ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อาชีพ โสเภณ๊ นี่เป็นอาชีพ ผิดศีล และ ธรรม หรือไม่คะ  (อ่าน 3900 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เ็พ็ญนภา

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 17
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อาชีพ โสเภณ๊  นี่เป็นอาชีพ ผิดศีล และ ธรรม หรือไม่คะ
 คือสงสัย อย่างเรื่อง สิริมา ครั้งพุทธกาลคะ

   :smiley_confused1: :67:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อาชีพ โสเภณ๊ นี่เป็นอาชีพ ผิดศีล และ ธรรม หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2012, 11:28:27 am »
0
อาชีพ โสเภณ๊  นี่เป็นอาชีพ ผิดศีล และ ธรรม หรือไม่คะ
 คือสงสัย อย่างเรื่อง สิริมา ครั้งพุทธกาลคะ

   :smiley_confused1: :67:

ข. กรณีคนประกอบอาชีพโสเภณี : ถ้ามีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้ที่เป็นชายโสดและบรรลุนิติภาวะแล้ว ไม่ถือว่าผิด เพราะไม่ได้ละเมิดใคร

แต่มีความสัมพันธ์ทางเพศกับชายที่มาเที่ยวซึ่งมีภรรยาแล้วหรือที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ถือว่าผิดเพราะเป็นการละเมิดสามีของคนอื่น และละเมิดชายที่อยู่ในการปกครองดูแลบิดามารดาหรือญาติพี่น้อง

ถ้าเราใช้เกณฑ์พุทธจริยศาสตร์ที่ยกมาข้างต้นมาตอบคำถามว่า
   การประกอบอาชีพโสเภณี ถือว่าผิดศีลข้อที่ ๓ หรือไม่ ?
   จะเห็นว่ามีโอกาสเป็นไปได้สูงมากที่คนประกอบอาชีพโสเภณีจะทำผิดศีลข้อที่ ๓
   ส่วนที่ไม่ผิดมีเพียงกรณีเดียวเท่านั้นคือ การมีเพศสัมพันธ์กับชายโสดที่บรรลุนิติภาวะแล้ว


นอกจากนั้น โสเภณียังมีส่วนโดยทางอ้อมในการทำให้คนอื่น ๆ (คนเที่ยว) ผิดศีลข้อที่ ๓ อีกด้วย เรียกว่าเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการทำให้อื่นทำผิดศีลธรรมอันดีงามของสังคมนั่นเอง


อ้างอิง
บทความเรื่อง ''พุทธจริยศาสตร์กับปัญหาโสเภณี'' โดย พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร
http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=434&articlegroup_id=102
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อาชีพ โสเภณ๊ นี่เป็นอาชีพ ผิดศีล และ ธรรม หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2012, 11:48:23 am »
0



๔.๒ โสเภณีในคัมภีร์พระพุทธศาสนา

เนื้อหาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงประเภทของหญิงผู้ประกอบอาชีพโสเภณีคล้าย ๆ กับคัมภีร์ของศาสนาฮินดู โดยมีคำเรียกผู้หญิงที่ประกอบอาชีพโสเภณีหลายคำด้วยกัน เช่น “โสเภณี” “นครโสเภณี” (หญิงงามเมือง) “คณิกา” (หญิงของหมู่คณะหรือทำอาชีพเป็นกลุ่ม) “เวสี” และ “เวสิยา” (หญิงผู้อยู่ตามตรอกซอกซอย) เป็นต้น

จะเห็นว่าชื่อต่าง ๆ ที่สังคมใช้เรียกผู้หญิงกลุ่มนี้ในสมัยนั้น เป็นคำที่สื่อนัยถึงการยกย่องในรูปร่างหน้าตา (โสเภณี) และลักษณะของการประกอบอาชีพ (คณิกา) ในพระไตรปิฎกและอรรถกถามีเรื่องราวของโสเภณีหลายคนที่ได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล และได้ทำคุณประโยชน์แก่พุทธศาสนามากมาย เช่น

๑) นางอัมพปาลี : เกิดใต้ต้นมะม่วงในอุทยานของพระราชาในเมืองไพศาลี ได้รับการเลี้ยงดูจากผู้ดูแลส่วนมะม่วง จึงได้มีชื่อว่า “อัมพปาลี” แปลว่าผู้ดูแลสวนมะม่วง เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ที่มีรูปร่างหน้าตาดี และมีความสามารถในด้านดนตรีและนาฏศิลป์ จึงได้หันไปเอาดีในการประกอบอาชีพโสเภณี ครั้งหนึ่ง เธอทราบว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังโกฏิคาม จึงต้องการไปเฝ้าเพื่อฟังธรรม

หลังจากได้เฝ้าและฟังธรรมแล้ว เกิดความเลื่อมใสจึงได้นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ไปฉันภัตตาหาร ต่อมาเจ้าลิจฉวีได้เข้ามานิมนต์พระพุทธเจ้าเช่นเดียวกัน แต่พระองค์ไม่ทรงรับเพราะได้รับนิมนต์จากนางอัมพปาลีไว้แล้ว

ตรงนี้แสดงให้เห็นว่าพระเจ้าทรงให้ความเสมอภาคแก่คนทุกชนชั้นและสาขาอาชีพ มิได้เลือกว่าผู้นิมนต์จะเป็นคนชั้นใด และมิได้ดูถูกบุคคลผู้นั้นประกอบอาชีพโสเภณี ต่อมาเธอได้บวชเป็นภิกษุณีและได้เป็นพระอรหันต์ในที่สุด ต่อมาเธอได้ถวายสวนมะม่วงให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนา ชื่อว่า “อัมพปาลีวัน” อีกด้วย

๒) นางสาลวดี : เป็นหญิงโสเภณีในกรุงราชคฤห์ มีความสามารถในด้านดนตรีและนาฏศิลป์อย่างยอดเยี่ยมคนหนึ่ง ทั้งรูปร่างหน้าตาก็สวยงาม จนเป็นที่หมายปองของคนจำนวนมาก ต่อมาเธอตั้งครรภ์ คิดว่าหญิงที่มีครรภ์ย่อมไม่เป็นที่ต้องการของบุรุษ ในระหว่างที่ตั้งครรภ์เธอจึงแกล้งทำเป็นป่วย โดยสั่งให้คนเฝ้าประตูบอกแก่แขกว่า เธอป่วยไม่สามารถรับแขกได้

เมื่อคลอดบุตรแล้วได้ให้นางทาสีนำบุตรไปทิ้งที่กองขยะ ต่อมาอภัยราชกุมารได้เสด็จไปพบเด็กคนนี้เข้า จึงทรงนำมาเลี้ยงไว้ เมื่อเด็กคนนี้เติบโตขึ้นได้เดินทางไปเรียนวิชาแพทย์ที่เมืองตักกศิลา จนกลายมาเป็นหมอผู้มีชื่อเสียง ชื่อว่า “หมอชีวกโกมารภัจจ์” ผู้ซึ่งทำหน้าที่ถวายการดูด้านสุขภาพของพระพุทธเจ้าและคณะสงฆ์ในเวลาต่อมา



๓) นางสิริมา : เป็นลูกสาวของสาลวดี เป็นน้องสาวของหมอชีวกโกมารภัจจ์ เธอมีความงามเป็นเลิศเช่นเดียวกับมารดาของเธอ ได้ประกอบอาชีพโสเภณีเช่นเดียวกับมารดาของเธอ ต่อมาได้ฟังธรรมจนบรรลุโสดาบัน จึงได้ถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์วันละ ๘ รูปเป็นประจำ วันหนึ่งเธอไม่สบายจึงสั่งให้นางทาสีเตรียมอาหารถวายพระสงฆ์แทน แม้จะไม่สบายแต่เธอก็มีแก่ใจออกมาไหว้พระสงฆ์ด้วย

มีพระรูปหนึ่งเห็นเธอคิดว่า แม้เธอจะไม่สบายก็ยังงามถึงเพียงนี้ หากสบายดีคงจะงามยิ่งกว่านี้ กลับไปแล้วก็ยังคร่ำครวญถึงเธออีก ในวันนั้นเองนางสิริมาได้เสียชีวิตลง พระพุทธเจ้าทรงขอให้เก็บศพของเธอไว้ ในวันที่ ๔ ได้เสด็จไปพร้อมกับภิกษุสงฆ์รวมทั้งพระรูปนั้นด้วย ทรงให้มีการประมูลราคาศพของเธอตั้งแต่ ๑,๐๐๐ กหาปณะลงไป ลดราคาลงไปจนถึงให้แบบเปล่า ๆ แต่ก็ไม่มีใครต้องการ พระองค์จึงศพของนางเป็นสื่อสำหรับสอนถึงความไม่ยั่งยืนของชีวิต จนเป็นเหตุให้มีผู้บรรลุธรรมเป็นจำนวนมาก แม้แต่พระรูปนี้ก็ได้บรรลุโสดาบัน

๔) นางอัฑฒกาสี : เป็นลูกสาวเศรษฐีชาวเมืองพาราณสี แคว้นกาสี ได้เป็นโสเภณีเพราะวิบากกรรมในอดีตชาติ ต่อมาเกิดเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส ต้องการบวชจึงเดินทางไปยังเมืองสาวัตถี ระหว่างทางนั้นมีพวกนักเลงซุ่มอยู่ จึงไม่สามารถเดินทางไปถึงเมืองสาวัตถีได้ พระพุทธองค์ทรงทราบข่าว จึงทรงอนุญาตให้บวชโดยการส่งทูตไปเป็นตัวแทน เรียกการบวชแบบนี้ว่า “ทูเตนอุปสัมปทา” เธอเป็นภิกษุณีเพียงรูปเดียวที่บวชด้วยวิธีนี้ เมื่อเธอได้บวชเป็นภิกษุณีแล้วปฏิบัติธรรมไม่นานก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด

๕) นางปทุมาวดี : เป็นโสเภณีอยู่ในเมืองอุชเชนี พระเจ้าพิมพิสารกษัตริย์แห่งกรุงราชคฤห์ทรงทราบกิตติศัพท์จึงเสด็จไปเสวยสุขกับเธอ ต่อมาเธอก็ตั้งครรภ์ พระเจ้าพิมพิสารจึงรับสั่งว่า หากเด็กในท้องเป็นผู้ชาย เมื่อโตขึ้นให้นำไปเฝ้าที่กรุงราชคฤห์ เธอคลอดลูกเป็นชาย ได้ตั้งชื่อว่า “อภัย” และได้ส่งไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารในเวลาต่อมา

พระองค์ทรงเลี้ยงเด็กคนนี้เช่นเดียวกับพระโอรสองค์อื่นๆ ต่อมาอภัยได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา มีโอกาสได้เทศน์โปรดมารดาคือนางปทุมาวดี มารดาได้ฟังแล้วมีศรัทธาอย่างแรงกล้า จึงได้ออกบวชเป็นภิกษุณีและสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในเวลาต่อมา

๖) นางวิมลา : เกิดที่เมืองไพศาลี มารดาเป็นโสเภณี เมื่อโตเป็นสาว วันหนึ่งได้เห็นพระมหาโมคคัลลานะเดินบิณฑบาตอยู่ ได้เกิดหลงรักพระมหาโมคคัลลานะ จึงเดินตามไปจนถึงกุฏิแล้วพยายามหาเรื่องสนทนาด้วยเพื่อยั่วยวนท่าน แต่ท่านเป็นพระอรหันต์จึงไม่หวั่นไหวและทราบเจตนาของเธอ จึงเตือนเธอจนเธอได้สติ เธอรู้สึกอับอายกับพฤติกรรมที่แสดงออกมา จึงเลิกประกอบอาชีพโสเภณีตั้งแต่นั้นมา ต่อมาได้ออกบวชเป็นภิกษุณีและได้บรรลุอรหัตผล



อย่างไรก็ตาม มีโสเภณีอีกจำนวนหนึ่งที่ปรากฎในคัมภีร์พุทธศาสนาว่าเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่ดี หรือเป็นผู้มีส่วนให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่ดี โสเภณีเหล่านี้มักไม่ปรากฏชื่อ แต่ถูกอ้างถึงในฐานะที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับพระภิกษุบางรูปหรือบางกลุ่ม เช่น

๑) เกี่ยวกับพระภัททวัคีย์ : มีเรื่องเล่าว่า มีคนอยู่กลุ่มหนึ่ง กลุ่มนี้มีสมาชิกอยู่ ๓๐ คน ทั้งหมดเป็นเพื่อนกัน มักเดินทางไปท่องเที่ยวด้วยกัน กลุ่มคน ๓๐ คนนี้มีชื่อว่า “ภัททวัคคีย์” ในวันหนึ่งพากันไปเที่ยวในป่า ๒๙ คน มีภรรยาไปด้วย มีอยู่คนหนึ่งไม่มีภรรยาจึงไปว่าจ้างโสเภณีคนหนึ่ง (โสเภณีประเภทเวสี) ให้ไปเป็นเพื่อน

ขณะที่พวกเขากำลังเที่ยวอย่างเพลิดเพลินสนุกสนานอยู่นั้น โสเภณีคนนั้นได้ขโมยสิ่งของแล้วหนีไป พวกเขาจึงพากันตามหาโสเภณีคนนั้นจนไปพบพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสถามให้พวกเขาคิดว่า พวกเขาควรแสวงหาหญิงหรือควรจะแสวงหาตน เมื่อพวกเขาสำนึกได้ว่าควรแสวงหาตนเองดีกว่า พระองค์จึงทรงแสดงธรรมให้ฟังจนบรรลุธรรมและขออุปสมบทในพุทธศาสนา ในเรื่องนี้แม้ว่าโสเภณีที่กล่าวถึงจะมีพฤติกรรมที่ไม่ดี แต่พฤติกรรมนี้ก็เป็นเหตุปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้กลุ่มภัททวัคีย์มีโอกาสได้ฟังธรรมและอุปสมบท

๒) เกี่ยวกับพระสุนทรสมุทร : ท่านเกิดในตระกูลเศรษฐีในเมืองสาวัตถี มีโอกาสได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าจนเลื่อมใสต้องการออกบวช แต่บิดามารดาไม่อนุญาตให้บวช ท่านจึงรบเร้าจนได้รับอนุญาต ต่อมาบิดามารดาของท่านรู้สึกเสียดายที่ไม่มีผู้สืบสกุล จึงว่าจ้างให้โสเภณีคนหนึ่งใช้อุบายทำให้ท่านสึก โสเภณีคนนี้ออกอุบายนิมนต์ท่านไปฉันที่บ้าน วันแรกได้ถวายอาหารที่ระเบียงนอกบ้าน วันต่อมาเธอแกล้งให้เด็กๆ ทำให้ที่นั่งนั่นสกปรก จึงนิมนต์ท่านเข้าไปฉันข้างในบ้าน

วันรุ่งขึ้นอีกวันหนึ่งเธอก็สั่งให้เด็กๆ ส่งเสียงรบกวนแล้วนิมนต์ท่านขึ้นไปบนบ้าน เธอได้ใช้วิธีการต่างๆ นานา ที่เรียกว่ามารยาหญิง ๔๐ ประการ เช่น ทำโน่นทำนี่ไม่หยุดมือ ทำก้มๆ เงย ๆ กระโดดโลดเต้น ทำเป็นเหนียมอาย หักนิ้วเล่น นั่งไขว่ห้าง เอามือขีดดินเล่น อุ้มเด็ก และหยอกล้อกับเด็ก เป็นต้น เพื่อให้ท่านหลงไหล แต่ด้วยอานุภาพของพระพุทธเจ้าที่ทรงแผ่พระรัศมีไปและตรัสให้เห็นโทษของกามจนพระเถระบรรลุอรหันตผลแล้วเหาะหนีออกจากบ้านนั้นได้

๓) เกี่ยวกับเจ้าลิจฉวี : มีเรื่องเล่าว่า ในวันหนึ่งได้มีมหรสพ พวกเจ้าลิจฉวีได้ตกแต่งประดับประดาร่างกายอย่างสวยสดงดงาม แล้วพากันออกไปเที่ยวพร้อมพาโสเภณีคนหนึ่งไปด้วย แต่ด้วยความอิจฉาริษยากันจึงเกิดการทะเลาะวิวาทชกต่อยกันจนเลือดนองแผ่นดิน ในวันนั้นพระพุทธเจ้าได้เสด็จออกจากเมืองพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ พระสงฆ์ได้เห็นเหตุการณ์นั้นจึงกราบทูลพระองค์ว่า พวกเจ้าลิจฉวีประสบกับความย่อยยับเพราะหญิงคนเดียวแท้ๆ

พระองค์จึงตรัสสอนภิกษุสงฆ์ว่า ความโศกหรือภัยอันตรายย่อมเกิดขึ้นเพราะความยินดีนี่เอง เมื่อไม่มีความยินดี (ในกามคุณ ๕) ความโศกและภัยอันตรายย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ กรณีนี้แม้ว่าจะมีโสเภณีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต่โสเภณีก็เป็นโดยอ้อมที่ทำให้เกิดความพินาศขึ้นมา ความเสียหายที่เกิดึ้นนั้นมีเพราะกิเลสที่มีอยู่ในจิตใจของคนต่างหาก เราจึงไม่สามารถกล่าวโทษโสเภณีคนนี้โดยส่วนเดียวว่าเธอมีพฤติกรรมที่ชั่วร้ายจนก่อความเสียหายขึ้นมา



จากประวัติของหญิงโสเภณีที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา จะเห็นว่าท่าทีของพระพุทธองค์และพระสาวกที่ปฏิบัติต่อผู้หญิงเหล่านี้ จะเป็นลักษณะกลาง ๆ ไม่ดูหมิ่น ในขณะเดียวกันก็ไม่สนับสนุน กล่าวคือ

พระพุทธองค์ทรงแยก คนออกจากอาชีพของเขาอย่างชัดเจน คนทุกคนไม่ว่าจะมีอาชีพอะไร เมื่อตัดเรื่องอาชีพออกไปเสียแล้ว ก็มีฐานะเท่ากัน คือ เท่ากันในฐานะที่เป็นคนเหมือนกัน และในฐานะที่เป็นคนนี้เอง ทุกคนจึงสามารถจะทำความดีเพื่อยกระดับชีวิตของตนให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนก้าวเข้าสู่ความเป็นอริยบุคคลในที่สุด

ดังจะเราจะเห็นได้ว่า พระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนามาจากชนทุกชนชั้นอาชีพ เป็นกษัตริย์บ้าง พ่อค้าบ้าง ชาวนาบ้าง กรรมกรบ้าง โจรบ้าง โสเภณีบ้าง เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป ฐานะและบทบาทของโสเภณีในสังคมอินเดียสมัยโบราณที่ผู้เขียนยกมาข้างต้น โดยเฉพาะโสเภณีที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา อาจสรุปเป็นภาพรวมได้ดังนี้

๑) โสเภณี (นครโสเภณี) เป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ ตำแหน่งดังกล่าวนี้พระราชาแห่งนครนั้น ๆ ทรงเป็นผู้สถาปนาเอง นครหนึ่งจะมีโสเภณีหนึ่งคน ตำแหน่งนี้เรียกว่านครโสเภณี ซึ่งหมายถึงหญิงงามประจำเมือง การคัดเลือกหญิงสาวเป็นโสเภณีต้องกระทำอย่างพิถีพิถันและเลือกเฟ้น สตรีที่ได้รับเลือกต้องมีคุณสมบัติมากมายนอกเหนือจากความสวยงามของหน้าตาและเรือนร่าง เช่น ต้องมีความรู้ในนาฏศิลป์ คีตศิลป์ และวรรณคดี เป็นต้น คือต้องมีทั้งรูปสมบัติและคุณสมบัติ

๒) โสเภณีมีฐานะเป็นคนของทางราชการ ได้รับเงินอุดหนุนจากทางราชการส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งได้รับจากประชาชนในนครนั้น ๆ เรียกง่าย ๆ คือ คนที่อยู่ในตำแหน่งโสเภณีมีรายได้สองทางคือ รายได้ประจำจากทางการและประชาชน และรายได้จรที่มาจากคนที่มาใช้บริการ เพราะรายได้ที่มากมายมหาศาลนี้ นครโสเภณีจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่หรูหรา ฟุ่มเฟือย มีสถานที่อยู่เป็นคฤหาสน์ใหญ่โต และมีข้าทาสบริวาร

๓) นครโสเภณีเป็นตำแหน่งหัวหน้า ปกติตำแหน่งนี้จะทำหน้าที่รับแขกบ้านแขกเมืองเท่านั้น บุรุษในนครนั้น ๆ เมื่อจะไปหาความสำราญที่สำนักโสเภณี จะมีโสเภณีระดับรองลงมาซึ่งได้แก่บริวารที่นางนครโสเภณีจัดหามาไว้เป็นผู้คอยให้บริการ

๔) ในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา นครโสเภณีหลายคนได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล บางคนเป็นผู้ให้ความอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาถึงขนาดสร้างวัดถวายพระสงฆ์ และมีบางคนที่มีศรัทธาเลิกอาชีพนี้แล้วเข้ามาบวชเป็นภิกษุณี และได้กลายเป็นสาวิกาคนสำคัญที่ช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา



อ้างอิง
บทความเรื่อง ''พุทธจริยศาสตร์กับปัญหาโสเภณี'' โดย พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร
http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=434&articlegroup_id=102
http://www.dhammajak.net/,http://www.bloggang.com/,http://www.larnbuddhism.com/,http://i.ytimg.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ