ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความเลว กับ ความดี เป็นสิ่งที่ติดมาเป็นอุปนิสัยโดยกำเนิด หรือว่า เกิดจาก....  (อ่าน 3736 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอเรียนถามบัณฑิต ชาวธรรม ทุกท่านนะคะว่า
ความเลว กับ ความดี เป็นสิ่งที่ติดมาเป็นอุปนิสัยโดยกำเนิด หรือว่า เกิดจากสิ่งแวดล้อม

 เช่น เด็ก ทำไมมีนิสัยก้าวร้าว ทั้ง ๆที่พ่อแม่ เป็นคนดี อบมรมดี
    แต่เด็ก อีกคนหนึ่ง มีนิสัยอ่อนโยน ทั้งที่ ๆ พ่อแม่ ตบตี กิเนเหล้าทุกวัน

  เห็นจากชุมชนที่ไปดูแล คะ

  เลยสับสนว่า เด็กจะดี เพราะชาติกำเนิดหรือไม่ หรือ ไม่ดี เพราะชาติกำเนิด หรือว่าอุปนิสัยที่ติดตัวมาแต่อดี่ตชาติ ส่งผล หรือมีกำเนิดมาจาก อสูร เปตร นิริยะ ดิรัจฉาน กันแน่
 
   ในหลักทางพุทธศาสนา มีคำอธิบาย เรื่องนี้อย่างไร คะ
 

   :c017:
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


นิสัย
    น. ความประพฤติที่เคยชิน เช่น ทําจนเป็นนิสัย; ที่พึ่ง, ที่พักพิง, ที่อาศัย, เช่น ขอนิสัยในการอุปสมบท. (ป. นิสฺสย).


อุปนิสัย
    [อุปะนิไส, อุบปะนิไส] น. ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน เช่น ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จไปเทศน์โปรดผู้ใดจะต้องทรงพิจารณาถึงอุปนิสัยของผู้นั้นก่อน, ความประพฤติที่เคยชินจนเกือบเป็นนิสัย เช่น นักเรียนคนนี้มีอุปนิสัยดี. (ป. อุปนิสฺสย).


สันดาน
    น. อุปนิสัยที่มีมาแต่กําเนิด เช่น มีสันดานดี มีสันดานเลว, (ปาก) มักใช้ไปในทางไม่สู้จะดี เช่นสันดานของเขาเป็นเช่นนั้น อย่าไปถือเลย. (ป., ส. สนฺตาน ว่า สืบต่อ).


ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
ขอบคุณภาพจาก http://mahamakuta.inet.co.th/



ขอนิสัย ดู นิสัย

นิสัย
       1. ที่พึ่ง, ที่อาศัย เช่น ขอนิสัยในการอุปสมบท (คือกล่าวคำขอร้องต่ออุปัชฌาย์ในพิธีอุปสมบท ขอให้ท่านเป็นที่พึ่ง ที่อาศัยของตน ทำหน้าที่ปกครองสั่งสอนให้การศึกษาอบรมต่อไป)
           อาจารย์ผู้ให้นิสัย (อาจารย์ผู้รับที่จะทำหน้าที่เป็นที่พึ่ง ที่อาศัยปกครองแนะนำในการศึกษาอบรม)
       2. ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ๔ อย่าง คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช
       3. ความประพฤติที่เคยชิน เช่น ทำจนเป็นนิสัย
       การขอนิสัย (ขออยู่ในปกครองหรือขอให้เป็นที่พึ่งในการศึกษา) สำเร็จด้วยการถืออุปัชฌาย์ (ขอให้เป็นอุปัชฌาย์) นั่นเอง ในพิธีอุปสมบทอย่างที่ปฏิบัติกันอยู่ การขอนิสัยถืออุปัชฌาย์เป็นบุพกิจตอนหนึ่งของการอุปสมบท ก่อนจะทำการสอนซ้อม ถามตอบอันตรายิกธรรม


อุปนิสัย ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน, ความดีที่เป็นทุนหรือเป็นพื้นอยู่ในจิตต์, ธรรมที่เป็นเครื่องอุดหนุน

จิตตสันดาน การสืบต่อมาโดยไม่ขาดสายของจิต;
       ในภาษาไทยหมายถึง พื้นความรู้สึกนึกคิดหรืออุปนิสัยใจคอที่ฝังอยู่ในส่วนลึกของจิตใจมาแต่กำเนิด
       (ความหมายนัยหลังนี้ มิใช่มาในบาลี)

สันดาน ความสืบต่อแห่งจิต คือกระแสจิตที่เกิดดับต่อเนื่องกันมา;
       ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่า อุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด, อัธยาศัยที่มีติดต่อมา


วาสนา อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานาน จนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้ เช่น คำพูดติดปาก อาการเดินที่เร็ว หรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น
       ท่านขยายความว่า วาสนา ที่เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศล ก็มี เป็นอัพยากฤต คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็มี
       ที่เป็นกุศลกับอัพยากฤตนั้น ไม่ต้องละ
       แต่ที่เป็นอกุศลซึ่งควรจะละนั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่จะเป็นเหตุให้เข้าถึงอบายกับส่วนที่เป็นเหตุให้เกิดอาการแสดงออกทางกายวาจาแปลกๆ ต่างๆ ส่วนแรก พระอรหันต์ทุกองค์ละได้ แต่ส่วนหลัง พระพุทธเจ้าเท่านั้นละได้ พระอรหันต์อื่นละไม่ได้
       จึงมีคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นละกิเลสทั้งหมดได้ พร้อมทั้งวาสนา;
       ในภาษาไทย คำว่า วาสนา มีความหมายเพี้ยนไป กลายเป็นอำนาจบุญเก่า หรือกุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




       คนเราย่อมมีนิสัยแตกต่างกันไป บางคนนิสัยดี บางคนนิสัยไม่ดี นิสัยของคนเราทั้งดีและไม่ดีนี้ เกิดขึ้นมาได้อย่างไรเจ้าค่ะ ?



       นิสัยของคนเราไม่ว่าจะดี หรือไม่ดี ก็ตาม ล้วนเกิดมาจากการ ย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ ของตัวเอง นิสัยของใครก็ขึ้นอยู่กับการ ย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ ของผู้นั้น



     โดยมีหลักอยู่ว่า ผู้ที่มีทัศนคติ และวิธีการ ย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ ในทางที่ถูก ที่ควร ก็จะได้นิสัยดีๆ
     ส่วนผู้ที่มีทัศนคติ และวิธีการ ย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ ในเรื่องไม่ดี ในสิ่งที่ผิด ก็จะได้นิสัยไม่ดีติดตัวไป
สำหรับเรื่องที่มนุษย์ ย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ กันเป็นประจำ ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายนั้น มีอยู่ ๔ เรื่องใหญ่ๆ ด้วยกัน ได้แก่


     ๑. ปัจจัย ๔ คือ เรื่องอาหาร เรื่องเสื้อผ้า เรื่องที่อยู่อาศัย และเรื่องการรักษาสุขภาพของตัวเอง ภาษาพระเรียกว่าปัจจัย ๔ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนต้อง ย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ กันตลอดชีวิตทีเดียว
     ๒. กิจวัตรประจำวัน เช่น การนอน การตื่น การอาบน้ำ การแปรงฟัน เป็นต้น
     ๓. อาชีพ ถ้าเป็นอาชีพการงานประเภทสัมมาทิฏฐิ คือ ทำมาหาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ นิสัยที่ดีก็จะเกิดขึ้นมา แต่ว่าถ้าหาเลี้ยงชีวิตในทางไม่ชอบ เช่น มีอาชีพขโมยเขากิน เราก็คงเดากันได้ว่านิสัยของผู้นั้นจะเป็นอย่างไร
     ๔. สิ่งแวดล้อม เรื่องที่มนุษย์ต้อง ย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ เป็นประจำอีกอย่างหนึ่ง ทั้งที่อาจจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็คือ สภาพสิ่งแวดล้อมของเขา ไม่ว่าสภาพแวดล้อมนั้นจะเป็นคน หรือว่าเป็นธรรมชาติก็ตาม


     เช่น รอบๆ บ้านเป็นสลัม เช้าขึ้นมาก็มีเสียง จ้อกแจ้ก จอแจ โหวกเหวก โครมคราม ดูช่างสับสนวุ่นวายไปหมด ผู้คนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างนี้ ก็จะมีนิสัยไปอย่างหนึ่ง
     ส่วนผู้ที่มีบ้านอยู่ท่ามกลางผู้คนที่ชอบไปวัดปฏิบัติธรรม นิสัยก็จะเป็นไปอีกอย่างหนึ่ง





นิสัยเกิดจากอาหาร

    นิสัยที่เกิดจากปัจจัย ๔ ในเรื่องของอาหารที่เรากินกัน แต่ละมื้อ แต่ละคำ ถ้าบ้านไหนแค่พ่อแม่มีทัศนคติว่า "คนเรากินเพื่ออยู่" ก็จะทำให้คนในบ้านนั้น มีนิสัยประหยัด มีนิสัยรักที่จะทำความดี
    แต่ถ้าบ้านไหนมีทัศนคติว่า "คนเราอยู่เพื่อกิน" อย่างนี้แสดงว่าคนในบ้านนั้นเตรียมกินบ้านกินเมือง เตรียมโกงกันเสียแล้ว

    เพราะฉะนั้น ทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องอาหาร สามารถทำให้เกิดเป็นนิสัยของคนขึ้นมาได้

    วิธีกินอาหารก็เหมือนกัน บ้านไหนพ่อแม่ลูกกินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตา คนในบ้านนั้น จะมีนิสัยรักกัน เป็นห่วงเป็นใยซึ่งกันและกัน

    ถ้าหากบ้านไหนถึงเวลากินข้าว ใครหิวก็กินก่อน ใครยังไม่หิวก็ตัวใครตัวมัน ลูก ๓ - ๔ คน ไม่เคยกินข้าวพร้อมกับคุณพ่อคุณแม่เลย เด็กๆ เหล่านี้ พอโตขึ้นจะไม่รัก ไม่ห่วงใยกัน เพราะว่าได้ฝึกความเป็นตัวใครตัวมันมาตั้งแต่แรกเสียแล้ว



นิสัยเกิดจากเสื้อผ้า
      เรื่องเสื้อผ้าก็เหมือนกัน บ้านไหนมีทัศนคติว่า เสื้อผ้ามีไว้เพื่อใช้กันแดด กันลม กันฝน กันร้อน กันหนาว กันอาย คนบ้านนั้น จะมีนิสัยไม่ชอบการฟุ้งเฟ้อ ติดตัวมาตั้งแต่เล็ก แต่ถ้าบ้านไหนเวลาแต่งตัวแต่ละที นอกจากจะต้องเด่น ต้องดังแล้ว ยังต้องตามแฟชั่นให้ทันด้วย คนพวกนี้ก็จะได้นิสัยไปอีกอย่างหนึ่ง คือมีนิสัยชอบตามกระแสโลก ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง


นิสัยเกิดจากที่อยู่อาศัย
      ที่อยู่อาศัยก็ทำให้กลายเป็นนิสัยได้ เช่น ลูกที่ตื่นนอนขึ้นมา พับผ้าห่ม เก็บที่นอน ปัดกวาดเช็ดถูห้องนอนเรียบร้อย แถมยังมาช่วยคุณแม่เก็บกวาดเสียรอบบ้าน ก็จะได้นิสัยมีความ รับผิดชอบมาตั้งแต่เล็กๆ
      ส่วนเด็กที่ตื่นนอนขึ้นมา ไม่เคยเก็บที่นอน ไม่เคยช่วยคุณแม่ทำความสะอาดบ้านเลย ก็จะได้นิสัยไม่มีความรับผิดชอบแม้กระทั่งตัวเอง

   
   
นิสัยเกิดจากการรักษาสุขภาพ
    ถ้าคุณพ่อคุณแม่สอนให้ลูกๆ รู้จักรักษาสุขภาพตั้งแต่เล็ก แล้วลูกก็ปฏิบัติตามอย่างดี ตั้งแต่ สอนให้แปรงฟันอย่างถูกวิธี สอนวิธีอาบน้ำให้สะอาด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะถูก ย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ แล้วกลายเป็นนิสัยได้อีกเหมือนกัน


ส่วนเรื่องของกิจวัตรประจำวัน อาชีพการงาน สภาพสิ่งแวดล้อม
    ก็ล้วนแต่เป็นเรื่องที่ทำให้ต้อง ย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ จนกระทั่งกลายเป็นนิสัยของคนเราทั้งนั้น

    เพราะฉะนั้นถ้าอยากจะให้ตัวเอง หรือลูกหลานวงศ์วานว่านเครือเนื้อหน่อในครอบครัว
    มีนิสัยดีอย่างไรก็เลือก ย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ แต่สิ่งที่ดีๆ เหล่านั้นก็แล้วกัน



ที่มา http://www.kalyanamitra.org/u-ni-boon/main/index.php?option=com_content&task=view&id=144&Itemid=4
ขอบคุณภาพจาก http://www.kalyanamitra.org/,http://mblog.manager.co.th/,http://www.talkystory.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ขอเรียนถามบัณฑิต ชาวธรรม ทุกท่านนะคะว่า
ความเลว กับ ความดี เป็นสิ่งที่ติดมาเป็นอุปนิสัยโดยกำเนิด หรือว่า เกิดจากสิ่งแวดล้อม

 เช่น เด็ก ทำไมมีนิสัยก้าวร้าว ทั้ง ๆที่พ่อแม่ เป็นคนดี อบมรมดี
    แต่เด็ก อีกคนหนึ่ง มีนิสัยอ่อนโยน ทั้งที่ ๆ พ่อแม่ ตบตี กิเนเหล้าทุกวัน

  เห็นจากชุมชนที่ไปดูแล คะ

  เลยสับสนว่า เด็กจะดี เพราะชาติกำเนิดหรือไม่ หรือ ไม่ดี เพราะชาติกำเนิด หรือว่าอุปนิสัยที่ติดตัวมาแต่อดี่ตชาติ ส่งผล หรือมีกำเนิดมาจาก อสูร เปตร นิริยะ ดิรัจฉาน กันแน่
 
   ในหลักทางพุทธศาสนา มีคำอธิบาย เรื่องนี้อย่างไร คะ
 

   :c017:


   ตอบหนูหมิวช้าไปหน่อย ไม่รู้เป็นอะไร มองไม่เห็นกระทู้นี้ ขอโทษนะคะ :25:


       
       คำตอบโดยพิศดารอยู่ในหนังสือวัฒนธรรมชาวพุทธ
     อยู่บทที่ 2 การฝึกฝนพัฒนา หรือการเพาะนิสัยจากปัจจัย 4

     อยู่ในเว็บนี้ ebook.dmc.tv/book-SB-202-วัฒนธรรมชาวพุทธ-178.html


       ดาวน์โหลดหนังสือวัฒนธรรมชาวพุทธได้ที่นี่
       
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 03, 2012, 01:19:19 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ขอเรียนถามบัณฑิต ชาวธรรม ทุกท่านนะคะว่า
ความเลว กับ ความดี เป็นสิ่งที่ติดมาเป็นอุปนิสัยโดยกำเนิด หรือว่า เกิดจากสิ่งแวดล้อม

 เช่น เด็ก ทำไมมีนิสัยก้าวร้าว ทั้ง ๆที่พ่อแม่ เป็นคนดี อบมรมดี
    แต่เด็ก อีกคนหนึ่ง มีนิสัยอ่อนโยน ทั้งที่ ๆ พ่อแม่ ตบตี กิเนเหล้าทุกวัน

  เห็นจากชุมชนที่ไปดูแล คะ

  เลยสับสนว่า เด็กจะดี เพราะชาติกำเนิดหรือไม่ หรือ ไม่ดี เพราะชาติกำเนิด หรือว่าอุปนิสัยที่ติดตัวมาแต่อดี่ตชาติ ส่งผล หรือมีกำเนิดมาจาก อสูร เปตร นิริยะ ดิรัจฉาน กันแน่
 
   ในหลักทางพุทธศาสนา มีคำอธิบาย เรื่องนี้อย่างไร คะ
 

   :c017:


อุปนิสัย ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน, ความดีที่เป็นทุนหรือเป็นพื้นอยู่ในจิตต์, ธรรมที่เป็นเครื่องอุดหนุน

จิตตสันดาน การสืบต่อมาโดยไม่ขาดสายของจิต;
       ในภาษาไทยหมายถึง พื้นความรู้สึกนึกคิดหรืออุปนิสัยใจคอที่ฝังอยู่ในส่วนลึกของจิตใจมาแต่กำเนิด
       (ความหมายนัยหลังนี้ มิใช่มาในบาลี)

สันดาน ความสืบต่อแห่งจิต คือกระแสจิตที่เกิดดับต่อเนื่องกันมา;
       ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่า อุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด, อัธยาศัยที่มีติดต่อมา


วาสนา อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานาน จนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้ เช่น คำพูดติดปาก อาการเดินที่เร็ว หรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น
       ท่านขยายความว่า วาสนา ที่เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศล ก็มี เป็นอัพยากฤต คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็มี
       ที่เป็นกุศลกับอัพยากฤตนั้น ไม่ต้องละ
       แต่ที่เป็นอกุศลซึ่งควรจะละนั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่จะเป็นเหตุให้เข้าถึงอบายกับส่วนที่เป็นเหตุให้เกิดอาการแสดงออกทางกายวาจาแปลกๆ ต่างๆ ส่วนแรก พระอรหันต์ทุกองค์ละได้ แต่ส่วนหลัง พระพุทธเจ้าเท่านั้นละได้ พระอรหันต์อื่นละไม่ได้
       จึงมีคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นละกิเลสทั้งหมดได้ พร้อมทั้งวาสนา;
       ในภาษาไทย คำว่า วาสนา มีความหมายเพี้ยนไป กลายเป็นอำนาจบุญเก่า หรือกุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ




       
        ขอให้หนูหมิวทำความเข้าใจกับ ความหมายของคำต่างๆที่อยู่ด้านบนให้ดี
        ในที่สุดแล้ว จะได้ข้อสรุปว่า อุปนิสัยของคนเราถูกสั่งสมกันมาหลายภพหลายชาติ
        อุปนิสัยนั้นฝั่งอยู่ในจิตและถูกถ่ายทอดสืบเนืองมาจนถึงชาติปัจจุบัน
        คนเราจะละอุปนิสัยที่ไม่ดีได้ก็ต่อเมื่อเป็นอรหันต์
        แต่อรหันตสาวกทุกองค์ ละวาสนาไม่ได้ มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ละได้

         :49:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 03, 2012, 01:39:09 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ