ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มงคลชีวิต 9 ประการ ให้มีแต่สิ่ง ดี ปี พ.ศ.2555 คะ  (อ่าน 1943 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มงคลชีวิต 9 ประการ

 
 
1.ซื่อตรง


ข้อนี้สำคัญมาก บุคคลใด หรือฝ่ายใดก็ตาม ถ้าขาดความซื่อตรงเสียแล้ว ก็จะเกิดความเสื่อมโทรมเสียหาย เกิดเรื่องเดือดร้อน เกิดความไม่สงบ เกิดความระแวงไม่ไว้วางใจ ขาดความเชื่อถือ ขาดความนิยม เกิดความโกรธเคือง อาฆาตแค้น เกิดความเกลียดชัง ดูถูกดูหมิ่นกัน กฏธรรมชาติ มีอยู่ว่า...
"บุคคลใดซื่อตรงเป็นบุคคลที่น่าคบค้าสมาคม มีเสน่ห์ใครๆ ก็ชอบคบค้าสมาคมกับคนซื่อตรง ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน ถ้าเรามีนักการเมืองคดในข้อ งอในกระดูก โกงในสันดาน บ้านเมืองของเราก็มีแต่พังกับพังเท่านั้น เพราะฉะนั้น ขอให้ถือความซื่อตรงเป็นหลัก ปฏิบัติที่สำคัญที่สุดของชีวิต

2.สะอาด
ข้อนี้สำคัญมากอีกข้อหนึ่ง เพราะความสะอาดทำให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เชื้อโรคเกิดจากความสกปรก เมื่อเรามีความสะอาดเชื้อโรค ก็เกิดขึ้นไม่ได้ เราก็มีความสุขทั้งร่างกายและจิตใจ บ้านเรือนที่สะอาด ก็เป็นบ้านเรือนที่น่าอยู่อาศัย ใครๆก็ชอบบ้านเรือนที่สะอาด เสื้อผ้าที่สะอาด ก็เป็นเสื้อผ้าที่น่าสวมใส่ น่าดู น่าชม ใครๆก็ชื่นชม ใครๆก็ชอบใช้เสื้อผ้าที่สะอาด
          บุคคลใดเป็นคนสะอาด ก็เป็นคนที่น่าคบค้าสมาคม เพราะใครๆก็ชอบคบค้าสมาคมกับคนสะอาด ยิ่งกว่านั้นความสะอาดยังส่อแสดงให้เห็นถึงชีวิตจิตใจ การศึกษาและบุคลิกภาพ โบราณท่านสอนว่า ดูวัดให้ดูฐาน(ส้วม) ดูบ้านให้ดูครัว วัดใดส้วมสะอาด แสดงว่าวัดนั้นพระขยัน วัดใดส้วมสกปรก แสดงว่าวัดนั้นพระขี้เกียจ
          บ้านใดครัวสะอาด แสดงว่าแม่ครัว หรือลูกสาวบ้านนั้นขยัน บ้านใดครัวสกปรก แสดงว่าแม่บ้านหรือลูกสาวบ้านนั้น ขี้เกียจ เพราะฉะนั้น ขอให้ถือความสะอาดเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุดของชีวิต

 3. ขยัน

ข้อนี้ก็สำคัญอีกข้อหนึ่ง เพราะความขยันเป็นเครื่องผลักดันชีวิต ให้เจริญก้าวหน้าไปสู่ความมั่นคั่ง บรรดาบุคคล สำคัญของโลกได้ประสบความรุ่งโรจน์ เพราะอาศัย ความขยัน เป็นเครื่องช่วยผลักดันชีวิตคือ..

ขยันศึกษา คือ ศึกษาเล่าเรียน ให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะมีโอกาสศึกษาได้ตามฐานะ และกำลังทรัพย์ ในยุคโลกาวิวัฒน์นี้ เรารียกว่า ศึกษาตลอดชีวิตจนถึง วาระสุดท้าย คือ ความตาย

ขยันคิด คือ คิดให้ดีที่สุด คือ หาทางก้าวหน้าอยู่เสมอ คิดสร้างสรรค์คิดพัฒนา พลิกแพลงให้ดีขึ้น และคิดแก้ไข ปรับปรุงตนเองว่า มีจุดดี หรือเลวอย่างใดบ้าง

ขยันพูด โปราณสอนว่า พูดดีเป็นศรีแก่ปาก พูดมากปากจะมีสี ข้อนี้คือ พูดให้ดีที่สุด พูดให้ถูกกาละเทศะ พูดให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ทางพระท่านเรียกว่า ปิยะวาจา หรือมธุรสวาจา

ขยันทำ คือ ทำให้ดีที่สุดจนความสามารถ เวลาเป็นเงินเป็นทอง จงทำเวลาทุกนาที ทุกชั่วโมง และทุกๆวันให้เป็นประโยชน์มากที่สุด

ขยันหา คือ หาความรู หาความชำนาญ หาความดี ความชอบทางก้าวหน้า หาทรัพย์สินเงินทอง หาหลักฐาน หามิตรสหาย หาพระสงฆ์องค์เจ้า ทางสุจริต หาความเจริญก้าวหน้า เป็นต้น
อย่า..หายใจทิ้งไปวันๆ ทางพระตำหนิว่าเป็น..โมฆะบุรุษ บางครั้งท่านให้ศัพท์ค่อนข้างรุนแรงว่า..**เสียชาติเกิด**หรือ**รกโลก** เพราะฉะนั้น ขอให้ถือความขยัน เป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุดของชีวิต

4. ใช้จ่ายให้พอสมควรแก่ฐานะ

ข้อนี้สำคัญมากอีกข้อหนึ่ง ถ้าเราใช้จ่ายเพื่อประหยัด จะมั่งมีเพราะประหยัด จะอัตคัตเพราะฟุ่มเฟือย รูรั่วนิดเดียวยังทำให้เรือใหญ่จมได้ จงอดกลั้น อดทน อดออม แล้วจะไม่อดตาย

คนรวยเพราะทำตัวจนพอประมาณ คนขัดสนเพราะทำตนร่ำรวย จงกินแต่พออิ่ม ชิมแต่พอดี เป็นหนี้แต่พอประมาณ อย่าเอาโรงแรมเป็นบ้าน อย่าเอาภัตตาคารเป็นครัว

อย่ากินเกิน อย่าใช้เกิน อย่าเกินพิกัด เกินอัตรา เกินกำลัง เกินความจำเป็น รู้จักแก้จนด้วยการทำตัวต่ำ รู้จักลดขนาดความต้องการลง เพื่อความอยู่รอดของครอบครัว สังคมและประเทศชาติ

อย่าลืมพลาดไปครั้ง พังไปนาน เพราะฉะนั้น ขอให้ถือการใช้จ่าย พอสมควร แก่ฐานะเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุดของชีวิต

5. งดเว้นสิ่งให้โทษ
คือ
สุราเมรัย เครื่องดองของเมา (ยกเว้นกินกับยา)
ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน กัญชา ยาบ้า ยาอี เป็นต้น
การพนันขันต่อต่างๆ
แหล่งอบายมุข ตลอดจนสถานเริงรมย์ ที่ไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องเป็นดีที่สุด

ถ้าเราเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งให้โทษ ก็จะพาชีวิตของเราเสื่อมโทรม เสียหายพินาศเดือดร้อน ไม่เจริญก้าวหน้า เดินไปสู่ความตาย สู่ประตูคุกตารางเข้าไปทุกที เพราะฉะนั้น ขอให้ถือการงดเว้นสิ่งให้โทษ เป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุดของชีวิต

6. ไม่ล่วงเกินผู้อื่นก่อน

ข้อนี้สำคัญมากอีกข้อหนึ่ง เพราะเรื่องราวเดือดร้อนต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น ทะเลาะวิวาทกัน ตีกัน ทำร้ายกัน เข่นฆ่ากันนั้น เนื่องมาจากการล่วงเกินกันเป็นมูลเหตุ ถ้าต่างฝ่ายไม่ล่วงเกินกัน หัด..ยอม..เป็น ให้อภัยเสียบ้าง คิดเสียว่า โลกทั้งผองพี่น้องกัน รู้รักสามัคคี สัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวร และเบียดเบียนซึ่งกัน และกันเลย โกรธ คือ โง่ โมโห คือ บ้า อิจฉาริษยาเขา คือ จุดไฟเผาตัวเอง อายุก็สั้นและตายเร็วด้วย

เพราะฉะนั้นขอให้ถือ การไม่ล่วงเกินผู้อื่น เป็นหลักปฏิบัติ ที่สำคัญที่สุดของชีวิต
7. งดติดต่อคบค้า สมาคมคนไม่ดี

ข้อนี้ก็สำคัญมากอีกข้อหนึ่ง เพราะการติดต่อกับคนไม่ดี เป็นบันไดแรก นำไปสู่เรื่องราวเดือดร้อนวุ่นวาย ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เนื่องมาจากการติดต่อเป็น ถ้าเราติดต่อกับคนไม่ดี ก็จะมีแต่เรื่องยุ่งผิดหวัง เดือดร้อน เสียหาย เสื่อมโทรม พินาศ ขาดทุน อาจจะถึงแก่ชีวิต ก็เป็นได้ รวมความว่า...** การติดต่อคนไม่ดี ** มีแต่ความเดือดร้อน เสียหาย ขาดทุน ไร้ประโยชน์ เสียเวลาด้วยประการทั้งปวง

ข้อสังเกตว่า คนใดจะดีหรือไม่ดีนั้น มีดังนี้คือ..

คนดี ย่อมแสดงออก ซึ่งความดี
คนชั่ว ย่อมแสดงออก ซึ่งความชั่ว
คนซื่อ ย่อมแสดงออก ซึ่งความซื่อ
คนคด ย่อมแสดงออก ซึ่งความคด
คนเลวทราม ย่อมแสดงออก ซึ่งความเลวทราม

หรือ ดูคนดี แบบ 4 ดี คือ คิดดี ทำดี พุดดี คบคนดี และไปสู่สถานที่ดี

ส่วนคนชั่ว คิดแต่ชั่วๆ ทำเรื่องชั่วๆ และพูดแต่ชั่วๆ คบแต่คนชั่วๆ และชอบไปสู่สถานที่ชั่วๆ เป็นต้น

คนไม่ดี มีนิสัย ดังนี้เช่น..

1. ไม่ซื่อตรง (คิดคดเสมอ)
2. ไม่รักษาคำพูด(ที่ตกลงกันไว้)
3. โกหก(ให้เสียหายเดือดร้อน)
4. ปลิ้นปล้อน ตะลบตะแลง ประเภท 18 มงกุฏ
5. ยักยอก ฉ้อโกง เบียดบัง เอาเปรียบ
6. ทรยศหักหลัง กินบนเรือน ถ่ายบนหลังคา เป็นต้น
7. ไม่ทำตามเงื่อนไขสัญญา
8. ใช้เล่ห์เหลี่ยม แกล้งทำให้เดือดร้อน เสียหาย
9. กลับกลอก หลอกลวง ให้เสียหาย เดือดร้อน
10. ขาดความเกรงใจ ไร้มารยาท บีบคั้นเอาเปรียบ

เชื้อโรคเกิดจากความ..สกปรก..ฉันใด ความเสียหาย เดือดร้อน ก็เกิดจากคนไม่ดี ฉันนั้น

โบราณท่านสอนว่า หลีกสัตว์ร้ายให้พ้นวา หลีกคนชั่วช้า ให้ย้ายบ้านเรือนหนี เพราะฉะนั้น ขอให้ถือหลักปฏิบัติ งดการติดต่อกับคนไม่ดี เป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุดของชีวิต
8. กตัญญู กตเวที

คนเราเกิดมาชาติหนึ่ง ผู้มีพระคุณแก่เรา สรุปโดยย่อ มี 5 ประการ เรียงลำดับสูงได้ดังนี้

1. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ผู้แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี และประพฤติตนเป็นตัวอย่าง หรือเป็นที่พึ่งสูงสุด

2. ชาติ กษัตริย์และรัฐธรรมนูญ ผู้ให้สิทธิคุ้มครอง ความยุติธรรม ความมีหลักฐาน ถิ่นที่อยู่อาศัย

3. บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ผู้ให้กำเนิดเลี้ยงดู รักษาให้ความสุข ความเจริญ และหลักฐานของชีวิต

4. ครูบาอาจารย์ ผู้สั่งสอนศิลปวิทยาการ ทั้งหลายให้ความเจริญ รุ่งเรือง และป้องกันในทิศทั้งหลาย

5. ญาติ พี่น้อง มิตรสหาย เจ้านายผู้บังคับบัญชาเหนือตน ผู้ให้ความอุปการะ หรือเลี้ยงดู สนับสนุน ส่งเสริมเราให้เจริญรุ่งเรือง

ผู้มีพระคุณ ทั้ง 5 ประการ ที่กล่าวมานี้ บุคคลผู้เจริญแล้วทั้งหลาย ต้องรู้จักบุญคุณและหาทางสนองตอบคุณ จนกว่าชีวิตจะหาไม่ อย่าให้ใครมาตำหนิท่านว่าเป็นคนเนรคุณ หรือลูกทรพี

ความกตัญญู กตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี ที่โลกต้องการบุคคลประเภทนี้ นักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญยกย่องว่า ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ เทวดาฟ้าดินย่อมคุ้มครอง รักษาเสมอ เพราะฉะนั้น ขอให้ถือเรื่องความกตัญญู กตเวที เป็นหลักที่สำคัญของชีวิต
9. รู้จักหน้าที่ และทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด

คนเรามีหน้าที่ แตกต่างกันตาม เพศ วัย และการงาน ใครจะอยู่ในหน้าที่ก็ตาม ก็ต้องทำหน้าที่ ของตนให้ดีที่สุด เต็มศักยภาพความรู้ ความสามารถ โดยไม่มุ่งผลตอบแทน จนเกินไป ให้ทำหน้าที่ด้วยความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เป็นเกมกีฬาอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า.. งาน

งานคือชีวิต ชีวิตคืองาน บันดาลสุข ทำงานให้สนุก เป็นสุข ขณะทำงาน

แต่คนส่วนมากมีแต่ความ..อยาก อยากได้ แต่ไม่ทำ อยากรวย อยากสบาย แต่ไม่อยาก..ทำ อยากได้ดี แต่ไม่ยอมสะสมความดี เป็นต้น

จากข้อสังเกตของข้าพเจ้าเป็นเวลายาวนาน คนที่เสียชื่อเสียง เสียผู้เสียคน เสียอนาคต ถูกลงโทษ ถูกลงทัณฑ์ ถูกปลด ถูกไล่ออก ถูกย้าย ถูกถอดถอนจากยศ ตำแหน่งหน้าที่การงาน ติดคุกติดตาราง ตัวเองและครอบครัวเดือดร้อน ก็เพราะไม่รู้จักหน้าที่ ไม่ทำตามหน้าที่ ดูถูกหน้าที่ ละทิ้งหน้าที่ ของตนเองแทบทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ขอให้ถือการ..รู้จักหน้าที่ และทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด เป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุดของชีวิต

ท่านผู้ใดปฏิบัติได้ครบทั้ง 9 ประการ รับรองว่า ชีวิตมีแต่ความสุข ความเจริญ อยู่ที่ไหนใครก็รัก จากไปก็เสียดาย ตายไปก็มี คนร้องไห้คิดถึง





 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 04, 2012, 11:30:07 am โดย tcarisa »
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน