ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "เรื่องที่องค์หลวงปู่บอกไว้" เผยคำสั่งเสีย "หลวงปู่จาม มหาปุญโญ"  (อ่าน 1772 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



"เรื่องที่องค์หลวงปู่บอกไว้" เผยคำสั่งเสีย "หลวงปู่จาม มหาปุญโญ"
โดย พินทุ วิเศษภูมิ

ข่าวการละสังขารของ "หลวงปู่จาม มหาปุญโญ" พระอาจารย์สายกรรมฐานชื่อดังแห่งวัดป่าวิเวกวัฒนาราม อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร ยังความอาลัยแก่ศิษยานุศิษย์เป็นอย่างยิ่ง ด้วยสิริรวมอายุ 103 ปี และตลอดระยะเวลา 70 ปีที่หลวงปู่จามตั้งใจเจริญพุทธคุณ ตามรอยคำสอนของพระศาสดา รวมทั้งคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ได้สร้างคุณประโยชน์ให้กับพุทธศาสนาไว้อย่างมากมาย ยิ่งโดยส่วนตัวแล้วหลวงปู่จามยังเป็นพระที่เปี่ยมล้นด้วยเมตตา ปฏิบัติตนอยู่ในกฎระเบียบวินัยสงฆ์อย่างเคร่งครัด แม้ว่าจะชราภาพและสุขภาพไม่ดีท่านก็ยังออกบิณฑบาตทุกเช้าไม่ละเว้น

"จึงไม่แปลกที่หลังจากข่าวการละสังขารแพร่ออกไป จะมีลูกศิษย์ลูกหามากมายเดินทางมาร่วมอาลัย "

ตามประวัติที่บันทึกไว้ในหนังสือ "ธรรมประวัติหลวงปู่จาม มหาปุญโญ ผู้มากมีบุญ" ซึ่งเรียบเรียงโดย "พระธัมมธโร" หรือ "ครูบาแจ๋ว" สรุปใจความประวัติโดยย่อได้ว่า หลวงปู่จาม มหาปุญโญ เกิดวันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2453 เป็นบุตรของ "นายกา ผิวขำ" กับ "นางมะแง้ ผิวขำ" ที่บ้านห้วยทราย อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

เมื่ออายุ 7 ขวบ ได้บวชเรียนที่วัดหนองแวง บ้านห้วยทราย อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร ต่อมาได้ติดตาม "หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต" เพื่อศึกษาพระ วิปัสสนากรรมฐาน ออกเดินธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในภาคอีสานและภาคเหนือเป็นเวลา 15 ปี และลาสิกขาออกมาอยู่กับบิดามารดา เนื่องด้วยสุขภาพไม่ดี

ครั้นอายุ 29 ปี (พ.ศ.2482) จึงได้บวชอีกครั้งหนึ่งและได้ธุดงค์ไปภาคเหนือ จำพรรษาอยู่วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ 32 พรรษา จากนั้นได้ไปปฏิบัติธรรมกับ "หลวงปู่แหวน สุจิณโณ" วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
   "ในปี พ.ศ.2521 จึงกลับมาปักกลด จำพรรษาที่วัดป่าวิเวกวัฒนาราม จ.มุกดาหาร สร้างวัดป่าวิเวกวัฒนารามให้เป็นที่พำนักนั่งวิปัสสนากรรมฐาน"





    อีกหนึ่งเรื่องซึ่งบันทึกในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการละสังขาร...

"เรื่องที่องค์หลวงปู่บอกไว้"

    1.สมบัติใดๆ เป็นของกลาง เป็นของสาธารณะ เป็นของวัด เป็นของศาสนา เป็นของสงฆ์ ก็ให้เป็นของโดยส่วนรวมนั้น
    2.สมณบริขารทั้งหมดของผู้ข้าฯ ขอยกมอบให้คณะสงฆ์ พระเณรที่อยู่ในวัดนี้ได้ร่วมกันพิจารณาตามเหมาะสม
    3.การศพ การเผา อย่าให้เอิกเกริกวุ่นวาย เป็นหน้าที่ของญาติโยมเขาจะทำกันไป อย่าเก็บศพเอาไว้ ตายวันใดเผาวันนั้นยิ่งดี (ผู้เขียนต่อรองเรียนขอว่า 7 วัน, 10 วัน, 15 วัน องค์หลวงปู่วางเฉยอยู่ไม่พูดอะไร, ส่วนที่ประชุมเพลิงจะไว้ที่ตะวันออกของเจดีย์, ขออนุญาตรวบรวมบริขารไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ องค์ท่านว่า "อย่าได้ก่อเป็นเจดีย์ขึ้นมา แข่งเจดีย์พระธาตุมิแม่นแนว")
    4.พระธาตุเจดีย์ให้รักษาเอาไว้ ยึดตามประเพณีที่เคยทำมาแล้ว
    5.กุฏิผู้ข้าฯนอนนี้ให้ทำเป็นโรงสังฆกรรม หรือสุดแท้แต่สมภารวัดจะจัดการดูแล
    6. การก่อสร้างร่างแปลนใดๆ นั้น มีเงินพร้อมแล้วจึงให้ทำ เงินไม่มีอย่าทำ อย่าไปขอ อย่าไปเรี่ยไร เมื่อทำให้เป็นเรื่องของศรัทธาญาติโยม สูเจ้านักบวชให้ตั้งพระธรรมวินัยตั้งใจภาวนาไป
    7 .โลกนี้มันไม่เที่ยง การเกิด แก่ ไข้ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องร้ายอย่างยิ่ง ทำอย่างใดจะดับธรรมนี้ได้ให้เป็นธรรมดา
    8. ตายแล้วอย่าทำบุญอุทิศให้ บุญของผู้ข้าฯทำไว้แล้ว การสวดกุสลามาติกาก็อย่าทำให้เป็นเรื่องยุ่งยากวุ่นวาย ผ้าบังสุกุล ผู้ข้าฯก็ไม่เอา เอาแต่ไฟเผา ขี้เถ้ากระดูกเหลือก็ให้ขุดหลุมฝังเสียให้เรียบร้อย หรือไม่ก็เอาไปทิ้งลงแม่น้ำโขงให้หมดเรื่องไป "อย่างได้เมาเถ้าเมากระดูก"






ครูบาแจ๋วระบุไว้ในหมายเหตุ "เรื่องที่หลวงปู่บอกไว้" ว่า ความคิดคติธรรมขององค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ในเรื่องทั้งหมดนี้ องค์ท่านได้ปรารภกับผู้เขียนไว้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2542 เวลา 04.10 น. ที่บ้านกรุงเทพภาวนา เป็นครั้งที่ 1 และเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 เวลา 17.50 น. ที่กุฏิขององค์ท่าน เป็นครั้งที่ 2


วันนี้ หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ละสังขารไปแล้ว แต่ผลงานซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดยังคงติดตรึงอยู่ในใจของพุทธศาสนิกชนทุกคน ไม่ว่าจะเป็น
    1.เทศนาสั่งสอนญาติโยมที่มานมัสการหลวงปู่ทุกวันพระ และวันสำคัญจะมีประชาชนมาเป็นจำนวน 100-200 คนขึ้นไป,
    2.หลักธรรม คำสั่งสอนของหลวงปู่มีคนบันทึกเทปไว้เป็นจำนวนมาก,
    3.หลวงปู่จามมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ธรรมชาติให้เป็นที่นั่งวิปัสสนาได้อย่างกลมกลืนร่มรื่น ปราศจากสิ่งรบกวน,
    4.สร้างพระเจดีย์ทรงจุฬามณี บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ,
    5.สร้างกุฏิเสาเดียวจำนวน 11 หลัง,
    6.สร้างศาลาการเปรียญ และหอฉันสำหรับไว้เทศนาญาติโยมในวันสำคัญต่างๆ เป็นต้น


    ทั้งหมดคือสิ่งที่พระอาจารย์สายกรรมฐานชื่อดัง มอบเป็นมรดกไว้ให้กับพระพุทธศาสนา
    "และแม้แต่คำสั่งเสียสุดท้าย ก็ยังเป็น "ข้อคิด" ให้คนได้ตระหนักในการใช้ชีวิต"


ขอบคุณภาพข่าวจาก
หน้า 21 มติชนรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม 2556
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1358997989&grpid=&catid=02&subcatid=0200
http://www.dhammajak.net/,http://static.cdn.thairath.co.th/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

pinmanee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 163
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 กับหลวงปู่ที่เป็นที่พึ่ง ให้กำลังกับผู้ที่ขวนขวายในความดี แม้ท่านจะจากไป แต่ พระธรรมที่ได้ถ่ายทอดไว้ ก็ยังคงเป็นแนวทางให้ศิษย์ที่เคารพได้ปฏิบัติกันต่อไป คะ

  st12 st12 st12

  thk56 จขกท ด้วยคะ

 
บันทึกการเข้า