.
ธรรม ของ อุบาสิกาแก้ว อุบาสิกาปทุม และอุบาสิกาบุณฑริกพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
[259] อุบาสกธรรม 5 (ธรรมของอุบาสกที่ดี, สมบัติหรือองค์คุณของอุบาสกอย่างเยี่ยม)
1. มีศรัทธา
2. มีศีล
3. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล คือ มุ่งหวังจากการกระทำและการงาน มิใช่จากโชคลางและสิ่งที่ตื่นกันว่าขลังศักดิ์สิทธิ์
4. ไม่แสวงหาทักขิไณย์ภายนอกหลักคำสอนนี้ คือ ไม่แสวงหาเขตบุญนอกหลักพระพุทธศาสนา
5. กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้เป็นเบื้องต้น คือ ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา
ธรรม 5 อย่างนี้ ในบาลีที่มาเรียกว่า ธรรมของอุบาสกรัตน์ (อุบาสกแก้ว) หรือ อุบาสกปทุม (อุบาสกดอกบัว)
องฺ.ปญฺจก. 22/175/230.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ , พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต , ๕. จัณฑาลสูตร ว่าด้วยอุบาสกจัณฑาล
[๑๗๕] ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นอุบาสกจัณฑาล เป็นอุบาสกเศร้าหมอง และเป็นอุบาสกน่ารังเกียจ(๑-)
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
๒. เป็นผู้ทุศีล
๓. เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว(๒-) เชื่อมงคล ไม่เชื่อกรรม
๔. แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
๕. ทำอุปการะ(๓-) นอกศาสนาก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกจัณฑาลเป็นอุบาสกเศร้าหมอง และเป็นอุบาสกน่ารังเกียจ
@@@@@@@
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นอุบาสกแก้ว เป็นอุบาสกปทุม และเป็นอุบาสกบุณฑริก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้มีศรัทธา
๒. เป็นผู้มีศีล
๓. เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล
๔. ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
๕. ทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกแก้ว เป็นอุบาสกปทุม และเป็นอุบาสกบุณฑริก
จัณฑาลสูตรที่ ๕ จบ__________________________________
(๑-) อุบาสกน่ารังเกียจ ในที่นี้หมายถึง อุบาสกชั้นเลว (อุปาสกปัจฉิมกะ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๕/๖๗)
(๒-) ผู้ถือมงคลตื่นข่าว หมายถึง บุคคลผู้ประกอบด้วย
๑) ทิฏฐมงคล (เชื่อว่ารูปเป็นมงคล)
๒) สุตมงคล (เชื่อว่าเสียงเป็นมงคล)
๓) มุตมงคล (เชื่อว่ากลิ่น รส โผฏฐัพพะเป็นมงคล)
กล่าวคือ ต่างก็มีความเชื่อที่แตกต่างกันไปว่า “สิ่งนี้ๆ เป็นมงคล อะไรๆ จักสำเร็จได้ด้วยสิ่งนี้ๆ” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๕/๖๗)
(๓-) ทำอุปการะ ในที่นี้หมายถึง ทำกิจที่เป็นกุศล มีการให้ทาน เป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๕/๖๗)
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ ภาษาบาลี อักษรไทย
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตฺต. องฺ. (๓): ปญฺจก-ฉกฺกนิปาตา
[๑๗๕] ปญฺจหิ ภิกฺขเว ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต อุปาสโก อุปาสกจณฺฑาโล จ โหติ อุปาสกมลญฺ จ อุปาสกปติกิฏฺโฐ จ
กตเมหิ ปญฺจหิ
อสฺสทฺโธ โหติ
ทุสฺสีโล โหติ
โกตุหลมงฺคลิโก โหติ
มงฺคลํ ปจฺเจติ โน กมฺมํ อิโต จ พหิทฺธา ทกฺขิเณยฺยํ คเวสติ
ตตฺถ จ ปุพฺพการํ กโรติ อิเมหิ โข
ภิกฺขเว ปญฺจหิ ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต อุปาสโก อุปาสกจณฺฑาโล จ โหติ อุปาสกมลญฺ จ อุปาสกปติกิฏฺโฐ จ ฯ
@@@@@@@
ปญฺจหิ ภิกฺขเว ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต อุปาสโก อุปาสกรตนญฺ จ โหติ อุปาสกปทุมญฺ จ อุปาสกปุณฺฑรีกญฺ จ
กตเมหิ ปญฺจหิ
สทฺโธ โหติ
สีลวา โหติ
อโกตุหลมงฺคลิโก โหติ
กมฺมํ ปจฺเจติ โน มงฺคลํ น อิโต พหิทฺธา ทกฺขิเณยฺยํ คเวสติ
อิธ จ ปุพฺพการํ กโรติ อิเมหิ โข
ภิกฺขเว ปญฺจหิ ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต อุปาสโก อุปาสกรตนญฺ จ โหติ อุปาสกปทุมญฺ จ อุปาสกปุณฺฑรีกญฺ จาติ ฯ