ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ศรัทธา กับ ปัญญา ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ คะ  (อ่าน 3969 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นัยนา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 191
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มีหลายท่านมักกล่าวว่า ศรัทธา แล้วให้มีปัญญา กันบ้าง

มีปัญญา ก็อย่า ขาดศรัทธา อย่างนี้มักจะพูดกันบ่อย

 แต่ความเป็นจริง ศรัทธา หมายถึง ความเชื่อ ความเคารพ ใช่หรือไม่คะ

   คือสงสัยว่า เวลา ลูกเคารพ พ่อแม่ ก็ชื่อ ว่าลูกมีศรัทธา แล้ว ทำไมต้องใช้ปัญญา กันด้วย เพราะพ่อแม่ ลูกก็ต้องเคารพกันอยู่แล้ว ใช่หรือไม่คะ

   พอมาที่วัด ก็บอกว่า ไหว้พระพุทธรูป ก็อย่าขาดปัญญา ปกติก็ไม่เห็นจะต้องใช้ปัญญาในการไหว้พระพุทธรูป เมื่อเป็นพระพุทธรูป เราก็ให้ความเคารพอยู่แล้ว ๆ ทำไมต้องใช้ปัญญา ด้วยคะ

  ชวนคุยนะคะ แต่อยากทราบจริง ๆ เวลาที่ ผู้มีธรรมะ สอนขัดกัน จนเด็ก ๆ อย่างพวกเราไม่รู้จะฟังใครดี

   :41: :25: :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ศรัทธา กับ ปัญญา ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 09, 2011, 09:49:47 am »
0



"บาลานซ์อินทรีย์ เพื่ออะไร ทำไมต้องบาลานซ์"
ที่มา http://www.madchima.org/foru/index.php?topic=2913.msg10208#msg10208

 อินทรีย์ ความเป็นใหญ่, สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน, ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ เช่น ตาเป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการเห็น หูเป็นใหญ่ในการได้ยิน ศรัทธาเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธา เป็นต้น

อินทรีย์ ๕ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน)

๑. สัทธา (ความเชื่อ) หรือ สัทธินทรีย์
๒. วิริยะ (ความเพียร) หรือ วิิริยินทรีย์
๓. สติ (ความระลึกได้) กรือ สตินทรีย์
๔. สมาธิ (ความตั้งจิตมั่น) หรือ สมาธินทรีย์
๕. ปัญญา (ความรู้ทั่วชัด) หรือ ปัญญินทรีย์


ที.ปา.๑๑/๓๐๐/๒๕๒: องฺ.ปญฺจก.๒๒/๑๓/๑๑; อภิ.วิ.๓๕/๘๔๔/๔๖๒
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม และฉบับประมวลศัพท์(ป.อ.ปยุตโต)




พระไตรปิฎก เล่ม ๑๙   
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หมวด ๖ แห่งโพชฌงค์ที่ ๖


อรรถกถาอาหารสูตร                 
การทำอินทรีย์ทั้งหลาย มีศรัทธา เป็นต้นให้เสมอกัน ชื่อว่าการปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน.

สัทธากล้า
เพราะว่า  ถ้าสัทธินทรีย์ของเธอแก่กล้า  อินทรีย์นอกนี้อ่อน.
ทีนั้น  วิริยินทรีย์  จะไม่อาจทำปัคคหกิจ  (กิจคือการยกจิตไว้) 
สตินทรีย์จะไม่อาจทำอุปัฏฐานกิจ  (กิจคือการอุปการะจิต)
สมาธินทรีย์จะไม่อาจทำอวิกเขปกิจ  (กิจคือทำจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน) 
ปัญญินทรีย์จะไม่อาจทำทัสสนกิจ(กิจคือการเห็นตามเป็นจริง).

 
เพราะฉะนั้น  สัทธินทรีย์อันกล้านั้น  ต้องทำให้ลดลงเสียด้วยพิจารณาสภาวะแห่งธรรม 
ด้วยไม่ทำไว้ในใจ  เหมือนเมื่อเขามนสิการ  สัทธินทรีย์ที่มีกำลังนั้น.
ก็ในข้อนี้มีเรื่องพระวักกลิเถระเป็น  ตัวอย่าง.

อ่านเรื่องพระวักกลิเถระ ได้ที่
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2914.new#new


วิริยะกล้า
แต่ถ้าวิริยินทรีย์กล้า  ทีนั้น สัทธินทรีย์  ก็จะไม่อาจทำอธิโมกขกิจได้  (กิจคือการน้อมใจเชื่อ). 
อินทรีย์นอกนี้  ก็จะไม่อาจทำกิจนอกนี้  แต่ละข้อได้.
เพราะฉะนั้น  วิริยินทรีย์อันกล้านั้น  ต้องทำให้ลดลงด้วยเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นต้น. 
แม้ในข้อนั้น  ก็พึงแสดงเรื่องพระโสณโกฬิวิสเถระ


อ่านเรื่องพระโสณโกฬิวิสเถระ ได้ที่
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2915.new#new


ความที่เมื่อความกล้าแห่งอินทรีย์อันหนึ่งมีอยู่  อินทรีย์นอกนี้  จะไม่สามารถในกิจของตน ๆ
ได้  พึงทราบในอินทรีย์ที่เหลืออย่างนี้แล.

ก็โดยเฉพาะในอินทรีย์  ๕  นี้  บัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญอยู่ซึ่ง
ความเสมอกันแห่ง สัทธากับปัญญา และสมาธิกับวิริยะ. 



สัทธา-ปัญญา
เพราะคนมีสัทธาแก่กล้าแต่ปัญญาอ่อน  จะเป็นคนเชื่อง่าย  เลื่อมใสในสิ่งอันไม่เป็นวัตถุ. 
ส่วนคนมีปัญญากล้า  แต่สัทธาอ่อน  จะตกไปข้างอวดดี  จะเป็นคนแก้ไขไม่ได้  เหมือน
โรคที่เกิดแต่ยา  รักษาไม่ได้ฉะนั้น  วิ่งพล่านไปด้วยคิดว่า  จิตเป็นกุศลเท่านั้นก็พอ 
ดังนี้แล้ว  ไม่ทำบุญมีทานเป็นต้น  ย่อมเกิดในนรก. 
ต่อธรรมทั้ง  ๒ เสมอกัน  บุคคลจึงจะเลื่อมใสในวัตถุแท้. 


สมาธิ-วิริยะ
โกสัชชะ(ความเกียจคร้าน)ย่อมครอบงำคนมีสมาธิกล้าแต่วิริยะอ่อน  เพราะสมาธิเป็นฝ่ายโกสัชชะ. 
อุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน) ย่อมครอบงำคนมีวิริยะกล้าแต่สมาธิอ่อน  เพราะวิริยะเป็นฝ่ายอุทธัจจะ.

แต่สมาธิที่มีวิริยะประกอบเข้าด้วยกันแล้ว  จะไม่ตกไปในโกสัชชะ. 
วิริยะที่มีสมาธิประกอบพร้อมกันแล้วจะไม่ตกไปในอุทธัจจะ.


เพราะฉะนั้น  อินทรีย์ทั้ง  ๒  นั้น  ต้องทำให้เสมอกัน.
ด้วยว่า  อัปปนาจะมีได้  ก็เพราะความเสมอกันแห่งอินทรีย์ทั้ง  ๒.

สัทธาทำให้บรรลุอัปปนาสมาธิ
อีกอย่างหนึ่ง  สัทธาแม้มีกำลัง  ก็ควรสำหรับสมาธิกัมมิกะ (ผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐาน).
เธอเมื่อสัทธามีกำลังอย่างนี้  เชื่อดิ่งลงไปจักบรรลุอัปปนาได้.


 ในสมาธิและปัญญาเล่า  เอกัคคตา (สมาธิ)  มีกำลังก็ควร  สำหรับ
สมาธิกัมมิกะ  ด้วยเมื่อเอกัคคตามีกำลังอย่างนั้น  เธอจะบรรลุอัปปนาได้.

ปัญญาทำให้เห็นแจ้งไตรลักษณ์
ปัญญามีกำลัง  ย่อมควรสำหรับวิปัสสนากัมมิกะ (ผู้บำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน).
ด้วยเมื่อปัญญามีกำลังอย่างนั้น  เธอย่อมจะบรรลุลักขณปฏิเวธ (เห็นแจ้งไตรลักษณ์) ได้.
 แต่แม้เพราะสมาธิและปัญญาทั้ง  ๒  เสมอกัน  อัปปนาก็คงมีได้.


สติรักษาจิตและควบคุมทุกอย่าง
   ส่วนสติ  มีกำลังในที่ทั้งปวง  จึงจะควร  เพราะสติรักษาจิตไว้แต่ความ
ตกไปในอุทธัจจะ  เพราะอำนาจแห่งสัทธา  วิริยะ  และปัญญาอันเป็นฝ่ายอุทธัจจะ
และรักษาจิตไว้แต่ความตกไปในโกสัชชะ  เพราะสมาธิเป็นฝ่ายโกสัชชะ.


เพราะฉะนั้น  สตินั้น  จึงจำปรารถนาในที่ทั้งปวง  ดุจเกลือสะตุเป็นสิ่งที่พึง
ปรารถนาในกับข้าวทั้งปวง  และดุจสรรพกัมมิกอำมาตย์  (ผู้รอบรู้ในการงานทั้งปวง) 
เป็นผู้พึงปรารถนาในสรรพราชกิจฉะนั้น.

เพราะฉะนั้น  ท่านจึงกล่าวว่า  ก็แลสติ  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า 
เป็นคุณชาติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง. 
ถามว่า   เพราะเหตุไร. 
ตอบว่า  เพราะจิตมีสติเป็นที่พึ่งอาศัย  และสติมีการรักษาเอาไว้เป็นเครื่องปรากฏ 
การยกและข่มจิตเว้นสติเสีย  หามีได้ไม่ ดังนี้.



ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
ขอบคุณภาพ http://images.palungjit.com/,http://sangharaja.org/,http://www.dhammajak.net/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 09, 2011, 09:58:04 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ศรัทธา กับ ปัญญา ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 09, 2011, 09:55:05 am »
0

ระหว่าง ศรัทธา กับ ปัญญา ควรเริ่มอย่างไร ในการภาวนา
ที่มา http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5606.msg20973#msg20973

อินทรีย์ ๕ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน) หรือ พละ ๕ (ธรรมอันเป็นกำลัง)

๑. สัทธา (ความเชื่อ)
๒. วิริยะ (ความเพียร)
๓. สติ (ความระลึกได้)
๔. สมาธิ (ความตั้งจิตมั่น)
๕. ปัญญา (ความรู้ทั่วชัด)


ธรรม ๕ อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินทรีย์ ๕ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน) ที่เรียกว่า อินทรีย์ เพราะความหมายว่า เป็นใหญ่ในการกระทำหน้าที่แต่ละอย่างๆ ของตน คือเป็นเจ้าการ ในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงตามลำดับ

ที่เรียกว่า พละ เพราะความหมายว่า เป็นพลังทำให้เกิดความมั่นคง ซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น แต่ละอย่าง จะเข้าครอบงำไม่ได้

พละหมวดนี้เป็นหลักปฏิบัติทางจิตใจ ให้ถึงความหลุดพ้นโดยตรง


อ้างอิง ที.ปา.๑๑/๓๐๐/๒๕๒: องฺ.ปญฺจก.๒๒/๑๓/๑๑; อภิ.วิ.๓๕/๘๔๔/๔๖๒
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)




     ถ้าอ้างถึงมรรคมีองค์ ๘ แล้ว ต้องกล่าวว่า "สัมมาทิฏฐิ" มาก่อน
     แต่ถ้าเอาอินทรีย์หรือพละเป็นที่ตั้ง คงต้องบอกว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายกเอาสัทธามาเป็นข้อแรก ก็คงต้องเดาว่า "สัทธา" ต้องมาก่อน


     อย่างไรก็ตาม ข้อธรรมของพุทธศาสนา มีัลักษณะเกี่ยวโยงกันทั้งหมด เปรียบเสมือนล้อเกวียน(ธรรมจักร)
เมื่อเข้าถึงธรรมระดับหนึ่ง ทุกข้อสำคัญเหมือนกัน ดุจล้อเกวียนที่จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้ หากขาดไปจะไม่สามารถดำรงสภาพเป็นล้อเกวียนได้(ล้อจะพัง)


ขอบคุณภาพจาก http://upload.wikimedia.org/,http://images.palungjit.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ศรัทธา กับ ปัญญา ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ คะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธันวาคม 09, 2011, 10:02:48 am »
0

  คุุณนัยนาช่วยอ่านข้อความข้างต้นไปพลางๆก่อน เรื่องที่ถามผมเคยโพสต์ไปแล้วสองกระทู้ด้วยกัน
  หากมีเวลาจะมาคุยอีกครั้ง

   :49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

indy

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 101
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ศรัทธา กับ ปัญญา ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ คะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ธันวาคม 09, 2011, 05:01:41 pm »
0
เรื่องนี้จะเห็นได้ชัดเรื่องการทำบุญ ถ้าเราทำมากจนเราต้องเดือดร้อน ก็ศรัทธามากไปหน่อย
ท่านถึงสอนไว้ว่าศรัทธาต้องเสมอด้วยปัญญา
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ศรัทธา กับ ปัญญา ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ คะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2011, 12:44:44 pm »
0

   คือสงสัยว่า เวลา ลูกเคารพ พ่อแม่ ก็ชื่อ ว่าลูกมีศรัทธา แล้ว ทำไมต้องใช้ปัญญา กันด้วย เพราะพ่อแม่ ลูกก็ต้องเคารพกันอยู่แล้ว ใช่หรือไม่คะ


    การที่ลูกเกิดมาได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ จะเกิดความผูกพันธ์ใกล้ชิดสนิทสนมกัน เรื่องนี้เป็นไปโดยธรรมชาติ และภายใต้ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมหล่อหลอมให้ลูกๆ เคารพรักในพ่อแม่ในฐานะผู้ให้กำเนิดและผู้ให้การเลี้ยงดู

   ความเคารพในบุพการี ไม่ควรใช้คำว่า "ศรัทธา" เพราะเป็นไปด้วยความจำเป็นและสิ่งแวดล้อมบังคับ
คนเราเกิดมา เป็นทารก เป็นเด็ก ในขณะนั้นเราไม่สามารถดูแลตัวเองได้ และเราก็ไม่สามารถเลือกได้ผู้ดูแลเราได้ การสอนสั่งจากผู้เลี้ยงดูเป็นไปในทางเดียว ผู้ถูกเลี้ยงไม่รู้ว่าสิ่งที่สอนนั้นถูกหรือผิด ดังที่กล่าวกันโดยทั่วไปว่า เหมือนผ้าขาว ใส่สีอะไรไป ก็เป็นสีนั้น การถูกสั่งสอนแบบนี้ ผู้ถูกสอนไม่มีโอกาสใช้ปัญญาของตนเอง และด้วยวุฒิภาวะในขณะนั้น ผู้ถูกสอนก็ไม่มีปัญญาเป็นของตนเอง

   ส่วนการศรัทธาในทางพุทธธรรม เป็นเรื่องเฉพาะตัว เช่น คนที่ศรัทธาคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือสาวกองค์ไหน ต้องเกิดจากการศึกษามาระดับหนึ่ง ทั้งหลักการและปฏิบัติ จนเกิดความเชื่อหรือศรัทธาขึ้นมาระดับหนึ่ง โดยไม่มีใครมาบังคับ
   การศึกษาด้วยตนเอง เป็นการใใช้ปัญญาก็ตนเอง ส่วนปัญญาที่มีจะถูกหรือผิด ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

   ปัญญาที่กล่าวมาเป็นเพียง โลกียปัญญา ไม่ใช่ โลกุตรปัญญา...นะครับ

   

   พอมาที่วัด ก็บอกว่า ไหว้พระพุทธรูป ก็อย่าขาดปัญญา ปกติก็ไม่เห็นจะต้องใช้ปัญญาในการไหว้พระพุทธรูป เมื่อเป็นพระพุทธรูป เราก็ให้ความเคารพอยู่แล้ว ๆ ทำไมต้องใช้ปัญญา ด้วยคะ

  เรื่องนี้เป็นเรื่องเฉพาะตัว แต่ละคนมีความเห็นเป็นของตนเอง ศรัทธาและปัญญาของแต่ละคนไม่เสมอกัน
  นักปฏิบัติธรรมไม่ควรไปดูหมิ่นปรามาส ศรัทธาและปัญญาของใคร ขอให้เตือนตนว่า "เราน่ะดีแค่ไหนเชียว"

  การกราบไหว้พระพุทธรูป ไม่ได้หมายถึง การเคารพในทองเหลือง ทองคำ หรือวัตถุใดๆ
  เชื่อว่า การกราบพระพุทธรูปของนักปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่ เป็นการบูชาพระรัตนตรัย

  อาจมีบางคนพูดว่า "อย่าไปไหว้มัน มันเป็นแค่ทองเหลือง ธรรมะไม่ได้อยู่ที่รูปหล่อ..." อะไรทำนองนี้
  นักปฏิบัติธรรมไม่ควรไปใส่ใจ จิตของเราเป็นอย่างไร เราเท่านั้นที่รู้ อย่าไปสนใจคนอื่นเลย



  ชวนคุยนะคะ แต่อยากทราบจริง ๆ เวลาที่ ผู้มีธรรมะ สอนขัดกัน จนเด็ก ๆ อย่างพวกเราไม่รู้จะฟังใครดี


    การจะเชื่อจะฟังใครนั้น เป็นสิทธิ์ส่วนตัวของแต่ละคน พระพุทธเจ้าสอนหลักการเชื่อไว้แล้ว คือ กาลามสูตร และที่สำคัญ กาลามสูตรสอนให้พิสูจน์
     ดังนั้นนักปฏิบัติธรรมที่ดี ก่อนที่จะเชื่อสิ่งใด ขอให้ลองปฏิบัติดู ไม่ควรด่วนสรุปสิ่งใดหากยังไม่ได้รับการพิสูจน์
     ความคิดเห็นของผม ขอให้ทุกท่านใช้ "โยนิโสมนสิการ" ด้วยครับ

      :49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ