ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เป็นไปไ้ด้หรือ ที่เราทำกรรม แล้ว กรรมไปตกกับลูก หลาน  (อ่าน 8626 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

SRIYA

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 199
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ในเมื่อพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงตรัสไว้ว่า

  บุคคลหว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดีย่อมได้ดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้ชั่ว

  ดังนั้นการสร้างกรรม เป็นเรื่องส่วนบุคคล ในเมื่อเราทำดี แล้วลูกหลานเราจะได้ดีได้อย่างไร

 หรือถ้าหากเราทำชั่ว ลูกหลานเราจะได้รับชั่วได้อย่างไร

  ก็ในเมื่อกรรม ใครทำ ใครได้

  ใครทำ ก็เป็นผู้รับ

  หรือ มีความนัยที่ เรา ยังไม่ค่อยจะเข้าใจอยู่อีก รบกวนผู้รู้ทุกท่านมาร่วมสนทนา กันด้วยนะจ๊ะ

  :c017:
บันทึกการเข้า
อยากให้ทุกชีวิต มีความอบอุ่น

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร (๑๓๕)
 ...........ฯลฯ................
 [๕๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็น
ของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรม
เป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ ฯ

 ...........ฯลฯ................



อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิภังควรรค
จูฬกัมมวิภังคสูตร

               อรรถกถาสุภสูตร      
 ...........ฯลฯ................
 ในบทนั้น กรรมเป็นของสัตว์เหล่านั้น คือเป็นภัณฑะของตน เพราะฉะนั้น

       สัตว์เหล่านั้นชื่อว่ามีกรรมเป็นของตน.

       สัตว์ทั้งหลายเป็นทายาทแห่งกรรม เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าเป็นทายาทแห่งกรรม. อธิบายว่า กรรมเป็นทายาทคือเป็นภัณฑะของสัตว์เหล่านั้น.

       กรรมเป็นกำเนิด คือเป็นเหตุของสัตว์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นชื่อว่ามีกรรมเป็นกำเนิด.

       กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ของสัตว์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่ามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์. อธิบายว่า มีกรรมเป็นญาติ.

       กรรมเป็นที่พึ่งอาศัย คือเป็นที่ตั้งของสัตว์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่ามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย.


               บทว่า ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย ความว่า กรรมนี้ใดจำแนกโดยให้เลวและประณีตอย่างนี้ว่า ท่านเลว ท่านประณีต ท่านมีอายุน้อย ท่านมีอายุยืน ท่านมีปัญญาทราม ท่านมีปัญญา ดังนี้ ใครอื่นไม่ทำกรรมนั้น กรรมนั้นเทียวย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลายอย่างนี้.

 ...........ฯลฯ................

อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  บรรทัดที่ ๗๖๒๓ - ๗๗๙๘.  หน้าที่  ๓๒๓ - ๓๒๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=7623&Z=7798&pagebreak=0
ฟังพระสูตรนี้ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/listen/?b=14&item=579
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=579
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ผลของกรรมมี ๓ อย่าง คือ.....(๑)

ผลของกรรมมี ๓ อย่าง คือ ๑. วิบากผล, ๒. อานิสงส์ผล, ๓. สามัญญผล.

๑. วิบากผล หมายถึงผลของกุศลกรรม อกุศลกรรมที่สุกแล้ว ย่อมได้รับผลทั้งในชาตินี้และชาติต่อๆไป

วิบากผลคือ การเสวยผลของกรรมที่ตนทำมาแล้วในอดีต ย่อมได้รับผลตรงตามกรรมที่ทำไว้ คือกุศลกรรม กรรมดีย่อมได้รับผลดีเป็นสุข อกุศลกรรม กรรมชั่วย่อมได้รับผลไม่ดีเป็นทุกข์

ด้วยเหตุนี้ ความสุข ความทุกข์ที่ได้รับในปัจจุบันนี้ ล้วนเป็นผลของกรรมที่ตนทำมาเองทั้งสิ้น ไม่ใช่คนอื่นทำให้ เพราะทุกคนมีการกระทำการงานด้วยตนเอง ทุกคนจึง มีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นทายาท ต้องได้รับผลของกรรมที่ตนทำไว้


มีกรรมเป็นกำเนิด เพราะกรรมย่อมจำแนกให้เกิดต่างๆกัน

มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ คือกรรมที่ทำแล้วจะติดตามตนไปทุกภพทุกชาติ ถ้าทำกรรมดี ก็ได้เผ่าพันธ์วงศ์ญาติที่ดี ถ้าทำกรรมชั่ว ก็ได้เผ่าพันธ์วงศ์ญาติที่ชั่ว

ทุกคนจึง มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ถ้าทำกรรมดีก็ได้ที่พึ่งเป็นสุข ถ้าทำกรรมชั่วก็ได้ที่พึ่งเป็นทุกข์ เพราะเมื่อถึงคราวที่กรรมให้ผล จะสุขหรือทุกข์ก็ต้องรับทั้งนั้น

เหตุนี้เมื่อจะปรารถนาผลอะไร ก็ต้องทำเหตุให้ตรงกับผลที่ต้องการ จึงจะได้รับผลสมปรารถนา เพราะความสุข ความทุกข์ที่ได้รับอยู่ทุกวันนี้ เป็นสิ่งที่เลือกเอาไม่ได้ตามใจชอบ เพราะเป็นผลที่สำเร็จมาแล้วจากกรรมในอดีต เหตุนี้เมื่อจะทำกรรมอะไร จงคิดถึงผลที่จะต้องได้รับไว้เสมอ

วิบากท่านจึงอุปมาว่าเหมือนเงา ส่วนกุศลกรรม อกุศลกรรมอุปมาเหมือนคน ถ้าคนไม่มี เงาก็ไม่มี คือกุศล อกุศลที่ไม่มีวิบากจะมีที่ใหน วิบากที่ได้รับในปัจจุบันนี้ ย่อมสะท้อนให้รู้ถึงกรรมในอดีตว่าทำมาอย่างไร?


(คู่มือการศึกษา คัมภีร์มหาปัฏฐาน โดยอาจารย์ปราโมช น้อยวัฒน์)

ที่มา  http://www.oknation.net/blog/print.php?id=448285


 เจ้าของกระทู้ถามเรื่องอจินไตย ไม่มีใครกล้าพยากรณ์ พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะตอบได้

 แต่จากประสบการณ์ของผม ผมประสบกรรมมาด้วยตัวเอง มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ

 ขอคุยเ็ป็นเพื่อนเท่านี้ครับ

 :welcome: :49: ;)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

แก้ว

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 99
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ คือกรรมที่ทำแล้วจะติดตามตนไปทุกภพทุกชาติ ถ้าทำกรรมดี ก็ได้เผ่าพันธ์วงศ์ญาติที่ดี ถ้าทำกรรมชั่ว ก็ได้เผ่าพันธ์วงศ์ญาติที่ชั่ว

อย่างนั้น เวลาพ่อแม่ สร้างกรรม ก็ตกกับลูกหลาน ด้วยก็เป็นจริงอย่างนี้นี่เอง

 :s_hi:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ปัญหาเรื่องกรรม เป็น อจินไตรย พระพุทธเจ้า ตรัสแสดงว่าเป็นเรื่องที่บุคคลธรรมดา ที่ไม่ใช่พระอริยะ คิดไปก็เสียเวลา เพราะนั่งคิด นอนคิด เดินคิด ยืนคิด อย่างไรก็ไม่มีประโยชน์ในส่วนนี้

ส่วนที่มีประโยชน์ ก็มีอยู่ คือผลของกรรม ( วิบาก ) นั้นเป็นสิ่งที่เรานำมาเป็นอุทาหรณ์ เพื่อที่จะไม่เดินรอยเดิมอยู่ในวังวน ที่เป็นลูป ( วนไป วนมา ) อยู่ที่เดิมที่เก่า เช่น เราฆ่าเขา ในชาตินี้ ชาติต่อไป เขาก็มาฆ่าเรา ต่อ
อย่าไม่มีวันหมด จนกว่าผู้ใดจะมีศีล ( คือ เลิกเบียดเบียน ตนเอง และ ผู้อื่น) จึงจักทำให้ิสิ้นสุด ในเบื้องต้น

แต่กรรมก็ยังไม่อาจที่สิ้นสุด ได้ที่คำว่า เลิกเบียดเบียน ได้เพราะจิต อาจจะไม่ยอมรับกับ การเลิกเบียดเบียน นี้ได้จึงต้องเสริมใจให้เข้มแข็ง ด้วยสมาธิ ( ความตั้งใจมั่น ) เพื่อไม่ให้ง่อนแง่นคลอนแคลนในการสร้างกุศล

แต่ถึงแม้ จะมีการเลิกเบียดเบียนลงไปแล้ว มีความตั้งใจลงไปแล้ว แต่หากขาด สติ (ระลึกได้)และปัญญา ( ทิฏฐิที่มองเห็นความจริงว่า ทุกข์ มีอย่างนี้ ทุกข์เกิดอย่างนี้ ทุกข์ดับอย่างนี้ ทุกข์จะละออกได้ ด้วยวิธีนี้ )ก็จะทำให้ การเลิกเบียดเบียน และ ความตั้งใจมั่น ขาดประสิทธิภาพ เพราะไม่มีเป้าหมายที่แท้จริงได้

ดังนั้นเรื่องกรรม เป็นเรื่องที่เราคิดแบบเหตุผล แบบสูตรเลขนั้นไม่ได้ เพราะบางครั้ง วิบาก ก็ไม่ได้ตามทันที
บางครั้งวิบากที่ตามอยุ่เป็นวิบาก ที่คั่งค้างมาจากชาติอื่น ๆ ซึ่งเกินจากสติปัญญา ที่ปุถุชน จะเข้าใจได้

ธรรมที่ควรเจริญ กับคนที่เชื่อเรื่องกรรมก็คือ มรณัสสติ นะจ๊ะ ที่ควรเจริญให้มาก มีให้มาก


เจริญธรรม

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ