พระพุทธรูปปางประทานพร(ยืน)

พระพุทธรูปปางประทานพร ( ยืน) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ขวาเสมอพระอุระ ( อก ) แบฝ่าพระหัตถ์ออกไปข้างหน้า พระหัตถ์ซ้ายห้อยลง แบฝ่าพระหัตถ์ออกไปข้างหน้า บางแบบยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้น ห้อยพระหัตถ์ขวา
ความเป็นมาของปางประทานพร(ยืน)
มหาอุบาสิกา วิสาขา บุตรีของธนัญชัยเศรษฐี เป็นหญิงที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นเบญจกัลยาณี ได้แก่ มีผมงาม เนื้องาม ฟันงาม ผิวงาม วัยงาม นางมีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก และเป็นพระโสดาบันบุคคลตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ
ในช่วงฤดูฝนในพรรษาหนึ่ง นางวิสาขาไให้นางทาสีของนางมานิมนต์พระภิกษุ พอดีฝนตก พระภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝนอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร นางทาสีเข้าใจว่าเป็นนักบวชลัทธิชีเปลือย จึงกลับไปบอกนางวิสาขา หลังจากถวายภัตตาหารและพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว นางวิสาขาจึงกราบทูลขอประทานพรจากพระพุทธองค์เพื่อถวายสิ่งของต่าง ๆ แก่ภิกษุ ภิกษุณี ได้แก่
( ๑ ) ผ้าอาบน้ำฝน
( ๒ ) อาหารสำหรับภิกษุอาคันตุกะ
( ๓ ) อาหารสำหรับภิกษุผู้เตรียมจะไป
( ๔ ) อาหารสำหรับภิกษุป่วยไข้
( ๕ ) อาหารสำหรับภิกษุผู้พยาบาลภิกษุ
( ๖ ) ยาสำหรับภิกษุผู้ป่วยไข้
( ๗ ) ขอให้ได้ถวายข้าวยาคู
( ๘ ) ผ้าอาบน้ำสำหรับภิกษุณี พระพุทธองค์ทรงประทานพรทั้ง ๘ ข้อแก่นางวิสาขาปางสรงน้ำฝน
พระพุทธรูปปางสรงน้ำฝน วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน ทรงห่มผ้าวัสสิกสาฎก ( ผ้าอาบน้ำฝน ) เฉลียงพระอังสา ( บ่า ) พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นลูบที่พระอุระ ( อก ) เป็นกิริยาสรงน้ำฝน
ความเป็นมาของปางสรงน้ำฝน
สมัยหนึ่งนครสา วัตถีเกิดความแห้งแล้ง ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล พืชผลได้รับความเสียหาย ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค มหาชนทั้งหลายต่างพร้อมใจกันมากราบทูลอาราธนาให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จ ออกสรงน้ำฝน ณ กลางแจ้งด้วยเชื่อในพุทธปาฏิหาริย์และพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ พระพุทธองค์มีพระประสงค์จะอนุเคราะห์มหาชน
จึงทรงผ้าวัสสิกสาฎก ( ผ้าอาบน้ำฝน ) แล้วเสด็จออไปยืน ณ กลางแจ้ง แล้วทรงทอดพระเนตรแลดูทิศทั้งหลาย ด้วยพุทธานุภาพ ทันใดนั้นมหาเมฆก็บังเกิดขึ้นเป็นอัศจรรย์ เกิดเสียงฟ้าร้องคำรามสายฟ้าแลบแปลบปลาบ พลันฝนก็ตกลงมาอย่างมากมาย ยังผลให้พระพุทธองค์สรงน้ำฝนกลางแจ้งได้สมพระประสงค์ มหาชนทั้งหลายได้อาบและดื่มกินอย่างสุขสำราญทั่วกันปางคันธารราฐหรือปางขอฝน(นั่ง)
พระพุทธรูปปางคันธาร ราฐหรือปางขอฝน ( นั่ง ) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ ผ้าวัสสิกสาฎก ( ผ้าอาบน้ำฝน ) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเป็นกิริยากวัก แบพระหัตถ์ซ้ายวางอยู่บนพระชานุ ( เข่า ) บางแบบวางอยู่บนพระเพลา ( ตัก )
ความเป็นมาของปางคันธารราฐหรือปางขอฝน(นั่ง)
หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ประมาณ ๕๐๐ ปี กษัตริย์เมืองคันธาระ พระนามว่า พระเจ้ามิลินท์ ได้โต้ตอบปัญหาธรรมะกับพระนาคเสนพุทธสาวกผู้เป็นพระอรหันต์ ทรงเลื่อมใสที่พระนาคเสนตอบข้อสงสัยในพระพุทธศาสนาของพระองค์ได้ทุกแง่ทุก มุม พระเจ้ามิลินท์จึงทรงได้ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่นับถือสูงสุดในชีวิต และรับสั่งให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นบูชาในเมืองคันธาระ
ปางคันธารราฐหรือปางขอฝน(ยืน)
พระพุทธรูปปางคันธารราฐหรือปางขอฝน ( ยืน ) วัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน ทรงผ้าวัสสิกสาฎก ( ผ้าอาบน้ำฝน ) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเป็นกิริยากวัก แสดงอาการขอฝน พระหัตถ์ซ้ายหงายรองรับน้ำฝน
ความเป็นมาของปางคันธารราฐหรือปางขอฝน(ยืน)
สมัยหนึ่งนครสาวัตถี แคว้นโกศล เกิดความแห้งแล้ง ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล พืชผลได้รับความเสียหาย ประชาชนขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค สระโบกขรณี ( สระบัว ) ภายในพระเชตวันมหาวิหารก็แห้งขอดติดก้นสระ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระประสงค์จะอนุเคราะห์แก่มหาชน
พระพุทธองค์ทรงผ้าวัสสิกสาฎก ( ผ้าอาบน้ำฝน ) แล้วเสด็จไปประทับ ณ บันไดสระ ยกพระหัตถ์ขวาขึ้นกวักเรียกฝน พระหัตถ์ซ้ายรองรับน้ำฝน ทันใดนั้นบังเกิดมหาเมฆตั้งเค้าขึ้นพร้อมกัน ในทุกทิศานุทิศ ด้วยพุทธานุภาพและพระมหากรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ฝนได้ตกลงมาเป็นอัศจรรย์ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://www.dhammathai.org/pang/pang10.php?#47