อานาปานสติ ตอนที่ภาวนา เพื่อให้จิตสงบเป็น สมาธิ ตอนนั้นเป็นสมถะ คือ เพื่อความสงบระงับ
พระอริยเจ้า ที่บรรลุธรรมแล้ว ก็ภาวนาเป็น สมถะทั้งหมด นะจ๊ะ ( เพราะไม่มีวิปัสสนา ต่อไปแล้ว )
ดังนั้นส่วนใหญ่แล้ว ท่านก็จะเจริญ อยู่เพียง สองส่วน คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน และเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ส่วน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน มิต้องเจริญต่อไปแล้ว เพราะเมื่อบรรลุธรรมก็จะเป็นไปตามอำนาจผล คือ นิโรธ เอง
สำหรับ อานาปานสติ จัดเป็น สมถะ และ วิปัสสนา มีอยู่ ในสโตริกาญาณ ที่ 1 - 12
ส่วน ขั้นที่ 13 - 16 นั้น เป็น วิปัสสนา อย่างเดียว
สำหรับผู้ฝึกปฏิบัติ ถ้ามุ่งในการ ละกิเลส ก็เป็น วิปัสสนา
ถ้ามุ่งในการ ลดกิเลส ก็เป็น สมถะ
ถ้ามุ่งทั้งสองประการ ก็เป็น ทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา
อานาปานัสสะติ
กายานุปัสสนา
1.เป็นผู้มีสติ หายใจเข้า และ หายใจออก
2.หายใจเข้ายาว หายใจออกยาว ก็มีสติรู้ชัด ว่า หายใจเข้ายาว หายใจออกยาว
3.หายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น ก็มีสติรู้ชัด ว่า หายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น
4.ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กาย ทั้งปวง หายใจเข้า และ หายใจออก
เวทนานุปัสสนา
5.ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
6.ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติ ทั้งหายใจเข้า หายใจออก
7.ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
8.ย่อมศึกษาว่า จักระงับ จิตตสังขาร ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
จิตตานุปัสสนา
9.ย่อมศึกษาว่า จักกำหนด รู้จิต ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
10.ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิง ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
11.ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่น ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
12.ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิต ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
ธรรมานุปัสสนา
13.ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
14.ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความคลายกำหนัด ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
15.ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความดับสนิท ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
16.ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความสลัดคืน ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
อ่านเพิ่มเติมจากลิงก์
อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=811.0 เจริญธรรม