พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ปหาราทสูตร
[๑๐๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ควงไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต ใกล้กรุงเวรัญชา ครั้งนั้น ท้าวปหาราทะจอมอสูร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท้าวปหาราทะจอมอสูรว่า
ดูกรปหาราทะ พวกอสูรย่อมอภิรมย์ในมหาสมุทรบ้างหรือ
ท้าวปหาราทะจอมอสูรกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกอสูรย่อมอภิรมย์ในมหาสมุทร ฯ
พ. ดูกรปหาราทะ ในมหาสมุทรมีธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาสักเท่าไร ที่พวกอสูรเห็นแล้วย่อมอภิรมย์ ฯ
ป. มี ๘ ประการ พระเจ้าข้า ๘ ประการเป็นไฉน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชันเหมือนเหวไม่
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชันเหมือนเหวไม่ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯลฯ
.......ฯลฯ..........ฯลฯ.........
พ. ดูกรปหาราทะ ภิกษุทั้งหลายย่อมอภิรมย์ในธรรมวินัยนี้ ฯ
ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาสักเท่าไร ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว จึงอภิรมย์อยู่ ฯ
พ. มี ๘ ประการ ปหาราทะ ๘ ประการเป็นไฉน
ดูกรปหาราทะมหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนเหว ฉันใด
ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง
ดูกรปหาราทะ ข้อที่ในธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯลฯ
.......ฯลฯ..........ฯลฯ.........
ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ มีอยู่ ฉันใด
ดูกรปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัยนี้ก็เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งมีชีวิตในธรรมวินัยนี้ มีดังนี้ คือ
พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล
พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งสกทาคามิผล
พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งอนาคามิผล
พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์
ดูกรปหาราทะ ข้อที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งชีวิตมีในธรรมวินัยนี้มีดังนี้ คือ
พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล
พระอนาคามีท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล
พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์
นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๘ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๔๐๓๐ - ๔๑๖๓. หน้าที่ ๑๗๔ - ๑๘๐.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=4030&Z=4163&pagebreak=0 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=109ขอบคุณภาพจาก
http://www.dekdern.com/
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ปัณณาสก์ มหาวรรคที่ ๒
๙. ปหาราทสูตร
อรรถกถาปหาราทสูตรที่ ๙
ด้วยบทว่า น อายตเกเนว ปปาโต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า มหาสมุทรไม่เป็นเหวชันมาแต่เบื้องต้นเหมือนบึงใหญ่ที่มีตลิ่งชัน.
ก็เริ่มตั้งแต่พื้นที่ที่เป็นตลิ่งไป มหาสมุทรนั้นจะลึกลงไป ด้วยสามารถแห่งการลึกลงที่ละ ๑ นิ้ว ๒ นิ้ว ๑ คืบ ๑ ศอก ๑ อสุภะ กึ่งคาวุต ๑ คาวุต กึ่งโยชน์ และ ๑ โยชน์ลึกไปๆ จนถึงลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ณ ที่ใกล้เชิงเขาพระสุเมรุ.
.......ฯลฯ..........ฯลฯ.........
บทว่า อายตเกเนว อญฺญาปฏิเวโธ ความว่า
ชื่อว่าภิกษุผู้ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นต้น ตั้งแต่ต้นแล้วบรรลุพระอรหัต เหมือนอย่างกบกระโดดไปไม่มี
เพราะเหตุนั้น จึงอธิบายว่า
ก็ภิกษุบำเพ็ญศีล สมาธิและปัญญา ตามลำดับเท่านั้น จึงอาจบรรลุพระอรหัตได้.
บทว่า อารกาว แปลว่า ในที่ไกลนั่นแล.
บทว่า น เตน นิพฺพานธาตุยา อูนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ความว่า
เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่เสด็จอุบัติขึ้น แม้ตลอดอสงไขยกัป แม้สัตว์ตนหนึ่งก็ไม่อาจปรินิพพานได้
แม้ในกาลนั้นก็ไม่อาจกล่าวได้ว่า นิพพานธาตุว่างเปล่า
แต่ในพุทธกาล ในสมาคมหนึ่งๆ สัตว์ทั้งหลายยินดีอมตธรรมนับไม่ถ้วน แม้ในกาลนั้นก็ไม่อาจกล่าวได้ว่า นิพพานธาตุเต็มที่มา
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=109ขอบคุณภาพจาก
http://www.watthaistockton.org/