กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 10
41
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา  มากด้วยความรู้   ปัญญินทรีย์เป็นใหญ่    อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี    ๔    ประการ    เป็นสหชาตปัจจัย    เป็นอัญญมัญญปัจจัย    เป็นนิสสยปัจจัย    เป็นสัมปยุตตปัจจัย
   ในเวลารู้แจ้งปัญญินทรีย์เป็นใหญ่    อินทรีย์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี  ๔  ประการ   
   เป็นสหชาตปัจจัย   
   เป็นอัญญมัญญปัจจัย   
   เป็นนิสสยปัจจัย
   เป็นสัมปยุตตปัจจัย   
   เป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน    ชื่อว่าภาวนา    เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน    ชื่อว่าการรู้แจ้ง    เพราะมีความหมายว่าเห็น    ด้วยอาการอย่างนี้    แม้บุคคลผู้รู้แจ้งก็ชื่อว่าย่อมเจริญ    แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าย่อมรู้แจ้ง
 การเจริญอินทรีย์   ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด
42
ถาม โสดาบัน เป็นสงฆ์ หมายถึง สังฆรัตนะ ด้วยใช่ไหม ครับ ดังนั้นถ้าเป็นโสดาบัน ก็มีสถานะ เท่ากับพระสงฆ์ ใช่ไหมครับ
ตอบ เป็นคำถามที่ดี เพราะปัจจุบัน มีกลุ่มสอนและวิเคราะห์ที่ให้ความเห็นผิด
การตอบคำถามเรื่องนี้ มันมี 2 นัยยะ
คำว่า สังฆรัตนะ หมายถึง สังฆะ + รัตนะ
สังฆะ หมายถึง ผู้ออกบวช ระบุจำนวนตามพระวินัย ตั้งแต่ 4 คนขึ้นไปจึงเรียกว่า สงฆ์ หรือ สังฆะ ดังนั้นคนเดียวก็เรียกว่า สงฆ์ หรือ สังฆะ ไม่ได้
คำว่า รัตนะ หมายถึงแก้ว ในที่นี้พระพุทธเจ้าสิ่งที่มีคุณค่าในศาสนของพระองค์ มี 3 อย่าง คือ พระพุทธเจ้า ( พระองค์เอง ) พระธรรม ( คำสอน ) พระสงฆ์ ( คือหมู่คณะของผู้ออกบวช )
คำว่า สังฆรัตนะ ขยายความมีอยู่ 5 พวก
1. สมมุติสงฆ์ ผู้ออกบวชตั้งแต่ 4 รูปขึ้น บวชตามพระวินัยบัญญัติ
2. อริยะสงฆ์ หมายถึงผู้ออกบวชตามพระวินัยและได้คุณธรรมเป็นอริยะ
ในมูลกรรมฐาน พุทธบริษัท 4 จัดเป็น นักบวช
เหตุที่เรียกว่า นักบวช ก็เพราะว่า นักบวช ตั้งมั่นด้วยศีลเป็นหลัก
อุบาสก อุบาสิกา จัดว่าเป็นนักบวชเริ่มต้น แต่ไม่ถึงคำว่าสงฆ์เหตุเพราะ ไม่ได้มีการบวชในการยกฐานะเป็นภิกษุ ภิกษุณีตามพระวินัยบัญญัติ จึงไม่สามารถทำสังฆกรรมตามพระวินัยบัญญัติหลายอย่าง
อุบาสก อุบาสิกา ที่เป็นอริยะบุคคล เว้นอรหันต์เกิน 7 นั้นไม่มี เพราะว่าถ้าได้คุณธรรมอรหันต์แล้ว ท่านกล่าวว่าเพศที่รองรับอรหันต์ได้มีเพศเดียวคือ ภิกษุ ภิกษุณี เท่านั้น
อุบาสก อุบาสิกา ที่เป็นอริยะบุคคลเรียกโดยนามสั้น ๆ ตามฐานะบรรลุ เช่น โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี (ไม่มีอรหันต์)
แต่ผู้ออกบวชยกฐานะเป็นภิกษุที่บรรลุเป็นอริยะบุคคล ตั้งแต่ โสดาบัน ท่านเรียกว่า พระโสดาบัน  สกทาคามี เรียกว่า พระสกทาคามี อนาคามี เรียกว่า พระอนาคามี อรหันต์ เรียกว่า พระอรหันต์ แต่โดยศัพท์บาลีแล้วไม่มีการเรียกอย่างนี้ อันนี้เรียกกันในฐานะ ภาษาไทย
ในศัพท์ภาษาบาลี ท่านเรียกแต่ชื่อ และ ใช้คำว่า ภันเต ผู้บวชก่อน อาวุโส ผู้บวชหลัง ดังนั้นคำเรียก พระอริยะบุคคลในภาษาบาลี จริง ๆ นั้นไม่มี
เช่นใช้คำว่า สารีบุตร เรียก พระสารีบุตร โมคคัลลา เรียก พระโมคคัลลา อย่างนี้เป็นต้นเพราะภาษาบาลีไม่มีเรียก อริยะบุคคล แตกต่างอย่างภาษาไทย
โสดาบัน เป็น สังฆะรัตนะ ตอบว่าไม่ใช่
เหตุที่ไม่ใช่ พิจารณาได้จาก พระสูตรที่ 1
เมื่อ พรามหณ์ อัญญาโกณฑัญญะ บรรลุเป็นโสดาบัน ท่านชื่อว่า รัตตัญญู การเกิดของสงฆ์ยังไม่นับ แต่เพราะว่า พระพุทธเจ้าประทานการบวชให้กับ พรามณ์ ทั้ง 5 ท่านจึงกล่าวว่า สังฆะรัตนะได้เกิดขึ้นแล้ว
คำว่า สังฆะรัตนะ หมายถึง พรามหม์ทั้ง 5 ได้บวช มีจำนวนมากกว่า 4 ไม่ใช่หมายถึง พรามหณ์อัญญาโกณฑัญญะ บรรลุธรรมเป็นโสดาบัน นี่หลายคนไปเข้าใจตัว สังฆะรัตนะ ผิด ตีความผิด
โสดาบัน กับ สังฆะรัตนะ เกิดในวันเดียวกัน นั่นจึงทำให้เข้าใจผิด
ปัจจุบัน มีฆราวาสที่คิดว่าตนเอง เป็นอริยะ และก็ตีเสมอกับ สงฆ์ และพยายามทำสงฆ์ให้ตกไป ไม่มีค่าและคุณ ดังนั้นพอคิดว่าตนเองเป็นโสดาบัน  เป็นสกทาคามี เป็นอนาคามี เป็นอรหันต์(อันนี้ไม่มี)  ก็เลยไม่ยกฐานะเคารพในสงฆ์ หรือ ภิกษุ
พระพุทธเจ้าบัญญํติว่า อุบาสก อุบาสิกาที่เป็นโสดาบัน เป็นสกาทาคามี เป็นอนาคามี ควรให้ความเคารพต่อ ภิกษุ เพราะภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นพี่โดยฐานะ
เจริญธรรม / เจริญพร
43
ถาม อยากฟังเรื่อง พาหิยะ  ค่ะ พอจ เล่าให้ฟังหน่อย ค่ะ
ตอบ  อ่านเอาเลย ตอนนี้เสียงไม่มี พูดไม่ค่อยได้ ถ้าจะฟังต้องรอนานมาก
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๑๐. พาหิยสูตร
             [๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อพาหิยทารุจีริยะ
อาศัยอยู่ที่ท่าสุปปารกะ ใกล้ฝั่งสมุทร เป็นผู้อันมหาชนสักการะ เคารพ นับถือ
บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ครั้ง
นั้นแล พาหิยทารุจีริยะหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า
เราเป็นคนหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์หรือผู้ถึงอรหัตตมรรคในโลก ลำดับนั้นแล
เทวดาผู้เป็นสายโลหิตในกาลก่อนของพาหิยทารุจีริยะ เป็นผู้อนุเคราะห์ หวัง
ประโยชน์ ได้ทราบความปริวิตกแห่งใจของพาหิยทารุจีริยะด้วยใจ แล้วเข้าไปหา
พาหิยทารุจีริยะ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ดูกรพาหิยะ ท่านไม่เป็นพระอรหันต์หรือไม่
เป็นผู้ถึงอรหัตตมรรคอย่างแน่นอน ท่านไม่มีปฏิปทาเครื่องให้เป็นพระอรหันต์หรือ
เครื่องเป็นผู้ถึงอรหัตตมรรค พาหิยทารุจีริยะถามว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น บัดนี้
ใครเล่าเป็นพระอรหันต์ หรือเป็นผู้ถึงอรหัตตมรรคในโลกกับเทวโลก เทวดาตอบ
ว่า ดูกรพาหิยะ ในชนบททางเหนือ มีพระนครชื่อว่าสาวัตถี บัดนี้ พระผู้มี
พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับอยู่ในพระนครนั้น ดูกร-
*พาหิยะ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแลเป็นพระอรหันต์อย่างแน่นอน ทั้งทรง
แสดงธรรมเพื่อความเป็นพระอรหันต์ด้วย ลำดับนั้นแล พาหิยทารุจีริยะผู้อันเทวดา
นั้นให้สลดใจแล้ว หลีกไปจากท่าสุปปารกะในทันใดนั้นเอง ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคผู้ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีใกล้
พระนครสาวัตถี โดยการพักแรมสิ้นราตรีหนึ่งในที่ทั้งปวง ฯ
             [๔๘] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกันจงกรมอยู่ในที่แจ้ง พาหิยทารุจีริยะเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ถามภิกษุเหล่านั้นว่า ข้าแต่ท่านทั้งหลาย  ผู้เจริญ บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอข้าพเจ้าประสงค์จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ดูกรพาหิยะ พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่ละแวกบ้านเพื่อบิณฑบาต ลำดับนั้นแล พาหิยทารุจีริยะรีบด่วนออกจากพระวิหารเชตวัน เข้าไปยังพระนครสาวัตถี ได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี น่าเลื่อมใส ควรเลื่อมใส มีอินทรีย์สงบ มีพระทัยสงบ ถึงความฝึกและความสงบอันสูงสุด มีตนอันฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว มีอินทรีย์สำรวมแล้วผู้ประเสริฐ แล้วได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค หมอบลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดทรงแสดงธรรมที่จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์สิ้นกาลนานเถิด ฯ
             [๔๙] เมื่อพาหิยทารุจีริยะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่าดูกรพาหิยะ เวลานี้ยังไม่สมควรก่อน เพราะเรายังเข้าไปสู่ละแวกบ้านเพื่อบิณฑบาตอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ พาหิยทารุจีริยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของพระผู้มีพระภาคก็ดี ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของข้าพระองค์ก็ดี รู้ได้ยากแล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดทรงแสดงธรรมที่จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด ฯ
             แม้ครั้งที่ ๒...แม้ครั้งที่ ๓ พาหิยทารุจีริยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของพระผู้มีพระภาคก็ดีความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของข้าพระองค์ก็ดี รู้ได้ยากแล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์สิ้นกาลนานเถิด ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษา
อย่างนี้ว่า เมื่อเห็น จักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็น
สักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูกรพาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้าย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
             ลำดับนั้นแล จิตของพาหิยทารุจีริยะ กุลบุตรหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นในขณะนั้นเอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ของพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสสอนพาหิยทารุจีริยะกุลบุตรด้วยพระโอวาทโดยย่อนี้แล้ว เสด็จหลีกไป ฯ
             [๕๐] ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน  แม่โคลูกอ่อนขวิดพาหิยทารุจีริยะให้ล้มลงปลงเสียจากชีวิต ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีเสด็จกลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต เสด็จออกจากพระนครพร้อมกับภิกษุเป็นอันมาก ได้ทอดพระเนตรเห็นพาหิยทารุจีริยะทำกาละแล้ว จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงช่วยกันจับสรีระของพาหิยทารุจีริยะยกขึ้นสู่เตียงแล้ว จงนำไปเผาเสีย แล้วจงทำสถูปไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะประพฤติธรรมอันประเสริฐเสมอกับท่านทั้งหลาย ทำกาละแล้ว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ช่วยกันยกสรีระของพระพาหิยทารุจีริยะขึ้นสู่เตียง แล้วนำไปเผา และทำสถูปไว้แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สรีระของพาหิยทารุจีริยะ ข้าพระองค์ทั้งหลายเผาแล้ว และสถูปของพาหิยทารุจีริยะนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายทำไว้แล้ว
คติของพาหิยทารุจีริยะนั้นเป็นอย่างไร ภพเบื้องหน้าของเขาเป็นอย่างไร ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะเป็นบัณฑิตปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งไม่ทำเราให้ลำบาก เพราะเหตุแห่งการแสดงธรรมดูกรภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะปรินิพพานแล้ว ฯ
             ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
                          ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด
                          ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์
                          ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี
                          ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะรู้ (สัจจะ ๔) รู้แล้ว
                          ด้วยตน เมื่อนั้น พราหมณ์ย่อมหลุดพ้นจากรูปและอรูป
                          จากสุขและทุกข์ ฯ
------------------------------------------------------------------
ในพระสูตรมีแม่บทอยู่หลายบท
1. กรรมอันพาหิยะ ต้องเดินทาง
2. แม่บทแสดงคุณธรรมของพาหิยะ ที่มี มรณานุสสติ
3. แม่บทแสดงผลกรรมราวี จากกรรมที่เคยสร้างไว้
4. แม่บทการบรรลุธรรม สั้น ๆ
5. แม่บทในการบรรพชา คุณธรรมที่ได้อัฏฐบริขารทิพย์
6. แม่บทการจัดการสังขารของอรหันต์
7. แม่บทธรรมใหญ่ พุทธภาษิตท้ายบท
เจริญธรรม / เจริญพร
44
แม่บท มูลกรรมฐาน / แม่บท สมาธิตั้งมั่นได้เพราะว่า
« กระทู้ล่าสุด โดย dhammawangso เมื่อ มีนาคม 15, 2022, 03:10:36 pm »
แม่บท อะไรเป็นเหตุให้สมาธิมีกำลัง
======================
รูปํ    นาภินนฺทติ   นาภิวทติ   นาชฺโฌสาย   ติฏฺฐติ
ตสฺส     รูปํ   อนภินนฺทโต   อนภิวทโต   อนชฺโฌสาย   ติฏฺฐโต   ยา
รูเป    นนฺทิ    สา   นิรุชฺฌติ   ตสฺส   นนฺทินิโรธา   อุปาทานนิโรโธ
อุปาทานนิโรธา     ภวนิโรโธ     ฯเปฯ     เอวเมตสฺส    เกวลสฺส
ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหติ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความดับแห่งรูป อะไรเป็นความดับแห่งเวทนา
อะไรเป็นความดับแห่งสัญญา อะไรเป็นความดับแห่งสังขาร อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่. ก็ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งอะไร.
ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความยินดีในรูปย่อมดับไป เพราะความยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
------------------------------------------------
ความไม่เพลิดเพลิน ใน รูป เวทนา สัญญา เป็นเหตุให้สมาธิตั้งมั่นได้ไว
เจริญธรรม / เจริญพร
45
Facebook ธัมมะวังโส / Re: ภาพเกี่ยวกับการทิ้งศพป่าช้าวัดสระแก
« กระทู้ล่าสุด โดย dhammawangso เมื่อ มีนาคม 07, 2022, 04:44:30 pm »
ขอบคุณภาพจาก pantip.com
สมัยนั้นแต่งกายเยี่ยงนี้ มาวัด ไปตลาด ไปเที่ยวไหน ๆ ก็ถือว่า งามมากแล้วในสมัยนั้น สำหรับสาวไทย
คงนึกไม่ออกกัน สินะ เพราะว่า เราท่องกันมาว่า ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง วิวัฒนาการ เครื่องแต่งกาย ในยุคนั้นไม่ใช่ จะมีแบบแฟชั่นสมัยนี้ คนสมัยนั้น นิยมมาวัด และ ก็มาเรียน มาทำบุญ มาภาวนา ตามวาสนา ของแต่ละคน หญิงไทยสมัยนั้นยังไม่มีสิทธฺ์ในการศึกษามากนัก คงจะมีแต่บรรดาผู้ชาย ที่มาเรียนมากกว่า
อดีต ( เป็นเพียงความทรงจำ สัญญา ) พระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสไว้ว่า อย่าพึงอาลัย ( แค่นำไว้เป็นครู เตือนสติ ไม่ให้หลง ก็เพียงพอแล้ว )



46
Facebook ธัมมะวังโส / ภาพเกี่ยวกับการทิ้งศพป่าช้าวัดสระแก
« กระทู้ล่าสุด โดย dhammawangso เมื่อ มีนาคม 07, 2022, 04:43:05 pm »
ขอบคุณภาพจาก เปิดกรุภาพเก่า ของ เอนก นาวิกมูล ภาพเกี่ยวกับการทิ้งศพป่าช้าวัดสระแก ( วัดสระเกศ 2325 ) วัดสระแก นั้นสร้างมาตั้งแต่ ครั้งกรงศรีอยุธยา ไม่ระบุชัดเจนว่า ช่วงไหน แต่มีมาก่อน สร้าง พระนคร หลัง ธนบุรี เดิมทีชื่อว่า วัดสระแก ปัจจุบันคือ วัดสระเกศ สมัยนั้น นกแร้ง เกาะตามขอบกำแพง วัดอยู่กลางทุ่งหน้า รัชกาลที่ 1 ได้โปรดให้ชำระวัดให้มีระเบียบ ใหม่ และ ปฏิสังขรณ์ เสนาสนะ  ดูจากภาพก็จะเห็นอีแร้งมากมาย คอยแย่งกัดกินศพ วัดนี้ เป็นสถานที่ ๆ พระฝ่ายภาวนา มักจะใช้เป็นที่ฝึกจิตให้กล้าแข็งขึ้น ด้วยการไป ปลงอสุภะ กัน  จนสมัยก่อน ถึงกับมีการกล่าวคล้องจองขึ้นว่า แร้งวัดสระเกศ เปตรวัดสุทัศน์
 ขอบคุณภาพเก่าจากประมูลขาย เว็บตลาดนัด ภาพ ภูเขาทอง ทำไมจึงเป็นภูเขาทอง ๆ นี้เป็นพระราชดำริของ รัชกาลที่ 3 สร้าง แล้วเสร็จในรัชกาลที่ 5 เนินดินก่อสร้าง สมัยก่อนมีการขุดคลองหลายสายรอบวัดสระเกศ ดินนำมาใช้ประโยชน์ กลางทุ่งข้างคลอง
 เก็บตก ตี 3 หลังออกจากสมาธิ แล้วพิจารณาอดีต สมัยปัจจุบัน มีภาพให้ชมด้วยนะ ต้องขอบคุณเจ้าของภาพถ่ายสมัยนั้นกัน เป็นอย่างมาก
47
Facebook ธัมมะวังโส / เล่าต่อ เรือ่งเกี่ยวกับหลวงปู่สุก
« กระทู้ล่าสุด โดย dhammawangso เมื่อ มีนาคม 07, 2022, 04:41:09 pm »
( มาเล่าต่อ  )
ในปี พ.ศ. 2325 หลังจาก ร1 ได้ทรงชำระ วัด สระแก ก็เปลี่ยนชื่อวัด เป็นวัด สระเกศ มีความหมายว่า ชำระล้าง ในครั้งนั้น ก็ทรงตั้งสมเด็จพนรัตน์ อาจ เป็นเจ้าอาวาส  ความเดิมตอนนี้ มีความเกี่ยวข้อง กับ หลวงปู่ เนื่องด้วย ในหลวงได้ นิมนต์ท่าน เข้ามาดูแลวัดสระเกศ แต่เป็นเพราะท่าน คุ้นเคยและชอบบรรยากาศที่เป็นป่า ของวัดพลับ ในสมัยที่หนึพม่า ออกมา และได้เรียนกรรมฐาน เพิ่มเติมคือ ออกบัวบานพรมหวิหาร 4 กับพระอาจารย์จ้าว ที่ วัดพลับครั้งนั้น ดังนั้นพอหลวงปู่เข้ามาถึงวัดสระเกศแล้ว จึงปฏิเสธฝั่งพระนครและ ขออนุญาตไปอยู่วัดพลับ ฝั่งธนบุรี แทน ( ความนัยมีมากกว่า นี้ สวนนี้ แต่เล่าแล้วจะยาว นอกประเด็นไปมาก ) ดังนั้นในยุครัตนโกสินทร์ จึงมี สมเด็จพันรัต อาจ เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ต่อมาเมื่อหลวงปู่ได้เป็นสังฆราช ใน พ.ศ. 2364 ซึ่งตอนนั้นมีเหตุการณ์ สำคัญตอนหนึ่งเกิดขึ้น ก็คือเกิดการระบาด ของ โรคอหิวาต ทำให้ประชาชนตายกันเป็นหมื่น สมัยนั้นการแพทย์ ก็ไม่ได้รุ่งเรืองมากนัก ในหลวงจึงทรงต้องปลอบขวัญประชาชน ด้วยการตั้งพิธี ปัดเป่าภัยพิบัติโรคร้าย โรคระบาดเกิดก่อนหลวงปู่เป็นสังฆราช 1 ปี คือเริ่มเกิดขึ้นในปี 2363 และสิ้นสุดลงในปี 2364 มีประชาชนตายกันเป็นหมื่น กล่าวว่าตายร่วม 30000 คน ศพต้องนำไปกอง สุมรวมกันตามวัดต่าง ๆ เพราะว่าฝัง และ เผา ไม่ทัน ในช่วงนั้น สมเด็จอาจก็ มรณภาพ ลงก่อนในปี พ.ศ. 2361 ช่วงนั้นเช่นกัน ทำให้เจ้าอาวาสไม่มี แต่มีรองเจ้าอาวาส ซึ่งมีตำแหน่งเป็น สมเด็จเช่นกัน แต่ไม่อยู่วัดออกเที่ยวจาริก อยู่ดังนั้น ก็เป็นกาลเวลา ที่วัดถูกปกครองด้วย รองเจ้าอาวาส และ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ( ตำแหน่งยังมไ่ม่มี ) แต่บรรดา พระที่เป็นสัทธิวิหาริก ก็ทราบข่าว อันเตวาสิกอยู่ ครั้นพอหลวงปู่ เป็นพระสังฆราช ได้ 2 พรรษา (ปี ) ในหลวงเลยรับสั่งให้ พระพนรัตน์ ( ด่อน ) ที่อยู่วัดมหาธาตุ ไปปกครองวัดสระเกศ ในปี พ.ศ.2362 กล่าวว่าท่านเป็นศิษย์ ใน หลวงปู่สุข ตั้งแต่ อยู่วัดหงส์ มาก่อน พอหลวงปู่ มรณภาพลง ท่่านก็ได้รับการสถาปนา เป็น พระสังฆราชองค์ที่ 5 นับว่า วัดสระเกศ มีผู้ปกครองเป็นพระสังฆราชส องค์แรกสมตามที่ ร1 ปรารถนาไว้ ว่า ควรเป็นในสายศิษย์วัดพลับ ( แต่ ใช่หรือไม่ใช่ ไม่ได้ระบุให้ทราบ ) ท่านเป็นพระสังฆราชถึง 20 พรรษา ก็ มรณภาพลง พ.ศ.2395 ในระหว่างที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส สมเด็จสน ที่เที่ยวอยู่ก็กลับมา แต่ก็อายุมากกว่า ท่านไม่สนใจในการบริหารวัด และให้ความเคารพสมเด็จพนรัตน ด่อน ด้วยและมีความปรารถนาไปเรียนกรรมฐาน กับหลวงปู่สุก คราที่ท่านไปเรียน กรรมฐาน กับหลวงปู่สุกนั้น กล่าวว่าอายุมากแล้ว มีประวัติอยู่ในหนังสือ ที่หลวงพ่อพระครูกล่าวไว้นิดหนึ่ง ประมาณ สองสามบรรทัดเคยอ่านพบในเล่มสีชมพู หลังจากสมเด็จพันรััตน ( ด่อน ) มรณภาพ สมเด็จพุฒาจารย์ ( สน ) ก็ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสต่ไปอีก สองสามปี แล้วก็หายตัวไป โดยให้ลูกศิษย์ อาจารย์เขียน เป็นผู้ดูแลวัด ดังนั้น อาจารย์เขียนจึงไได้เป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อไป ผ่านไป ร้อยกว่าปี เจ้าอาวาสรุ่นที่ 9 จึงได้เป็นสังฆราช ซึ่งท่านเป็นชาวบางกอกใหญ่ ฝั่งธนบุรี ( พระสังฆราช อยู่ ญาโณทโย )
ที่จริงเล่าได้พิศดารมากกว่า นี้ แต่คร่าวเท่านี้ก่อน สำหรับคนอยากรู้ต้องติดตาม กันต่อไป

48
ชีวิต ของคนทั่วไป ที่ยังต้องผูกติดอยู่กับโลก นั้น มันมีขึ้น และ มีลง
เวลาขาขึ้น ก็มีความสุข เวลาขาลง ก็มีความทุกข์ ดังนั้น การเผยแพร่ธรรมะสู่คนเหล่านี้ จึงนิยมสอนการใช้ สติ ซึ่งจะได้ผลดี ปัจจุบันจึงมีคนจำนวนมาก ใช้การเจริญสติ + สังขาร ( เขาเข้าใจว่าเป็นปัญญา ) จึงทำให้การภาวนา ได้ผลอยู่ในระดับหนึ่ง แต่เมื่อเขาเจริญ สติ ไปมากขึ้น ก็ย่อมถึงแก่น เพราะตื่น จากการหลับไหล  นั่นเอง (เป็นจุดเริ่มต้นไปสู่การภาวนาขั้นสูงต่อไป)
  แต่สำหรับพระอริยะนั้น ไม่ผูกใจกับ ขาขึ้น หรือ ขาลง เพราะพระอรยะย่อมเห็นแจ้ง่ว่า ที่มี ที่เป็น ที่ไม่ม่และไม่เป็น จะมีแต่ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และ อนัตตา จิตของพระอริยะนั้นจะมองเห็นว่า ทั้งขาขึ้น และ ขาลง เป็นเพียงสักว่า เท่านั้น และ รู้เห็นตามความเป็นจริง ว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา สิ่งที่เกิด กระทบกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นเพียง รูปที่ว่างเปล่า เสียงที่ว่างเปล่า กลิ่นที่ว่างเปล่า รสที่ว่างเปล่า สัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็ง ที่ว่างเปล่า แม้ อารมร์ ที่เกิดกับใจอันเป็นอุเบกขา เพราะความปล่อยวาง ก็เพียงความว่างเปล่า จิตมองเห็นอย่างนั้น มองเห็นสิ่งใด สภาวะใด แม้เรียกว่า สภาวะธรรม ก็หาได้ยึดมั่นถือมั่นมาเป็นอารมณ์ ใด ๆ ได้
   ในความว่างเปล่า ไม่มีอะไร ให้ยึดถือ แม้แต่ ตัวเอง ก็ไม่มีอะไรให้ยึดถือ กายนี้ก็สักว่า เป็นความว่างเปล่า เป็นเพียงเหตุปัจจัย ให้เกิดขึ้นอยู่อย่างนั้น ตั้งอยู่อย่างนั้น และ ดับลงไปเช่นนั้น
 เจริญธรรม / ้ เจริญพร
49
รูป คือ ธาตุ 4 เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ทนได้ยาก และว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน
ความทุกข์ ของกายเห็นได้ชัดจาก ทุกข์เนืองนิจ ได้แก่การเลี้ยงชีวิต บำรุงกาย
ความทุกข์ ของกายเห็นได้ชัดมาก ก็คือความอาพาธเจ็บไข้ ได้ป่วย มีความทรมานด้วยประการต่าง ๆ
ทุกข์ที่เกิดจากรูป นั้น แม้เติมด้วยธาตุ ต่าง ๆ ทุกข์นั้นก็มิได้หายไปจริง หรือ หมดไปจริง ยังคงทุกข์ อย่างนั้น ดังนั้น ที่จะบอก คือ ทุกข์กาย พระพุทธเจ้า พระองค์แก้ให้ไม่ได้
พระพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงเสวยทุกขเวทนากาย แมกระทั่ง เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ดังนั้น ท่านที่มาฝึกภาวนา เพื่อให้พ้นจากความทุกข์ ทางกายนั้นจึงไม่มี
และเราจะชนะทุกข์ ที่เกิดจากรูปนี้อย่างไร ?
ชนะได้ด้วยการพัฒนาจิตให้เห็นตามความเป็นจริงว่า รูปนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ว่างเปล่าวจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ด้วยอำนาจของ ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อคลายอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เจริญธรรม วันนี้เพียงเท่านี้นะจ๊ะ
50
ปิดทองหลังพระ ทำงานโดยไม่ต้องไปใส่ใจว่าใครจะชมเชย หรือ ไปสนใจใครจะมาตำหนิเพราะเราเห็นแจ้งแล้วว่า กรรมฐานเป็นบุญ ย่อมได้รับบุญ เมื่อท่านทั้งหลายภาวนาก็ได้บุญ ก็อย่าไปคิดว่าบุญนั้นเป็นของเรา ขอให้ทุกครั้งที่ทำให้ทำเพื่อคลายจากความยึดมั่นถือมั่นในบุญนั้น อย่างนี้เรียกว่าปิดทองหลังพระ นะจ๊ะ และอาตมาก็ตั้งใจเผยแผ่พระกรรมฐานโดยตรงโดยมิได้มายกตน ขึ้นมาสำคัญกว่าพระกรรมฐานมาตลอด ถึงแม้ทุนที่สนับสนุนจะต้องไปรบกวนโยมแม่ จากตระกูลตนเองอยู่ทุกวัน ก็จะตั้งใจปิดทองหลังพระนี้ ไปตราบเท่าที่ยังทำได้ต่อไปนะจ๊ะ
  เจริญธรรม
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 10