียงรูปนามขันธ์ ๕ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ดังนี้ เป็นต้น บุคคลผู้สามารถเริ่มต้นเจริญวิปัสสนาอย่างถูกต้องตามหลักปริยัติ จึงจะมีโอกาสเห็นแจ้งพระนิพพานบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้

ฉะนั้น การศึกษาย่อมยังประโยชน์ในการนำไปประพฤติปฏิบัติได้จริง ทั้งยังเป็นการช่วยรักษาค าสอนในพระพุทธศาสนาไม่ให้เสื่อมหายไปจากโลกอีกด้วย บุคคลใดได้รักษาพระพุทธศาสนาไม่ให้เสื่อมหายไปจากโลก บุคคลนั้นย่อมได้ประโยชน์ ๓ ประการ คือ ประโยชน์ในชาตินี้ ประโยชน์ในชาติหน้า และประโยชน์อย่างยิ่งคือเห็นแจ้งพระนิพพาน

สติปัฏฐาน หมายความว่า อารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งสติ เรียกว่าสติปัฏฐาน เช่น กายเป็นที่ตั้งของสติ และสตินั้นก็เป็นที่ตั้งได้ด้วยและเป็นตัวสติด้วย คำว่าสติ คือการระลึกได้

ฉะนั้น สติปัฏฐานจึงมุ่งหมายถึง สติที่มีการระลึกได้ใน กาย เวทนา จิต ธรรม



เหตุที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสติปัฏฐานไว้ ๔ อย่าง ก็เพราะทรงเกื้อกูลแก่เวไนยสัตว์ที่มีจริตต่างกัน คือ

๑. ตัณหาจริตอย่างอ่อน มีกายานุปัสนาสติปัฏฐาน ซึ่งมีอารมณ์ที่หยาบจะเป็นหนทางแห่งการปฏิบัติแล้วเกิดผลได้ และในการเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานในหมวดที่มีนิมิตเกิดขึ้นได้ไม่ยากนักก็เหมาะสมกับพวกสมถยานิกะประเภทยังอ่อน (พวกที่ปฏิบัติสมถะ)

๒. ตัณหาจริตอย่างกล้า มีเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นอารมณ์ที่ละเอียดจะเป็นหนทางแห่งการปฏิบัติแล้วเกิดผลได้ และเหมาะสมกับพวกสมถยานิกะประเภทแก่กล้า

๓. ทิฏฐิจริตอย่างอ่อน มีจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งมีอารมณ์ละเอียดแต่ก็แยกรายละเอียดออกไปไม่มากนัก จะเป็นหนทางแห่งการปฏิบัติแล้วเกิดผลได้ และเหมาะสมกับผู้ที่เป็นวิปัสสนายานิกบุคคลประเภทยังอ่อน

๔. ทิฏฐิจริตแก่กล้า มีธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งมีอารมณ์อันละเอียดลึกซึ้งแยกประเภทออกไปมาก จะเป็นหนทางแห่งการปฏิบัติแล้วเกิดผลได้ และเหมาะสมกับผู้ที่เป็นวิปัสสนายานิกบุคคลประเภทแก่กล้า

สติปัฏฐาน ๔ เป็นข้อปฏิบัติเพื่อละสุภวิปัลลาส สุขวิปัลลาส นิจจวิปัลลาส และอัตตวิปัลลาส เป็นทางสายเอกที่จะนำเหล่าเวไนยสัตว์ให้เข้าถึงความบริสุทธิ์ ข้ามพ้นโสกะปริเทวะ ดับทุกข์ โทมนัส บรรลุเญยยธรรม แจ่มแจ้งในพระนิพพาน

ข้อเปรียบเทียบ
พระนิพพาน เหมือนพระนคร โลกุตตรมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เหมือนประตูพระนคร

ผู้ปฏิบัติในสติปัฏฐาน ๔ ต้องปฏิบัติด้วยการระลึก เช่น การเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยวิธี ๑๔ อย่างแล้ว(มีอานาปานบรรพ อิริยาบถบรรพ เป็นต้น) ก็จะไปรวมลงสู่ที่เดียวกัน คือ พระนิพพานนั่นเอง

ด้วยอริยมรรคที่เกิดขึ้น ด้วยอานุภาพของกายานุปัสสนา เหมือนคนทั้งหลายเดินทางมาจากทิศตะวันออก ถือเอาสิ่งของที่มีในทิศตะวันออก ก็เข้าพระนครได้ ฉะนั้น

อานิสงส์แห่งการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๗ ปี พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ
อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี


หรือบุคคลเจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ....๔ ปี ....๓ ปี .....๒ ปี ....๑ ปี... พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ
อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี


หรือบุคคลเจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๗ เดือน.... ๖ เดือน... ๕ เดือน... ๔ เดือน... ๓ เดือน... ๒ เดือน... ๑ เดือน... ครึ่งเดือน.... พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ
อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี


หรือบุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๗ วัน พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ
อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี


ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ เราอาศัยทางเดียวนี้แล้ว จึงกล่าวคำดังพรรณนามาฉะนี้

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล

จบมหาสติปัฏฐาน



สรุปแล้ว การเจริญสติปัฏฐาน ๔ คือ หลักการปฏิบัติที่มี ๔ ระดับ แต่ละระดับก็มีความสัมพันธ์กันโดยตรงกับฐานของสติ ถ้าฝึกปฏิบัติไปตลอดสายแล้วผลที่จะปรากฏเกิดขึ้นได้ คือ

- ระดับที่ ๑ รู้ว่ากายไม่ใช่ตัวตน
- ระดับที่ ๒ รู้ว่าความรู้สึกสุข ทุกข์ เฉยๆ ไม่ใช่ตัวตน
- ระดับที่ ๓ รู้ว่าจิตไม่ใช่ตัวตน
- ระดับที่ ๔ รู้ว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ไม่มีบุคคล เราเขา หญิงชาย


ขั้นตอนการปฏิบัติถ้าผู้ปฏิบัติศึกษาเข้าใจดีแล้ว ทดลองฝึกหัดปฏิบัติในแต่ละหมวดแล้ว ก็อาจสลับรู้ระหว่างธรรมหยาบกับละเอียดเพื่อความประจักษ์แจ้งยิ่งๆ ขึ้นไปได้

แต่ที่สำคัญ คือ ทุกระดับในการปฏิบัติ แม้ในกายานุปัสสนาอันเป็นการพิจารณาสภาพธรรมที่หยาบที่สุด ก็อาจมีผลส่งให้จิตทำลายอุปาทานในตัวตน เข้าถึงมรรคผลได้ทั้งสิ้น จึงไม่มีสิ่งใดที่จะบอกได้ว่าการรู้สภาพธรรมที่หยาบกับละเอียดนั้นอย่างไหนที่มีคุณภาพยิ่งหย่อนกว่ากัน

หากพิจารณาแนวปฏิบัติที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้แล้วก็จะพบว่าเป็นขั้นตอนที่เหมาะสม คือทรงสอนให้รู้ในสิ่งที่รู้ได้ง่ายก่อน ในตอนแรกมีการแบ่งรูป แบ่งนามเพื่อง่ายต่อการเอาสติไปกำหนดรู้ว่าสิ่งนี้คือรูป สิ่งนี้คือนาม แต่สุดท้ายก็ลงเอยด้วยการเห็นรูปนามควบคู่กันเป็น “ธรรม” นั่นเอง


บรรณานุกรม
๑) ปรมัตถโชติกะ หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะโท : พระสัทธัมมโชติกะ : อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : โรงพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทิพยวิสุทธิ์ ; พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๓๙
๒) วิมุตติมรรค พระอุปติสสเถระ รจนา
พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะแปลจากฉบับภาษาอังกฤษ ของพระเอฮารา พระโสมเถระ และพระเขมินทเถระ
๓) วิสุทธิมรรค ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) แปลและเรียบเรียง
๔) พระสูตร และ อรรถกถาแปล ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่มที่ ๗ ภาคที่ ๑- ๒

ที่มา  http://www.abhidhamonline.org/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 14, 2011, 12:01:23 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
รวมมิตร "สติปัฏฐาน"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2011, 12:13:41 pm »
0

ภาพหลวงพ่อใส จากเว็บ http://bubbubz.multiply.com/photos/album/20/20

สั ม ม า ส ติ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4561.0

ฌานเกิดก่อน สติปัฏฐานมีภายหลัง
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4401.0

สัมมาสติ โดยพิสดาร
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5529.0

สิ่งควรรู้ก่อนการเจริญวิปัสสนา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3197.0

แผนการปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน 4 (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3414.0

  ผมรวบรวมลิงค์ที่ว่าด้วยสติปัฏฐานเอาไว้ เพื่อความสะดวกในการค้นหาและอ่านกันตามอัธยาศัย

 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ