ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สอนตนเองให้ได้  (อ่าน 1831 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
สอนตนเองให้ได้
« เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2011, 12:11:28 pm »
0

สอนตนเองให้ได้

 

บุคคลที่ประสบความสำเร็จจากการศึกษา

          บุคคลที่จะประสบความสำเร็จ  ในการสร้างบารมีจะต้องรักในการฝึกฝนตนเองทั้งกาย  วาจา  และใจ  หมั่นปรับปรุงแก้ไขตนเองให้ได้ก่อนในทุกรูปแบบ  เพราะถ้าเราสามารถสอนตนเองได้  มีความอดทน  รู้จักยกใจตนเอง  ให้สูงขึ้นเหนืออุปสรรคทั้งมวล  และรักษาใจให้ผ่องใสเป็นประจำ  ไม่ยอมรอคอยกำลังใจจากใคร  เราก็จะประสบความสำเร็จในการสร้างบารมีอย่างแน่นอน
 
          เหมือนดังเรื่องของหญิงสาวคนหนึ่ง  ผู้เป็นธิดาของนายช่างหูก  ผู้รู้จักสอนตนเองด้วยการทำตามโอวาทของพระบรมศาสดา  จนประสบความสำเร็จในการสร้างบารมีในที่สุด  มีเรื่องราวดังนี้
 
          ในสมัยหนึ่ง  พระบรมศาสดาเสด็จไปเมืองอาฬวี  ได้ทรงประทานโอวาทให้แก่มหาชนว่า  “ท่านทั้งหลายจงเจริญมรณานุสสติว่า  ชีวิตของเราไม่ยั่งยืน  ความตายของเราแน่นอน  เราพึงตายแน่แท้  ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุด  ชีวิตของเราไม่เที่ยง  แต่ความตายเที่ยง  เพราะฉะนั้น...พวกท่านทั้งหลายพึงเจริญมรณานุสสติเถิด”  เมื่อทรงประทานโอวาทเสร็จ  พระบรมศาสดาก็เสด็จกลับวัดพระเชตะวัน
 
          มหาชนครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนานั้นแล้ว  บางส่วนก็ปฎิบัติตาม  บางส่วนก็ไม่ค่อยนำไปปฏิบัติเท่าที่ควร  ยังมัวประมาทในชีวิตเหมือนเดิม  ส่วนธิดาของนายช่างหูกคนหนึ่งนางอายุเพียง  ๑๖  ปี  แต่มีปัญญาสอนตนเองได้  นางได้ทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้กับตนเอง  เมื่อกลับมาที่บ้านก็ได้ทำการบ้านที่พระบรมศาสดาทรงประทานให้  ด้วยการเจริญมรณานุสสติอยู่ตลอดเวลา

 

ชีวิตของเราไม่ยั่งยืน  ความตายของเราแน่นอน

          สามปีต่อมา  พระบรมศาสดาเสด็จไปโปรดชาวเมืองอาฬวีอีกครั้ง  ธิดาช่างหูกก็มีโอกาสมาเข้าเฝ้าเพื่อฟังพระธรรมเทศนาเหมือนเดิม  ในครั้งนั้น...พระบรมศาสดาถามเธอในท่ามกลางบริษัทว่า
 
          พ.  “กุมาริกา  เธอมาจากไหน?”
          ธ.  “ไม่ทราบ  พระเจ้าข้า”
          พ.  “เธอจะไปไหน?”
          ธ.   “ไม่ทราบ  พระเจ้าข้า”
          พ.   “เธอไม่ทราบหรือ?”
          ธ.   “ทราบพระเจ้าข้า”
          พ.   “เธอทราบหรือ?”
          ธ.  “ไม่ทราบ  พระเจ้าข้า”

 
          เมื่อธิดาช่างหูกตอบปัญหาเพียงคำว่า  “ทราบ”  กับ  “ไม่ทราบ”  เท่านั้น  ทำให้มหาชนเกิดความไม่พอใจกันใหญ่  เพราะคิดว่า  ธิดาช่างหูกพูดเล่นลิ้นกับพระพุทธเจ้า  ดังนั้นเพื่อคลายความสงสัยของมหาชน  พระบรมศาสดาจึงตรัสถามต่อไปว่า
 
          “กุมาริกา  เมื่อเราถามว่า  “เธอมาจากไหน?”  ทำไมเธอจึงตอบว่า  ไม่ทราบ”
           กุมาริกาผู้มีปัญญาลึกซึ้งได้ทูลคอบว่า  “หม่อมฉันไม่ทราบว่า  ตัวเองเกิดมาจากไหน  จึงตอบว่า  ไม่ทราบ”

 

ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุด

 
          พระบรมศาสดาทรงประทานสาธุการว่า  “ดีละ  กุมาริกาเธอมีปัญญาแก้ปัญหาที่ตถาคตถามได้ดีแล้ว”

          ทรงถามข้อต่อไปว่า  “เมื่อเราถามว่า  “เธอจะไปไหน?”  ทำไมจึงกล่าวว่า  ไม่ทราบ”
         กุมาริกาก็ทูลตามที่เข้าใจว่า  “เมื่อหม่อมฉันตายจากโลกนี้แล้วไม่ทราบว่า  จะไปเกิดที่ไหน”

 
          ทรงถามว่า  “แล้วเมื่อเราถามว่า  “เธอไม่ทราบหรือ?”  ทำไมจึงตอบว่า  ทราบ  ล่ะ”
          กุมาริกาทูลตอบว่า  “พระเจ้าข้า  หม่อมฉันทราบว่า  ตัวเองต้องตายอย่างแน่นอน  จึงตอบว่า  ทราบ  เจ้าข้า“
 
           “แล้วเมื่อตถาคตถามว่า  ”เธอย่อมทราบหรือ?”  ทำจึงตอบว่า  ไม่ทราบ”
           กุมาริกาก็ทูลตอบว่า  “หม่อมฉันทราบแต่เพียงว่าจะต้องตาย  แต่ไม่ทราบว่าจะตายเวลาไหน  จึงตอบเช่นนั้นพระเจ้าข้า”

 

ไม่มีใครที่จะสอนตัวเราได้ดีเท่ากับตัวของเราเอง
   
          พระบรมศาสดาทรงชมเชยธิดาช่างหูกในความเป็นผู้มีใจจดจ่อต่อการเจริญมรณานุ สสติ  สามารถตักเตืยนตนเองได้ไม่มัวรอให้คนอื่นมาคอยจ้ำจี้จ้ำไช  แล้วตรัสเตือนพุทธบริษัทว่า
 
          “พวกท่านไม่ทราบถ้อยคำที่กุมาริกานี้กล่าว  จึงกล่าวตู่ธิดาของเราผู้มีปัญญา”
 
          แล้วทรงแสดงธรรม  เรื่องมรณานุสสติอีกครั้งหนึ่ง  เมื่อสิ้นพระธรรมเทศนา  ธิดาช่างหูกก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน  เป็นผู้ไม่ตกต่ำในชีวิตอีกต่อไป
 
          แต่...  เนื่องจากวิบากกรรมเก่าตามมาทัน  เมื่อนางเดินทางกลับไปบ้านแล้ว  เห็นพ่อกำลังนอนหลับอยู่ข้างเครื่องทอหูก  นางจึงได้ปลุกพ่อให้ตื่น  ฝ่ายพ่อกำลังนอนหลับเพลิน  มือจึงไปกระทบด้ามฟืมเครื่องทอผ้าอย่างแรง  นางล้มลงกับพื้นแล้วสิ้นใจ  ณ  ตรงนั้นเอง  เมื่อละโลกแล้วก็ได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
 
          จาก เรื่องนี้จะเห็นได้ว่า...  การรู้จักสอนตนเอง  เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากของนักสร้างบารมี  เพราะในโลกนี้  ไม่มีใครที่จะสอนตัวเราได้ดีเท่ากับตัวของเราเอง  และเมื่อเราสอนตัวเองได้ดี
แล้ว  การที่จะทำหน้าที่สั่งสอนผู้อื่นก็จะสมบรูณ์ตามมาด้วย

 
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.dmc.tv/page_print.php?p =แรงบันดาลใจ-จากพระไตรปิฎก/สอนตนเองให้ได้.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ