ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ิวิชชาจะระณะสัมปันโน อยากทราบความหมายนี้  (อ่าน 23371 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

nongmai

  • สมาชิก
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :13: วิชชาจะระณะสัมปันโน ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจะระณะ ผมอยากทราบความหมายนี้ครับว่าจะเกี่ยวกับ
กับสมาธิ หรือ ป่าวครับ
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
วิชชาจรณสัมปันโน พุทธคุณข้อที่ ๓
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 11, 2010, 08:58:16 pm »
0

วิชชาจรณสัมปันโน
 
เป็นพุทธคุณ(คุณของพระพุทธเจ้า)ข้อที่ ๓ จากทั้งหมด ๙ ข้อ แปลว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

หมายถึง เป็นผู้ได้บรรลุวิชชา โดยเป็นคนแรกที่บรรลุวิชชานั้น

ส่วนสาวกไม่ใช่คนแรกที่รู้ เป็นเพียงรู้ตามพระศาสดาอีกต่อหนึ่งเท่านั้น

จึงมีบทเรียกต่างหากว่า เตวิชโช แปลว่า ผู้มีวิชชาสาม

ส่วนจรณะเป็นข้อปฏิบัติให้บรรลุวิชชา

(วิชชา คือความรู้ และจรณะ คือความประพฤติ)

________________________________________

วิชชา ๘ (ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ)
 
๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณในวิปัสสนา, ญาณที่เป็นวิปัสสนา คือปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขารคือนามรูปโดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆ ต่อเนื่องกัน)

๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ, ฤทธิ์ทางใจ คือ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ ดุจชักไส้จากหญ้าปล้อง ชักดาบจากฝัก หรือชักงูออกจากคราบ)
 
๓. อิทธวิธา หรือ อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้)

๔. ทิพพโสต (หูทิพย์)

๕. เจโตปริยญาณ (ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้)

๖. ปุพเพนิวาสานุสสติ (ระลึกชาติได้)

๗. ทิพพจักษุ (ตาทิพย์)

๘. อาสวักขยญาณ (ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ)

________________________________________

จรณะ ๑๕ (ความประพฤติ, ปฏิปทา, ข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชชาหรือนิพพาน )

ในบาลีที่มา ท่านเรียกว่า เป็น เสขปฏิปทา คือข้อปฏิบัติอันเป็นทางดำเนินของพระเสขะ


๑. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล คือ ประพฤติถูกต้องดีงาม สำรวมในพระปาฏิโมกข์ มีมารยาทเรียบร้อย ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย)
 
๒. อปัณณกปฏิปทา ๓   ดู (๑๒๗) อปัณณกปฏิปทา ๓

๓. สัทธรรม ๗   ดู (๒๘๙) สัปปุริสธรรม ๘ ข้อ ๑.

๔. ฌาน ๔   ดู (๙) ฌาน ๔

________________________________________

(๑๒๗) อปัณณกปฏิปทา ๓ (ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด, ปฏิปทาที่เป็นส่วนแก่นสารเนื้อแท้ ซึ่งจะนำผู้ปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม เป็นผู้ดำเนินอยู่ในแนวทางแห่งความปลอดพ้นจากทุกข์อย่างแน่นอนไม่ผิดพลาด)

๑. อินทรียสังวร (การสำรวมอินทรีย์ คือระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำใจ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖)

๒. โภชเน มัตตัญญุตา (ความรู้จักประมาณในการบริโภค คือรู้จักพิจารณารับประทานอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายใช้ทำกิจให้ชีวิตผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนาน มัวเมา)

๓. ชาคริยานุโยค (การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน คือ ขยันหมั่นเพียรตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตมิให้มีนิวรณ์ พร้อมเสมอทุกเวลาที่จะปฏิบัติกิจให้ก้าวหน้าต่อไป)

________________________________________

(๒๘๙) สัปปุริสธรรม ๘ (ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ, คุณสมบัติของคนดี)

๑. สัทธัมมสมันนาคโต (ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ) คือ
ก. มีศรัทธา
ข. มีหิริ
ค. มีโอตตัปปะ
ง. เป็นพหูสูต 
จ. มีความเพียรอันปรารภแล้ว
ฉ. มีสติมั่นคง
ช. มีปัญญา
________________________________________

(๙)  ฌาน ๔
= รูปฌาน ๔

๑. ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑)  มีองค์ ๕ คือ  วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

๒. ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒)  มีองค์ ๓ คือ  ปีติ สุข เอกัคคตา

๓. ตติยฌาน (ฌานที่ ๓)  มีองค์ ๒ คือ  สุข เอกัคคตา
 
๔. จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔)  มีองค์ ๒ คือ  อุเบกขา เอกัคคตา

คัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม นิยมแบ่งรูปฌานนี้เป็น ๕ ขั้น เรียกว่า ฌานปัญจกนัย หรือ ปัญจกัชฌาน โดยแทรก ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) ที่มีองค์ ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เพิ่มเข้ามา แล้วเลื่อนทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตฌาน ในฌาน ๔ ข้างต้นนี้ออกไปเป็น ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน ตามลำดับ (โดยสาระก็คือ การจำแนกขั้นตอนให้ละเอียดมากขึ้นนั่นเอง)

________________________________________

ตอบคำถาม

จากรายละเอียดของ วิชชา ๘ จะเห็นว่า เป็นเรื่องของวิปัสสนาและอิทธิฤทธิ์

ซึ่งทั้งสองอย่างต้องใช้สมาธิทั้งสิ้น

ในส่วนของจรณะ จะเห็นมีเรื่องฌานอยู่ด้วย คงทราบกันดีแล้วว่า เป็นสมาธิล้วนๆ

ส่วนข้ออื่นๆขอให้พิจารณาเอาเองนะครับ

ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม(ป.อ.ปยุตโต)
และ หนังสือคู่มือ ธรรมวิภาค น.ธ.โท(คณาจารย์แห่งโรงพิมพ์เลี่ยงเชียง)

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ