ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระราชดำรัส ร.5 เรื่องของชาติที่พึงศึกษา..ถึงเป็นเรื่องชั่วช้า ก็จำไว้ในใจ  (อ่าน 5 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29359
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5


พระราชดำรัส ร.5 เรื่องของชาติที่พึงศึกษา..ถึงเป็นเรื่องชั่วช้า ก็จำไว้ในใจ ไม่ให้เกิดอีก

การเปิดตัวของ “โบราณคดีสโมสร” เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2450 นอกจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นไปองค์ประธานแล้ว ยังมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้เครื่องหมายรูปมังกรคาบแก้ว ซึ่งเป็นพระราชลัญจกรโบราณองค์หนึ่ง ให้เป็นตราเครื่องหมายของโบราณคดีสโมสร และทรงมีพระราชดำรัสเปิดงาน ที่มีเนื้อหาร่วมสมัย ซึ่งแสดงถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ ดังความตอนหนึ่งว่า [รูปแบบการสะกดการันต์ตามต้นฉบับ แต่จัดย่อหน้าใหม่และเน้นคำโดยผู้เขียน]

@@@@@@@

“เราทั้งหลายซึ่งได้มาประชุมกันในเวลานี้ มีความพอใจที่จะอ่านจะตรวจตราสอบสวน โบราณคดีในประเทศของเรา บัดนี้นับว่ามีมากคนขึ้นด้วยกัน จึงเหนว่าเปนเวลาสมควรแล้ว ที่จะได้ จัดตั้งขึ้นเปนสโมสรอันหนึ่ง ซึ่งจะได้นามปรากฏว่าโบราณคดีสโมสร จะหาเวลาใดให้เหมาะกว่า เวลานี้ไม่มี จึงได้ขอให้เริ่มตั้งขึ้นในวันนี้เปนประถม

ประเทศทั้งหลายซึ่งได้ควบคุมกันเปนชาติแลเปนประเทศขึ้น ย่อมถือว่า เรื่องราวของชาติ ตนแลประเทศตน เปนสิ่งสําคัญซึ่งจะพึงศึกษาแลพึงสั่งสอนกัน ให้รู้ชัดเจนแม่นยํา เปนวิชาอันหนึ่ง ซึ่งจะได้แนะนําความคิดแลความประพฤติ ซึ่งจะพึงเหนได้เลือกได้ในการที่ผิดแลชอบชั่วแลดี เปนเครื่องชักนําให้เกิดความรักชาติแลรักแผ่นดินของตัว ถึงว่าเรื่องนั้นจะเปนเรื่องที่ชั่วช้าไม่ดีอย่างใด ก็เปนเครื่องที่จะจําไว้ในใจ เพื่อจะละเว้นเกียจกัน ไม่ให้ความชั่วความไม่ดีนั้นปรากฏขึ้นอีก

ในเวลาซึ่งเราทั้งหลายเปนตัวผู้ทําเหมือนตัวลครที่ทําบทอยู่ในเวลานี้ ถ้าเรื่องใดที่ดีก็ทําให้ใจคอเฟื่องฟู ให้เกิดความเย่อหยิ่งขึ้นในใจซึ่งจะใคร่ได้แลจะใคร่รักษาความดีนั้นไว้ ทั้งจะใคร่ทําขึ้นใหม่ให้ เทียบเคียงกันฤาดียิ่งขึ้นไปกว่าเก่า การเรียนรู้เรื่องประเทศของตนเมื่อผู้ใดได้เรียนด้วยความประสงค์อันดี จะได้รับแต่ผลที่มีคุณไม่มีโทษดังได้กล่าวมาโดยสังเขปฉนี้…”


คลิกอ่านเพิ่มเติม : การเมืองสยามเมื่อต้นรัชกาลที่ 5 ใครคือผู้สำเร็จราชการ “คนที่ 2” ?




ขอขอบคุณ :-
ข้อมูลจาก : เอกสาร ร.5 น. 4514 แผนกเอกสารสําคัญ กองจดหมายเหตุแห่งชาติ (อ้างอิงใน นิตยสารรายสองเดือน ศิลปากร ปีที่ 12  เล่ม 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511)
website : https://www.silpa-mag.com/quotes-in-history/article_51774
เผยแพร่ : วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ.2565
เผยแพร่ข้อมูลในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 19 มิถุนายน 2563
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันนี้ เวลา 10:19:21 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ