นิพพิทาสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๒๒
[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท
เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นว่า ไม่งามในกาย ๑
(เช่น ปฏิกูลมนสิการ, นวสีวถิกา, อสุภกรรมฐาน)
มีความสำคัญว่า เป็นของปฏิกูลในอาหาร ๑
(เช่น ปฏิกูลมนสิการ, อาหาเรปฏิกูลสัญญา)
มีความสำคัญว่า ไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑
(เช่น โลกธรรม ๘)
พิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑
(เช่น พระไตรลักษณ์)
ย่อมเข้าไป ตั้งมรณสัญญาไว้ใน ภายใน ๑
(เช่น มรณสติ, พระไตรลักษณ์)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล
อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้ มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท
เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน ฯ
จบสูตรที่ ๙
8 - 5.นิพพิทานุปัสสะนาญาณ ญาณอันรู้แจ้ง ถึงความเหนื่อยหน่าย ต่อการเวียนว่าย ตาย เกิด ต่อไป ซึ่งมีผล ให้เกิดความไม่เพลิดเพลิน หรือ ยินดี ต่อการเวียนว่าย ตาย เกิด ต่อไป
http://www.madchima.org/madchima/index2.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=276