ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กรณียเมตตาสูตร ใช้สวดไล่ผี ใช่หรือไม่คะ ต้องสวดกี่จบ กี่ครั้ง และ ดูหนังสือสวด..  (อ่าน 12497 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

colo

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 44
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
กรณียเมตตาสูตร ใช้สวดไล่ผี ใช่หรือไม่คะ ต้องสวดกี่จบ กี่ครั้ง และ ดูหนังสือสวดได้หรือไม่คะ มีคนบอกว่า ถ้าจะสวดไล่ผี ต้องสวดโดยไม่ดูหนังสือ อั้นนี้จริง หรือไม่คะ

  :c017:


กรณียเมตตาสูตร


สมัยหนึ่ง ภิกษุจำนวนหนึ่งกราบทูลลาพระพุทธเจ้า เพื่อไปอยู่จำพรรษาในป่าลึกแห่งหนึ่ง เหล่ารุกขเทวดาคิดว่าพระคุณเจ้าคงพักชั่วคราว ไม่กี่วันก็จะไป จึงพากันลงมาอยู่บนพื้นดินเพื่อถวายความเคารพแก่พระสงฆ์แต่เมื่อรู้ว่าพระคุณเจ้าจะอยู่ที่ป่านี้ตลอดพรรษา จึงปรึกษากันว่าพวกเราเห็นจะต้อง"ไล่" พระท่านไป ไม่เช่นนั้นจะลำบากมากที่จะต้องมาอยู่บนพื้นดินอย่างนี้จึงพร้อมใจกันหลอกหลอนภิกษุที่ไปนั่งกรรมฐานอยู่ใต้ต้นไม้บ้าง ในถ้ำบ้าง จนท่านอยู่ไม่เป็นสุข พระก็กลัวผี ว่าอย่างนั้นเถอะ จึงตกลงกันกลับไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ

พระพุทธองค์ตรัสว่า "พวกเธอมิได้เอาอาวุธติดตัวไปด้วย จึงถูกผีหลอกหลอน" เมื่อกราบทูลถามว่า อาวุธชนิดไหน พระองค์ก็ตรัสว่า อาวุธคือความเมตตา ว่าแล้วก็ทรางสวดกรณียเมตตสูตร ให้ฟัง แล้ว มีพุทธบัญชาให้กลับไปยังป่านั้นอีก และให้สวดทันทีที่เดินเข้าป่า และสวดทุกวันภิกษุเหล่านั้นก็ทำตามพุทธโอวาท  บรรดาผีสางคางแดงทั้งหลายได้ยินบทสวด ก็มีจิตใจอ่อนโยน รักใคร่ในพระสงฆ์ ไม่หลอกหลอน ทำให้ท่านสามารถอยู่ในป่าได้อย่างผาสุก พระภิกษุได้สัปปายะ เจิรญธรรมสำเร็จอรหันตผลถ้วนทั่วกัน

เพราะเหตุว่าเนื้อหาของบทสวดเป็นการแผ่เมตตาความรัก ปรารถนาดีแก่เหล่าเทวดาในป่าและแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายซึ่งท่านก็จะมีไมตรีจิตตอบและถวายการอารักขาให้ผาสุกกัน



กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ

สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ
กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญ และซื่อตรงดี
สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ

สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ
เป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย
อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
เป็นผู้มีธุรกิจน้อย ประพฤติเบากายจิต

สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ
มีอินทรีย์อันระงับแล้ว มีปัญญา
อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
เป็นผู้ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย

นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นด้วยกรรมอันใด ไม่พึงประพฤติกรรมอันนั้นเลย

สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด

เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ
สัตว์มีชีวิตทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ยังเป็นผู้สะดุ้ง ( คือมีตัณหา ) หรือเป็นผู้มั่นคง ( ไม่มีตัณหา ) ทั้งหมดไม่เหลือ

ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
เหล่าใดยาวหรือใหญ่ หรือปานกลางหรือสั้นหรือผอมพี

ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา
เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็น
เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
เหล่าใดอยู่ในที่ไกลหรือที่ไม่ไกล

ภูตา วา สัมภะเวสี วา
ที่เกิดแล้ว หรือแสวงหาภพก็ดี
สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด

นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ
สัตว์อื่นอย่างพึงข่มเหงสัตว์อื่น
นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
อย่าพึงดูหมิ่นอะไรๆ เขา ในที่ไรๆ เลย

พยาโรสะนา ปะฏิฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน เพราะความกริ้วโกรธด้วยความคับแค้นใจ

มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
มารดาถนอลูกคนเดียว ผู้เกดในตนด้วยยอมพร่าชีวิตได้ฉันใด

เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
ุพึงเจริญเมตตา มีในใจ ไม่มีประมาณในสัตว์ฉันนั้น

เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
บุคคลพึงเจริญเมตตา มีในใจไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น

อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ
ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องเฉียง
อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
เป็นธรรมอันไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู

ติฎฐัญจะรัง นิสินโน วา
ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น ยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งแล้วก็ดี
สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
นอนแล้วก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนเพียงใด

เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ
ก็ตั้งสติอันนั้นไว้เพียงนั้น
พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ับัณฑิตทั้งหลาย กล่าวกิริยาอันนี้ว่า เป็นพรหมวิหาร ในพระศาสนานี้

ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีสะวา
บุคคลที่มีเมตตา ไม่เข้าถึงทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล
ทัสสะเนนะ สัมปันโน
ถึงพร้อมแล้วด้วยทัศนะ ( คือโสดาปัตติมรรค)

กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง
นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออก
นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ
ย่อมไม่ถึงความนอน ( เกิด) ในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดียว
บันทึกการเข้า

colo

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 44
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

 แล้วเวลา สวด แปล นี้ใช้ไล่ผีได้หรือไม่คะ

  :smiley_confused1: :smiley_confused1: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

Goodbye

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 61
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าสวดแปล น่าจะไม่ได้ผลคะ เขาให้สวดออกเสียงภาษามคธ กัน คะ

  :93:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พุทโธ ใช้ไล่ผี ตามที่ หลวงพ่อฤาษีลิงดําว่าไว้
       ส่วน กรณียเมตตาสูตร ใช้ บิณทบาตร กับเทวดา ครูอาจารย์ที่เชี่ยวชาญอภิญญา เล่าให้ฟังไว้ประมาณนี้
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เท่าที่ล่าสุดได้ยินเขาบอกมาว่า เปตรเทพ บอกมาว่า เป็นบทแผ่เมตตาที่แรงบทหนึ่งที่เหล่าเปตรและ อื่นๆ จะสามารถได้รับบุญได้อย่างมาก ซึ่งเมื่อได้รับส่วนบุญผลบุญกุศลแล้ว ก็เลยจากไป ไปในภพภูมิที่ดีขึ้น หรือไปเกิด จึงไม่ได้มาให้เราเจออีก (หรือมาหลอกเรา)

  จากเรื่องที่เล่ามานี้ จึงอาจจะทำให้หลายๆคน ไปเข้าใจว่า เป็นบทไล่ผี ปราบผี ซึ่มเมื่อมาดูที่คำแปลของบทนี้แล้ว ก็ไม่ได้เป็นการขับไล่แต่อย่างใด แต่กลับเป็นการแผ่เมตตามากกว่า

   ทีนี้คงจะเข้าใจกันแล้ว ว่าในส่วนของการไล่ผี ไม่ได้เกี่ยวอะไรเลยกับบทสวดกรณียเมตตาสูตร

  ทีนี้มากันที่ว่า สวดแล้วจะได้ผลมากน้อยประการใด

      การที่สวดได้โดยไม่ต้องดูหนังสือ ย่อมมีผลมากกว่าการสวดโดยเปิดดูหนังสือ
      การสวดโดยออกเสียงถูกต้อง ชัดเจน อักขระไม่วิบัติ ย่อมได้ผลมากกว่า ผู้สวดผิดเพี้ยน
      การสวด การว่าเป็นภาษาบาลี นั้น เป็นภาษากลางที่เหล่าโลกวิณญาณ
      (เอาเป็นว่า ดวงจิตที่ไม่ใช่มนุษย์โลก) เขาใช้กัน
      ถ้ากล่าวเป็นภาษาใดภาษาหนึ่งในโลกเรานี้อาจจะส่งสารไปได้ ไม่โดยตรง 
      แต่คงอาศัยกำลังจิตที่มีความปรารถนาในเรื่องนั้นๆ ให้เป็นไป
      คล้ายๆ เวลาเราคลุกคลีกับสัตว์ ทำไมสัตว์ถึงรับรู้ความรู้สึกของเรา และเราก็เช่นกัน
      ผู้ที่มีพลังจิต ที่มีมาก  ย่อมได้ผลมากกว่า ไปถึงเขา ส่งถึงเขาได้มากกว่า ผู้ที่มีพลังจิตน้อย

สุดท้าย เปตรเทพ บอกว่า ถ้าปฏิบัติ 16 ข้อ ในกรณียเมตตาสูตรนี้ได้ จะเป็นที่รักของเหล่าเทวดา

ก็เห็นจะเป็นประโยชน์ ดีกว่า ที่จะเอาไปไล่ผี
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

กรณียเมตตสูตรในขุททกปาฐะ

     [๑๐] กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ ปรารถนาจะตรัสรู้บทอันสงบแล้วอยู่ พึงบำเพ็ญไตรสิกขา
     กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญเป็นผู้ตรง ซื่อตรง ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง


     สันโดษเลี้ยงง่าย มีกิจน้อย มีความประพฤติเบา มีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญาเครื่องรักษาตน
     ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย

     ไม่พึงประพฤติทุจริตเล็กน้อยอะไรๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านผู้รู้เหล่าอื่นติเตียนได้ พึงแผ่ไมตรีจิตในสัตว์ทั้งหลายว่า
     ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด


     สัตว์มีชีวิตเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ เป็นผู้สะดุ้งหรือเป็นผู้มั่นคง ผอมหรือพี
     และสัตว์เหล่าใดมีกายยาวหรือใหญ่ ปานกลางหรือสั้น

     ที่เราเห็นแล้วหรือมิได้เห็น อยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้ ที่เกิดแล้วหรือแสวงหาที่เกิด
     ขอสัตว์ทั้งหมดนั้นจงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด


     สัตว์อื่นไม่พึงข่มขู่สัตว์อื่น ไม่พึงดูหมิ่นอะไรเขาในที่ไหนๆ ไม่พึงปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน
     เพราะความกริ้วโกรธ เพราะความเคียดแค้น


   
     มารดาถนอมบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน แม้ด้วยการยอมสละชีวิตได้ ฉันใด
     กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งปวง แม้ฉันนั้น


     ก็กุลบุตรนั้น พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
     ไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู


     กุลบุตรผู้เจริญเมตตานั้นยืนอยู่ก็ดี เดินอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี พึงเป็นผู้ปราศจากความง่วงเหงาเพียงใด
     ก็พึงตั้งสตินี้ไว้เพียงนั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าววิหารธรรมนี้ว่า เป็นพรหมวิหาร ในธรรมวินัยของพระอริยเจ้านี้


     กุลบุตรผู้เจริญเมตตา ไม่เข้าไปอาศัยทิฐิ เป็นผู้มีศีลถึงพร้อมด้วยทัศนะ
     กำจัดความยินดีในกามทั้งหลายออกได้แล้ว ย่อมไม่ถึงความนอนในครรภ์อีกโดยแท้แล ฯ


     จบเมตตสูตร


อ้างอิง         
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๒๓๗ - ๒๖๗. หน้าที่ ๑๑ - ๑๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=237&Z=267&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=10
ขอบคุณภาพจาก http://www.sil5.net/,http://mmf2u.org/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ กรณียเมตตสูตรในขุททกปาฐะ
อรรถกถาเมตตสูตร

    เมตตสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เดียวตรัส พระสาวกเป็นต้นมิได้กล่าว.
     ก็แต่ว่า เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายถูกเทวดาทั้งหลายรบกวนข้างภูเขาหิมวันต์ จึงพากันมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเมตตสูตรนั้น เพื่อป้องกันและเพื่อเป็นกรรมฐานสำหรับภิกษุเหล่านั้น.


     ส่วนโดยพิศดาร พึงทราบอย่างนี้.
     สมัยหนึ่ง ใกล้ดิถีเข้าจำพรรษา พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่กรุงสาวัตถี. สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายจากชาวเมืองต่างๆ จำนวนมาก รับกรรมฐานในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประสงค์จะเข้าจำพรรษาในที่นั้นๆ จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.

     ได้ยินว่า สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกรรมฐานทั้งหลายที่อนุกูลแก่จริตจำนวน ๘๔,๐๐๐ ประเภท โดยนัยนี้คือ อสุภกรรมฐาน ๑๑ อย่าง คือ อสุภที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ สำหรับคนราคจริต, กรรมฐานมีเมตตากรรมฐานเป็นต้น ๔ อย่าง สำหรับคนโทสจริต, กรรมฐานมีมรณัสสติกรรมฐานเป็นต้น สำหรับคนโมหจริต, กรรมฐานมีอานาปานัสสติและปฐวีกสิณเป็นต้น สำหรับคนวิตกจริต, กรรมฐานมีพุทธานุสสติกรรมฐานเป็นต้น สำหรับคนสัทธาจริต, กรรมฐานมีจตุธาตุววัตถานกรรมฐานเป็นต้น สำหรับคนพุทธิจริต.


    ลำดับนั้น ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปเรียนกรรมฐานในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า กำลังแสวงหาเสนาสนะที่เป็นสัปปายะและโคจรคาม เดินไปตามลำดับ ได้พบภูเขาพื้นศิลาคล้ายมณีสีคราม ประดับด้วยราวป่าสีเขียวมีร่มเงาทึบเย็น มีภูมิภาคเกลื่อนด้วยทรายเสมือนแผ่นเงินข่ายมุกดา ล้อมด้วยชลาลัยที่สะอาดเย็นดี ติดเป็นพืดเดียวกับป่าหิมวันต์ ในปัจจันตประเทศ.

     ภิกษุเหล่านั้นพักอยู่คืนหนึ่ง ณ ที่นั้น เมื่อราตรีรุ่งสว่างทำสรีรกิจแล้ว ก็พากันเข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้ๆ นั่นเอง หมู่บ้านประกอบด้วยตระกูล ๑,๐๐๐ ตระกูล ซึ่งอาศัยอยู่กันหนาแน่นในหมู่บ้านนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีศรัทธาปสาทะ พวกเขาเห็นภิกษุทั้งหลายเท่านั้นก็เกิดปีติโสมนัส เพราะการเห็นบรรพชิตในปัจจันตประเทศหาได้ยาก นิมนต์ภิกษุเหล่านั้นให้ฉันแล้ว ก็วอนขอว่า ท่านเจ้าข้า ขอท่านอยู่ในที่นี้ตลอดไตรมาสเถิด แล้วช่วยกันสร้างกุฏิสำหรับทำความเพียร ๕๐๐ หลัง จัดแจงเครื่องอุปกรณ์ทุกอย่าง มีเตียง ตั่ง หม้อน้ำฉัน น้ำใช้เป็นต้น ณ ที่นั้น.

      วันรุ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลายเข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้านตำบลอื่น. ในหมู่บ้านแม้นั้น มนุษย์ทั้งหลายก็บำรุงอย่างนั้นเหมือนกัน อ้อนวอนให้อยู่จำพรรษา. ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์โดยมีเงื่อนไขว่า เมื่อไม่มีอันตราย จึงพากันเข้าไปยังราวป่านั้น เป็นผู้ปรารภความเพียรตลอดทั้งกลางคืนกลางวัน ตีระฆังบอกยาม เป็นผู้มากด้วยโยนิโสมนสิการอยู่จึงเข้าไปนั่งที่โคนไม้.



      รุกขเทวดาทั้งหลายถูกเดชของเหล่าภิกษุผู้มีศีลกำจัดเดชเสียแล้ว ก็ลงจากวิมานของตนๆ พาพวกลูกๆ เที่ยวระหกระเหินไป เปรียบเหมือนเมื่อพระราชา หรือราชมหาอมาตย์ ไปยังที่อยู่ของชาวบ้าน ยึดโอกาสที่ว่างในเรือนทั้งหลายของพวกชาวบ้าน พวกชาวบ้านก็ต้องออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่น ก็ได้แต่มองดูอยู่ไกลๆ ด้วยหวังว่า เมื่อไรหนอ ท่านจึงจักไปกัน ฉันใด เทวดาทั้งหลายต้องละทิ้งวิมานของตนๆ กระเจิดกระเจิงไป ได้แต่มองดูอยู่ไกลๆ ด้วยหวังว่า เมื่อไรหนอ ท่านจึงจักไปกัน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

      แต่นั้น เทวดาทั้งหลายก็ร่วมคิดกันอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายเข้าพรรษาแรกแล้ว จักอยู่กันตลอดไตรมาสแน่ แต่พวกเราไม่อาจจะพาพวกเด็กอยู่อย่างระหกระเหินได้นานๆ เอาเถิด พวกเราจักแสดงอารมณ์ที่น่ากลัวแก่ภิกษุทั้งหลาย.
      เทวดาเหล่านั้นจึงเนรมิตรูปยักษ์ที่น่ากลัว ยืนอยู่ข้างหน้าๆ เวลาภิกษุทั้งหลายทำสมณธรรมตอนกลางคืน และทำเสียงที่น่าหวาดกลัว เพราะเห็นรูปเหล่านั้น และได้ยินเสียงนั้น หัวใจของภิกษุทั้งหลายก็กวัดแกว่ง ภิกษุเหล่านั้นมีผิวเผือดและเกิดเป็นโรคผอมเหลือง.

      ด้วยเหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงไม่อาจทำจิตให้มีอารมณ์เดียวได้ เมื่อจิตไม่มีอารมณ์เดียว สลดใจบ่อยๆ เพราะความกลัว สติของภิกษุเหล่านั้นก็หลงเลือนไป แต่นั้น อารมณ์ที่เหม็นๆ ก็ประจวบแก่ภิกษุเหล่านั้น ซึ่งมีสติหลงลืมแล้ว, มันสมองของภิกษุเหล่านั้น ก็เหมือนถูกกลิ่นเหม็นนั้นบีบคั้น โรคปวดศีรษะก็เกิดอย่างหนัก. ภิกษุเหล่านั้นก็ไม่ยอมบอกเรื่องนั้นแก่กันและกัน.



      ต่อมาวันหนึ่ง เมื่อภิกษุทุกรูปประชุมกันในเวลาบำรุงพระสังฆเถระ. พระสังฆเถระก็ถามว่า ผู้มีอายุ เมื่อพวกท่านเข้าไปในราวป่านี้ ผิวพรรณดูบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างเหลือเกินอยู่ ๒-๓ วัน ทั้งอินทรีย์ก็ผ่องใส แต่บัดนี้ ในที่นี้พวกท่านซูบผอม ผิวเผือด เป็นโรคผอมเหลือง ในที่นี้พวกเธอไม่มีสัปปายะหรือ.

      ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า ท่านขอรับ ตอนกลางคืนกระผมเห็นและได้ยินอารมณ์ที่น่ากลัวอย่างนี้ๆ สูดแต่กลิ่นเช่นนี้ ด้วยเหตุนั้น จิตของกระผมจึงไม่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ. ภิกษุเหล่านั้นทุกรูปจึงพากันบอกเรื่องนั้น โดยอุบายนี้เหมือนกัน.

      พระสังฆเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติการเข้าจำพรรษาไว้ ๒ อย่าง ก็เสนาสนะนี้ไม่เป็นสัปปายะแก่พวกเรา มาเถิดผู้มีอายุ พวกเราจะพากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามถึงเสนาสนะที่เป็นสัปปายะอื่นๆ

      ภิกษุเหล่านั้นรับคำพระเถระว่า ดีละขอรับ ทุกรูปก็เก็บงำเสนาสนะ ถือบาตรจีวร ไม่บอกกล่าวใครๆ ในตระกูลทั้งหลาย พากันจาริกไปทางกรุงสาวัตถี ก็ถึงกรุงสาวัตถีตามลำดับแล้ว ก็พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.



      พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นภิกษุเหล่านั้นจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ภิกษุไม่พึงเที่ยวจาริกไปภายในพรรษา เหตุไร พวกเธอจึงยังจาริกกันอยู่เล่า. ภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูลเรื่องทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนึก ก็ไม่ทรงเห็นเสนาสนะที่เป็นสัปปายะอื่นสำหรับภิกษุเหล่านั้นทั่วชูมพูทวีป โดยที่สุด แม้แต่เพียงตั่งมี ๔ เท้า ดังนี้ จึงตรัสบอกภิกษุเหล่านั้นว่า

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เสนาสนะที่เป็นสัปปายะอื่นสำหรับพวกเธอไม่มีดอก พวกเธออยู่ในที่นั้นนั่นแหละจักบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ ไปเถิดภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเข้าไปอาศัยเสนาสนะนั้นนั่นแหละอยู่กันเถิด
      แต่ถ้าว่า พวกเธอปรารถนาความไม่มีภัยจากเทวดาทั้งหลาย ก็จงพากันเรียนพระปริตรนี้.
      ด้วยว่าพระปริตรนี้จักเป็นเครื่องป้องกัน และจักเป็นกรรมฐานสำหรับพวกเธอ ดังนี้แล้วจึงตรัสพระสูตรนี้.



       แต่อาจารย์พวกอื่นอีกกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระดำรัสนี้ว่า ไปเถิดภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเข้าไปอาศัยเสนาสนะนั้นนั่นแหละ อยู่กันเถิด แล้วจึงตรัสว่า
      อนึ่งเล่า ภิกษุผู้อยู่ป่าควรรู้จักบริหาร. บริหารอย่างไร. บริหารอย่างนี้ คือ
      แผ่เมตตา ๒ เวลา คือ ทำเวลาเย็นและเช้า
      ทำพระปริตร ๒ เวลา เจริญอสุภ ๒ เวลา เจริญมรณัสสติ ๒ เวลา และนึกถึงมหาสังเวควัตถุ ๘ ทั้ง ๒ เวลา

      ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ อบายทุกข์ ๔ ชื่อมหาสังเวควัตถุ ๘.
      อีกนัยหนึ่ง ชาติชราพยาธิมรณะ ๔ อบายทุกข์เป็นที่ ๕
      ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูลในอดีต ๑ ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูลในอนาคต ๑ ทุกข์มีการแสวงอาหารเป็นมูล ในปัจจุบัน ๑.

      พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงบอกการบริหารอย่างนี้แล้ว จึงได้ตรัสพระสูตรนี้เพื่อเป็นเมตตา เพื่อเป็นพระปริตรและเพื่อฌานอันเป็นบาทแห่งวิปัสสนาแก่ภิกษุเหล่านั้น.


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=10
ขอบคุณภาพจาก http://pohtecktung.org/,http://1.bp.blogspot.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 10, 2013, 01:15:12 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

กรณียเมตตาสูตร ใช้สวดไล่ผี ใช่หรือไม่คะ ต้องสวดกี่จบ กี่ครั้ง และ ดูหนังสือสวดได้หรือไม่คะ มีคนบอกว่า ถ้าจะสวดไล่ผี ต้องสวดโดยไม่ดูหนังสือ อั้นนี้จริง หรือไม่คะ



 แล้วเวลา สวด แปล นี้ใช้ไล่ผีได้หรือไม่คะ


ภาพจาก http://pohtecktung.org/
     
     บทสวดกรณียเมตตสูตร เป็นหนึ่งในบทสวดพระปริตร ปรากฏอยู่ใน
     "กรณียเมตตสูตรในขุททกปาฐะ"
     พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
     ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต


     แต่ตำนานของสูตรนี้อยู่ในชั้นของอรรถกถา ดังที่แสดงแล้วข้างต้น
     หากยึดเอาข้อความตามอรรถกถา จะเห็นได้ว่า
    "บทสวดนี้ไม่ได้มีไว้ไล่ผี แต่มีไว้เพื่อแผ่เมตตาให้เทวดา"

     ดังข้อความในอรรถกถาระบุว่า
     "แต่ถ้าว่า พวกเธอปรารถนาความไม่มีภัยจากเทวดาทั้งหลาย ก็จงพากันเรียนพระปริตรนี้.
      ด้วยว่าพระปริตรนี้จักเป็นเครื่องป้องกัน และจักเป็นกรรมฐานสำหรับพวกเธอ"


      สวดกี่จบ กี่ครั้ง.?
      ในอรรถกถาบอกแต่เพียงว่า ให้สวด ๒ เวลา เช้าและเย็น
      ส่วนจะกี่จบนั้น ผู้ถามต้องคิดเอาเอง


      สวดเป็นภาษาอะไร.?
      ผู้รู้กล่าวว่า ภาษาบาลี(มคธี)เป็นภาษาแห่งจักรวาล ดังนั้น ควรสวดเป็นบาลีโดยไม่ต้องแปล


      บทสวดที่ใช้กันผี ที่ถูกต้อง คือ อาฏานาฏิยปริตร
      สนใจอ่านรายละเอียดได้ที่นี้ครับ

      ซีรีีย์ พระปริตร ตอน"คำนมัสการพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ จากอาฏานาฏินคร"
      http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2518.msg27558#msg27558
      ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ

       :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 10, 2013, 01:45:58 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สําหรับผู้มีปฏิภาณ ทั้ง  2  ท่าน
   ที่มาขยาย อรรถ-พยัญชนะ ให้เนื้อหา บริบูรณ์ขึ้นทันตา
     ...............ขออนุโมทนาสาธุ..................
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา