ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พ้นทุกข์..แบบบ้านๆ  (อ่าน 2536 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พ้นทุกข์..แบบบ้านๆ
« เมื่อ: เมษายน 06, 2012, 11:28:58 am »
0

พ้นทุกข์..แบบบ้านๆ
by walailoo.. Walailoo's Blog

                                       ปฏิบัติธรรมเพื่ออะไร?
                                       ปฏิบัติเพื่อให้ใจพ้นทุกข์
                                       ใจพ้นทุกข์นั้นเป็นอย่างไร?


ใจพ้นทุกข์ คือ การทำใจให้ได้ต่อการได้ลาภยศ คำสรรเสริญเยินยอ จิตไม่ไปหลงยินดีในสิ่งที่ได้ ในขณะเดียวกัน หากมีการสิ้นลาภ สิ้นยศ สิ้นเกียรติ สิ้นสรรเสริญ อีกทั้งมีคำตำหนินินทา อันเรียกว่า โลกธรรม ๘ ใจก็ปกติไม่ตื่นเต้นหวั่นไหวแม้แต่นิดเดียวต่อการสูญสิ้น เมื่อยังทำใจไม่ได้ก็ต้องทุกข์ใจร่ำไป หากทำใจได้แล้วก็ย่อมไม่ยินดียินร้ายใดๆทั้งได้และเสีย เหตุทั้งหลายทั้งปวง อยู่ที่การปล่อยวางของใจหรือจิตเรานี่เอง

หากไม่ได้มาเรียนรู้ จะไม่รู้เลยว่า กายนี่มันคือ ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ มารวมกันเป็นร่างกายขณะหนึ่ง เมื่อไม่มีใจมาอาศัย ก็ไม่ต่างกับศพต่างๆ ทำอะไรก็ไม่ได้ เคลื่อนไหวไม่ได้ ใครจะนำไปทำอะไรก็ได้ ไร้ความรู้สึก ไม่มาร้องว่าเจ็บว่าปวดได้แต่อย่างใด

แต่เมื่อมีใจเข้ามาอาศัย มันก็เคลื่อนไหวได้ ทำอะไรๆก็ได้ มีความรู้สึกเจ็บปวด สุข ทุกข์ ชอบ ไม่ชอบ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า ธาตุรู้ และธาตุตัวนี้แหละที่เรียกว่าจิต ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ ชอบใจหรือไม่ชอบใจ ก็จากการปรุงแต่งของจิตตัวนี้แหละ

( ข้อความข้างบน มีการนำมาจากหนังสือในบางส่วน ซึ่งหาชื่อผู้เขียนแล้ว แต่ไม่มีชื่อบอกว่าใครเขียน )

    สิ่งต่างๆภายนอกมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น เราจะไปห้ามไม่ให้มันเกิดไม่ได้
    แต่เราต้องห้ามใจตัวเราเอง ด้วยการเจริญสติหรือจะเรียกอะไรก็ได้ แล้วแต่จะบัญญัติคำ
    ฝึกเพื่อให้มีสติ สัมปชัญญะรู้เท่าทันต่อการปรุงแต่งของจิต


    มีสติ และ สัมปชัญญะอยู่ที่ไหน ย่อมมีสมาธิเกิดที่นั่น
    มีสัมมาสติอยู่ที่ไหน ย่อมมีสัมมาสมาธิอยู่ที่นั่น



ที่มา http://walailoo2010.wordpress.com/category/พ้นทุกข์แบบ้านๆ/
ขอบคุณภาพจาก http://www.baanpootmontha.com/,http://img5.imageshack.us/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พ้นทุกข์..แบบบ้านๆ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 06, 2012, 06:03:16 pm »
0
จริง ๆ ก็รู้อยู่นะคะ ว่า ทุกข์ เพราะยึดมั่น ถือมั่นว่าเป็นเราเป็นของเรา นะคะ แต่ใจมันก็ยังไปยึดถือ

 สมมุติว่า มีคนมายืนด่าเรา อยู่ต่อหน้า ใจมันก็บอก ด่าสิ่งที่ไม่มีตัว ไม่มีตน แต่ใจก็ยังรู้สึกโกรธหน่อย ๆ เลยคะ

 คิดว่า น่าจะไม่ได้อยู่ที่ รู้ เท่านั้น แต่ต้อง ทัน ด้วย ใช่หรือไม่คะ

  :) :58:
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พ้นทุกข์..แบบบ้านๆ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 07, 2012, 08:50:01 am »
0
การพ้นทุกข์ แบบ บ้าน ๆ นี้ ถ้าอ่านแล้วไม่ธรรมดาครับ ผมว่าเป็นการกำหนดที่ควรกำหนดเบื้องต้นเลยนะครับ เพราะว่า ทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ เป็นอันดับแรก การฝึกวิปัสสนา จะกล่าวเรื่องทุำกข์ เป็นส่วนกำหนดอันดับแรก
เรียกว่า  ทุกขานุปัสสนา การตามพิจารณาเห็นตามจริงของทุกข์

   แต่การที่จะเห็นทุกข์ ได้อย่างแจ่มแจ้ง ก็ต้องตามเห็น อนิจจานุปัสสนา ก่อน

  ให้ความเห็นไว้นะครับ น่าจะมีการต่อยอดคุยกันในเรื่อง อนุปัสสนา 3 นะครับ

   :25: :49:
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พ้นทุกข์..แบบบ้านๆ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 07, 2012, 09:19:36 am »
0
วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๓ ตอน ๒ (ตอนจบ) - หน้าที่ 99

ปัญญามีอนิจจานุปัสนาเป็นต้น ชื่อว่ามหาวิปัสนา ๑๘ ในอนุปัสนาทั้ง

หลายไรเล่า

(๑) เมื่อเจริญอนิจจานุปัสนา (ปัญญาคำนึงเห็นความไม่เที่ยง)

ย่อมละนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าเที่ยง) ได้

(๒) เมื่อเจริญทุกขานุปัสนา (ปัญญาคำนึงเป็นทุกข์)

ย่อมละสุขสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นสุข) ได้

(๓) เมื่อเจริญอนัตตานุปัสนา (ปัญญา คำนึงเห็นเป็นอนัตตา)

ย่อมละอัตตสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นอัตตา)ได้


(๔) เมื่อเจริญนิพพิทานุปัสนา (ปัญญาคำนึงถึงด้วยความเบื่อหน่าย)

ย่อมละนันทิ (ความเพลิดเพลิน) ได้

(๕) เมื่อเจริญวิราคานุปัสนา (ปัญญาคำนึงด้วยความคลายกำหนัด)

ย่อมละราคะได้

(๖) เมื่อเจริญนิโรธารุปัสนา (ปัญญาคำนึงเห็นนิโรธ)

ย่อมละสมุทัยได้

(๗) เมื่อเจริญปฏินิสสัคคานุปัสสนา (ปัญญาคำนึงด้วยความสลัดทิ้ง)

ย่อมละอาทาน (ความถือไว้) ได้

(๘) เมื่อเจริญขยานุปัสนา (ปัญญาคำนึงเห็นความสิ้นไป)

ย่อมละฆนสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นก้อน คือเป็นร่างกาย) ได้

(๙) เมื่อเจริญวยานุปัสนา (ปัญญาคำนึงเห็นความเสื่อมไป)

ย่อมละอายูหน (ความพยายาม) ได้

(๑๐) เมื่อเจริญวิปริณามานุปัสนา (ปัญญาคำนึงเห็นความปรวนแปร)

ย่อมละธุวสัญญา (ความสำคัญว่ามั่งคง) ได้

(๑๑) เมื่อเจริญอนิมิตตานุปัสนา (ปัญญาคำนึงเห็นความไม่มีนิมิต)

ย่อมละนิมิต ( คือ สิ่งที่ถือเอาเป็นเครื่องหมายในความเป็น

กลุ่มเป็นก้อน) ได้

(๑๒) เมื่อเจริญอัปปณิหิตานุปัสนา (ปัญญาคำนึงเห็นเป็นสิ่งไม่น่าปรารถนา)

ย่อมละปณิธิ ( ความปรารถนา ด้วยอำนาจตัณหา) ได้

(๑๓) เมื่อเจริญสุญญตานุปัสนา (ปัญญาคำนึงเห็นความว่างเปล่า)

ย่อมละอภินิเวส (ความยือมั่นว่าเป็นตน) ได้

(๑๔) เมื่อเจริญอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา (ปัญญาเห็นแจ้งในธรรมอันเป็นอธิ

ปัญญา) ย่อมละสาราทานาภินิเวส (ความยึดมั่นโดยถือเอาว่ามีสาระ) ได้

(๑๕) เมื่อเจริญยถาภูตญาณทัสนะ ( ความรู้เห็นตามจริง )

ย่อมละสัมโมหาภินิเวส( ความยึดมั่นด้วยอำนาจความหลงงมงาย) ได้

(๑๖) เมื่อเจริญอาทีนวานุปัสนา (ปัญญาคำนึงเห็นโทษ)

ย่อมละอาลยาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยอำนาจความอาลัย)ได้

(๑๗) เมื่อเจริญปฏิสังขานุปัสนา (ปัญญาคำนึงด้วยพิจารณาหาทางพ้น)

ย่อมละอัปปฏิสังขา (ความไม่พิจารณาหาทางพ้น) ได้

(๑๘) เมื่อเจริญวิวัฏฏานุปัสนา(ปัญญาคำนึงเห็นวิวัฏฏะ คือทางพ้นจากวัฏฏะ)

ย่อมละสังโยคาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยอำนาจสังโยคะ) ได้


   จากที่ได้เห็น ลำดับของวิปัสสนา แล้ว แสดงให้เห็นว่า การทำวิปัสสนาไม่ได้จบที่ อนัตตานุปัสสนา นะครับ
อันนี้ต้องขอบคุณพระอาจารย์ ที่ช่วยชี้แนะครับ



 
บันทึกการเข้า