ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความสำเร็จของศีลและสมาธิ มีเหตุมาจากขันติ(อดทน)  (อ่าน 9403 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ขันติ ความอดทน ในชีวิตประจำวัน

สวัสดีทุกท่านครับ
ช่วง นี้อากาศร้อนครับ คนใจร้อนกันก็มาก ร้อนกาย อยู่ในห้องปรับอากาศ ดื่มน้ำเย็นๆ อาจพอช่วยได้ ร้อนใจ เพราะไฟกิเลส จะดับได้ด้วยคุณธรรมสำคัญข้อหนึ่งคือ ขันติ ความอดทน

ความอดทนเป็น คุณธรรมสำคัญที่เป็นเครื่องประคองจิตใจไม่ให้ท้อถอย เมื่อประสบความลำบากตรากตรำหรือความทุกข์ยาก อดทนต่อสู้รู้รักษาจิตใจให้เป็นปกติ ไม่หงุดหงิดฉุนเฉียว ในเมื่อประสบอารมณ์ร้ายยั่วโทสะ


ต้องอดทนห้ามใจมิให้แสดงกิริยาวาา หยาบคายออกมาให้คนอื่นเห็น ทำให้ไม่น่ารัก น่าเคารพนับถือ ไม่ยอมแพ้อุปสรรคทั้งภายในและภายนอก เป็นกำลังใจให้สามารถต่อสู้กับกิเลสทั้งหลายให้สงบราบคาบ ดังพุทธภาษิตว่า

" ความอดทน คือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง" (ขันติ ปรมัง ตโป ตีติกขา)

ในชีวิตประจำวัน คนเราย่อมได้รับความทุกข์กาย ทุกข์ใจอยู่เป็นประจำ มากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย การแก้ไข ต่อสู้ปัญหา ชีวิตที่เข้มแข็งเท่านั้นจึงจะเอาชนะได้ มีความสุขความเจริญ ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ กล้าเผชิญกับปัญหา สู้งานจนสำเร็จ แม้บางครั้งจะพบกับสิ่งที่ตนเองไม่ชอบใจ ก็ต่อสู้กับกิเลสภายในใจไม่ให้จิตเศร้าหมอง นำธรรมะมาฝากครับ

ประเภทของความอดทน

ความอดทนที่มนุษย์ควรพัฒนาให้เกิดขึ้นนั้น เพื่อยกระดับจิตให้เข้มแข็งสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพได้ 4 ประเภท สองประเภทแรก เป็นขันติธรรมดา ส่วนสองประเภทหลังเป็นอธิวาสขันติ ได้แก่

1.อดทนต่อความลำบากตรากตรำ ไม่แสดงอาการย่อท้อง เมื่อทำหน้าที่การงาน
2.อดทนต่อความเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่แสดงอาการทุรนทุรายจนเกินเหตุ รู้จักระงับอารมณ์ต่อความเจ็บป่วย
3.อดทนต่อความเจ็บใจ เมื่อถูกกระทบกระแทก ดูถูกดูหมิ่น ก็อดกลั้นไว้ในใจ
4.อดทนต่ออำนาจกิเลส เมื่อถูกกิเลสครอบงำจิตทำให้เกิดความอยาก ก็ทนต่อความอยากได้


การฝึกความอดทน

มีคำโบราณว่า " อยากรู้ต้องหมั่นอ่าน อยากชำนาญต้องหมั่นทำ อยากจำต้องหมั่นดู " หมายความว่าทุกสรรพสิ่งไม่ว่าวิทยาการ ศิลปะ ความคล่องตัว ความชำนิชำนาญ ความสามารถเป็นต้น ย่อมต้องอาศัยการฝึกฝน ทำแล้วทำเล่า ดูแล้วดูเล่า ทบทวน ตรวจสอบ บันทึกผลดี ผลเสีย ความอดทนก็เช่นเดียวกันจะเกิดมีได้เพราะกระบวนการดังนี้

1.มีความอดกลั้น อดทนข่มใจ เช่น ถูกคนพาลด่า กระทบกระแทก ก็ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ไม่ใส่ใจ ไม่ต่อปากต่อคำ

2.ไม่กล่าวร้ายโต้ตอบเมื่อถูกว่าร้าย ถ้าจำเป็นก็พูดด้วยน้ำเสียงปกติ ไม่โต้ตอบ รักษาความสงบเสงี่ยมในการโต้ตอบ


3. ไม่ก่อทุกข์ให้กับตนเองและผู้อื่น การกล่าวกระทบกระแทกคนอื่น ทำให้คนอื่นโกรธ เสียหน้า ก่อเวรภัยให้กับตนเอง ผู้ถูกกล่าวหาก็เป็นทุกข์ ควรพูดด้วยจิตที่เมตตา

4.มองโลกในแง่ดี คนที่มีความทุกข์ย่อมมีความโลภ โกรธ หลง และมีความทุกข์มากกว่าเราเป็นคนที่ห่างไกลธรรมะ ดังนั้นควรอดทน เพราะเขามีความทุกข์มากกว่าเรา ควรเพิ่มกำลังใจและช่วยเขาให้พ้นทุกข์

5.ทำจิตใจให้เบิกบานผ่องใสด้วยเมตตา จะคิด ทำ พูดสิ่งใด ตั้งจิตเมตตาให้ทุกคนที่มติดต่อสัมพันธ์กับเรา จงมีความสุข ปราศจากความทุกข์

6.ทำเป็นคนหูหนวกตาบอด ดังภาษิตโบราณว่า ปิดหูซ้ายขวา ปิดตาสองข้าง ปิดปากเสียบ้างนั่งนอนสบาย


7.หลีกห่างถอนตัวจากสิ่งชั่ว เช่น การดื่มน้ำเมา การเล่นการพนัน ฯลฯ

8.อดทนเพื่อละสิ่งชั่ว พยายามทำความดี รักษากายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตเป็นประจำ

9.รักษาไม่ให้เศร้าหมองสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ เจริญเมตตาเป็นประจำ



ประโยชน์ของความอดทน

การปฏิบัติตามมงคลข้อนี้ทำให้เกิดคุณค่าและความสำเร็จแก่ตนเอง สังคมและสติปัญญาดังประการต่อไปนี้คือ

1.ทำให้เป็นคนหนักแน่น ไม่อ่อนแอ ท้อถอย กล้าเผชิญกับปัญหาชีวิตทุกชนิดได้
2.ทำให้บุคคลมีมารยาทที่ดีงาม ไม่วู่วาม มักโกรธ
3.ความอดทนช่วยพัฒนาคนให้เป็นบัณฑิต เป็นคนมีเสน่ห์น่ารัก
4.ความอดทนเป็นบ่อเกิดของศีล สมาธิ ปัญญา
5.ความอดทนเป็นเครื่องมือตัดต้นเหตุของความชั่วร้ายทั้งหลาย
6.ความอดทนช่วยให้บุคคลประพฤติพรหมจรรย์บรรลุธรรมได้รวดเร็ว


อ้างอิง เนื้อเรื่องเรียบเรียงจาก คณะกรรมการกองตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี


สุดท้ายขอสรุปลงด้วยพุทธศาสนสุภาษิต เพื่อเป็นคติเตือนใจว่า

ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น

ผู้มีขันติ ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน

ขันติ ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความติเตียนและการทะเลาะกันได้

ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ


ผู้มีขันติเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

ขันติเป็นประธานเป็นเหตุแห่งคุณ คือ ศีลและสมาธิ กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญ เพราะขันติเท่านั้น

ขันติเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ ขันติเป็นตบะของผู้พากเพียร

ขันติเป็นกำลังของนักพรต ขันตินำประโยชน์สุขมาให้

เสนาแม้หมู่ใหญ่ พร้อมด้วยพระราชารบอยู่ ไม่พึงได้ประโยชน์ที่สัตบุรุษผู้มีขันติพึงได้
(เพราะ) เวรทั้งหลายของผู้มีขันติเป็นกำลังนั้น ย่อมสงบระงับ



ที่มา : http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y7636415/Y7636415.html
จากคุณ : ebusiness
ขอบคุณ http://www.jaisabai.com/index.php?app=daily_tamdee&fnc=detail&id=410
ขอบคุณภาพจาก http://buddhahistory.org,http://farm4.static.flickr.com,http://multiply.com

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 31, 2012, 07:50:35 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ความสำเร็จของศีลและสมาธิ มีเหตุมาจากขันติ(อดทน)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 08, 2011, 02:02:36 pm »
0


ขนฺติ ความอดทน อดกลั้น

ขนฺติ คือ ความอดทน อดกลั้น ได้แก่

(๑) ธิติขนฺติ คือ อดทนต่อความยาก ลำบาก ตรากตรำ ในการประกอบกิจการงานในอาชีพ และ/หรือ ในหน้าที่รับผิดชอบต่อตนเอง และต่อผู้อื่น โดยการทำหน้าที่ของตนด้วยความขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้าน ไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย ยากลำบาก ตรากตรำ

แม้จะหนาวร้อน หรือต้องประสบกับปัญหาหรืออุปสรรค ก็ไม่บ่น ไม่น้อยใจ ไม่ท้อถอย เพื่อให้บรรลุความสำเร็จด้วยดีมีประสิทธิภาพสูง และเพื่อสร้างสรรค์ความเจริญสันติสุขให้แก่ตนเอง แก่ครอบครัว แก่หมู่คณะขององค์กรหรือหน่วยงานที่ตนรับผิดชอบ และแก่สังคมประเทศชาติโดยส่วนรวม

(๒) อธิวาสนขนฺติ คือ ความอดทนต่อทุกขเวทนาหรือความเจ็บไข้ เมื่อถึงคราวเจ็บไข้ได้ป่วยก็อดทน อดกลั้นต่อทุกขเวทนา ไม่บ่น ไม่ร้องไห้ ด้วยเห็นสัจจธรรมว่าสังขารหรือรูปนามทั้งหลาย ย่อมมีทุกข์ประจำ คือย่อมมีความเกิด แก่ เจ็บ และตาย อยู่เองโดยธรรมชาติ และย่อมเป็นสภาพที่ไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) เป็นทุกข์ (ทุกฺขํ)

และไม่มีแก่นสารสาระในความเป็นตัวตน บุคคล เรา-เขา ของเรา-ของเขา หรือของใครผู้ใดที่เที่ยงแท้ถาวรทั้งสิ้น (อนตฺตา) เมื่อเห็นสภาวะธรรมและสัจจธรรมด้วยปัญญาอันเห็นชอบอย่างนี้ ย่อมข่มทุกข์เวทนาได้ด้วยสติสัมปชัญญะ อันสัมปยุตด้วยสมาธิและปัญญาอันเห็นชอบ ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้

(๓) ตีติกฺขาขนฺติ คือ ความอดทน อดกลั้น ต่อถ้อยคำเสียดสี นินทาว่าร้าย ก้าวร้าว ล่วงเกินต่างๆ จากผู้อื่น ก็อดทน อดกลั้น อดใจ หรือหยุดใจไว้ได้ ด้วยการฝึกฝนอบรมจิตให้สงบและเจริญปัญญาเห็นแจ้งในสภาวธรรมและอริยสัจจธรรมตามธรรมชาติที่เป็นจริง ตามที่กล่าวในข้อ (๒)

จึงอดกลั้นได้ ด้วยความสงบใจ และสงบกิริยาวาจา ไม่ลุแก่อำนาจแห่งความโกรธแล้วแสดงการโต้ตอบรุนแรง อันจะนำไปสู่การทะเลาะวิวาทได้ ดังพระพุทธดำรัสตรัสในวันทรงแสดงพระโอวาทปาฏิโมกข์ว่า

         ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
         นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
         น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
         สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต.


         ขันติ คือความอดทน อดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง
         พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า พระนิพพานเป็นบรมธรรม
         ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
         ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ.


(๔) อดทนต่อความมุ่งมั่นกระทำคุณความดี ละเว้นความชั่วเพื่อเจริญบุญกุศลคุณความดีให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป เป็นบารมี คือคุณความดีอย่างยิ่งยวด ได้แก่ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี ให้เจริญแก่กล้าขึ้นเป็น อุปบารมี และ ปรมัตถบารมี ครบสมบูรณ์ทั้ง ๑๐ ประการ



รวมเป็น บารมี ๓๐ ทัศ อันเป็นพื้นฐานสำคัญให้สามารถบำเพ็ญสมณธรรมถึงความบรรลุมรรค ผล นิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง และที่เป็นบรมสุขอย่างถาวรต่อไปในที่สุด แม้ในระหว่างที่บำเพ็ญบุญบารมีตั้งแต่ระดับต้นๆ และสูงยิ่งขึ้นไปเป็นลำดับนั้น ก็ยังเป็นทางให้ผู้ปฏิบัติธรรมนั้นได้ถึงความเจริญและสันติสุขต่อๆ ไปทุกภพ ทุกชาติ ไม่ตกต่ำ ตราบเท่าถึงปรินิพพาน สมดังพระพุทธดำรัส (ส.ม. ๒๒๒) ว่า

   “สีลสมาธิคุณานํ    ขนฺติ ปธานการณํ
   สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา    ขนฺตยาเยว วฑฺฒนฺติ เต.”
ขันติเป็นประธาน เป็นเหตุแห่งคุณ คือศีลและสมาธิ กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญ เพราะขันติเท่านั้น.

   “อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ    อตฺถาวโห ว ขนฺติโก
   สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ    อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก.”
ผู้มีขันติ ย่อมนำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนเอง และแก่ผู้อื่น ผู้มีขันติชื่อว่า เป็นผู้ขึ้นสู่ทางเป็นที่ไปสวรรค์ และพระนิพพาน.

   “ขนฺติ ธีรสฺส ลงฺกาโร    ขนฺติ ตโป ตปสฺสิโน
   ขนฺติ พลํ ว ยตีนํ    ขนฺติ หิตสุขาวหา.”
ขันติเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ ขันติเป็นตบะของผู้พากเพียร ขันติเป็นพลังของนักพรต ขันตินำประโยชน์สุขมาให้.

และยังมีพระพุทธศาสนสุภาษิตอื่นๆ ยกย่องคุณของขันติคือความอดทนนี้อีกมาก ได้แก่

       ขนฺติ สาหสวารณา (ว.ว.) ความอดทนห้ามไว้ได้ซึ่งความหุนหันพลันแล่น
       ขนฺติพลา สมณพฺราหฺมณา สมณพราหมณ์มีความอดทนเป็นกำลัง
       มนาโป โหติ ขนฺติโก (ส.ม.) ผู้มีความอดทนย่อมเป็นที่ชอบใจของคนทั่วไป
เป็นต้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงคุณประเสริฐได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งปวงด้วยขันติธรรม เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้อาณาประชาราษฎร์ของพระองค์ได้อยู่เย็นเป็นสุข โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยและท้อถอย

ยังประโยชน์และความสันติสุขให้เกิดมีแก่พสกนิกรของพระองค์ตลอดมาอย่างมากมาย เป็นที่ชื่นชมยินดีแก่สาธุชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เป็นแบบอย่างที่ดีเลิศ สมควรที่นักปกครอง นักบริหาร และผู้ปฏิบัติงานทั่วไปจะพึงถือปฏิบัติตาม เพื่อประโยชน์และความสันติสุขแก่ตนเอง แก่ครอบครัว และแก่สังคมประเทศชาติของเราให้ยิ่งๆ ขึ้นไป



ที่มา http://www.dhammakaya.org/dhamma/lecture/lecture78.php
ขอบคุณภาพจากhttp://www.truethailove.com,www.bloggang.com,www.all-magazine.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ