ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว.."ชนะใดเล่า จะเท่าชนะกิเลสของตน"  (อ่าน 5078 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



"ชิตังเม ชิตังเม เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว"

.....ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ อยู่ในกรุงพาราณสี.
พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลคนปลูกผัก ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว ได้นามว่า “กุททาลบัณฑิต”.

ท่านกุททาลบัณฑิต กระทำการฟื้นดินด้วยจอบ เพาะปลูกพืชพันธ์และผัก มีน้ำเต้า ฟักเขียว
ฟักเหลือง เป็นต้น เก็บผักเหล่านั้นขาย เลี้ยงชีพด้วยการเบียดกรอ. แท้จริง ท่านกุททาลบัณฑิต
นอกจากจอบเล่มเดียวเท่านั้น ทรัพย์สมบัติอย่างอื่นไม่มีเลย.


ครั้นวันหนึ่ง ท่านดำริว่า จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่ครองเรือน เราจักบวช ดังนี้.
ครั้นวันหนึ่ง ท่านซ่อนจอบนั้นไว้ ในที่ซึ่งมิดชิด แล้วบวชเป็นฤาษี ครั้นหวลนึกถึงจอบเล่มนั้นแล้ว
ก็ไม่อาจตัดความโลภเสียได้ เลยต้องสึก เพราะอาศัยจอบกุดๆ เล่มนั้น.
แม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓ ก็เป็นอย่างนี้ เก็บจอบนั้นไว้ในที่มิดชิด บวชๆ สึกๆ รวมได้ถึง ๖ ครั้ง.

ในครั้งที่ ๗ ได้คิดว่า เราอาศัยจอบกุดๆ เล่มนี้ ต้องสึกบ่อยครั้ง คราวนี้ เราจักขว้างมันทิ้งเสียในแม่น้ำใหญ่
แล้วบวช ดังนี้แล้ว เดินไปสู่ฝั่งแม่น้ำ คิดว่า ถ้าเรายังเห็นที่ตกของมัน ก็จักต้องอยากงมมันขึ้นมาอีก
แล้วจับจอบที่ด้าม ท่านมีกำลังดังช้างสาร สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง ควงจอบเหนือศรีษะ ๓ รอบ


หลับตาขว้างลงไปกลางแม่น้ำ แล้วบรรลือเสียงกึกก้อง ๓ ครั้งว่า “เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว”.

ในขณะนั้น พระเจ้าพาราณสีทรงปราบปรามปัจจันตชนบท ราบคาบแล้ว เสด็จกลับ ทรงสนานพระเศียรในแม่น้ำนั้น

ประดับพระองค์ด้วยเครื่องอลังการครบเครื่อง เสด็จพระดำเนินโดยพระคชาธาร ทรงสดับเสียงของพระโพธิสัตว์นั้น

ทรงระแวงพระทัยว่า บุรุษผู้นี้กล่าวว่า เราชนะแล้ว ใครเล่าที่เขาชนะ จงเรียกเขามา แล้วมีพระดำรัสสั่งให้เรียกมาเฝ้า
แล้วมีพระดำรัสถามว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ เรากำลังชนะสงคราม กำความมีชัย มาเดี๋ยวนี้ ส่วนท่านเล่าชนะอะไร?

พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ถึงพระองค์จะทรงชนะสงคราม ตั้งร้อยครั้งตั้งพันครั้ง แม้ตั้งแสนครั้ง
ก็ยังชื่อว่า ชนะไม่เด็ดขาด อยู่นั่นเอง เพราะยังเอาชนะกิเลสทั้งหลายไม่ได้ แต่ข้าพระองค์ ข่มกิเลสในภายในไว้ได้ เอาชนะกิเลสทั้งหลายได้.


กราบทูลไป มองดูแม่น้ำไป ยังฌานมีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ให้เกิดขึ้นแล้ว
นั่งในอากาศด้วยอำนาจของฌานและสมาบัติ.



เมื่อจะแสดงธรรมถวายพระราชา จึงกล่าวคาถานี้ ความว่า :-
“ ความชนะที่บุคคลชนะแล้ว กลับแพ้ได้นั้น มิใช่ความชนะเด็ดขาด (ส่วน) ความชนะที่บุคคลชนะแล้ว
ไม่กลับแพ้นั้น ต่างหาก จึงชื่อว่า เป็นความชนะเด็ดขาด ”
ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตํ ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ อวชิยฺยติ ความว่า การปราบปรามปัจจามิตรราบคาบ
ชนะแว่นแคว้น ตีเอาได้แล้ว ปัจจามิตรเหล่านั้นยังจะตีกลับคืนได้ ความชนะนั้นจะชื่อว่า เป็นความชนะเด็ดขาด หาได้ไม่.
เพราะเหตุไร? เพราะ ยังจะต้องชิงชัยกันบ่อยๆ.


อีกนัยหนึ่ง ชัยเรียกได้ว่า ความชนะ ชัยที่ได้เพราะรบกับปัจจามิตร ต่อมา เมื่อปัจจามิตรเอาชนะคืนได้ ก็กลับเป็นปราชัย ชัยนั้นไม่ดีไม่งาม.
เพราะเหตุไร? เพราะเหตุที่ ยังกลับเป็นปราชัยได้อีก.

บทว่า ตํ โข ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ นาวชิยฺยติ ความว่า ส่วนการครอบงำมวลปัจจามิตรไว้ได้แล้ว ชนะปัจจามิตรเหล่านั้น
จะกลับชิงชัยไม่ได้อีก ใดๆ ก็ดี การได้ชัยชนะครั้งเดียว แล้วไม่กลับเป็นปราชัยไปได้ ใดๆ ก็ดี ความชนะนั้นๆ เป็นความชนะเด็ดขาด
คือชัยชนะนั้นชื่อว่าดี ชื่อว่างาม. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุที่ ไม่ต้องชิงชัยกันอีก.


ดูก่อนมหาบพิตร เพราะเหตุนั้น แม้พระองค์จะทรงชนะขุนสงคราม ตั้งพันครั้ง ตั้งแสนครั้ง ก็ยังจะเฉลิมพระนามว่า จอมทัพ หาได้ไม่.
เพราะเหตุใด ? เพราะเหตุที่พระองค์ยังทรงชนะกิเลสของพระองค์เองไม่ได้ ส่วนบุคคลใด ชนะกิเลสภายในของตนได้ แม้เพียงครั้งเดียว
บุคคลนี้จัดเป็นจอมทัพผู้เกรียงไกรได้.


พระโพธิสัตว์นั่งในอากาศ นั่นแล แสดงธรรมถวายพระราชา ด้วยพระพุทธลีลา.
ก็ในความเป็นจอมทัพผู้สูงสุดนั้น มีพระสูตรเป็นเครื่องสาธก ดังนี้ :-

“ ผู้ที่ชนะหมู่มนุษย์ในสงคราม ถึงหนึ่งล้านคน ยังสู้ผู้ที่ชนะตน
เพียงผู้เดียวไม่ได้ ผู้นั้นเป็นจอมทัพสูงสุด โดยแท้ ”
ดังนี้.....


อ้างอิง
อรรถกถา กุททาลชาดก "ว่าด้วย ความชนะที่ดี"
http://84000.org/tipitaka/atita100/jataka.php?i=270070
ขอบคุณภาพจาก http://igetweb.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 06, 2012, 10:21:50 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
มงคลที่ ๑๕
บำเพ็ญทาน
ชิตัง  เม...  เราชนะแล้ว

เพราะความตระหนี่และความประมาท
คนเราจึงให้ทานไม่ได้ ผู้มีปัญญาเมื่อต้องการบุญ พึงให้ทานเถิด


          ชีวิตของทุกคนที่เกิดมาในสังสารวัฏ ต่างเคยผ่านการเกิดในทุกภพทุกภูมิมาแล้ว ทั้งชีวิตในระดับสูง ระดับกลาง และระดับล่าง ไม่ว่าจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิหรือยาจกเข็ญใจ เพราะชีวิตมีการขึ้นลงไปตามอำนาจแห่งบุญและบาปที่ได้ก่อขึ้น ถ้าทำบุญมาก ก็จะได้รับผลที่ดี เสวยสุขในสุคติภูมิ ชีวิตต่อไปก็จะประสบแต่สิ่งที่ดีงาม ถ้าทำบาปอกุศลไว้มาก ก็ต้องไปเสวยวิบากกรรมในอบายภูมิ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ล้วนหลีกหนีกฎแห่งกรรมไปไม่ได้ ดังนั้นเราต้องตระหนักถึงคุณค่าของการสร้างบารมี เพื่อเพิ่มพูนความบริสุทธิ์บริบูรณ์ให้แก่ตนเอง ต้องหมั่นปฏิบัติธรรมอย่าให้ขาดแม้แต่วันเดียว หมั่นทำใจหยุดใจนิ่งบ่อยๆ ทำซํ้าแล้วซํ้าอีก ชีวิตของเราย่อมจะสำเร็จสมหวัง เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขความบริสุทธิ์บริบูรณ์
 
มีวาระพระบาลีที่ปรากฏใน พิลารโกสิยชาดก ว่า
 
"มจฺเฉรา จ ปมาทา จ    เอวํ ทานํ น ทิยฺยต
ปุญฺญํ อากงฺขมาเนน        เทยฺยํ โหติ วิชานตา

        เพราะความตระหนี่และความประมาท คนเราจึงให้ทานไม่ได้ ผู้มีปัญญาเมื่อต้องการบุญ พึงให้ทานเถิด"

        ความตระหนี่และความประมาท เป็นเหตุทำให้คนเรา  ไม่ยอมให้ทาน เมื่อไม่ให้ก็ไม่ได้บุญ เพราะบุญเกิดจากการทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา บุญนั่นเองเป็นบ่อเกิดแห่งความสุขและความสำเร็จในชีวิต ตั้งแต่ชีวิตของปุถุชน จนกระทั่งถึงความเป็นพระอริยเจ้า บุญจะบันดาลให้เราพรั่งพร้อมด้วยสมบัติทั้งสาม คือเมื่อเกิดเป็นมนุษย์ จะมีโภคทรัพย์สมบัติใช้สร้างบารมี หรือเลี้ยงตนเองและผู้อื่นได้อย่างสะดวกสบาย เมื่อเป็นชาวสวรรค์ ก็จะมีทิพยสมบัติอันประณีต และเมื่อบารมีเต็มเปี่ยมก็จะได้บรรลุนิพพานสมบัติ หมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ เข้าสู่นิพพานอันเป็นเอกันตบรมสุข ไม่ต้องมาเกิดในสังสารวัฏอีกต่อไป

        เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ยังเสวยพระชาติเป็นพระบรมโพธิสัตว์ ท่านได้พิจารณาด้วยสติปัญญาว่า ทานบารมีเป็นบันไดก้าวแรกของการสร้างบารมีทั้งหมด จึงได้เริ่มต้นสร้างมหาทานบารมีก่อน เพราะถ้าหากทานบารมีเต็มเปี่ยมแล้ว จะสร้างบารมีอย่างอื่นก็สะดวกสบาย

        ยามใดที่เราพรั่งพร้อมด้วยโภคทรัพย์สมบัติ มีศรัทธา พบเนื้อนาบุญ ยามนั้นเราย่อมสร้างบารมีได้อย่างสะดวกสบาย แต่ยามใดที่เราไม่มีไทยธรรมหรือโภคทรัพย์สมบัติ แม้จะมีศรัทธา มีเนื้อนาบุญ เราก็ไม่อาจจะให้ทานได้ กว่าจะสร้างบารมีอื่นๆ ได้แต่ละอย่าง ก็แสนจะลำบาก เพราะฉะนั้นทานบารมีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญของนักสร้างบารมี

        *ดังเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต มีพราหมณ์สองสามีภรรยา   ผู้ยากไร้ อาศัยอยู่ในเมืองสาวัตถี มีสมบัติติดตัวเพียงแค่ผ้านุ่งคนละผืน และผ้าห่มที่ใช้สำหรับคลุมกายเพียงผืนเดียว เมื่อจะออกไปนอกบ้านก็ต้องผลัดกันไป วันหนึ่งได้มีการประกาศไปทั่วเมืองว่า ในวันนี้พระบรมศาสดาจะมาแสดงพระธรรมเทศนา เมื่อพราหมณ์และนางพราหมณีได้ฟังการประกาศเชิญชวน    ทั้งสองมีจิตยินดี ปรารถนาที่จะไปฟังธรรมด้วย

        เนื่องจากทั้งสองมีผ้าห่มเพียงผืนเดียว ไม่อาจจะไปฟังธรรมพร้อมกันได้ พราหมณ์จึงบอกนางพราหมณีว่า "เธอจงไปฟังธรรมในตอนกลางวันเถิด ส่วนฉันจะไปฟังธรรมในตอนกลางคืน" เมื่อถึงเวลากลางคืน พราหมณ์ได้เดินทางไปฟัง  พระธรรมเทศนา เกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง มีปีติแผ่ซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย เกิดกุศลจิตอยากถวายผ้าที่ห่มอยู่แด่พระบรมศาสดาเพื่อบูชาธรรม แต่ด้วยความกังวลใจ คิดว่าถ้าเราถวายผ้าผืนนี้แล้ว นางพราหมณีก็จะไม่มีผ้าห่มมาฟังธรรม


      ในขณะที่พราหมณ์กำลังคิดว่า จะถวายดี หรือไม่ถวายดีนั้น
      มัจเฉรจิต คือ ความตระหนี่ได้เกิดขึ้น และครอบงำกุศลจิตของเขาจนหมดสิ้น
      พราหมณ์จึงไม่สามารถเอาชนะความตระหนี่ที่เกิดขึ้นในใจ จนเวลาล่วงปฐมยาม คือ ผ่านยามต้นไปแล้ว 
      ครั้นถึงมัชฌิมยาม พราหมณ์ก็ยังไม่อาจตัดใจถวายผ้าห่มได้
      จนล่วงมาถึงปัจฉิมยาม บุญเก่าได้กระตุ้นเตือนให้พราหมณ์คิดว่า


      ถ้าหากยังไม่สามารถกำจัดความตระหนี่ออกจากใจ เราจะพ้นจากความทุกข์อันแสนสาหัสนี้ได้อย่างไร     
      เมื่อคิดได้ดังนี้จึงตัดใจทันที รีบเข้าไปถวายผ้าแด่พระบรมศาสดา
      เมื่อคิดจะให้ กระแสบุญก็เกิดขึ้นแล้วในกลางกาย
      เมื่อตัดใจให้ได้ บุญก็กำจัดความตระหนี่ให้หลุดร่อนออกไป
      ใจของพราหมณ์ได้ขยายกว้างออกไปอย่างไม่มีประมาณ เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข ความเบิกบาน
      จนไม่อาจจะเก็บความปีตินี้ไว้ในใจเพียงคนเดียว
      จึงได้กล่าวถ้อยคำอันเป็นมงคล ดังก้องไปทั่วธรรมสภาว่า
 
      "ชิตัง เม ชิตัง เม ชิตัง เม  เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว"



     พระเจ้าปเสนทิโกศลซึ่งฟังธรรมอยู่ในที่นั้นด้วย ได้สดับเสียงนั้นตรัสบอกให้ราชบุรุษไปถามว่า พราหมณ์ชนะอะไร
 
     พราหมณ์ตอบว่า
     "เราชนะใจตนเองแล้ว เพราะได้พยายามตัดใจถวายทานถึง ๓ ครั้งในครั้งสุดท้ายนี้เราเอาชนะความตระหนี่ได้"

 
        พระราชาดำริว่า พราหมณ์ผู้นี้ทำสิ่งที่คนทั่วไปทำได้โดยยาก จึงเกิดความเลื่อมใส กระแสบุญจากใจของพราหมณ์ได้แผ่ขยายไปสู่ใจของพระราชา ทำให้พระองค์ทรงเกิดความเมตตา อยากได้บุญใหญ่กับพราหมณ์ด้วย

        พระราชาทรงพระราชทานผ้าสาฎกเนื้อดี ๑ คู่แก่พราหมณ์ เมื่อพราหมณ์ได้รับแล้วก็ไม่เก็บไว้เอง ได้น้อมถวายผ้าคู่นั้นแด่พระบรมศาสดา พระราชาทอดพระเนตรเห็นจึงเกิดความปีติ นำผ้ามาให้พราหมณ์อีก จาก ๒ คู่ เป็น ๔ คู่ ๘ คู่ และ ๑๖ คู่ ตามลำดับ พราหมณ์ก็ได้นำผ้าเหล่านั้น ทั้งหมดน้อมถวายเพื่อบูชาธรรมแด่พระพุทธองค์

       ด้วยความใจใหญ่ของพราหมณ์ พระราชาจึงรับสั่งให้ราชบุรุษนำผ้ากัมพลชั้นเยี่ยม ๒ ผืน มาบูชาธรรมแก่พราหมณ์ เมื่อพราหมณ์ได้รับผ้ากัมพลชั้นเยี่ยมมาแล้ว ก็คิดว่า ผ้ากัมพล ๒ ผืนนี้เป็นของสูง คนเช่นเรามิอาจนำมาใช้ได้ จึงได้นำผ้ากัมพลผืนหนึ่งไปขึงเป็นเพดาน ณ ที่บรรทมในพระคันธกุฎีของพระบรมศาสดา ส่วนอีกผืนหนึ่งได้นำไปขึงเป็นเพดานในที่ฉันของพระภิกษุสงฆ์ เมื่อพระราชาเสด็จมา ทอดพระเนตรเห็น ผ้ากัมพลก็ทรงจำได้ ทรงนึกชื่นชมพราหมณ์ที่มีจิตเลื่อมใสในพระบรมศาสดา จึงรับสั่งให้พระราชทานทรัพย์สมบัติแก่พราหมณ์ อย่างละ ๔ คู่ คือ ช้าง ๔ เชือก ม้า ๔ ตัว กหาปณะ ๔ พัน      บุรุษ ๔ คู่ สตรี ๔ คู่ ทาสี ๔ คู่ และบ้านส่วยอีก ๔ ตำบล

       เรื่องนี้จึงเป็นที่กล่าวขานของมหาชนในธรรมสภา  พระบรมศาสดาตรัสบอกมหาชนว่า เหตุที่พราหมณ์ได้สมบัติถึงเพียงนี้ เพราะเขาได้ทำบุญถูกทักขิไณยบุคคล พระองค์ตรัสต่อไปอีกว่า ถ้าพราหมณ์ตัดใจถวายผ้าผืนนั้นในปฐมยาม เขาจะได้ทรัพย์สมบัติอย่างละ ๑๖ คู่ ถ้าถวายในมัชฌิมยาม เขาจะได้ทรัพย์สมบัติอย่างละ ๘ คู่ แต่เพราะพราหมณ์เอาชนะความตระหนี่ได้ในปัจฉิมยามใกล้ฟ้าสาง จึงได้ทรัพย์สมบัติเพียงแค่อย่างละ ๔ คู่เท่านั้น

        ดังนั้น เมื่อเกิดกุศลจิตศรัทธาก็ให้รีบทำบุญแบบ ตุริตตุริตํ สีฆสีฆํ เร็วๆ ไวๆ  หลวงพ่ออยากได้ยินคำว่า ดิฉันทำก่อนค่ะ ผมขอทำก่อนครับ เมื่อเราทำอย่างนี้ ถึงคราวที่สมบัติบังเกิดขึ้น สมบัติก็บังเกิดขึ้นก่อน เราจะได้สมบัติก่อนใครๆ แม้ยังไม่ทันคิดอยากได้สมบัติก็ตาม ฉะนั้นทุกท่านต้องรีบขวนขวายในการทำความดี เพราะหากเราทำความดีช้า อกุศลจะเข้าครอบงำ ทำให้พลาดโอกาสที่จะได้บุญใหญ่
 
        พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "เมื่อจิตเลื่อมใสในที่ใด พึงให้ทานในที่นั้น ทานที่ให้แล้วแก่ผู้ทรงศีล มีผลมาก แต่ทานที่ให้ในผู้ทุศีล หามีผลมากไม่"
 
        เพราะฉะนั้น  ให้พวกเราทุกคนสั่งสมบุญให้เต็มที่ เพื่อแข่งขันกับเวลาที่เหลือน้อยลงไปทุกขณะ

 
อ้างอิง
พระธรรมเทศนาโดย : พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)
*มก. จูเฬกสาฎก เล่ม ๔๒ หน้า ๔
ที่มา  http://buddha.dmc.tv/ธรรมะเพื่อประชาชน/mongkol03-25.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammakaya.ch/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 06, 2012, 11:06:48 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

meditation

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 127
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนาสาธุ

  ขอให้ทุกท่าน ชนะ ความไม่ดี ( อกุศล ) ด้วย ความดี ( กุศล ) ทุกท่านเทอญ

 :c017: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 06, 2012, 10:40:02 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ข้าพเจ้าปรียบเหมือนนกที่กำลังหัดเดิน มีสิ่งใดที่ล่วงเกินใคร ก็ขอกราบอภัยไว้ล่วงหน้านะคะ
ภาวนากรรมฐาน เพื่อใคร เพื่ออะไร ทำไม ? หาคำตอบจากใจเราก่อนนะคะ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว.."ชนะใดเล่า จะเท่าชนะกิเลสของตน"
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2012, 10:37:14 am »
0

พุทธภาษิต อัตตวรรค หมวดตน

ชนะตนนั่นแหละ  เป็นดี.

ได้ยินว่าตนแล  ฝึกได้ยาก.
.
ตนที่ฝึกดีแล้ว  เป็นแสงสว่างของบุรุษ.

ตนแล  เป็นที่พึ่งของตน.

ตนเทียว  เป็นคติของตน.
 
ตนแล  เป็นที่รักยิ่ง.

ความรัก(อื่น) เสมอด้วยตนไม่มี.

ตนทำบาปเอง  ย่อมเศร้าหมองเอง.

ตนไม่ทำบาปเอง  ย่อมหมดจดเอง.

มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตน  เป็นคนไม่สะอาด.




บัณฑิต  ย่อมฝึกตน.

ผู้ประพฤติดี  ย่อมฝึกตน.

ผู้มีตนฝึกดีแล้ว  ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งได้ยาก.

ผู้ใดรักษาตนได้  ภายนอกของผู้นั้นก็เป็นอันรักษาด้วย.

ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก  ก็ควรรักษาตนนั้นให้ดี.

บัณฑิตพึงทำตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองจิต.

ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด  ก็ควรทำตนฉันนั้น.

จงเตือนตนด้วยตนเอง.

จงพิจารณาตนด้วยตนเอง.

จงถอนตนขึ้นจากหล่ม  เหมือนช้างตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น.


จงเป็นผู้ตามรักษาตน  อย่าได้เดือดร้อน.

อย่าฆ่าตนเสียเลย.

บุรุษไม่พึงให้ซึ่งตน.

บุรุษไม่พึงสละเสียซึ่งตน.

บุคคลไม่ควรลืมตน.

ไม่ควรพร่าประโยชน์ตน  เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้มาก.

ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก  ก็ไม่ควรประกอบตนนั้นด้วยความชั่ว.

ติตนเองเพราะเหตุใด  ไม่ควรทำเหตุนั้น.


ที่มา http://dhammasound.multiply.com/journal/item/2
ขอบคุณภาพจาก http://igetweb.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ